ชวนรู้จัก ‘ทรราชย์เสียงข้างน้อย’ หลัง อ.ประจักษ์ใช้อธิบายภาวะที่ ส.ว.ไม่เคารพเสียงของประชาชน
https://thematter.co/brief/208515/208515
“ประเด็นใจกลางคือ ส.ว.ไม่เคารพการตัดสินใจของประชาชน”
หลังจากการโหวตนายกฯ ครั้งแรกผ่านไป และผลออกมาว่า
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าและแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคก้าวไกลจะยังไม่ได้รับเลือกเป็นนายกฯ ในตอนนี้ เนื่องจากเขาได้รับเสียงจาก ส.ส. 8 พรรคร่วมรัฐบาลไปได้ 311 เสียง และเสียงจาก ส.ว.เพียง 13 เสียงซึ่งไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสภา ก็ทำให้หลายคนออกมาแสดงความไม่พอใจต่อ ส.ว. รวมทั้งเรียกร้องให้ ส.ว.ออกมาเคารพเสียงของประชาชน
หนึ่งในคนที่ออกมาเรียกร้องด้วยก็คือ
ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาธรรมศาสตร์ที่ออกมาทวีตเมื่อวานนี้ (15 กรกฎาคม) ว่า
“
ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ 112 หรือคุณสมบัติใดๆ ของว่าที่นายกฯ – ประเด็นใจกลางคือ ส.ว.ไม่เคารพการตัดสินใจของประชาชน ไม่มีประเทศใดในโลกที่อยู่ในสภาพผิดปรกติเช่นนี้ ที่คน 250 คนจากการรัฐประหารมีอำนาจเลือกนายกฯ ตามอำเภอใจ ภาวะเช่นนี้ คือ ‘ทรราชย์ของเสียงข้างน้อย’ (tyranny of minority)”
ในวันนี้ (16 กรกฎาคม) The MATTER จึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับคำว่า ‘
ทรราชย์ของเสียงข้างน้อย’ ที่ประจักษ์กล่าวถึงกันสักหน่อย
ราชบัณฑิตยสถานให้คำนิยาม ‘
ทรราช’ ว่าคือผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน โดยจะเรียกลัทธิเช่นนั้น ว่า ‘
ทรราชย์’ หรือ ‘
ระบบทรราชย์’
ประจักษ์เคยให้คำนิยามถึงทรราชย์เสียงข้างน้อย ใน ‘เสวนามวลมหาประชาธิปไตย’ ว่า ภาวะทรราชย์เสียงข้างน้อย ก็คือภาวะที่เสียงส่วนใหญ่ของคนในสังคมไม่ถูกนับ หรือถูกทำให้ไม่มีความหมาย ในขณะที่เสียงของคนจำนวนน้อยไม่ถึง 5% หรือไม่ถึง 3% มักดังกว่าคนอื่นเสมอ
ส่วนที่มาที่ไปของภาวะนี้ ประจักษ์ระบุในงานเสวนาเดียวกันนั้นว่า เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับระบบประชาธิปไตยที่มองว่า ประชาธิปไตยคือการปกครองแบบเสียงข้างมากแต่ไม่ได้แปลว่าเสียงข้างมากจะถูกต้องเสมอไป จึงไม่ได้เป็นที่ยอมรับจากนักปราชญ์ในอดีตมากนัก ประกอบกับความกลัวว่าเสียงข้างมากจะกดเสียงข้างน้อย ทำให้เสียงข้างน้อยถูกละเลย แล้วเกิดเป็นทรรายช์เสียงข้างมากแทน
ด้วยแนวความเชื่อเช่นนี้
ประจักษ์จึงระบุว่า หลายๆ ประเทศจึงพยายามวางกลไกรัฐธรรมนูญไม่ให้มีเสียงข้างมากที่มีอำนาจมากเกินไป แต่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ จากงานวิจัยเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่อาจารย์ยกมา กลับพบว่าการกล่าวถึงอันตรายของเสียงข้างมากเป็นเรื่องที่เกินจริงมาก เพราะในช่วง 200 ปีที่ประเทศส่วนใหญ่เริ่มมีประชาธิปไตย ‘
ปัญหาที่เป็นจริงและน่ากลัวกว่าคือ ทรราชย์ของเสียงข้างน้อย’ หรือก็คือการที่อำนาจตกอยู่ในมือของคนกลุ่มน้อย และผู้ขาดอำนาจดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นด้านทหาร พรรคการเมือง หรือนายทุน
ประจักษ์ยังระบุต่อว่า การทรราชย์เสียงข้างมาก ซึ่งหมายถึงประชาชนเจ้าของอำนาจ ทำให้ประเทศล่มสลายนั้น ยังไม่เคยมีปรากฏอยู่แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบก็คือทรราชย์เสียงข้างน้อย หรือ ‘ภาวะที่เสียงส่วนใหญ่ของคนในสังคมไม่ถูกนับหรือถูกทำให้ไม่มีความหมาย’
ประจักษ์ยังยกตัวอย่างถึงอเมริกา ที่มีการออกแบบกติกาเพื่อถ่วงดุลอำนาจสถาบันต่างๆ ไม่ให้ใครมีอำนาจมากเกินไป แต่ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือการที่อำนาจกระจุกตัวอยู่ในคนกลุ่มหนึ่งที่ไปครอบงำพรรคการเมืองอีกที เช่น บรรษัทขนาดใหญ่ นายทุนอุตสาหกรรม บริษัทค้าอาวุธสงคราม
อีกหนึ่งประเด็นที่
ประจักษ์ทวีตเอาไว้เมื่อคืนนี้ ก็คือการที่ ส.ว. 236 คนไม่เคารพการตัดสินใจของประชาชน
เมื่อย้อนกลับไปในวันอภิปรายก่อนการโหวตนายกฯ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา หนึ่งในประโยคที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวนอกจากเรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แล้ว ก็คือ การอย่าใช้คะแนนโหวต 14 ล้านเสียงของก้าวไกลมากดดัน
“
ต้องเลิกอ้างเสียงข้างมาก 14 ล้านเสียง แล้วบังคับคนทั้งประเทศว่าต้องเห็นด้วย แบบนั้นผิดหลักประชาธิปไตยแต่เป็นเผด็จการ…ผมในฐานะสมาชิกรัฐสภา พิจารณาแล้วเห็นว่านายพิธา ยังไม่เหมาะสมเป็นนายกฯ” ส.ว.
สมชาย แสวงการกล่าว
นั่นจึงทำให้หลังจากที่ ส.ว.อภิปรายในสภาฯ และได้ลงคะแนนเสียงโหวตนายกฯ แล้ว ก็เกิดเป็นคำถามตามมาอีกเช่นกันว่าแล้ว
ทำไม ส.ว. 249 เสียง (1 คนลาออก) ถึงมีอำนาจมากกว่าประชาชนหลายสิบล้านคนที่ออกไปเลือกตั้ง The MATTER จึงอยากขอพาทุกคนย้อนดูถึงที่มาของ ส.ว.ชุดนี้ ที่จะหมดวาระในปี พฤษภาคม 2567 กันอีกสักรอบว่าพวกเขามีที่มาที่ไปอย่างไร?
ที่มาของ ส.ว.ชุดนี้ เป็นผลพวงมาจาก รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่ระบุไว้ว่าในวาระเริ่มแรกของ ส.ว.ชุดนี้ ให้มีจำนวน 250 คน และมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งตามที่ คสช. ถวายคำแนะนำ
โดย จำนวน 250 คน จะมาจาก 3 ทาง คือ
– ให้ กกต. สรรหารายชื่อ 200 คน แล้วเสนอให้ คสช.เลือก 50 คน
– คณะกรรมการรรหา ส.ว. สรรหารายชื่อไม่เกิน 400 คน แล้วเสนอให้ คสช.เลือก 194 คน
– เป็นโดยตำแหน่ง (โดยไม่ต้องลาออกจากตำแหน่งเดิม) 6 คน คือ ปลัดกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้บัญชาการทหารบก, ผู้บัญชาการทหารเรือ, ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เมื่อ ส.ว.ชุดแรกดำรงตำแหน่งครบ 5 ปีแล้ว ส.ว. ชุดต่อมาจะมีจำนวนเหลือ 200 คน ซึ่งมากจากการเลือกกันเอง โดยระหว่างที่ยังไม่ได้ ส.ว.ชุดใหม่ ส.ว.ชุดเดิมก็จะยังปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
อย่างไรก็ดี การประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตนายกฯ รอบต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 19 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ ก็ยังเป็นที่น่าจับตามองว่า ส.ว.และพรรคอื่นๆ นอกจากพรรคร่วมรัฐบาล 8 พรรค จะลงคะแนนเห็นชอบให้
พิธา จากพรรคก้าวไกล ซึ่งได้คะแนนโหวตจากประชาชนกว่า 14 ล้านเสียง เพื่อให้ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯ คนที่ 30 ของประเทศไทยหรือไม่
อ้างอิงจาก
twitter.com
nytimes.com
tcijthai.com
thaipost.net
thematter.co
ราษฎรโวย เจอหักดิบความฝัน เหยียบย่ำความหวัง อุตส่าห์ไปเลือกตั้งทั้งประเทศ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4083354
ราษฎรโวย เจอหักดิบความฝัน เหยียบย่ำความหวัง อุตส่าห์ไปเลือกตั้งทั้งประเทศ
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม สืบเนื่องกรณี นาย
อานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยนัดหมายชุมนุมคาร์ม็อบ #RespectMyVote
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศเวลา 17.00 น.โดยประมาณ ที่ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ประชาชนรวมตัวหลังเดินทางไปยื่นหนังสือลาออกให้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยมีตัวแทนออกมารับ
เวลา 17.30 น.
บอย ธัชพงศ์ แกดำ กล่าวบนรถเครื่องเสียงว่า พวกเราฝ่าฟันอุปสรรคมาตั้งแต่ปี 2563 เมื่อถูกเหยียบย่ำจากรัฐบาลเผด็จการที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนหน้านั้นก็มีผู้ที่สู้มาก่อน ต่อมา ปี 2566 มีการเลือกตั้ง เราไปใช้สิทธิใช้เสียง แต่ในวันที่ 13 กรกฎาคมกลับเกิดเหตุที่เป็นการสร้างความหวาดกลัว ทำลายความชอบธรรม หักดิบความฝันในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม นี่ไม่ใช่แต่ประเด็นการโหวตนายกฯ แต่เป็นการเหยียบย่ำความหวัง และความหวังของคนในสังคมโดยการทำเป็นขบวนการ มีการใช้ ส.ว.เป็นเครื่องมือ
เวลา 17.35 น. กลุ่มราษดรัมรัวกลองเปิดเวทีปราศรัยอย่างเป็นทางการ โดยผู้ปราศรัยคนแรกบนรถเครื่องเสียงคือ นาย
โสภณ หรือ
เก็ท กลุ่มโมกหลวงริมน้ำ
อานนท์ นำคาร์ม็อบจี้ ผบ.ทัพลาออก ส.ว. อ้างภารกิจเบี้ยวโหวตนายกฯ บีบแตรปลุกสำนึก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4082995
อานนท์ นำคาร์ม็อบจี้ ผบ.ทัพลาออก ส.ว. อ้างภารกิจเบี้ยวโหวตนายกฯ บีบแตรปลุกสำนึก
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม สืบเนื่องกรณีนาย
อานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยนัดหมายชุมนุมคาร์ม็อบ #RespectMyVote ในวันนี้เวลา 13.00 น. เพื่อนำใบลาออกไปมอบให้ ส.ว.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.05 น. นาย
อานนท์เดินทางมาถึง
นาย
อานนท์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า กิจกรรมในวันนี้เป็นการเดินทางไปยื่นใบลาออก มอบให้กับผู้นำเหล่าทัพทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เป็น ส.ว. แต่ด้วยข้อจำกัดของเส้นทางในการเดินทาง จึงเดินทางไปแค่ 3 แห่ง ได้แก่ หน้ากองบัญชาการกองทัพบก กองทัพเรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และจบด้วยการปราศรัยสั้นๆ บริเวณหอศิลป์ กทม.
“
เจตนาหลักๆ คือการเรียกร้องให้ผู้บังคับบัญชาเหล่าทัพและฝั่ง ส.ว. (สมาชิกวุฒิสภา) ที่ไม่เข้าร่วมการประชุมในวันดังกล่าว ทั้งหมดได้ลาออกจากการเป็น ส.ว. มันก็จะให้จำนวนของ ส.ว.ลดลง คะแนนเสียงที่จะโหวตพรรคฝ่ายประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องถึง 376 เสียง ส่วน ส.ว.ที่จะเข้าร่วมการประชุมการโหวต ก็ขอเรียกร้องให้ท่านเคารพเสียงของมติมหาชน คือการโหวตตามเสียงข้างมากเมื่อวันเลือกตั้งที่ 14 พฤษภาคม โดยหมายถึง 8 พรรคร่วมรัฐบาล” นาย
อานนท์กล่าว
นาย
อานนท์กล่าวว่า หวังว่ากิจกรรมนี้จะช่วยกระตุ้น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ กระตุ้นไปที่จิตสำนึกของ ส.ว. ร่วมถึง ส.ส.ที่ยังไม่โหวต แต่อีกส่วนหนึ่งอยากให้เป็นกิจกรรมที่เป็นจุดแรกเริ่มที่ทำให้คนทั้งประเทศได้ร่วมกัน เข้ามาเห็นถึงความสำคัญของการออกมาแสดงพลัง เพื่อยืนยันเสียงของตัวเอง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่ได้ลงคะแนนเสียงไป
“
ตอนนี้เราเหมือนถูกปล้นคะแนนเสียงไป อยากให้พี่น้องทั่วประเทศได้ลุกขึ้นมาต่อสู้ร่วมกันอีกครั้งหนึ่งเพื่อได้รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยมาบริหารราชการแผ่นดิน” นาย
อานนท์กล่าว
จากนั้น นาย
อานนท์ ขึ้นกล่าวบนรถเครื่องเสียงต่อหน้าผู้ร่วมกิจกรรม ขอบคุณประชาชนที่มาร่วมขบวนคาร์ม็อบ และตำรวจที่มาร่วมจัดการจราจรในครั้งนี้
นายอานนท์กล่าวว่า วันนี้มีข่าวดีคือเราได้รับการยืนยันว่า 8 พรรค จะโหวตให้นาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แน่นอนไม่แตกแถว ในวันที่ 19 กรกฎาคม ซึ่งจะเป็นการโหวตครั้งที่ 2
“
ผู้บังคับบัญชาการเหล่าทัพทั้งหลาย ในวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา จงใจที่จะไม่เข้าไปในสภา อ้างติดภารกิจสำคัญ แต่ภารกิจสำคัญอะไรที่มันจะสำคัญกว่าโหวตนายกฯในครั้งนี้ และยังมี ส.ว.ที่อยู่ในสภา กล้าๆ กลัวๆ ในการโหวตพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถ้าไม่กล้าโหวตก็ลาออกไป
“พวกประชาชนเราต้องออกมาแสดงพลังให้มากที่สุด พวกเราเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม ตอนนั้น หวังว่าประชาชนประชาธิปไตยจะชนะการเลือกตั้ง ก็ชนะมาถึง 25 ล้านเสียง เขาก็ยังไม่ฟังเราอีกหรือ เพราะฉะนั้นเสียงจากบัตร มันอาจจะเงียบเกินไป เราต้องใช้เสียงแตรรถยนต์ในการขับเคลื่อนในครั้งนี้
“คาร์ม็อบในครั้งนี้ ขบวนจะไม่หยุด เมื่อผ่านวัด และโรงพยาบาล เราจะหยุดใช้เสียงแตรในทันที และเมื่อผ่าน ส.ว. เหล่ากองทัพทั้งหลาย เราจะใช้เสียงแตรให้มันดัง” นาย
อานนท์กล่าว
JJNY : 5in1 ทรราชย์เสียงข้างน้อย│ราษฎรโวย เจอหักดิบ│อานนท์จี้ผบ.ทัพลาออกส.ว.│นักธุรกิจเสียดาย│เตือนมะกันเจอร้อนอันตราย
https://thematter.co/brief/208515/208515
“ประเด็นใจกลางคือ ส.ว.ไม่เคารพการตัดสินใจของประชาชน”
หลังจากการโหวตนายกฯ ครั้งแรกผ่านไป และผลออกมาว่า พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าและแคนดิเดตนายกฯ จากพรรคก้าวไกลจะยังไม่ได้รับเลือกเป็นนายกฯ ในตอนนี้ เนื่องจากเขาได้รับเสียงจาก ส.ส. 8 พรรคร่วมรัฐบาลไปได้ 311 เสียง และเสียงจาก ส.ว.เพียง 13 เสียงซึ่งไม่ถึงกึ่งหนึ่งของสภา ก็ทำให้หลายคนออกมาแสดงความไม่พอใจต่อ ส.ว. รวมทั้งเรียกร้องให้ ส.ว.ออกมาเคารพเสียงของประชาชน
หนึ่งในคนที่ออกมาเรียกร้องด้วยก็คือ ประจักษ์ ก้องกีรติ อาจารย์จากคณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาธรรมศาสตร์ที่ออกมาทวีตเมื่อวานนี้ (15 กรกฎาคม) ว่า
“ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ 112 หรือคุณสมบัติใดๆ ของว่าที่นายกฯ – ประเด็นใจกลางคือ ส.ว.ไม่เคารพการตัดสินใจของประชาชน ไม่มีประเทศใดในโลกที่อยู่ในสภาพผิดปรกติเช่นนี้ ที่คน 250 คนจากการรัฐประหารมีอำนาจเลือกนายกฯ ตามอำเภอใจ ภาวะเช่นนี้ คือ ‘ทรราชย์ของเสียงข้างน้อย’ (tyranny of minority)”
ในวันนี้ (16 กรกฎาคม) The MATTER จึงขอพาทุกคนไปทำความรู้จักกับคำว่า ‘ทรราชย์ของเสียงข้างน้อย’ ที่ประจักษ์กล่าวถึงกันสักหน่อย
ราชบัณฑิตยสถานให้คำนิยาม ‘ทรราช’ ว่าคือผู้ปกครองบ้านเมืองที่ใช้อำนาจตามอำเภอใจ ทำความเดือดร้อนทารุณให้แก่ผู้อยู่ใต้การปกครองของตน โดยจะเรียกลัทธิเช่นนั้น ว่า ‘ทรราชย์’ หรือ ‘ระบบทรราชย์’
ประจักษ์เคยให้คำนิยามถึงทรราชย์เสียงข้างน้อย ใน ‘เสวนามวลมหาประชาธิปไตย’ ว่า ภาวะทรราชย์เสียงข้างน้อย ก็คือภาวะที่เสียงส่วนใหญ่ของคนในสังคมไม่ถูกนับ หรือถูกทำให้ไม่มีความหมาย ในขณะที่เสียงของคนจำนวนน้อยไม่ถึง 5% หรือไม่ถึง 3% มักดังกว่าคนอื่นเสมอ
ส่วนที่มาที่ไปของภาวะนี้ ประจักษ์ระบุในงานเสวนาเดียวกันนั้นว่า เกิดจากความเชื่อเกี่ยวกับระบบประชาธิปไตยที่มองว่า ประชาธิปไตยคือการปกครองแบบเสียงข้างมากแต่ไม่ได้แปลว่าเสียงข้างมากจะถูกต้องเสมอไป จึงไม่ได้เป็นที่ยอมรับจากนักปราชญ์ในอดีตมากนัก ประกอบกับความกลัวว่าเสียงข้างมากจะกดเสียงข้างน้อย ทำให้เสียงข้างน้อยถูกละเลย แล้วเกิดเป็นทรรายช์เสียงข้างมากแทน
ด้วยแนวความเชื่อเช่นนี้ ประจักษ์จึงระบุว่า หลายๆ ประเทศจึงพยายามวางกลไกรัฐธรรมนูญไม่ให้มีเสียงข้างมากที่มีอำนาจมากเกินไป แต่สิ่งหนึ่งที่น่าสนใจก็คือ จากงานวิจัยเกี่ยวกับประชาธิปไตยที่อาจารย์ยกมา กลับพบว่าการกล่าวถึงอันตรายของเสียงข้างมากเป็นเรื่องที่เกินจริงมาก เพราะในช่วง 200 ปีที่ประเทศส่วนใหญ่เริ่มมีประชาธิปไตย ‘ปัญหาที่เป็นจริงและน่ากลัวกว่าคือ ทรราชย์ของเสียงข้างน้อย’ หรือก็คือการที่อำนาจตกอยู่ในมือของคนกลุ่มน้อย และผู้ขาดอำนาจดังกล่าว ไม่ว่าจะเป็นด้านทหาร พรรคการเมือง หรือนายทุน
ประจักษ์ยังระบุต่อว่า การทรราชย์เสียงข้างมาก ซึ่งหมายถึงประชาชนเจ้าของอำนาจ ทำให้ประเทศล่มสลายนั้น ยังไม่เคยมีปรากฏอยู่แต่ปัญหาส่วนใหญ่ที่พบก็คือทรราชย์เสียงข้างน้อย หรือ ‘ภาวะที่เสียงส่วนใหญ่ของคนในสังคมไม่ถูกนับหรือถูกทำให้ไม่มีความหมาย’
ประจักษ์ยังยกตัวอย่างถึงอเมริกา ที่มีการออกแบบกติกาเพื่อถ่วงดุลอำนาจสถาบันต่างๆ ไม่ให้ใครมีอำนาจมากเกินไป แต่ปัญหาที่พบในปัจจุบันคือการที่อำนาจกระจุกตัวอยู่ในคนกลุ่มหนึ่งที่ไปครอบงำพรรคการเมืองอีกที เช่น บรรษัทขนาดใหญ่ นายทุนอุตสาหกรรม บริษัทค้าอาวุธสงคราม
อีกหนึ่งประเด็นที่ ประจักษ์ทวีตเอาไว้เมื่อคืนนี้ ก็คือการที่ ส.ว. 236 คนไม่เคารพการตัดสินใจของประชาชน
เมื่อย้อนกลับไปในวันอภิปรายก่อนการโหวตนายกฯ เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา หนึ่งในประโยคที่ถูกหยิบยกขึ้นมากล่าวนอกจากเรื่องการแก้ไขประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 112 แล้ว ก็คือ การอย่าใช้คะแนนโหวต 14 ล้านเสียงของก้าวไกลมากดดัน
“ต้องเลิกอ้างเสียงข้างมาก 14 ล้านเสียง แล้วบังคับคนทั้งประเทศว่าต้องเห็นด้วย แบบนั้นผิดหลักประชาธิปไตยแต่เป็นเผด็จการ…ผมในฐานะสมาชิกรัฐสภา พิจารณาแล้วเห็นว่านายพิธา ยังไม่เหมาะสมเป็นนายกฯ” ส.ว.สมชาย แสวงการกล่าว
นั่นจึงทำให้หลังจากที่ ส.ว.อภิปรายในสภาฯ และได้ลงคะแนนเสียงโหวตนายกฯ แล้ว ก็เกิดเป็นคำถามตามมาอีกเช่นกันว่าแล้ว
ทำไม ส.ว. 249 เสียง (1 คนลาออก) ถึงมีอำนาจมากกว่าประชาชนหลายสิบล้านคนที่ออกไปเลือกตั้ง The MATTER จึงอยากขอพาทุกคนย้อนดูถึงที่มาของ ส.ว.ชุดนี้ ที่จะหมดวาระในปี พฤษภาคม 2567 กันอีกสักรอบว่าพวกเขามีที่มาที่ไปอย่างไร?
ที่มาของ ส.ว.ชุดนี้ เป็นผลพวงมาจาก รัฐธรรมนูญ ปี 2560 ที่ระบุไว้ว่าในวาระเริ่มแรกของ ส.ว.ชุดนี้ ให้มีจำนวน 250 คน และมีวาระการดำรงตำแหน่ง 5 ปี โดยพระมหากษัตริย์เป็นผู้แต่งตั้งตามที่ คสช. ถวายคำแนะนำ
โดย จำนวน 250 คน จะมาจาก 3 ทาง คือ
– ให้ กกต. สรรหารายชื่อ 200 คน แล้วเสนอให้ คสช.เลือก 50 คน
– คณะกรรมการรรหา ส.ว. สรรหารายชื่อไม่เกิน 400 คน แล้วเสนอให้ คสช.เลือก 194 คน
– เป็นโดยตำแหน่ง (โดยไม่ต้องลาออกจากตำแหน่งเดิม) 6 คน คือ ปลัดกระทรวงกลาโหม, ผู้บัญชาการทหารสูงสุด, ผู้บัญชาการทหารบก, ผู้บัญชาการทหารเรือ, ผู้บัญชาการทหารอากาศ และผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
เมื่อ ส.ว.ชุดแรกดำรงตำแหน่งครบ 5 ปีแล้ว ส.ว. ชุดต่อมาจะมีจำนวนเหลือ 200 คน ซึ่งมากจากการเลือกกันเอง โดยระหว่างที่ยังไม่ได้ ส.ว.ชุดใหม่ ส.ว.ชุดเดิมก็จะยังปฏิบัติหน้าที่ต่อไป
อย่างไรก็ดี การประชุมรัฐสภาเพื่อโหวตนายกฯ รอบต่อไปจะมีขึ้นในวันที่ 19 กรกฎาคมที่จะถึงนี้ ก็ยังเป็นที่น่าจับตามองว่า ส.ว.และพรรคอื่นๆ นอกจากพรรคร่วมรัฐบาล 8 พรรค จะลงคะแนนเห็นชอบให้ พิธา จากพรรคก้าวไกล ซึ่งได้คะแนนโหวตจากประชาชนกว่า 14 ล้านเสียง เพื่อให้ได้ขึ้นดำรงตำแหน่งนายกฯ คนที่ 30 ของประเทศไทยหรือไม่
อ้างอิงจาก
twitter.com
nytimes.com
tcijthai.com
thaipost.net
thematter.co
ราษฎรโวย เจอหักดิบความฝัน เหยียบย่ำความหวัง อุตส่าห์ไปเลือกตั้งทั้งประเทศ
https://www.matichon.co.th/politics/news_4083354
ราษฎรโวย เจอหักดิบความฝัน เหยียบย่ำความหวัง อุตส่าห์ไปเลือกตั้งทั้งประเทศ
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม สืบเนื่องกรณี นายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยนัดหมายชุมนุมคาร์ม็อบ #RespectMyVote
ผู้สื่อข่าวรายงานบรรยากาศเวลา 17.00 น.โดยประมาณ ที่ลานหน้าหอศิลปวัฒนธรรมแห่งกรุงเทพมหานคร ประชาชนรวมตัวหลังเดินทางไปยื่นหนังสือลาออกให้ พล.ต.อ.ดำรงศักดิ์ กิตติประภัสร์ ผบ.ตร. ที่หน้าสำนักงานตำรวจแห่งชาติโดยมีตัวแทนออกมารับ
เวลา 17.30 น. บอย ธัชพงศ์ แกดำ กล่าวบนรถเครื่องเสียงว่า พวกเราฝ่าฟันอุปสรรคมาตั้งแต่ปี 2563 เมื่อถูกเหยียบย่ำจากรัฐบาลเผด็จการที่นำโดย พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ก่อนหน้านั้นก็มีผู้ที่สู้มาก่อน ต่อมา ปี 2566 มีการเลือกตั้ง เราไปใช้สิทธิใช้เสียง แต่ในวันที่ 13 กรกฎาคมกลับเกิดเหตุที่เป็นการสร้างความหวาดกลัว ทำลายความชอบธรรม หักดิบความฝันในการสร้างความเปลี่ยนแปลงทางสังคม นี่ไม่ใช่แต่ประเด็นการโหวตนายกฯ แต่เป็นการเหยียบย่ำความหวัง และความหวังของคนในสังคมโดยการทำเป็นขบวนการ มีการใช้ ส.ว.เป็นเครื่องมือ
เวลา 17.35 น. กลุ่มราษดรัมรัวกลองเปิดเวทีปราศรัยอย่างเป็นทางการ โดยผู้ปราศรัยคนแรกบนรถเครื่องเสียงคือ นายโสภณ หรือ เก็ท กลุ่มโมกหลวงริมน้ำ
อานนท์ นำคาร์ม็อบจี้ ผบ.ทัพลาออก ส.ว. อ้างภารกิจเบี้ยวโหวตนายกฯ บีบแตรปลุกสำนึก
https://www.matichon.co.th/politics/news_4082995
อานนท์ นำคาร์ม็อบจี้ ผบ.ทัพลาออก ส.ว. อ้างภารกิจเบี้ยวโหวตนายกฯ บีบแตรปลุกสำนึก
เมื่อวันที่ 16 กรกฎาคม สืบเนื่องกรณีนายอานนท์ นำภา ทนายความด้านสิทธิมนุษยชน โพสต์ข้อความผ่านทางเฟซบุ๊ก โดยนัดหมายชุมนุมคาร์ม็อบ #RespectMyVote ในวันนี้เวลา 13.00 น. เพื่อนำใบลาออกไปมอบให้ ส.ว.
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อเวลา 13.05 น. นายอานนท์เดินทางมาถึง
นายอานนท์ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนว่า กิจกรรมในวันนี้เป็นการเดินทางไปยื่นใบลาออก มอบให้กับผู้นำเหล่าทัพทั้งกองทัพบก กองทัพเรือ กองทัพอากาศ และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ที่เป็น ส.ว. แต่ด้วยข้อจำกัดของเส้นทางในการเดินทาง จึงเดินทางไปแค่ 3 แห่ง ได้แก่ หน้ากองบัญชาการกองทัพบก กองทัพเรือ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และจบด้วยการปราศรัยสั้นๆ บริเวณหอศิลป์ กทม.
“เจตนาหลักๆ คือการเรียกร้องให้ผู้บังคับบัญชาเหล่าทัพและฝั่ง ส.ว. (สมาชิกวุฒิสภา) ที่ไม่เข้าร่วมการประชุมในวันดังกล่าว ทั้งหมดได้ลาออกจากการเป็น ส.ว. มันก็จะให้จำนวนของ ส.ว.ลดลง คะแนนเสียงที่จะโหวตพรรคฝ่ายประชาธิปไตยไม่จำเป็นต้องถึง 376 เสียง ส่วน ส.ว.ที่จะเข้าร่วมการประชุมการโหวต ก็ขอเรียกร้องให้ท่านเคารพเสียงของมติมหาชน คือการโหวตตามเสียงข้างมากเมื่อวันเลือกตั้งที่ 14 พฤษภาคม โดยหมายถึง 8 พรรคร่วมรัฐบาล” นายอานนท์กล่าว
นายอานนท์กล่าวว่า หวังว่ากิจกรรมนี้จะช่วยกระตุ้น 2 ส่วน ส่วนแรกคือ กระตุ้นไปที่จิตสำนึกของ ส.ว. ร่วมถึง ส.ส.ที่ยังไม่โหวต แต่อีกส่วนหนึ่งอยากให้เป็นกิจกรรมที่เป็นจุดแรกเริ่มที่ทำให้คนทั้งประเทศได้ร่วมกัน เข้ามาเห็นถึงความสำคัญของการออกมาแสดงพลัง เพื่อยืนยันเสียงของตัวเอง เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม ที่ได้ลงคะแนนเสียงไป
“ตอนนี้เราเหมือนถูกปล้นคะแนนเสียงไป อยากให้พี่น้องทั่วประเทศได้ลุกขึ้นมาต่อสู้ร่วมกันอีกครั้งหนึ่งเพื่อได้รัฐบาลที่เป็นประชาธิปไตยมาบริหารราชการแผ่นดิน” นายอานนท์กล่าว
จากนั้น นายอานนท์ ขึ้นกล่าวบนรถเครื่องเสียงต่อหน้าผู้ร่วมกิจกรรม ขอบคุณประชาชนที่มาร่วมขบวนคาร์ม็อบ และตำรวจที่มาร่วมจัดการจราจรในครั้งนี้
นายอานนท์กล่าวว่า วันนี้มีข่าวดีคือเราได้รับการยืนยันว่า 8 พรรค จะโหวตให้นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ แน่นอนไม่แตกแถว ในวันที่ 19 กรกฎาคม ซึ่งจะเป็นการโหวตครั้งที่ 2
“ผู้บังคับบัญชาการเหล่าทัพทั้งหลาย ในวันที่ 13 กรกฎาคมที่ผ่านมา จงใจที่จะไม่เข้าไปในสภา อ้างติดภารกิจสำคัญ แต่ภารกิจสำคัญอะไรที่มันจะสำคัญกว่าโหวตนายกฯในครั้งนี้ และยังมี ส.ว.ที่อยู่ในสภา กล้าๆ กลัวๆ ในการโหวตพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถ้าไม่กล้าโหวตก็ลาออกไป
“พวกประชาชนเราต้องออกมาแสดงพลังให้มากที่สุด พวกเราเลือกตั้ง 14 พฤษภาคม ตอนนั้น หวังว่าประชาชนประชาธิปไตยจะชนะการเลือกตั้ง ก็ชนะมาถึง 25 ล้านเสียง เขาก็ยังไม่ฟังเราอีกหรือ เพราะฉะนั้นเสียงจากบัตร มันอาจจะเงียบเกินไป เราต้องใช้เสียงแตรรถยนต์ในการขับเคลื่อนในครั้งนี้
“คาร์ม็อบในครั้งนี้ ขบวนจะไม่หยุด เมื่อผ่านวัด และโรงพยาบาล เราจะหยุดใช้เสียงแตรในทันที และเมื่อผ่าน ส.ว. เหล่ากองทัพทั้งหลาย เราจะใช้เสียงแตรให้มันดัง” นายอานนท์กล่าว