จากการที่มีสัญญาณความตกต่ำของวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย ตั้งแต่รายการซีเกมส์ 2023 โดยตัวชี้วัดคือวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติเวียดนาม เริ่มเบียดเข้ามาใกล้แล้ว ด้วยทักษะและฝีมือที่พัฒนาขึ้น แต่ขณะเดียวกันวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยยังหลงระเริงกับความสำเร็จภายใต้บุญเก่าของ เกียรติพงษ์ รัชตะเกรียงไกร (โค้ชอ๊อต) และ 7 เซียน และสัญญาณความตกต่ำเริ่มปรากฎชัดในการแข่งขันวอลเลย์บอลเนชั่นลีก สนาม 2 นัดพบเซอร์เบีย นั่นคือการบาดเจ็บระหว่างการแข่งขันของตัวเซตหลัก และการหมดแรงของนักกีฬาทั้งทีม จนพ่ายแพ้เซอร์เบียในที่สุด เช่น ตีบอลเสียเอง กระโดดไม่ขึ้น เป็นต้น และสุดท้ายก็พ่ายแพ้ให้โครเอเชีย 0-3 เซต แบบหมดสภาพ ในรุ่น U16 จุดเปลี่ยนคือ นัดชิงที่ 3 ซึ่งเป็นตัวชี้วัดสำคัญเลยว่า วอลเลย์บอลหญิงไทยในรุ่น U16 และชุดใหญ่มีผลงานถอยหลังตกเหวอย่างเห็นได้ชัด ขณะที่ชาติอื่นๆ ในอาเซียน เช่น เวียดนาม มีการพัฒนาแบบก้าวกระโดด ในวอลเลย์บอลหญิงชุดใหญ่ ส่วนชาติอื่นๆ ในเอเชีย เช่น จีน และญี่ปุ่น สามารถรักษามาตรฐานไว้ได้ในทุกรุ่นอายุ แต่ไทยกลับถอยหลังตกเหว นั่นคือไต้หวันกำลังกลับมาทวงความยิ่งใหญ่คืน โดยใช้โค้ชญี่ปุ่นมาวางระบบ ในทุกรุ่นอายุ แต่ของไทยยังใช้โค้ชไทยอยู่ จึงเห็นสมควรปฏิรูปวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยใหม่ในทันที โดยมีแนวทาง ดังนี้
ระดับสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย
นายกสมามคมวอลเลย์บอลคนต่อไป ต้องมาจากนักวอลเลย์บอลเก่า และต้องมีผู้รับผิดชอบในการวางแผน บริหารจัดการ กำหนดเป้าหมาย อย่างชัดเจน เช่น รายการซีเกมส์, ซี วี ลีก (อาเซียนกรังด์ปรีซ์เดิม) ต้องเป็นแชมป์เท่านั้น, ชิงแชมป์เอเชีย ต้องเข้าชิงชนะเลิศ เอเชี่ยนเกมส์ ต้องมีเหรียญรางวัลกลับมา ในรุ่นอายุต่างๆ ต้องติด 1 ใน 3 ไม่ใช่หวังแค่เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย
ระดับผู้ฝึกสอน
ใช้โค้ชคนเดิมจะได้ผลแบบเดิม ตอนนี้ต้องใช้โค้ชต่างชาติมาทำทีมเท่านั้น เนื่องจากนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยมีรูปร่างเล็กกว่าชาติอื่น การเลือกผู้ฝึกสอนต่างชาติ ต้องเลือกผู้ฝึกสอนจากญี่ปุ่นมาทำทีมทั้งชุดใหญ่ ชุด U16, U18 และ U20 มาทำทีม โดยในแต่ละชุดจะมีอดีตนักกีฬาชุด 7 เซียนมาเป็นผู้ช่วย สาเหตุที่เลือกผู้ฝึกสอนจากญี่ปุ่นมาทำทีมนั้น เนื่องจากรูปร่างนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่นมีลักษณะใกล้เคียงกับนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย นอกจากนี้โค้ชต่างชาติยังต้องช่วยปรับพื้นฐานนักวอลเลย์บอลในรุ่น U16 โดยมีการเตรียมทีมอย่างน้อย 1 ปี และต้องต่อยอดได้ในรุ่น U18 และ U20
ระดับนักวอลเลย์บอล
นักวอลเลย์บอลต้องดันชุด U21 ชุดที่กำลังจะไปแข่งชิงแชมป์โลก ขึ้นมาแบบยกชุดในฤดูกาลแข่งขันถัดไป โดยเฉพาะในตำแหน่งตัวเซต แต่ในขณะเดียวกันจะมีรุ่นพี่ชุดปัจจุบัน (Gen 2) อาจเหลือตำแหน่งบอลสั้น, บีหลัง และหัวเสา คอยประคองทีมอยู่ ทั้งนี้ในการเปลี่ยนผ่านจะต้องไม่ทำให้อันดับตกต่ำลงไปกว่าที่เป็นอยู่ แต่ต้องสูงขึ้น (อยู่ในเกณฑ์อันดับ 10 – 15)
ระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่าน
1 ตุลาคม 2566 - 1 เมษายน 2567 โดยหลังจากจบรายการคัดโอลิมปิก 2024 แล้ว สมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยต้องประกาศแต่งตั้งโค้ชคนใหม่ทันที โดยในช่วงแรกเป็นโค้ชรักษาการ และทีมงานจากชุด 7 เซียนมาทำทีมไปพลาง โดยต้องไร้รอยต่อ เมื่อการหาโค้ชต่างชาติลงตัวแล้ว โค้ชต่างชาติคนใหม่ต้องเริ่มงานใน 1 มกราคม 2567 โดยช่วงที่โค้ชรักษาการ ทำทีมอยู่นั้น จะต้องมีการดูผลงานในรายการไทยลีก เพื่อเก็บข้อมูลนักกีฬาที่มีฝีมือดี เพื่อเตรียมนำมาเข้าแคมป์เก็บตัว จะได้ไม่ต้องมีข้ออ้างว่าเวลารวมตัวน้อย เมื่อโค้ชต่างชาติเข้ามาแล้ว ต้องประกาศรายชื่อเข้าแคมป์อย่างเต็มรูปแบบ อย่างช้าไม่เกิน 15 มีนาคม 2567 เป้าหมายรายการเนชั่นลีก 2024 สนาม 3 ต้องจบอันดับโลกด้วยเลขตัวเดียว (อันดับ 1 – 9 ของโลก) หากทำได้ตามเป้า จะได้ไปแข่งโอลิมปิกรอบสุดท้าย โดยโค้ชคนใหม่มีสัญญาจ้าง 3 ปี
คิดเห็นอย่างไรเชิญตามสะดวก
เสนอแผนปฏิรูปวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย
ระดับสมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทย
นายกสมามคมวอลเลย์บอลคนต่อไป ต้องมาจากนักวอลเลย์บอลเก่า และต้องมีผู้รับผิดชอบในการวางแผน บริหารจัดการ กำหนดเป้าหมาย อย่างชัดเจน เช่น รายการซีเกมส์, ซี วี ลีก (อาเซียนกรังด์ปรีซ์เดิม) ต้องเป็นแชมป์เท่านั้น, ชิงแชมป์เอเชีย ต้องเข้าชิงชนะเลิศ เอเชี่ยนเกมส์ ต้องมีเหรียญรางวัลกลับมา ในรุ่นอายุต่างๆ ต้องติด 1 ใน 3 ไม่ใช่หวังแค่เข้ารอบ 4 ทีมสุดท้าย
ระดับผู้ฝึกสอน
ใช้โค้ชคนเดิมจะได้ผลแบบเดิม ตอนนี้ต้องใช้โค้ชต่างชาติมาทำทีมเท่านั้น เนื่องจากนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทยมีรูปร่างเล็กกว่าชาติอื่น การเลือกผู้ฝึกสอนต่างชาติ ต้องเลือกผู้ฝึกสอนจากญี่ปุ่นมาทำทีมทั้งชุดใหญ่ ชุด U16, U18 และ U20 มาทำทีม โดยในแต่ละชุดจะมีอดีตนักกีฬาชุด 7 เซียนมาเป็นผู้ช่วย สาเหตุที่เลือกผู้ฝึกสอนจากญี่ปุ่นมาทำทีมนั้น เนื่องจากรูปร่างนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติญี่ปุ่นมีลักษณะใกล้เคียงกับนักวอลเลย์บอลหญิงทีมชาติไทย นอกจากนี้โค้ชต่างชาติยังต้องช่วยปรับพื้นฐานนักวอลเลย์บอลในรุ่น U16 โดยมีการเตรียมทีมอย่างน้อย 1 ปี และต้องต่อยอดได้ในรุ่น U18 และ U20
ระดับนักวอลเลย์บอล
นักวอลเลย์บอลต้องดันชุด U21 ชุดที่กำลังจะไปแข่งชิงแชมป์โลก ขึ้นมาแบบยกชุดในฤดูกาลแข่งขันถัดไป โดยเฉพาะในตำแหน่งตัวเซต แต่ในขณะเดียวกันจะมีรุ่นพี่ชุดปัจจุบัน (Gen 2) อาจเหลือตำแหน่งบอลสั้น, บีหลัง และหัวเสา คอยประคองทีมอยู่ ทั้งนี้ในการเปลี่ยนผ่านจะต้องไม่ทำให้อันดับตกต่ำลงไปกว่าที่เป็นอยู่ แต่ต้องสูงขึ้น (อยู่ในเกณฑ์อันดับ 10 – 15)
ระยะเวลาในการเปลี่ยนผ่าน
1 ตุลาคม 2566 - 1 เมษายน 2567 โดยหลังจากจบรายการคัดโอลิมปิก 2024 แล้ว สมาคมวอลเลย์บอลแห่งประเทศไทยต้องประกาศแต่งตั้งโค้ชคนใหม่ทันที โดยในช่วงแรกเป็นโค้ชรักษาการ และทีมงานจากชุด 7 เซียนมาทำทีมไปพลาง โดยต้องไร้รอยต่อ เมื่อการหาโค้ชต่างชาติลงตัวแล้ว โค้ชต่างชาติคนใหม่ต้องเริ่มงานใน 1 มกราคม 2567 โดยช่วงที่โค้ชรักษาการ ทำทีมอยู่นั้น จะต้องมีการดูผลงานในรายการไทยลีก เพื่อเก็บข้อมูลนักกีฬาที่มีฝีมือดี เพื่อเตรียมนำมาเข้าแคมป์เก็บตัว จะได้ไม่ต้องมีข้ออ้างว่าเวลารวมตัวน้อย เมื่อโค้ชต่างชาติเข้ามาแล้ว ต้องประกาศรายชื่อเข้าแคมป์อย่างเต็มรูปแบบ อย่างช้าไม่เกิน 15 มีนาคม 2567 เป้าหมายรายการเนชั่นลีก 2024 สนาม 3 ต้องจบอันดับโลกด้วยเลขตัวเดียว (อันดับ 1 – 9 ของโลก) หากทำได้ตามเป้า จะได้ไปแข่งโอลิมปิกรอบสุดท้าย โดยโค้ชคนใหม่มีสัญญาจ้าง 3 ปี
คิดเห็นอย่างไรเชิญตามสะดวก