สง่างาม วันนอร์ นั่งประธานสภา ไร้คู่แข่ง ลั่นทำหน้าที่เป็นกลาง โปร่งใสตรวจสอบได้
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7746966
ประชุมสภานัดแรก พิธา เสนอเอง วันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานสภา ฉลุยแบบไร้คู่แข่ง เจ้าตัวย้ำทำหน้าที่เป็นกลาง ตรวจสอบได้ ยึดข้อบังคับ
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 4 ก.ค. 2566 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 1 ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญ พล.ต.ท.
วิโรจน์ เปาอินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีอาวุโสสูงสุด มาทำหน้าที่ประธานการประชุมชั่วคราว เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภา คนที่หนึ่งและคนที่สอง
พล.ต.ท.
วิโรจน์ กล่าวว่า ยินดีที่ได้ทำหน้าที่ประชุมสภานัดแรก ขณะนี้มีผู้มาร่วมประชุม 496 คน ครบองค์ประชุมแล้ว จากนั้นได้กล่าวนำสมาชิกกล่าวนำปฏิญาณตน
พล.ต.ท.
วิโรจน์ แจ้งวาระการประชุมถึงการเลือกประธานสภาและรองประธานสภา ต้องลงคะแนนลับ เราใช้วิธีเขียนชื่อลงในบัตรที่เจ้าหน้าที่แจกให้แล้วนำมาหย่อนให้ในกล่อง โดยมีคณะกรรมการตัวแทนจากพรรคการเมือง เป็นผู้นับคะแนน
จากนั้นได้เปิดให้สมาชิกเสนอชื่อผู้เป็นประธานสภา โดยนาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เสนอชื่อนาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ เป็นประธานสภา ทั้งนี้ ไม่มีพรรคอื่นเสนอชื่อประธานสภาเข้าแข่งขัน
นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้แสดงวิสัยทัศน์ว่า ขอบคุณที่สมาชิกเสนอชื่อเพื่อมาทำหน้าที่ประธานสภาในครั้งนี้และถ้าตนได้รับความไว้วางใจเป็นประธานสภา ตนขอยืนยันว่า
1. ตนจะทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลางทางการเมืองและน้อมนำพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานมาเป็นแนวทางปฏิบัติของพวกเรา
2. ตนจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส สุจริตตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับของสภาทุกประการ
3. จะกำหนดแนวทางร่วมกันกับรองประธานสภาทั้งสอง ในการพิจารณาร่างกฎหมาย ญัตติ กระทู้ถามอย่างเป็นระบบเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถเพื่อประโยชน์ประชาชน
4. ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานของกมธ.ทุกคณะ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนทุกกรณี
5. ตนจะร่วมกับพวกเราดำเนินนโยบายต่างประเทศของฝ่ายนิตบัญญัติในงานสภา เพื่อประโยชน์ของฝ่ายนิติบัญญัติ
6. ตนจะทำหน้าที่ดูแลงานสถาบันพระปกเกล้าให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมงานนิติบัญญัติ สนับสนุนสถานีโทรทัศน์วิทยุรัฐสภาเป็นของประชาชน เพื่อส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนตลอด
พล.ต.ท.
วิโรจน์ กล่าวว่า เมื่อแสดงวิสัยทัศน์แล้ว มีผู้เสนอชื่อเพียงคนเดียว จึงถือว่าที่ประชุมได้เลือก นาย
วันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานสภา ตามข้อบังคับการประชุมสภา ข้อ 6 วรรคสาม
‘พิธา’ แจงเลือก ‘วันนอร์’ นั่งประธานสภา เพราะมั่นใจไว้ใจ ชี้ ‘หลักการสำคัญกว่าตัวบุคคล’
https://www.matichon.co.th/politics/news_4062051
“พิธา” แจงเลือก “วันนอร์” นั่งประธานสภา เพราะมั่นใจไว้ใจ ชี้ “หลักการสำคัญกว่าตัวบุคคล” ลั่นไม่ได้เอาประโยชน์พรรคเป็นที่ตั้ง
ภายหลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติเป็นเอกฉันท์เลือก “นาย
มูหะมัดนอร์ มะทา” หัวหน้าพรรคประชาชาติ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรแบบเอกฉันท์โดยไร้คู่แข่ง หลังการเสนอชื่อของนาย
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกลนั้น
ล่าสุดนาย
พิธาได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเพื่อชี้แจงเรื่องดังกล่าว โดยมีใจความว่า
“ภายหลังข้อสรุปการตัดสินใจร่วมกันระหว่างพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยเมื่อวานนี้ หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมพรรคก้าวไกลถึงยอมถอยเรื่องตำแหน่งประธานสภาทั้งที่ได้ประกาศวาระที่ต้องการผลักดันไปแล้วกับประชาชน
ผมขอยืนยันว่าการตัดสินใจของเรา เราตัดสินใจภายใต้การรักษาเอกภาพการทำงานระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล พวกเราถอยจากเงื่อนไขเดิมที่พวกเราตั้ง ภายใต้เงื่อนไขการบริหารงานสภาภายใต้นโยบายที่พรรคก้าวไกลแถลงไปแล้ว
ก่อนที่เราจะทำการตัดสินใจ พวกเราได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์วันนอร์ เราได้พูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาว่า “สภาก้าวหน้า”, “สภาโปร่งใส”, “สภาที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง” จะเป็นนโยบายหลักภายใต้การดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรของอาจารย์วันนอร์
นอกจากนี้ อ.วันนอร์ยังให้คำมั่นกับพวกเราว่ากฎหมายสำคัญของพรรคก้าวไกล เช่น สุราก้าวหน้า สมรสเท่าเทียม กฎหมายเพื่อกลุ่มพี่น้องแรงงาน และกฎหมายเพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ จะไม่ถูกขัดขวางหรือถ่วงให้ช้าไม่ว่าด้วยความไม่ไว้วางใจหรือความไร้ประสิทธิภาพภายใต้การทำงานของ อ.วันนอร์
โดยส่วนตัว ผมได้มีโอกาสร่วมงานกันภายใต้พรรคร่วมฝ่ายค้านในรัฐบาลที่ผ่านมา ในทุกการประชุมร่วมกัน อ.วันนอร์ยืนอยู่ข้างเหตุผลและความถูกต้องอยู่เสมอ ซึ่งเป็นจุดร่วมกันกับที่พรรคก้าวไกล จนผมกล้าพูดได้ว่า อ.วันนอร์เป็นหนึ่งคนที่ผมสามารถไหว้ได้อย่างสนิทใจ
ภายใต้ฉากทัศน์ที่ไม่แน่นอนของการเมืองไทย พวกเราไม่ประมาทในทุกสถานการณ์ ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าการตัดสินใจของพวกเรา พรรคก้าวไกลทำภายใต้ความคิดว่า “หลักการสำคัญกว่าตัวบุคคล” สาเหตุที่เราเสนอชื่อปดิพัทธ์ ไม่ใช่เพราะคุณปดิพัทธ์คือคุณปดิพัทธ์ แต่เพราะเราเชื่อว่าคุณปดิพัทธ์คือคนที่พรรคก้าวไกลเชื่อมั่นว่าจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงสภาให้เป็นแบบที่เราอยากเห็นได้
สุดท้าย ไม่ว่าฉากทัศน์จะเป็นอย่างไร ผมพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะเผชิญกับทุกสถานการณ์ การตัดสินใจครั้งนี้ของพวกเราไม่ใช่การเอาประโยชน์ของผมหรือพรรคก้าวไกลเป็นตัวตั้ง แต่เป็นภารกิจเพื่ออนาคตการฟื้นฟูประชาธิปไตยของประเทศ
การตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขรัฐบาลผสม สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ที่จะเดินหน้าและถอยภายใต้สถานการณ์ที่เหมาะสม การตัดสินใจของพรรคก้าวไกลในวันนี้ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อเหตุผลทางการเมืองเฉพาะหน้า แต่เราตัดสินใจจากคุณค่าพื้นฐานร่วมกันของพรรคในการทำงานการเมืองระยะยาวเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศให้สำเร็จได้ โดยมีเส้นที่เราจะไม่สามารถล่วงล้ำได้เลย คือการทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน
#ก้าวไกล #ประชุมสภา #ประธานสภา”
https://www.facebook.com/timpitaofficial/posts/832303088255468
แผนแก้แล้ง 3 ปีชงรัฐบาลเงียบกริบ! เอกชนกังวล ชี้ปมผู้บริหารท่อเสี่ยง – ขอสทนช.ช่วย
https://www.matichon.co.th/economy/news_4062097
แผนแก้แล้ง3ปีชงรัฐบาลเงียบกริบ! เอกชนสะท้อน2ประเด็นร้อน-กังวล ปมผู้บริหารท่อเสี่ยง – ขอสทนช.ช่วย
นายธันยพัฒน์ มั่นณิชนันทน์ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยความคืบหน้ากรณีคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนรับมือสถานการณ์ภัยแล้งระยะเร่งด่วน 3 ปี และระยะยาว ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ว่า ภาครัฐยังเงียบ ไม่มีการตอบรับในการทำแผนรับมือภัยแล้งที่ชัดเจนแต่อย่างใด สิ่งที่ภาคเอกชนต้องการให้รัฐเร่งดำเนินการคือ แผนรับมือภัยแล้งช่วง 3 ปีนี้(2566-68) จากสถานการณ์เอลนีโญ โดยเฉพาะความกังวลในพื้นที่ภาคตะวันออกที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวตลอดจนประชาชนอาศัยอยู่จำนวนมาก ไม่อยากให้เกิดภาพการแย่งน้ำ
ข้อกังวลประเด็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนมี 2 ประเด็นหลัก คือ ความพร้อมระบบสูบผันน้ำ พบว่า
1.ระบบสูบน้ำจากวังประดู่ เพื่อสูบน้ำจากจันทบุรีมาเติมที่อ่างเก็บน้ำประแสร์ ในช่วงฝนปี 2566-67 ยังไม่ได้รับการแก้ไข
2.ระบบสูบน้ำของอ่างเก็บน้ำประแสร์ที่ส่งน้ำในพื้นที่เสียหาย ทำให้ต้องใช้ระบบสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์-คลองใหญ่ส่งให้เกษตรกรแทน กระทบแผนบริหารจัดการน้ำ
3.ระบบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ – หนองปลาไหล อยู่ระหว่างก่อสร้าง และ4. การขุดลอกต่างตอบแทนของอ่างเก็บน้ำในชลบุรี จึงใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำบางพระมากกว่าแผน มีแนวโน้มที่จะสูบน้ำมาเติมไม่ทันเนื่องจากเอลนีโญ ควรงดหรือชะลอขุดลอกต่างตอบแทนชั่วคราว
อีกประเด็นที่อยากให้เร่งแก้ปัญหา คือ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารเส้นท่อ ทำให้ระบบอ่างเก็บน้ำถูกแยกเดี่ยวช่วงเอลนีโญ จึงเสี่ยงสูง ทำให้
1. ขาดความยืดหยุ่นในการจัดการน้ำระหว่างอ่างเก็บน้ำต่างๆ ในระยอง ชลบุรี โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำดอกกราย คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมช่วงน้ำน้อย ต้องใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลมาผสมให้คุณภาพดีขึ้น
2. ค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำของระบบสูบน้ำเดิมใช้เอ็มโอยูระหว่างกรมชลประธาน การประปาส่วนภูมิภาค และบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ แต่การเปลี่นแปลงผู้บริหารเส้นท่อกรมธนารักษ์ทำให้ไม่มีเจ้าภาพจ่ายค่าไฟฟ้า แผนสูบน้ำจึงไม่เป็นไปตามแผน
3. กระบวนการศาลปกครองใช้เวลาตัดสิน ส่วนราชการไม่กล้าตัดสินใจบริหารจัดการน้ำ อาจส่งผลกระทบถึงคำสั่งศาลในอนาคต เรื่องนี้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) ควรเป็นหน่วยงานกลางแก้ปัญหา
JJNY : สง่างาม วันนอร์│‘พิธา’แจงเลือก ‘วันนอร์’นั่งปธ.สภา│แผนแก้แล้ง ชงรบ.เงียบกริบ!│หอค้าไทยพร้อม 4 เรื่องเสนอครม.ใหม่
https://www.khaosod.co.th/update-news/news_7746966
ประชุมสภานัดแรก พิธา เสนอเอง วันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานสภา ฉลุยแบบไร้คู่แข่ง เจ้าตัวย้ำทำหน้าที่เป็นกลาง ตรวจสอบได้ ยึดข้อบังคับ
เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 4 ก.ค. 2566 ที่รัฐสภา ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ชุดที่ 26 ปีที่ 1 ครั้งที่ 1 (สมัยสามัญประจำปีครั้งที่หนึ่ง) เลขาธิการสภาผู้แทนราษฎร ได้เชิญ พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคเพื่อไทย ซึ่งมีอาวุโสสูงสุด มาทำหน้าที่ประธานการประชุมชั่วคราว เพื่อเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎรและรองประธานสภา คนที่หนึ่งและคนที่สอง
พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า ยินดีที่ได้ทำหน้าที่ประชุมสภานัดแรก ขณะนี้มีผู้มาร่วมประชุม 496 คน ครบองค์ประชุมแล้ว จากนั้นได้กล่าวนำสมาชิกกล่าวนำปฏิญาณตน
พล.ต.ท.วิโรจน์ แจ้งวาระการประชุมถึงการเลือกประธานสภาและรองประธานสภา ต้องลงคะแนนลับ เราใช้วิธีเขียนชื่อลงในบัตรที่เจ้าหน้าที่แจกให้แล้วนำมาหย่อนให้ในกล่อง โดยมีคณะกรรมการตัวแทนจากพรรคการเมือง เป็นผู้นับคะแนน
จากนั้นได้เปิดให้สมาชิกเสนอชื่อผู้เป็นประธานสภา โดยนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ส.ส.บัญชีรายชื่อ หัวหน้าพรรคก้าวไกล เสนอชื่อนายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ส.ส.บัญชีรายชื่อ พรรคประชาชาติ เป็นประธานสภา ทั้งนี้ ไม่มีพรรคอื่นเสนอชื่อประธานสภาเข้าแข่งขัน
นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา ได้แสดงวิสัยทัศน์ว่า ขอบคุณที่สมาชิกเสนอชื่อเพื่อมาทำหน้าที่ประธานสภาในครั้งนี้และถ้าตนได้รับความไว้วางใจเป็นประธานสภา ตนขอยืนยันว่า
1. ตนจะทำหน้าที่ด้วยความเป็นกลางทางการเมืองและน้อมนำพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัวที่พระราชทานมาเป็นแนวทางปฏิบัติของพวกเรา
2. ตนจะปฏิบัติหน้าที่ด้วยความโปร่งใส สุจริตตามรัฐธรรมนูญและข้อบังคับของสภาทุกประการ
3. จะกำหนดแนวทางร่วมกันกับรองประธานสภาทั้งสอง ในการพิจารณาร่างกฎหมาย ญัตติ กระทู้ถามอย่างเป็นระบบเพื่อเปิดโอกาสให้สมาชิกปฏิบัติหน้าที่อย่างเต็มความสามารถเพื่อประโยชน์ประชาชน
4. ให้ความสำคัญกับการปฏิบัติงานของกมธ.ทุกคณะ เพื่อบรรเทาความเดือดร้อนประชาชนทุกกรณี
5. ตนจะร่วมกับพวกเราดำเนินนโยบายต่างประเทศของฝ่ายนิตบัญญัติในงานสภา เพื่อประโยชน์ของฝ่ายนิติบัญญัติ
6. ตนจะทำหน้าที่ดูแลงานสถาบันพระปกเกล้าให้มีประสิทธิภาพ ส่งเสริมงานนิติบัญญัติ สนับสนุนสถานีโทรทัศน์วิทยุรัฐสภาเป็นของประชาชน เพื่อส่งเสริมพัฒนาประชาธิปไตยให้มีประสิทธิภาพอย่างยั่งยืนตลอด
พล.ต.ท.วิโรจน์ กล่าวว่า เมื่อแสดงวิสัยทัศน์แล้ว มีผู้เสนอชื่อเพียงคนเดียว จึงถือว่าที่ประชุมได้เลือก นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา เป็นประธานสภา ตามข้อบังคับการประชุมสภา ข้อ 6 วรรคสาม
‘พิธา’ แจงเลือก ‘วันนอร์’ นั่งประธานสภา เพราะมั่นใจไว้ใจ ชี้ ‘หลักการสำคัญกว่าตัวบุคคล’
https://www.matichon.co.th/politics/news_4062051
“พิธา” แจงเลือก “วันนอร์” นั่งประธานสภา เพราะมั่นใจไว้ใจ ชี้ “หลักการสำคัญกว่าตัวบุคคล” ลั่นไม่ได้เอาประโยชน์พรรคเป็นที่ตั้ง
ภายหลังจากที่สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรมีมติเป็นเอกฉันท์เลือก “นายมูหะมัดนอร์ มะทา” หัวหน้าพรรคประชาชาติ เป็นประธานสภาผู้แทนราษฎรแบบเอกฉันท์โดยไร้คู่แข่ง หลังการเสนอชื่อของนายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ หัวหน้าพรรคก้าวไกลและแคนดิเดตนายกฯ พรรคก้าวไกลนั้น
ล่าสุดนายพิธาได้โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กเพื่อชี้แจงเรื่องดังกล่าว โดยมีใจความว่า
“ภายหลังข้อสรุปการตัดสินใจร่วมกันระหว่างพรรคก้าวไกลและพรรคเพื่อไทยเมื่อวานนี้ หลายคนตั้งคำถามว่าทำไมพรรคก้าวไกลถึงยอมถอยเรื่องตำแหน่งประธานสภาทั้งที่ได้ประกาศวาระที่ต้องการผลักดันไปแล้วกับประชาชน
ผมขอยืนยันว่าการตัดสินใจของเรา เราตัดสินใจภายใต้การรักษาเอกภาพการทำงานระหว่างพรรคร่วมรัฐบาล พวกเราถอยจากเงื่อนไขเดิมที่พวกเราตั้ง ภายใต้เงื่อนไขการบริหารงานสภาภายใต้นโยบายที่พรรคก้าวไกลแถลงไปแล้ว
ก่อนที่เราจะทำการตัดสินใจ พวกเราได้มีโอกาสพูดคุยกับอาจารย์วันนอร์ เราได้พูดคุยกันอย่างตรงไปตรงมาว่า “สภาก้าวหน้า”, “สภาโปร่งใส”, “สภาที่มีประชาชนเป็นศูนย์กลาง” จะเป็นนโยบายหลักภายใต้การดำรงตำแหน่งประธานสภาผู้แทนราษฎรของอาจารย์วันนอร์
นอกจากนี้ อ.วันนอร์ยังให้คำมั่นกับพวกเราว่ากฎหมายสำคัญของพรรคก้าวไกล เช่น สุราก้าวหน้า สมรสเท่าเทียม กฎหมายเพื่อกลุ่มพี่น้องแรงงาน และกฎหมายเพื่อกลุ่มชาติพันธุ์ จะไม่ถูกขัดขวางหรือถ่วงให้ช้าไม่ว่าด้วยความไม่ไว้วางใจหรือความไร้ประสิทธิภาพภายใต้การทำงานของ อ.วันนอร์
โดยส่วนตัว ผมได้มีโอกาสร่วมงานกันภายใต้พรรคร่วมฝ่ายค้านในรัฐบาลที่ผ่านมา ในทุกการประชุมร่วมกัน อ.วันนอร์ยืนอยู่ข้างเหตุผลและความถูกต้องอยู่เสมอ ซึ่งเป็นจุดร่วมกันกับที่พรรคก้าวไกล จนผมกล้าพูดได้ว่า อ.วันนอร์เป็นหนึ่งคนที่ผมสามารถไหว้ได้อย่างสนิทใจ
ภายใต้ฉากทัศน์ที่ไม่แน่นอนของการเมืองไทย พวกเราไม่ประมาทในทุกสถานการณ์ ขอให้ประชาชนเชื่อมั่นว่าการตัดสินใจของพวกเรา พรรคก้าวไกลทำภายใต้ความคิดว่า “หลักการสำคัญกว่าตัวบุคคล” สาเหตุที่เราเสนอชื่อปดิพัทธ์ ไม่ใช่เพราะคุณปดิพัทธ์คือคุณปดิพัทธ์ แต่เพราะเราเชื่อว่าคุณปดิพัทธ์คือคนที่พรรคก้าวไกลเชื่อมั่นว่าจะเข้าไปเปลี่ยนแปลงสภาให้เป็นแบบที่เราอยากเห็นได้
สุดท้าย ไม่ว่าฉากทัศน์จะเป็นอย่างไร ผมพร้อมอย่างเต็มที่ที่จะเผชิญกับทุกสถานการณ์ การตัดสินใจครั้งนี้ของพวกเราไม่ใช่การเอาประโยชน์ของผมหรือพรรคก้าวไกลเป็นตัวตั้ง แต่เป็นภารกิจเพื่ออนาคตการฟื้นฟูประชาธิปไตยของประเทศ
การตัดสินใจภายใต้เงื่อนไขรัฐบาลผสม สิ่งสำคัญคือการเรียนรู้ที่จะเดินหน้าและถอยภายใต้สถานการณ์ที่เหมาะสม การตัดสินใจของพรรคก้าวไกลในวันนี้ ไม่ใช่เป็นไปเพื่อเหตุผลทางการเมืองเฉพาะหน้า แต่เราตัดสินใจจากคุณค่าพื้นฐานร่วมกันของพรรคในการทำงานการเมืองระยะยาวเพื่อเปลี่ยนแปลงประเทศให้สำเร็จได้ โดยมีเส้นที่เราจะไม่สามารถล่วงล้ำได้เลย คือการทรยศต่อความไว้วางใจของประชาชน
#ก้าวไกล #ประชุมสภา #ประธานสภา”
https://www.facebook.com/timpitaofficial/posts/832303088255468
แผนแก้แล้ง 3 ปีชงรัฐบาลเงียบกริบ! เอกชนกังวล ชี้ปมผู้บริหารท่อเสี่ยง – ขอสทนช.ช่วย
https://www.matichon.co.th/economy/news_4062097
แผนแก้แล้ง3ปีชงรัฐบาลเงียบกริบ! เอกชนสะท้อน2ประเด็นร้อน-กังวล ปมผู้บริหารท่อเสี่ยง – ขอสทนช.ช่วย
นายธันยพัฒน์ มั่นณิชนันทน์ รองเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย(ส.อ.ท.) และเลขาธิการสภาอุตสาหกรรมจังหวัดสมุทรสาคร เปิดเผยความคืบหน้ากรณีคณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน(กกร.) ยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี ขอให้พิจารณาสั่งการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งจัดทำแผนรับมือสถานการณ์ภัยแล้งระยะเร่งด่วน 3 ปี และระยะยาว ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ว่า ภาครัฐยังเงียบ ไม่มีการตอบรับในการทำแผนรับมือภัยแล้งที่ชัดเจนแต่อย่างใด สิ่งที่ภาคเอกชนต้องการให้รัฐเร่งดำเนินการคือ แผนรับมือภัยแล้งช่วง 3 ปีนี้(2566-68) จากสถานการณ์เอลนีโญ โดยเฉพาะความกังวลในพื้นที่ภาคตะวันออกที่เป็นแหล่งอุตสาหกรรมและการท่องเที่ยวตลอดจนประชาชนอาศัยอยู่จำนวนมาก ไม่อยากให้เกิดภาพการแย่งน้ำ
ข้อกังวลประเด็นปัญหาที่ต้องได้รับการแก้ไขปัญหาเร่งด่วนมี 2 ประเด็นหลัก คือ ความพร้อมระบบสูบผันน้ำ พบว่า
1.ระบบสูบน้ำจากวังประดู่ เพื่อสูบน้ำจากจันทบุรีมาเติมที่อ่างเก็บน้ำประแสร์ ในช่วงฝนปี 2566-67 ยังไม่ได้รับการแก้ไข
2.ระบบสูบน้ำของอ่างเก็บน้ำประแสร์ที่ส่งน้ำในพื้นที่เสียหาย ทำให้ต้องใช้ระบบสูบน้ำจากอ่างเก็บน้ำประแสร์-คลองใหญ่ส่งให้เกษตรกรแทน กระทบแผนบริหารจัดการน้ำ
3.ระบบผันน้ำจากอ่างเก็บน้ำคลองใหญ่ – หนองปลาไหล อยู่ระหว่างก่อสร้าง และ4. การขุดลอกต่างตอบแทนของอ่างเก็บน้ำในชลบุรี จึงใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำบางพระมากกว่าแผน มีแนวโน้มที่จะสูบน้ำมาเติมไม่ทันเนื่องจากเอลนีโญ ควรงดหรือชะลอขุดลอกต่างตอบแทนชั่วคราว
อีกประเด็นที่อยากให้เร่งแก้ปัญหา คือ การเปลี่ยนแปลงผู้บริหารเส้นท่อ ทำให้ระบบอ่างเก็บน้ำถูกแยกเดี่ยวช่วงเอลนีโญ จึงเสี่ยงสูง ทำให้
1. ขาดความยืดหยุ่นในการจัดการน้ำระหว่างอ่างเก็บน้ำต่างๆ ในระยอง ชลบุรี โดยเฉพาะอ่างเก็บน้ำดอกกราย คุณภาพน้ำไม่เหมาะสมช่วงน้ำน้อย ต้องใช้น้ำจากอ่างเก็บน้ำหนองปลาไหลมาผสมให้คุณภาพดีขึ้น
2. ค่าใช้จ่ายในการสูบน้ำของระบบสูบน้ำเดิมใช้เอ็มโอยูระหว่างกรมชลประธาน การประปาส่วนภูมิภาค และบริษัท จัดการและพัฒนาทรัพยากรน้ำภาคตะวันออก จำกัด (มหาชน) หรือ อีสท์ วอเตอร์ แต่การเปลี่นแปลงผู้บริหารเส้นท่อกรมธนารักษ์ทำให้ไม่มีเจ้าภาพจ่ายค่าไฟฟ้า แผนสูบน้ำจึงไม่เป็นไปตามแผน
3. กระบวนการศาลปกครองใช้เวลาตัดสิน ส่วนราชการไม่กล้าตัดสินใจบริหารจัดการน้ำ อาจส่งผลกระทบถึงคำสั่งศาลในอนาคต เรื่องนี้สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ(สทนช.) ควรเป็นหน่วยงานกลางแก้ปัญหา