วันที่ 22 กรกฎาคม 2011 เกิดเหตุการณ์รถตู้ระเบิดอย่างรุนแรงใจกลางเมืองออสโล ของนอร์เวย์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 คน และบาดเจ็บอีก 209 ราย
ถัดจากนั้นอีกเพียงชั่วโมงครึ่ง บนเกาะขนาดเล็กที่ชื่อว่า อูเตอญ่า ซึ่งห่างจากจุดเกิดเหตุแรกราว 40 กม.
ก็เกิดเหตุการณ์คนร้ายบุกมาสังหารคนบนเกาะอย่างโหดเหี้ยม และเหยื่อแทบทั้งหมดบนเกาะแห่งนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเยาวชนทั้งสิ้น...
หลังจากเสียงปืนนัดแรก คาย่า เด็กสาววัย 18 และ เอมิลี่ น้องสาวของเธอ พร้อมกับเยาวชนจากหลากหลายประเทศ
ที่มาชุมนุมกันในค่ายเยาวชนนานาชาติของพรรคแรงงานนอร์เวย์ในช่วงซัมเมอร์กว่า 600 ชีวิต
ต้องเผชิญกับคนร้ายหัวอนุรักษ์นิยมหัวรุนแรงที่เข้ามากราดยิงพวกเขาอย่างเลือดเย็น
ทำให้มีผู้เสียชีวิตบนเกาะอีก 69 ราย และบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 110 ราย...
Utøya: July 22 ผลงานของผู้กำกับอีริค โป๊บ ชาวนอร์เวย์ สร้างขึ้นจากคำบอกเล่าของผู้ที่รอดชีวิตกว่า 40 คน
จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมครั้งนี้ เพื่อให้ลำดับเรื่องราวใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
ตัวหนังทั้งหมดถ่ายทำแบบ Long Take (เทคเดียว) ตามเวลาของเหตุการณ์โศกนาฎกรรมจริง
(จะมีการใช้เทคนิคอะไรหรือป่าวมาคอยช่วยนี่ ผมก็ไม่ทราบนะครับ แต่ถ้าทำก็โคตรเนียนตาล่ะ สุดยอดมากจริงๆครับ)
โดยติดตามตัวละครเอกของเรื่องคือ คาย่า (Andrea Berntzen) จากมุมมองบุคคลที่สาม ทั้งก่อนและตลอดการโจมตีนาน 72 นาที
ซึ่งในหนังเราจะเห็นผู้ก่อการร้ายในระยะไกลๆเพียงแค่ 2 ช็อตสั้นๆเท่านั้น
โดย Andrea Berntzen ในบทของคาย่า รับหน้าที่แบกหนังไว้ทั้งเรื่อง
ซึ่งยังเป็นการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกและเรื่องเดียวในชีวิตของเธออีกด้วยครับ
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทอดความหวาดกลัว ความโกลาหล รวมถึงมิตรภาพที่เกิดขึ้นแม้จะเป็นเพียงแค่ชั่วเวลาสั้นๆ
แต่ก็ทำให้เรารู้สึกถึงความรู้สึกต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
ซึ่งตรงกันข้ามกับ 22 July (2018) ของ Paul Greengrass หนังอีกเรื่องที่ว่าด้วยเหตุการณ์เดียวกัน
แต่ Utøya จะว่าด้วยความรู้สึกสับสน ความกลัวของผู้ที่อยู่บนเกาะทั้งหมด ไม่มีเรื่องราวดราม่าในส่วนผู้ร้าย หรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ เลย
เหตุการณ์โศกนาฏกรรมในนอร์เวย์ ปี 2011 นั้น มีสาเหตุมาจากความสุดโต่งทางความคิดทางการเมืองของชายผู้หนึ่ง
ยังผลให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาในดินแดนแห่งนี้
1 ในประเทศที่ได้ชื่อว่าประชาชนมีความสุขลำดับต้นๆของโลก ประเทศที่ได้ชื่อว่าปลอดภัยและมีภัยจากการก่ออาชญากรรมน้อยที่สุด
ซึ่งเหตุการณ์นี้ยังคงเป็นเสมือนแผลเป็นที่ไม่มีวันจางในจิตใจของชาวนอร์เวย์ทุกคน จวบจนทุกวันนี้....
แด่ผู้สูญเสียบนเกาะอูเตอญ่า ...12 ปี ในความทรงจำ
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===
== Utøya: July 22 ..ฝันร้ายบนเกาะอูเตอญ่า 22 ก.ค. ในความทรงจำ.. ==
วันที่ 22 กรกฎาคม 2011 เกิดเหตุการณ์รถตู้ระเบิดอย่างรุนแรงใจกลางเมืองออสโล ของนอร์เวย์ ทำให้มีผู้เสียชีวิต 8 คน และบาดเจ็บอีก 209 ราย
ถัดจากนั้นอีกเพียงชั่วโมงครึ่ง บนเกาะขนาดเล็กที่ชื่อว่า อูเตอญ่า ซึ่งห่างจากจุดเกิดเหตุแรกราว 40 กม.
ก็เกิดเหตุการณ์คนร้ายบุกมาสังหารคนบนเกาะอย่างโหดเหี้ยม และเหยื่อแทบทั้งหมดบนเกาะแห่งนั้น ล้วนแล้วแต่เป็นเยาวชนทั้งสิ้น...
หลังจากเสียงปืนนัดแรก คาย่า เด็กสาววัย 18 และ เอมิลี่ น้องสาวของเธอ พร้อมกับเยาวชนจากหลากหลายประเทศ
ที่มาชุมนุมกันในค่ายเยาวชนนานาชาติของพรรคแรงงานนอร์เวย์ในช่วงซัมเมอร์กว่า 600 ชีวิต
ต้องเผชิญกับคนร้ายหัวอนุรักษ์นิยมหัวรุนแรงที่เข้ามากราดยิงพวกเขาอย่างเลือดเย็น
ทำให้มีผู้เสียชีวิตบนเกาะอีก 69 ราย และบาดเจ็บอีกอย่างน้อย 110 ราย...
Utøya: July 22 ผลงานของผู้กำกับอีริค โป๊บ ชาวนอร์เวย์ สร้างขึ้นจากคำบอกเล่าของผู้ที่รอดชีวิตกว่า 40 คน
จากเหตุการณ์โศกนาฏกรรมครั้งนี้ เพื่อให้ลำดับเรื่องราวใกล้เคียงกับความเป็นจริงมากที่สุด
ตัวหนังทั้งหมดถ่ายทำแบบ Long Take (เทคเดียว) ตามเวลาของเหตุการณ์โศกนาฎกรรมจริง
(จะมีการใช้เทคนิคอะไรหรือป่าวมาคอยช่วยนี่ ผมก็ไม่ทราบนะครับ แต่ถ้าทำก็โคตรเนียนตาล่ะ สุดยอดมากจริงๆครับ)
โดยติดตามตัวละครเอกของเรื่องคือ คาย่า (Andrea Berntzen) จากมุมมองบุคคลที่สาม ทั้งก่อนและตลอดการโจมตีนาน 72 นาที
ซึ่งในหนังเราจะเห็นผู้ก่อการร้ายในระยะไกลๆเพียงแค่ 2 ช็อตสั้นๆเท่านั้น
โดย Andrea Berntzen ในบทของคาย่า รับหน้าที่แบกหนังไว้ทั้งเรื่อง
ซึ่งยังเป็นการแสดงภาพยนตร์เรื่องแรกและเรื่องเดียวในชีวิตของเธออีกด้วยครับ
ภาพยนตร์เรื่องนี้ถ่ายทอดความหวาดกลัว ความโกลาหล รวมถึงมิตรภาพที่เกิดขึ้นแม้จะเป็นเพียงแค่ชั่วเวลาสั้นๆ
แต่ก็ทำให้เรารู้สึกถึงความรู้สึกต่างๆ ได้เป็นอย่างดี
ซึ่งตรงกันข้ามกับ 22 July (2018) ของ Paul Greengrass หนังอีกเรื่องที่ว่าด้วยเหตุการณ์เดียวกัน
แต่ Utøya จะว่าด้วยความรู้สึกสับสน ความกลัวของผู้ที่อยู่บนเกาะทั้งหมด ไม่มีเรื่องราวดราม่าในส่วนผู้ร้าย หรือเจ้าหน้าที่อื่นๆ เลย
เหตุการณ์โศกนาฏกรรมในนอร์เวย์ ปี 2011 นั้น มีสาเหตุมาจากความสุดโต่งทางความคิดทางการเมืองของชายผู้หนึ่ง
ยังผลให้เกิดความสูญเสียครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมาในดินแดนแห่งนี้
1 ในประเทศที่ได้ชื่อว่าประชาชนมีความสุขลำดับต้นๆของโลก ประเทศที่ได้ชื่อว่าปลอดภัยและมีภัยจากการก่ออาชญากรรมน้อยที่สุด
ซึ่งเหตุการณ์นี้ยังคงเป็นเสมือนแผลเป็นที่ไม่มีวันจางในจิตใจของชาวนอร์เวย์ทุกคน จวบจนทุกวันนี้....
แด่ผู้สูญเสียบนเกาะอูเตอญ่า ...12 ปี ในความทรงจำ
=== ทิ้งท้ายครับ หนังที่ดีสำหรับตัวเรา แน่นอนว่าอาจจะไม่ได้ดีและไม่ได้ถูกใจสำหรับใคร
ซึ่งอยู่ที่ความชอบของแต่ละบุคคล ภาพยนตร์ก็เหมือนอาหารล่ะครับ อยู่ที่เราเลือกที่จะอยากชิมรสชาติแบบไหนเท่านั้นเอง ===