ธงทอง เหน็บแรงส.ว. เป็นรัฐมนตรีเองเลยไหม ถ้าจะสำคัญต่อการตั้งรัฐบาลขนาดนี้
https://www.matichon.co.th/politics/news_4097152
ธงทอง เหน็บส.ว. เป็นรัฐมนตรีเองเลยไหม ถ้าจะสำคัญต่อการตั้งรัฐบาลขนาดนี้
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ศาสตราจารย์พิเศษ
ธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และนิติศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
“มีผู้ให้ความเห็นว่า ในเมื่อ ส.ว. มีความสำคัญในการตั้งรัฐบาลถึงขนาดนี้ ควรแบ่งโควตาตำแหน่งรัฐมนตรี ให้ส.ว. เป็นเองเสียเลย เช่น กลาโหม หรือมหาดไทย ให้รู้แล้วรู้รอดไป”
https://www.facebook.com/nha.chandransu/posts/pfbid02ZSfM6jqXB7EYGpLZ1SrBfaRGSJ8SvWcsEsyCqCGG1tSm6jAWrgQa7ZtdJS3g3Ef5l
บวรศักดิ์ เลคเชอร์ชัด ถ้าพรรคดีลไม่จบ จะโหวตนายกเป็นปีก็ทำได้ ยกเคสอิตาลี-เบลเยียม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4097058
ย้อน “บวรศักดิ์” เลคเชอร์ชัด ถ้าพรรคตกลงไม่ได้ จะโหวตนายกฯเป็นปีก็ทำได้ ยกเคสอิตาลี-เบลเยียม ชี้ รธน.60 เปิดช่องไว้เอง ไม่เหมือนฉบับ 40-50 ให้เวลาแค่ 30 วัน
จากกรณีที่ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “
นิด้าโพล” เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เกี่ยวกับการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีรอบแรก พบว่ามีประชาชนร้อยละ 43.21 ระบุว่าหาก นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล ได้คะแนนเสียงไม่เพียงพอที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ควรมีการเสนอชื่อนายพิธาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ โดยที่มีเสียงสนับสนุนแนวทางนี้ อย่าง นาย
กัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคเป็นธรรม ได้เสนอให้รอไปก่อน 10 เดือน จน ส.ว.หมดอำนาจท่ามกลางมีเสียงสนับสนุนและคัดค้าน ในระหว่างการจัดตั้งรัฐบาลนั้น
เรื่องนี้ นาย
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้เคยบรรยายทางกฎหมายถึงเรื่องดังกล่าวเอาไว้ ผ่านชื่อคลิป วิชา กฎหมายรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 3 ศ.กิตติคุณ ดร.
บวรศักดิ์ อุวรรณโณ โดยช่องยูทูบ ThaiLawStudent ซึ่งการบรรยายของเนติบัณฑิตยสภา ได้รวบรวมคลิป และเก็บรักษาคำบรรยายของท่านอาจารย์ทางกฎหมายไว้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษากฎหมาย
โดย นาย
บวรศักดิ์กล่าวถึงการเลือกนายกรัฐมนตรีในบทเฉพาะกาล ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ตอนหนึ่งว่า จริงๆ ตอนทำรัฐธรรมนูญ นักศึกษาต้องเข้าใจว่า อ.
มีชัย ฤชุพันธุ์ ให้ ส.ส.เลือกอย่างเดียว แต่ว่า สนช.ก็จะเอาใจ คสช. ก็เสนอให้ไปถามประชาชนว่า ประชาชนจะให้ ส.ว.ร่วมเลือกไหมในประชามติ จำได้ไหม ประชามติปี 2560 มี 2 เรื่อง เรื่องแรก เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ กับ เรื่องที่สอง จะให้ ส.ว.เข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นชอบรัฐธรรมนูญ และให้ ส.ว.ร่วมเลือกนายกฯด้วย อ.มีชัยถึงนำร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เขียนให้ ส.ว.เลือกนายกฯ กลับมาแก้ตามประชามติ
ส่วนการได้มาซึ่งนายกฯ บทเฉพาะกาลกับบทถาวรมันเขียนต่างกัน ในบทถาวรบอกว่า พรรคการเมืองต้องแจ้งให้ กกต.ทราบว่า ถ้าตัวเองได้รับเลือกตั้งแล้วจะให้ใครเป็นนายกฯ พรรคละไม่เกิน 3 ชื่อ แล้วต้องประกาศชื่อเหล่านั้นให้ประชาชนทราบ เพื่อว่า ถ้าประชาชนเห็นชื่อนายกฯพรรคไหนดีก็จะได้เลือกพรรคนั้น อันนี้ก็โปร่งใส่ดี พอเลือกตั้งเสร็จ พรรคที่จะเสนอชื่อตามบัญชีได้ ต้องมี ส.ส.ไม่น้อยกว่า 5% หรือ 25 คน จาก 500 คน ให้ลงคะแนนโดยเปิดเผย เรียกชื่อทีละคน คนที่จะได้เป็นนายกฯต้องได้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง แต่เลือกเสร็จเมื่อไหร่รัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้เขียนไว้ โดยรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เขาบอกว่า การเลือกนายกรัฐมนตรีต้องทำให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสภา ถ้า 30 วันแล้ว ยังไม่มีใครได้คะแนนเสียงเกินครึ่ง ก็ให้เลือกหนที่ 2 หนที่ 2 นี้ถ้าใครได้คะแนนเสียงสูงสุดให้นำชื่อคนนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ
“
แต่รัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้เขียนเวลาล็อกเอาไว้เหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540 กับปี 2550 ก็แปลว่า เลือกไปได้เรื่อยๆ ถ้าพรรคการเมืองตกลงกันไม่ได้ อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้ คุณอย่านึกว่าไม่เกิดนะ เกิดแล้วในอิตาลี ตอนแบร์ลุสโกนีพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประชุมสภาเท่าไหร่ๆ คะแนนก็ไม่ถึงครึ่ง รัฐบาลแบร์ลุสโกนีก็ต้องรักษาการไปเรื่อยๆ เป็นปี ในเบลเยี่ยมก็เคยเกิดแล้ว รัฐธรรมนูญปี 2540 กับรัฐธรรมนูญปี 2550 ถึงล็อกเวลาเอาไว้ ว่า ถ้า 1 เดือนหรือ 30 วันผ่านไปแล้ว มันยังไม่มีใครได้คะแนนเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร อีก 15 วันหลังจากนั้นให้เลือกอีกครั้ง แล้วใครได้คะแนนสูงสุดคนนั้นต้องเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว” นาย
บวรศักดิ์ระบุ
ขอบคุณ
ThaiLawStudent นาทีที่ 40 เป็นต้นไป
ศ.พิเศษ ดร.ชลธิรา ไม่เข้ารับรางวัล ‘ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย’ เหตุไว้ทุกข์เสียงข้างมากถูกปล้น
https://www.matichon.co.th/education/news_4096924
ศ.พิเศษ ดร.ชลธิรา ไม่เข้ารับรางวัล ‘ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 2566’ เหตุไว้ทุกข์ให้แผ่นดินไทยกับ ปชช. เสียงข้างมากโดนปล้นชิง
จากกรณีที่ กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ประกาศผลรางวัลทรงเกียรติแด่ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ประจำปี 2566 โดย ศ.พิเศษ ดร.
ชลธิรา สัตยาวัฒนา อาจารย์ นักเขียน และนักวิจัย ได้รับรางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ประจำปี 2566 ซึ่งกำหนดมอบรางวัล ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ช่วงเช้าวันที่ 24 กรกฎาคม
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.พิเศษ ดร.
ชลธิรา เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า
ขอขอบคุณคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก “ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย” ประจำปี 2566
ดิฉันขอน้อมรับการเชิดชูเกียรตินี้ แต่ต้องขออภัยที่ตัดสินใจไม่ไปร่วมงานในวันนี้ (24 กรกฎาคม 2566) ที่หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เนื่องจากดิฉันกำลังไว้ทุกข์ให้กับแผ่นดินไทย ร่วมกับประชาชนส่วนข้างมากของประเทศที่สิทธิและเสียงอันบริสุทธิ์ใจของเขาถูกปล้นชิงไป โดยคณะบุคคลและองค์กรการเมืองที่ล้วนแอบอ้างใช้ “มาตรา 112” เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ธุรกิจผูกขาด และพวกพ้อง อย่างไม่มีความละอายแก่ใจ
https://www.facebook.com/Csatyawadhna/posts/10226027580809336
JJNY : ธงทองเหน็บแรงส.ว.│บวรศักดิ์เลคเชอร์ชัด โหวตเป็นปีก็ทำได้│ดร.ชลธิราไม่เข้ารับรางวัล│CEO ไลน์แมนลั่นไม่เอานายกคนนอก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4097152
ธงทอง เหน็บส.ว. เป็นรัฐมนตรีเองเลยไหม ถ้าจะสำคัญต่อการตั้งรัฐบาลขนาดนี้
เมื่อวันที่ 24 กรกฎาคม ศาสตราจารย์พิเศษ ธงทอง จันทรางศุ อดีตปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี และผู้เชี่ยวชาญด้านประวัติศาสตร์และนิติศาสตร์ โพสต์เฟซบุ๊ก ระบุว่า
“มีผู้ให้ความเห็นว่า ในเมื่อ ส.ว. มีความสำคัญในการตั้งรัฐบาลถึงขนาดนี้ ควรแบ่งโควตาตำแหน่งรัฐมนตรี ให้ส.ว. เป็นเองเสียเลย เช่น กลาโหม หรือมหาดไทย ให้รู้แล้วรู้รอดไป”
https://www.facebook.com/nha.chandransu/posts/pfbid02ZSfM6jqXB7EYGpLZ1SrBfaRGSJ8SvWcsEsyCqCGG1tSm6jAWrgQa7ZtdJS3g3Ef5l
บวรศักดิ์ เลคเชอร์ชัด ถ้าพรรคดีลไม่จบ จะโหวตนายกเป็นปีก็ทำได้ ยกเคสอิตาลี-เบลเยียม
https://www.matichon.co.th/politics/news_4097058
ย้อน “บวรศักดิ์” เลคเชอร์ชัด ถ้าพรรคตกลงไม่ได้ จะโหวตนายกฯเป็นปีก็ทำได้ ยกเคสอิตาลี-เบลเยียม ชี้ รธน.60 เปิดช่องไว้เอง ไม่เหมือนฉบับ 40-50 ให้เวลาแค่ 30 วัน
จากกรณีที่ ศูนย์สำรวจความคิดเห็น “นิด้าโพล” เปิดเผยผลสำรวจของประชาชน เกี่ยวกับการโหวตเลือกนายกรัฐมนตรีรอบแรก พบว่ามีประชาชนร้อยละ 43.21 ระบุว่าหาก นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แคนดิเดตนายกรัฐมนตรี พรรคก้าวไกล ได้คะแนนเสียงไม่เพียงพอที่จะดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ควรมีการเสนอชื่อนายพิธาเพื่อให้รัฐสภาพิจารณาไปเรื่อยๆ จนกว่าจะได้ โดยที่มีเสียงสนับสนุนแนวทางนี้ อย่าง นายกัณวีร์ สืบแสง ส.ส.บัญชีรายชื่อ เลขาธิการพรรคเป็นธรรม ได้เสนอให้รอไปก่อน 10 เดือน จน ส.ว.หมดอำนาจท่ามกลางมีเสียงสนับสนุนและคัดค้าน ในระหว่างการจัดตั้งรัฐบาลนั้น
เรื่องนี้ นายบวรศักดิ์ อุวรรณโณ อดีตประธานกรรมาธิการยกร่างรัฐธรรมนูญ อดีตเลขาธิการคณะรัฐมนตรี ได้เคยบรรยายทางกฎหมายถึงเรื่องดังกล่าวเอาไว้ ผ่านชื่อคลิป วิชา กฎหมายรัฐธรรมนูญ ครั้งที่ 3 ศ.กิตติคุณ ดร.บวรศักดิ์ อุวรรณโณ โดยช่องยูทูบ ThaiLawStudent ซึ่งการบรรยายของเนติบัณฑิตยสภา ได้รวบรวมคลิป และเก็บรักษาคำบรรยายของท่านอาจารย์ทางกฎหมายไว้ เพื่อประโยชน์ทางการศึกษากฎหมาย
โดย นายบวรศักดิ์กล่าวถึงการเลือกนายกรัฐมนตรีในบทเฉพาะกาล ตามรัฐธรรมนูญปี 2560 ตอนหนึ่งว่า จริงๆ ตอนทำรัฐธรรมนูญ นักศึกษาต้องเข้าใจว่า อ.มีชัย ฤชุพันธุ์ ให้ ส.ส.เลือกอย่างเดียว แต่ว่า สนช.ก็จะเอาใจ คสช. ก็เสนอให้ไปถามประชาชนว่า ประชาชนจะให้ ส.ว.ร่วมเลือกไหมในประชามติ จำได้ไหม ประชามติปี 2560 มี 2 เรื่อง เรื่องแรก เห็นชอบหรือไม่เห็นชอบร่างรัฐธรรมนูญ กับ เรื่องที่สอง จะให้ ส.ว.เข้าไปมีส่วนร่วมในการเลือกนายกรัฐมนตรีหรือไม่ ปรากฏว่าประชาชนส่วนใหญ่เห็นชอบรัฐธรรมนูญ และให้ ส.ว.ร่วมเลือกนายกฯด้วย อ.มีชัยถึงนำร่างรัฐธรรมนูญที่ไม่ได้เขียนให้ ส.ว.เลือกนายกฯ กลับมาแก้ตามประชามติ
ส่วนการได้มาซึ่งนายกฯ บทเฉพาะกาลกับบทถาวรมันเขียนต่างกัน ในบทถาวรบอกว่า พรรคการเมืองต้องแจ้งให้ กกต.ทราบว่า ถ้าตัวเองได้รับเลือกตั้งแล้วจะให้ใครเป็นนายกฯ พรรคละไม่เกิน 3 ชื่อ แล้วต้องประกาศชื่อเหล่านั้นให้ประชาชนทราบ เพื่อว่า ถ้าประชาชนเห็นชื่อนายกฯพรรคไหนดีก็จะได้เลือกพรรคนั้น อันนี้ก็โปร่งใส่ดี พอเลือกตั้งเสร็จ พรรคที่จะเสนอชื่อตามบัญชีได้ ต้องมี ส.ส.ไม่น้อยกว่า 5% หรือ 25 คน จาก 500 คน ให้ลงคะแนนโดยเปิดเผย เรียกชื่อทีละคน คนที่จะได้เป็นนายกฯต้องได้เสียงมากกว่ากึ่งหนึ่ง แต่เลือกเสร็จเมื่อไหร่รัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้เขียนไว้ โดยรัฐธรรมนูญ 2540 และ 2550 เขาบอกว่า การเลือกนายกรัฐมนตรีต้องทำให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่วันเปิดประชุมสภา ถ้า 30 วันแล้ว ยังไม่มีใครได้คะแนนเสียงเกินครึ่ง ก็ให้เลือกหนที่ 2 หนที่ 2 นี้ถ้าใครได้คะแนนเสียงสูงสุดให้นำชื่อคนนั้นขึ้นทูลเกล้าฯ
“แต่รัฐธรรมนูญ 2560 ไม่ได้เขียนเวลาล็อกเอาไว้เหมือนรัฐธรรมนูญปี 2540 กับปี 2550 ก็แปลว่า เลือกไปได้เรื่อยๆ ถ้าพรรคการเมืองตกลงกันไม่ได้ อาจจะใช้เวลาเป็นเดือนหรือเป็นปีก็ได้ คุณอย่านึกว่าไม่เกิดนะ เกิดแล้วในอิตาลี ตอนแบร์ลุสโกนีพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ประชุมสภาเท่าไหร่ๆ คะแนนก็ไม่ถึงครึ่ง รัฐบาลแบร์ลุสโกนีก็ต้องรักษาการไปเรื่อยๆ เป็นปี ในเบลเยี่ยมก็เคยเกิดแล้ว รัฐธรรมนูญปี 2540 กับรัฐธรรมนูญปี 2550 ถึงล็อกเวลาเอาไว้ ว่า ถ้า 1 เดือนหรือ 30 วันผ่านไปแล้ว มันยังไม่มีใครได้คะแนนเกินครึ่งหนึ่งของสภาผู้แทนราษฎร อีก 15 วันหลังจากนั้นให้เลือกอีกครั้ง แล้วใครได้คะแนนสูงสุดคนนั้นต้องเป็นนายกรัฐมนตรีแล้ว” นายบวรศักดิ์ระบุ
ขอบคุณ ThaiLawStudent นาทีที่ 40 เป็นต้นไป
ศ.พิเศษ ดร.ชลธิรา ไม่เข้ารับรางวัล ‘ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย’ เหตุไว้ทุกข์เสียงข้างมากถูกปล้น
https://www.matichon.co.th/education/news_4096924
ศ.พิเศษ ดร.ชลธิรา ไม่เข้ารับรางวัล ‘ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย 2566’ เหตุไว้ทุกข์ให้แผ่นดินไทยกับ ปชช. เสียงข้างมากโดนปล้นชิง
จากกรณีที่ กระทรวงวัฒนธรรม โดย กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ประกาศผลรางวัลทรงเกียรติแด่ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ผู้ใช้ภาษาไทยดีเด่น ผู้ใช้ภาษาไทยถิ่นดีเด่น และผู้มีคุณูปการต่อการใช้ภาษาไทย ประจำปี 2566 โดย ศ.พิเศษ ดร.ชลธิรา สัตยาวัฒนา อาจารย์ นักเขียน และนักวิจัย ได้รับรางวัลปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย ประจำปี 2566 ซึ่งกำหนดมอบรางวัล ณ หอประชุมใหญ่ ศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย ช่วงเช้าวันที่ 24 กรกฎาคม
เกี่ยวกับเรื่องนี้ ศ.พิเศษ ดร.ชลธิรา เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า
ขอขอบคุณคณะกรรมการพิจารณาคัดเลือก “ปูชนียบุคคลด้านภาษาไทย” ประจำปี 2566
ดิฉันขอน้อมรับการเชิดชูเกียรตินี้ แต่ต้องขออภัยที่ตัดสินใจไม่ไปร่วมงานในวันนี้ (24 กรกฎาคม 2566) ที่หอประชุมศูนย์วัฒนธรรมแห่งประเทศไทย เนื่องจากดิฉันกำลังไว้ทุกข์ให้กับแผ่นดินไทย ร่วมกับประชาชนส่วนข้างมากของประเทศที่สิทธิและเสียงอันบริสุทธิ์ใจของเขาถูกปล้นชิงไป โดยคณะบุคคลและองค์กรการเมืองที่ล้วนแอบอ้างใช้ “มาตรา 112” เพื่อผลประโยชน์ส่วนตัว ธุรกิจผูกขาด และพวกพ้อง อย่างไม่มีความละอายแก่ใจ
https://www.facebook.com/Csatyawadhna/posts/10226027580809336