#ปมในใจจากการถูกเปรียบเทียบ
‘ไตรฉัตร’ เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ ‘เป็นหนึ่ง’ แม่ของทั้งคู่เป็นพี่น้องกัน ไตรฉัตรจึงสนิทกับเป็นหนึ่งพอสมควร แต่จริงๆ แล้วลึกๆ ในใจของไตรฉัตรมีความรู้สึกเปรียบเทียบตัวเองกับเป็นหนึ่งอยู่เสมอ
ตั้งแต่ไตรฉัตรเป็นเด็ก แม่มักจะพูดกับไตรฉัตรในทำนองเปรียบเทียบเขากับเป็นหนึ่งเสมอ จนกระทั่งเขาเป็นผู้ใหญ่ ทำงานมีรายได้ ซึ่งก็มากพอตัว แต่แม่ก็รู้สึกว่าลูกชายสู้เป็นหนึ่งที่ทำงานเป็นศัลยแพทย์ไม่ได้อยู่ดี
.
“ทำไมถึงไม่เป็นหมอเหมือนเป็นหนึ่งบ้าง ทำไมไม่ได้สักครึ่งหนึ่งของเป็นหนึ่ง .. แม่เจ็บใจนักที่มีลูกชายไม่ได้เรื่อง” แม่พูดกรอกหูไตรฉัตรอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะตอนที่แม่เมา มักจะพูดแรงเป็นพิเศษ
เขาพยายามทำความเข้าใจแม่ แม่ดูเหมือนจะไม่ได้รับความรักเพียงพอจากตายาย แม่เองก็ถูกเปรียบเทียบมาก่อน ว่าไม่สวย ไม่น่ารัก ไม่ประสบความสำเร็จเท่าพี่สาว
ไตรฉัตรก็สงสารแม่ เขาจึงพยายามเป็นลูกชายที่ดีของแม่ เผื่อว่าแม่จะรู้สึกดีขึ้นมาได้บ้าง แต่จนแล้วจนรอด ถึงจะทำดีเท่าไร ก็ไม่มีคุณค่าในสายตาของแม่ ไตรฉัตรน้อยใจแม่เสมอมา
.
ไตรฉัตร เป็นตัวละครหนึ่งในละคร มาตาลดา ที่กำลังออกอากาศอยู่ในขณะนี้
.
การที่คนเรามีความทุกข์ มักจะเกิดจากสาเหตุสองประการ หนึ่งคือการพะวงอยู่กับอดีต และการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น เช่น รู้สึกว่าเราดีไม่เท่าคนอื่น ไม่ยอมรับความเป็นตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าเพียงพอ
เป็นที่น่าสังเกตว่า คนที่ชอบเปรียบเทียบตัวเองหรือของๆตัวเองกับคนอื่นนั้น ตอนเด็กๆ ก็มักจะถูกเปรียบเทียบมาก่อน (เช่น ไตรฉัตรที่เติบโตมากับการถูกแม่เปรียบเทียบเขากับลูกพี่ลูกน้องอย่างเป็นหนึ่ง)
.
ในการเป็นจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นหมอมักจะพูดคุยกับเด็กๆ ที่ได้ยินคำพูดเปรียบเทียบ จากพ่อแม่และผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
ขอยกตัวอย่างคำพูด เพื่อให้เห็นภาพ
"นี่ลูก .. ทำไมถึงได้สอนยากสอนเย็น นี่สอนมาสามรอบแล้วยังทำไม่ได้ ดูอย่างพี่ของลูกสิ พูดรอบเดียวเข้าใจเลย เป็นพี่น้องกันแท้ๆ แม่ก็เลี้ยงมาเหมือนๆ กันนะนี่"
“ทำไมเพื่อนของหนูเขาไม่เห็นต้องเรียนพิเศษอะไรเลย แต่สอบได้ 4 หมด .. แต่หนูโชคดีกว่าเขาเท่าไหร่ พ่อสอนให้เองก็แล้ว จ้างครูอย่างดีมาติวก็แล้ว แล้วทำไมสู้เขาไม่ได้"
.
พ่อแม่ที่มักจะเปรียบเทียบ อาจทำเพราะไม่ได้ตั้งใจ อาจมาจากปมในใจที่ถูกเปรียบเทียบมาก่อน แบบแม่ของไตรฉัตร หรือลึกๆ ก็คงหวังว่าการเปรียบเทียบจะทำให้ลูกดีขึ้น เก่งขึ้น
หมออยากให้ลองย้อนคิดถึงสมัยตัวเองเป็นเด็ก ถ้ามีคนพูดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ บ่อยๆ ส่วนใหญ่คงไม่ชอบใจ อยากให้เอาใจเด็กมาใส่ใจพ่อแม่ให้มากขึ้น
.
คำพูดเปรียบเทียบจะทำให้เกิดความไม่พอใจ เด็กอาจยิ่งจะต่อต้าน ไม่เชื่อฟังพ่อแม่บางครั้งก็ทำให้ทะเลาะขัดแย้งกัน โดยไม่จำเป็น
เด็กที่ถูกเปรียบเทียบกันในระหว่างพี่น้อง อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกอิจฉากันได้ ก็พบบ่อยๆ พ่อแม่มาปรึกษา โดยไม่ทราบว่า ต้นเหตุจริงๆมาจากการกระทำบางอย่างของพ่อแม่เอง
ที่สำคัญการเปรียบเทียบจะทำให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างสูญเสียคุณค่าในตัวเอง คิดสงสัยว่าตัวเองมีอะไรดีในสายตาพ่อแม่บ้างไหม
เมื่อเป็นบ่อยๆ ในที่สุดก็จะหมดความเชื่อมั่น คิดว่าตัวเองคงไม่มีอะไรดีจริงๆ เพราะถูกเปรียบเทียบว่าทำไมไม่ดีเหมือนคนนั้นคนนี้ มาตั้งแต่เด็กๆ กลายเป็นความทุกข์และปมในใจเพราะการถูกเปรียบเทียบ
.
ตรงนี้ก็คงต้องฝากผู้ใหญ่ว่า อย่าเปรียบเทียบเด็กกับเด็กคนอื่น
มีคำพูดหนึ่งที่บอกว่า "ความเข้มแข็งที่แท้จริง คือการยอมรับตัวเองได้ และทำให้ดีสุด"
คนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทุกคนมีข้อดี และข้อบกพร่องต่างกันไป ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเหมือนใคร หรือเปรียบเทียบตัวเรากับคนอื่น
เราที่เป็นเราที่มีจุดเด่นและจุดด้อย แต่เราก็มองเห็นคุณค่าในตัวเอง ว่าเรามีดีพอ ทำให้มีกำลังใจ พร้อมกับจะปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นในวันนี้และอนาคต
.
หมายเหตุ: ในการเขียนบทความนี้ หมอไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากบริษัทหรือผู้เกี่ยวข้องกับละคร เพียงแต่ได้รับชมและประทับใจ จึงขอเขียนแบ่งปันข้อคิดที่ได้สู่ผู้อ่านค่ะ
เครดิต #หมอมินบานเย็น
#มาตาลดา
เพจเข็นเด็กขึ้นภูเขา วิเคราะห์ตัวละครมาตาลดา
‘ไตรฉัตร’ เป็นลูกพี่ลูกน้องกับ ‘เป็นหนึ่ง’ แม่ของทั้งคู่เป็นพี่น้องกัน ไตรฉัตรจึงสนิทกับเป็นหนึ่งพอสมควร แต่จริงๆ แล้วลึกๆ ในใจของไตรฉัตรมีความรู้สึกเปรียบเทียบตัวเองกับเป็นหนึ่งอยู่เสมอ
ตั้งแต่ไตรฉัตรเป็นเด็ก แม่มักจะพูดกับไตรฉัตรในทำนองเปรียบเทียบเขากับเป็นหนึ่งเสมอ จนกระทั่งเขาเป็นผู้ใหญ่ ทำงานมีรายได้ ซึ่งก็มากพอตัว แต่แม่ก็รู้สึกว่าลูกชายสู้เป็นหนึ่งที่ทำงานเป็นศัลยแพทย์ไม่ได้อยู่ดี
.
“ทำไมถึงไม่เป็นหมอเหมือนเป็นหนึ่งบ้าง ทำไมไม่ได้สักครึ่งหนึ่งของเป็นหนึ่ง .. แม่เจ็บใจนักที่มีลูกชายไม่ได้เรื่อง” แม่พูดกรอกหูไตรฉัตรอยู่บ่อยๆ โดยเฉพาะตอนที่แม่เมา มักจะพูดแรงเป็นพิเศษ
เขาพยายามทำความเข้าใจแม่ แม่ดูเหมือนจะไม่ได้รับความรักเพียงพอจากตายาย แม่เองก็ถูกเปรียบเทียบมาก่อน ว่าไม่สวย ไม่น่ารัก ไม่ประสบความสำเร็จเท่าพี่สาว
ไตรฉัตรก็สงสารแม่ เขาจึงพยายามเป็นลูกชายที่ดีของแม่ เผื่อว่าแม่จะรู้สึกดีขึ้นมาได้บ้าง แต่จนแล้วจนรอด ถึงจะทำดีเท่าไร ก็ไม่มีคุณค่าในสายตาของแม่ ไตรฉัตรน้อยใจแม่เสมอมา
.
ไตรฉัตร เป็นตัวละครหนึ่งในละคร มาตาลดา ที่กำลังออกอากาศอยู่ในขณะนี้
.
การที่คนเรามีความทุกข์ มักจะเกิดจากสาเหตุสองประการ หนึ่งคือการพะวงอยู่กับอดีต และการเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่น เช่น รู้สึกว่าเราดีไม่เท่าคนอื่น ไม่ยอมรับความเป็นตัวเอง รู้สึกว่าตัวเองไม่มีคุณค่าเพียงพอ
เป็นที่น่าสังเกตว่า คนที่ชอบเปรียบเทียบตัวเองหรือของๆตัวเองกับคนอื่นนั้น ตอนเด็กๆ ก็มักจะถูกเปรียบเทียบมาก่อน (เช่น ไตรฉัตรที่เติบโตมากับการถูกแม่เปรียบเทียบเขากับลูกพี่ลูกน้องอย่างเป็นหนึ่ง)
.
ในการเป็นจิตแพทย์เด็กและวัยรุ่นหมอมักจะพูดคุยกับเด็กๆ ที่ได้ยินคำพูดเปรียบเทียบ จากพ่อแม่และผู้ใหญ่ ไม่ว่าจะตั้งใจหรือไม่ก็ตาม
ขอยกตัวอย่างคำพูด เพื่อให้เห็นภาพ
"นี่ลูก .. ทำไมถึงได้สอนยากสอนเย็น นี่สอนมาสามรอบแล้วยังทำไม่ได้ ดูอย่างพี่ของลูกสิ พูดรอบเดียวเข้าใจเลย เป็นพี่น้องกันแท้ๆ แม่ก็เลี้ยงมาเหมือนๆ กันนะนี่"
“ทำไมเพื่อนของหนูเขาไม่เห็นต้องเรียนพิเศษอะไรเลย แต่สอบได้ 4 หมด .. แต่หนูโชคดีกว่าเขาเท่าไหร่ พ่อสอนให้เองก็แล้ว จ้างครูอย่างดีมาติวก็แล้ว แล้วทำไมสู้เขาไม่ได้"
.
พ่อแม่ที่มักจะเปรียบเทียบ อาจทำเพราะไม่ได้ตั้งใจ อาจมาจากปมในใจที่ถูกเปรียบเทียบมาก่อน แบบแม่ของไตรฉัตร หรือลึกๆ ก็คงหวังว่าการเปรียบเทียบจะทำให้ลูกดีขึ้น เก่งขึ้น
หมออยากให้ลองย้อนคิดถึงสมัยตัวเองเป็นเด็ก ถ้ามีคนพูดเปรียบเทียบตัวเองกับคนอื่นๆ บ่อยๆ ส่วนใหญ่คงไม่ชอบใจ อยากให้เอาใจเด็กมาใส่ใจพ่อแม่ให้มากขึ้น
.
คำพูดเปรียบเทียบจะทำให้เกิดความไม่พอใจ เด็กอาจยิ่งจะต่อต้าน ไม่เชื่อฟังพ่อแม่บางครั้งก็ทำให้ทะเลาะขัดแย้งกัน โดยไม่จำเป็น
เด็กที่ถูกเปรียบเทียบกันในระหว่างพี่น้อง อาจจะทำให้เกิดความรู้สึกอิจฉากันได้ ก็พบบ่อยๆ พ่อแม่มาปรึกษา โดยไม่ทราบว่า ต้นเหตุจริงๆมาจากการกระทำบางอย่างของพ่อแม่เอง
ที่สำคัญการเปรียบเทียบจะทำให้เด็กเติบโตขึ้นอย่างสูญเสียคุณค่าในตัวเอง คิดสงสัยว่าตัวเองมีอะไรดีในสายตาพ่อแม่บ้างไหม
เมื่อเป็นบ่อยๆ ในที่สุดก็จะหมดความเชื่อมั่น คิดว่าตัวเองคงไม่มีอะไรดีจริงๆ เพราะถูกเปรียบเทียบว่าทำไมไม่ดีเหมือนคนนั้นคนนี้ มาตั้งแต่เด็กๆ กลายเป็นความทุกข์และปมในใจเพราะการถูกเปรียบเทียบ
.
ตรงนี้ก็คงต้องฝากผู้ใหญ่ว่า อย่าเปรียบเทียบเด็กกับเด็กคนอื่น
มีคำพูดหนึ่งที่บอกว่า "ความเข้มแข็งที่แท้จริง คือการยอมรับตัวเองได้ และทำให้ดีสุด"
คนแต่ละคนไม่เหมือนกัน ทุกคนมีข้อดี และข้อบกพร่องต่างกันไป ไม่จำเป็นจะต้องเป็นเหมือนใคร หรือเปรียบเทียบตัวเรากับคนอื่น
เราที่เป็นเราที่มีจุดเด่นและจุดด้อย แต่เราก็มองเห็นคุณค่าในตัวเอง ว่าเรามีดีพอ ทำให้มีกำลังใจ พร้อมกับจะปรับปรุงพัฒนาให้ดีขึ้นในวันนี้และอนาคต
.
หมายเหตุ: ในการเขียนบทความนี้ หมอไม่ได้รับค่าตอบแทนใดๆ จากบริษัทหรือผู้เกี่ยวข้องกับละคร เพียงแต่ได้รับชมและประทับใจ จึงขอเขียนแบ่งปันข้อคิดที่ได้สู่ผู้อ่านค่ะ
เครดิต #หมอมินบานเย็น
#มาตาลดา