คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
อิสลามที่แท้จริงเป็นศาสนาที่ไม่แยกการเมืองออกจากศาสนา ผู้นำทางศาสนาและผู้นำทางการเมืองเป็นคน ๆ เดียวกัน นบีมูฮัมหมัด ศาสดาศาสนาอิสลาม เป็นทั้งผู้นำทางจิตวิญญาณ ผู้นำทางศาสนา ผู้นำทางการเมือง ผู้นำทางการทหาร และผู้นำอื่น ๆ แทบจะทุกอย่าง โดยอ้างความชอบธรรมว่าได้รับบัญชาจากพระเจ้า
ประเทศที่เจ้าของกระทู้ยกมาทั้งหมดนั้น มีลักษณะเป็น "รัฐศาสนา" คือ เป็นประเทศที่ปกครองด้วยศาสนาอิสลามหรือกฎหมายชาริอะห์อยู่แล้ว กฎหมายสูงสุดของเขาคือคัมภีร์ทางศาสนาอันได้แก่อัลกรุอ่านซึ่งเป็นโองการของอัลเลาะห์ เทียบได้กับรัฐธรรมนูญของประเทศรัฐโลกวิสัย (Secular state) กฎหมายรอง ๆ ลงมาก็ได้มาจาก "หะดิษ" ร่วมด้วย
แต่ประเทศอิสลามหลาย ๆ ประเทศ เมื่อก่อนก็ปกครองด้วยกฎหมายอิสลามเหมือนอย่างพวก ซาอุดิอาระเบีย ในปัจจุบัน แต่เมื่อประเทศอิสลามเหล่านี้ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวคริตส์ และมีแนวคิดแยกรัฐออกจากศาสนา เจ้าอาณานิคม ก็เลยนำกฎหมายของตัวเองเข้ามาปกครองในอาณานิคมที่เป็นประเทศอิสลามเหล่านี้ด้วย เนื่องจากเห็นว่าการปกครองด้วยกฎหมายศาสนานั้นเป็นเรื่องล้าสมัย แต่ว่าก็ยังอนุญาตให้รัฐย่อย ๆ นั้น สุลต่านสามารถนำกฎหมายอิสลามมาปกครองได้ เพื่อลดปัญหาการกระด้างกระเดื่องแข็งข้อของบรรดาสุลต่านทั้งหลาย
หลังจากประเทศอิสลามเหล่านี้ได้รับเอกราช บางชาติก็เปลี่ยนไปเป็นการปกครองด้วยด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ศาสนาอิสลามก็ยังมีอิทธิพลมาก มีมุสลิมจำนวนมากยังหยาก กลับไปปกครองด้วยกฎหมายอิสลามเหมือนเดิม เป็นแบบนี้ทุกประเทศ
มาเลเซียมีระบบกฎหมายแบบควบคู่ คือการใช้กฎหมายชาริอะห์บังคับใช้กับมุสลิม พร้อม ๆ กันกับใช้กฎหมายแบบ Common law ตามที่เจ้าอาณานิคมอังกฤษได้วางระบบไว้ บังคับใช้แก่ชาวมาเลเซียทั้งชาวมุสลิมและไม่ใช่ชาวมุสลิม
บางประเทศอย่าง ซาอุดิอาระเบีย โอมาน ยูเออี บาห์เรน กาตาร์ อิหร่าน และอาหรับอีกหลายประเทศ ก็กลับไปนำกฎหมายอิสลามเข้ามาปกครองเต็มรูปแบบเหมือนเดิม
ตุรกีหลังจาก อาณาจักรออตโตมัน พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วยการนำของ มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก ได้ปฎิวัติเปลี่ยนประเทศให้ออกจากรัฐศาสนาคล้ายกับชาติยุโรป แต่ทุกวันนี้ภายใต้การนำของประธานาธิบดี เออร์โดกัน ก็พยายามหวนกลับไปสู่การปกครองด้วยกฎหมายอิสลามอีก
สามจังหวัดภาคใต้ของไทย ที่มีปัญหาอยู่ทุกวันนี้นั้น ความปรารถนาสูงสุดของมุสลิมแถบนี้ โดยเฉพาะอุดมการณ์ของกลุ่มก่อการร้าย คือ การนำกฎหมายอิสลาม เข้ามาปกครองพวกเขานั่นเอง
ประเทศที่เจ้าของกระทู้ยกมาทั้งหมดนั้น มีลักษณะเป็น "รัฐศาสนา" คือ เป็นประเทศที่ปกครองด้วยศาสนาอิสลามหรือกฎหมายชาริอะห์อยู่แล้ว กฎหมายสูงสุดของเขาคือคัมภีร์ทางศาสนาอันได้แก่อัลกรุอ่านซึ่งเป็นโองการของอัลเลาะห์ เทียบได้กับรัฐธรรมนูญของประเทศรัฐโลกวิสัย (Secular state) กฎหมายรอง ๆ ลงมาก็ได้มาจาก "หะดิษ" ร่วมด้วย
แต่ประเทศอิสลามหลาย ๆ ประเทศ เมื่อก่อนก็ปกครองด้วยกฎหมายอิสลามเหมือนอย่างพวก ซาอุดิอาระเบีย ในปัจจุบัน แต่เมื่อประเทศอิสลามเหล่านี้ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก ซึ่งส่วนใหญ่เป็นชาวคริตส์ และมีแนวคิดแยกรัฐออกจากศาสนา เจ้าอาณานิคม ก็เลยนำกฎหมายของตัวเองเข้ามาปกครองในอาณานิคมที่เป็นประเทศอิสลามเหล่านี้ด้วย เนื่องจากเห็นว่าการปกครองด้วยกฎหมายศาสนานั้นเป็นเรื่องล้าสมัย แต่ว่าก็ยังอนุญาตให้รัฐย่อย ๆ นั้น สุลต่านสามารถนำกฎหมายอิสลามมาปกครองได้ เพื่อลดปัญหาการกระด้างกระเดื่องแข็งข้อของบรรดาสุลต่านทั้งหลาย
หลังจากประเทศอิสลามเหล่านี้ได้รับเอกราช บางชาติก็เปลี่ยนไปเป็นการปกครองด้วยด้วยระบอบประชาธิปไตย แต่ศาสนาอิสลามก็ยังมีอิทธิพลมาก มีมุสลิมจำนวนมากยังหยาก กลับไปปกครองด้วยกฎหมายอิสลามเหมือนเดิม เป็นแบบนี้ทุกประเทศ
มาเลเซียมีระบบกฎหมายแบบควบคู่ คือการใช้กฎหมายชาริอะห์บังคับใช้กับมุสลิม พร้อม ๆ กันกับใช้กฎหมายแบบ Common law ตามที่เจ้าอาณานิคมอังกฤษได้วางระบบไว้ บังคับใช้แก่ชาวมาเลเซียทั้งชาวมุสลิมและไม่ใช่ชาวมุสลิม
บางประเทศอย่าง ซาอุดิอาระเบีย โอมาน ยูเออี บาห์เรน กาตาร์ อิหร่าน และอาหรับอีกหลายประเทศ ก็กลับไปนำกฎหมายอิสลามเข้ามาปกครองเต็มรูปแบบเหมือนเดิม
ตุรกีหลังจาก อาณาจักรออตโตมัน พ่ายแพ้ในสงครามโลกครั้งที่ 1 ด้วยการนำของ มุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก ได้ปฎิวัติเปลี่ยนประเทศให้ออกจากรัฐศาสนาคล้ายกับชาติยุโรป แต่ทุกวันนี้ภายใต้การนำของประธานาธิบดี เออร์โดกัน ก็พยายามหวนกลับไปสู่การปกครองด้วยกฎหมายอิสลามอีก
สามจังหวัดภาคใต้ของไทย ที่มีปัญหาอยู่ทุกวันนี้นั้น ความปรารถนาสูงสุดของมุสลิมแถบนี้ โดยเฉพาะอุดมการณ์ของกลุ่มก่อการร้าย คือ การนำกฎหมายอิสลาม เข้ามาปกครองพวกเขานั่นเอง
แสดงความคิดเห็น
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
ศาสนาอิสลาม
การเมือง
ประเทศอาหรับอย่างซาอุดีอาระเบีย โอมาน ยูเออี บาห์เรน กาตาร์ ประชาชนสนใจการเมืองมากแบบคนไทยมั้ย หรือสนใจศาสนาเท่านั้น