เจริญอนิจจสัญญา

(๑)  ภิกษุในธรรมวินัยนี้ ย่อมพิจารณาเห็นดังนี้ว่า
รูป เวทนา สัญญา สังขารทั้งหลาย วิญญาณไม่เที่ยง ย่อมพิจารณาเห็นโดยความเป็นของไม่เที่ยงในอุปาทานขันธ์ ๕ เหล่านี้ด้วยประการอย่างนี้ นี้เรียกว่าอนิจจสัญญา
(๒) ภิกษุผู้พิจารณาเห็นอานิสงส์ ๖ ประการ เป็นผู้สามารถเพื่อไม่กระทำเขตจำกัดในสังขารทั้งปวง แล้วยังอนิจจสัญญาให้ปรากฏ อานิสงส์ ๖ ประการ คือ
ภิกษุพิจารณาเห็นอยู่ว่า
สังขารทั้งปวงจักปรากฏโดยความเป็นของไม่มั่นคง ๑
ใจของเราจักไม่ยินดีในโลกทั้งปวง ๑
ใจของเราจักออกจากโลกทั้งปวง ๑
ใจของเราจักน้อมไปสู่นิพพาน ๑
สังโยชน์ทั้งหลายของเราจักถึงการละได้ ๑
และเราจักเป็นผู้ประกอบด้วยสามัญญธรรมชั้นเยี่ยม ๑
(๓) อนิจจสัญญา อันบุคคลเจริญแล้วกระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำกามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำรูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้
ในสรทสมัย ชาวนาเมื่อไถนาด้วยไถคันใหญ่ ย่อมไถทำลายความสืบต่อแห่งราก (หญ้า) ทุกชนิด แม้ฉันใด อนิจจสัญญาอันบุคคลเจริญแล้ว กระทำให้มากแล้ว ย่อมครอบงำ กามราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำ รูปราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำภวราคะทั้งปวงได้ ย่อมครอบงำอวิชชาทั้งปวงได้ ย่อมถอนขึ้นซึ่งอัสมิมานะทั้งปวงได้ ฉันนั้นเหมือนกันแล
คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่