เทียบ กรณี เรือดำน้ำไททัน กับ เรือดำน้ำที่ James Cameron ใช้ สำรวจ ใต้ทะเล ต่างกันมากไหมครับ..

คือ ได้ยินมาว่า ของ James Cameron ใช้งบหมาสาร ไม่ทราบว่า  เท่าไหร่ เพราะ ลืมแล้ว แต่เยอะอ่ะ..

กับ ของ บริษัทโอเชียนเกต มีอะไรต่างกันบ้างครับ

ว่าแต่ James Cameron แกใช้ Logitech F710 บังคับรึเปล่า 555 คือมันจริงเหรอครับ มันใช้ได้ด้วยเหรอ เหมาะสมไหมนิ...
ได้อ่านมาบ้าง ว่า บริษัทโอเชียนเกต มันมีอะไรแปลกๆ แต่ คนรวยก็เขาเลือกไป บริษัทนี้ ทำไมไม่ทราบเรื่องเลยครับ ทำไมไม่ทำการศึกษามาก่อน
อ่ะ.. ก่อนจะตัดสินใจ เอาชีวิตไปเสี่ยงกับ อะไรก็ไม่แน่อีก...
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 3
ของ James Cameron นั้งได้คนเดียว ห้องโดยสารทรงกลมสามารถทดแรงดันได้มากกว่า
ส่วนของ titan บรรทุกได้ 5 คนห้องโดยสารทรงแคปซูล ไม่มีอะไรค้ำยัน
วัสดุ James Cameron ใช้โฟมชนิดพิเศษน้ำหนักเบากว่าน้ำ สามารถลอยตัวขึ้นผิวน้ำได้ทันทีเมื่อทิ้งเหล็กถ่วง  ทรงกลมห้องโดยสารทำจากเหล็ก  64 มม.  เรือดำน้ำ titan ใช้วัสดุคาร์บอนไฟเบอร์ ด้านหัวเรือใช้ไทเทเนียม

ส่วนจอยสติ๊กเอาไว้แค่ใช้บังคับทิศทาง ถ้าจอยสติ๊กเสียหาย สามารถบังคับผ่านจอที่เป็นทัชสกรีนได้

ความคิดเห็นที่ 6
ฟังคลิปสรุปมาจากหลายๆ แหล่งแล้วอึ้งมากในฐานะคนที่เคยทำงานอยู่กับสายงานออกแบบและเกี่ยวข้องกับค่าแฟคเตอร์ความปลอดภัย

ตาลุงที่เป็นเจ้าของบริษัทเรือไททันนี่แกแหกกฏความปลอดภัยแบบบ้าบิ่นมาก อาจารย์อ๊อดบอกว่าที่ความลึกระดับนั้นรัสเซียสร้างเรือดำน้ำยังต้องออกแบบใช้เหล็กกล้าหนาสองเมตรถึงเอาอยู่

แต่ลุงแกใช้คาร์บอนไฟเบอร์หนาแค่ห้า-หกนิ้วปิดทับด้วยแผ่นไทเทเนียมมาทำตัวเรือกะว่าจะให้น้ำหนักมันเบาเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ยังไม่มีใครทำและให้การรับรอง หรือยอมรับ และลุงแกเองก็ปฏิเสธไม่ยอมส่งมอบเรือให้ใครเข้ามาตรวจสอบรับรองเสียด้วย

คงเพราะเรื่องนี้ที่หัวหน้าทีมหนึ่งในนั้นถึงต้องออกมาโวยวายทักท้วงว่าไม่ปลอดภัย ลุงแกก็ไล่ออกซะเลย ฟ้องข้อหาเปิดเผยความลับบริษัทอีกตะหาก พอเกิดเรื่องตรงนี้นักข่าวเลยได้ข้อมูลทางเทคนิคจากกระบวนการฟ้องร้องในศาลมาทำข่าวเปิดเผยกันยกใหญ่

กระจกกันน้ำที่ผู้ผลิตเขารับรองการใช้งานที่ความลึกเพียงแค่กิโลกว่าๆ ลุงแกก็หลับหูหลับตาฝืนเอามาใช้งานที่ความลึกมากกว่าสามเท่า

ที่ดำทดสอบไปดูซากเรือสองครั้งแรกผ่านมาได้คงเพราะวัสดุยังใหม่เอี่ยมมีความแข็งแรงเต็มที่พอจะทนรับได้ คงจะแบบปริ่มๆ พอดี แต่มีความล้าความเครียดในเนื้อวัสดุสะสมไว้มากพอสมควรแล้วแต่อาจตรวจหาไม่เจอ และไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้

ครั้งนี้ดำลงเป็นครั้งที่สามและเป็นครั้งสุดท้ายของชะตากรรมของเรือ และคนเคราะห์ร้ายที่อยู่ในนั้น ที่จุดวิกฤติทุกอย่างมาบรรจบพบถึงกันหมดแบบที่ไม่มีใครคาดคิด 😎
ความคิดเห็นที่ 4
แถวๆ 6 นาที James Cameron อธิบายน่าสนใจครับ เขาว่า วัสดุคอมโพสิต (ประกอบกันจากหลายวัสดุ) อย่าง Carbon Fiber ที่เรือ Titan ใช้เนี่ย มันมีเรื่องความเสื่อมของแรงเชื่อมระหว่างแต่ละวัสดุด้วย ทำให้ยิ่งดำลงไปโดนแรงกดหลายรอบมันก็ยิ่งเสื่อมลงๆ แม้จะมีการดำทดสอบว่าปลอดภัยมันก็จะสั่งสมความเสื่อมจนสุดท้ายก็พังอยู่ดี เทียบกับเรือแกที่เป็น Steel ล้วน หรือพวก Titanium พวกนี้มันไม่ต้องห่วงเรื่องนั้น ถ้าดำทดสอบแล้วปลอดภัยมันก็จะดำได้อีกกี่รอบก็ได้

คลิกเพื่อดูคลิปวิดีโอ

เขาย้ำด้วยว่าเรื่องพวกนี้ทางวงการวิศวกรรมรู้กันมาตั้งนานแล้ว ไม่ใช่ไม่รู้

เรือดำน้ำของแคเมรอนนี่ จากใน wiki เขาว่าไปทดสอบรับแรงดันกว่า 12 ตันก่อนแล้วจากในแลบ  Pensilvania State University https://en.wikipedia.org/wiki/Deepsea_Challenger#Specifications
ความคิดเห็นที่ 1
คนละเรื่องครับ มาตรฐานต่างกันมากๆ ผมเคยถามเค้าเรื่องอุณภูมิน้ำก้นทะเล เค้าก็ตอบได้ว่าจะไม่มีปัหาทำให้แบตรีลิเทียมโพลิเมอร์หยุดทำงาน




แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่