จริงแค่ไหน? สมัยเรียนใครๆก็ไม่อยากใส่เครื่องแบบทั้งนั้น??

คำถามตามหัวข้อกระทู้ เป็นคำถามที่ลูกสาว วัยจะ 15 ปีของผม ถามมา และทำให้ผม เริ่มสงสัยจนอยากมาถามท่านๆในนี้ต่อเหมือนกันว่า ท่านคิดว่า จริงมั้ย ที่วัยรุ่น ยังไงๆก็ไม่ได้อยากใส่เครื่องแบบ?

ส่วนตัวผม เป็นคุณพ่อเลี้ยงเดี่ยว วัยเลยหลักสี่มาไกล อีกหน่อยก็รังสิตแล้ว สมัยก่อนเรียนสายสามัญ ผมใส่เครื่องแบบไปเรียน แต่ เสื้อนักเรียนผม จะมีสกรีนตราโรงเรียนและโลโก้ห้องที่ชายเสื้อ (ไม่ก็ชายเสื้อด้านหลัง) ซึ่งสกรีนกันแทบทุกคนในห้อง (โดนครูไล่ตรวจกัน แต่ เนื่องจาก ทำกันแทบทั้งโรงเรียน ผู้หญิงก็ทำ โรงเรียนจึงต้องเลยตามเลย แค่อย่าให้มันอลังการมากเกินไป) โดยผมจะใส่เสื้อยืดด้านในเสื้อนักเรียน พอเย็นๆก็ถอดเสื้อนักเรยียนออก ไม่ก็ใส่คลุมเอาไว้เฉยๆ เวลาไปเตะบอล คล่องตัวกว่า เสื้อนักเรียนไม่สกปรกด้วย โดนครุบ่น ก็บอกกลับไปตามนี้
โรงเรียนผมเมื่อ 30 กว่าปีก่อน ถือว่าอิสระดีครับ ไม่มาไล่ครวจถุงเท้าพื้นสีดำ สีเทา 
นับเป็นโชคดี

โรงเรียนลูกสาว ใส่เครื่องแบบไปเรียน 1 วัน (แต่ละระดับชั้นใส่สลับวันกัน)  ชุดพละ 1 วัน ไปรเวท 1 วัน "ชุดไทย" 1 วัน และ อดีตเคยเป็นชุดลูกเสือแต่ตอนนี้ เป็นชุดลำลองเสื้อสีขาวกางเกงวอร์ม(กางเกงพละ) และปผ้าพันคอ (ถือว่าเสื้อก็กึ่งตามสะดวก)
ดังนั้น แต่ละวัน แค่ดูชุดที่ใส่ก็รู้แล้วว่า คนนั้น อยู่ ม.อะไร

เมื่อเกิดเหตุน้องหยก กับกรณีโรงเรียนดัง(ที่มีเพื่อนจบที่นี่เพียบ) ลูกสาวติดตามข่าว ก็แสดงความคิดเห็นต่างๆ ซึ่งโดยรวม ลูกสาวให้ความเห็นว่า

"ไม่มีปัญหากับเครื่องแบบ ใส่ได้ ไม่อึดอัดเพราะมีวันอื่นให้ใส่ตามต้องการได้แล้ว" และลูกสาวแสดงความเห็นด้วยว่า "เครื่องแบบ ก็ถือว่าเป็นเครื่องหมายนึงของสังคม ไม่ใช่แค่นักเรียน แต่ ข้าราชการ ครู ตำรวจ ทหาร รวมไปจนถึง พนักงานธนาคาร พนักงานเซเว่น สเว่นเซ่น แม้แต่ โรงหนัง สถานบริการ แอร์โฮสเตส นักบิน ก็มีเครื่องแบบทั้งสิ้น" อีกอย่างคือ ลูกสาวบอกว่า "เคร่องแบบก็มีฟังก์ชั่นของมัน และ ในโอกาสบางอย่าง เครื่องแบบแสดงหน้าที่ของมันได้ดีกว่า ดังนั้น ในบางโอกาส เครื่องแบบจึงช่วยให้ดำเนินชีวิตได้ง่ายกว่า"
เค้าไม่ได้รู้สึกว่า เครื่องแบบคือ การริดรอนสิทธิ์อะไร

แต่ เค้ามีข้อสงสัยคือ...
ทำไม สำหรับบางคน เครื่องแบบ ดูจะเป็นเรื่องเบียดเบียนชีวิตมาก และมีผู้ใหญ่จำนวนไม่น้อย แสดงความเห็นว่า เมื่อก่อนก็ไม่ได้อยากใส่เครื่องแบบ แต่ต้องยอมใส่ วันนี้โตแล้ว อยากต่อสู้เพื่อเด็กๆได้มีอิสระไม่ต้องใส่เครื่องแบบ

พอผมเอารูปเก่าๆสมัยเรียนให้ลูกสาวดู เธอก็มองว่า ผมก็ดูจะมีปัญหากับการใส่เครื่องแบบนักเรียน แต่ผมบอกว่า ผมทำเพื่อความสบายและใช้ชีวิตง่าย แต่ นางก็มองว่า ยังไง มันก็ยัง ต่อต้านกฎระเบียบโรงเรียนอยู่ดี และ พ่อ โชคดี ที่ได้โรงเรียนที่เข้าใจ ถ้าไปอยู่โรงเรียนที่เข้มงวด ป่านนี้คงโดนไล่ออกไปแล้ว

ลูกสาว ยังให้ความเห็นต่อมาด้วยว่า
สำหรับบางโรงเรียน เครื่องแบบ หมายถึงความภาคภูมิใจมากๆ เพราะมีเพื่อนย้ายโรงเรียนไปที่อื่นได้คุยกัน พวกนั้น ชอบ และภูมิใจที่ได้มส่เครื่องแบบ ที่โรงเรียน ก็มีรุ่นพี่กรรมการนักเรียน ลงมติกันกับครูและผู้ปกครองว่า ยินดีใส่เครื่องแบบ ที่โรงเรียนเธอก็เช่นกัน กรรมการนักเรียน ก็ลงมติกับโรงเรียนและผู้ปกครองว่า ขอใส่เครื่องแบบ 1 วัน รวมถึง ในวันที่เป็นพิธีต่างๆ ก็ใส่เครื่องแบบ เป็นการให้เกียรติโอกาสนั้น เพราะ เธอบอกว่า ขนาดมหาวิทยาลัย ในงานพิธี ก็ยังต้องใส่เครื่องแบบเลย

เมื่อถามถึงมหาวิทยาลัย ก็ถามถึงการเรียนของพ่อ(ตัวผม) ซึ่งเรียนในแขนงวิชาเน้นเสรีภาพทางความคิด ไม่มีการใส่เครื่องแบบไปเรียน วันสอบก็ใส่อะไรก็ได้(สุภาพ) แต่ในงานพิธีสำคัญ ก็ยินดีใส่เครื่องแบบกันอย่างไม่มีปัญหา คนที่ไม่สนใจก็ไม่ต้องมาร่วม

เมื่อลองถามลูกสาวไปว่า
"ถ้าเป็นหนู ไม่อยากทำตามกฎอะไร จะทำยังไง?"
ตำตอบก็คือ
1.หาแนวร่วม ถ้าหาไม่ได้ แปลว่า สังคมนี้ เราแปลกจากเค้า ต้องคิดใหม่ว่าเอาไงดี
2.เมื่อมีแนวร่วม ขอทำกิจกรรมเพื่อแสดงออกถึงแนวคิดของกลุ่ม ประชาสัมพันธ์แนวคิดออกไป
3.ประสานทางโรงเรียน ขอพื้นที่แสดงออกอย่างเหมาะสม ถูกต้องเท่าที่จะตกลงกันได้
4.สมัครเลือกตั้งกรรมการนักเรียน และ ดำเนินนโยบายตามที่ต้องการผลักดันขึ้นไปที่โรงเรียน
5.ถ้า โรงเรียนยืนยันไม่สามารถปรับเปลี่ยนอะไรได้ ก็หาแนวร่วมในระดับสหสถานศึกษา
6.ยกระดับดำเนินกิจกรรมกับเครือข่ายที่เห็นตรงกัน หรือ คล้ายกัน ผลักดันขึ้นไปสู่ระดับสังคม
7.นำเสนอแนวคิด เคลื่อนไหวแสดงออก เรียกร้อง ยื่นหนังสือ กับหน่วยงานที่มีอำนาจ

คำถามต่อไปที่พ่อถามลูกสาวคือ
"แล้วถ้าทำทั้งหมดแล้วยังไม่ได้รับการเหลียวแล ยังไม่ได้รับความเป็นธรรมล่ะ?"
คำตอบของลูกสาวคือ
ถ้าทำยังไงๆก็ไม่ได้ ก็เปลี่ยนที่เรียน หรือไม่ก็ หาพลัง อำนาจ เพื่อยกระดับการต่อสู้ ประท้วง เรียกร้องเชิงรุก ซึ่งอาจมีการผิดกฎหมายบ้าง ถ้าจะไปถึงจุดนั้นต้องยอมรับผลเสียที่จะตามมา แต่ คงไม่มีใครอยากให้ไปจุดนั้น ถ้าไม่มีแบ็คอัพที่แข็งพอ เพราะ ถ้าแพ้ จะสิ้นชื่อ
"มันก็เหมือนการกบฎ ที่ถ้าชนะก็คือปฎิวัติ แต่ถ้าแพ้ ก็มีแต่ตาย" ดังนั้น "ค่อยๆต่อสู้ในระดับที่ทำได้ ค่อยๆปลดล็อคเท่าที่ทำได้ มีเป้าหมายใหญ่ข้างหน้า อดทนทำไป ถ้าหมดไฟก็ยอมรับชะตากรรม"
สุดท้าย "ถ้าสู้จนไม่ไหว ไฟยังไม่หมด ก็ย้ายที่อยู่ค่ะ"

ลูกสาวผมดูข่าวแล้วตั้งคำถามว่า "พี่ๆเค้าไม่คิดหรอว่า การเรียกร้องอันนี้ มันอาจสร้างความรำคาญให้คนอื่นๆด้วย?"
คำตอบที่ผมเป็นฝ่ายให้กลับไปก็คือ
"เค้าอาถูกกดดันมากๆแล้ว จนไม่มีทางออก ต้องแสดงออกด้วยการยกระดับให้รุนแรงขึ้น" และ ลูกสาว ถามกลับมาคำนึงที่สะท้อนใจว่า
"ทำไม ไม่มีเพื่อนในโรงเรียน ออกมาเคียงข้างพี่เค้า หรือเพราะ คนอื่นๆก็ไม่ได้เดือดร้อนกับกฎของโรงเรียนรึเปล่า?"
ผมตอบลูกได้แค่

อาจจะมีคนที่อยากให้ยกเลิกกฎ แต่ไม่กล้าที่จะแสดงตัวออกมา อาจเห็นว่าเป็นส่วนน้อยเกินไป และยอมรับได้ ปรับตัว"ฝืน" สิ่งที่ต้องการ เพื่อให้ได้เรียน ได้อยู่ในสังคมนี้ ก่อนจะถามกลับไปว่า
"ถ้าเป็นหนู จะฝืนตัวเองรึเปล่าล่ะ? รู้ว่าไม่อยาก แต่ต้องยอม??"

คำตอบจากลูกสาวก็คือ
"คนเราสามารถได้ตามต้องการทุกอย่างด้วยหรือคะ?" โดยสรุปเธอกล่าวว่า หากสิ่งที่ฝืนไม่ได้เป็นเรื่องคอขาดบาดตาย ชั่งน้ำหนักแล้วรับมันได้ก็ปรับตัวไปตามกฎระเบียบ ถ้าเข้าใจระเบียบก็ทำตามได้แบบไ่มรู้สึกกดดัน แต่ถ้ามันขัดใจจริงๆ ตัวเราก็จะบอกเองว่า เราไม่เหมาะกับที่นี่ ก็มองหาที่อื่นๆต่อไปก็ได้นี่ หรือ จะออกมาเรียกร้องต่อสู้เปลี่ยนที่นี่ ก็ต้อง มีขั้นตอนต่างๆที่ว่ามา

ผมสนับสนุนลูกสาวเรื่องสิทธิเหนือตัวเองมาโดยตลอด ก่อนนี้ อยากย้อมผมไปเรียน ก็จัดไปเลยมีข้อแม้แค่ ต้องให้พ่อย้อมไปด้วยนะ พอเค้าได้ย้อมผมไปเรียนอยู่เทอมนึง สักพักเค้าก็ลดลงมาเหลือแค่ไฮไลท์ปอยเล็กๆ เพราะ มันเปลืองเงิน ที่จะคอยย้อมทั้งหัวเรื่อยๆ
ทรงผมก็ตามสะดวก อยากซอยผมก็ซอยไป แต่พอเรียนแล้วรกรุงรัง ก็ต้องหากิ๊บ หาที่คาด มาคาดจนแทบจะเป็นม้งเรียนหนังสือ
ที่โรงเรียนก็พอจะรู้ และ ให้พื้นที่วัยรุ่นพอสมควร รุ่นพี่มัธยมปลาย บางคนก็แอบมีเอวลอยเห็นสะดือไปเรียน ทางโรงเรียนเค้าก็มองว่า มันคือบุคลิกภาพ เดี๋ยวสังคมพวกเค้าก็จะเบรคกันเอง ยิ่งแต่งตัวแรงเท่าไหร่ ก็ยิ่งมีการตีกลับทางสังคมตามมาด้วย

ผมจึงคิดว่า ยิ่ง"บีบ" ความคิดและตีกรอบมากเท่าไหร่ ก็ยิ่งแสวงหาช่องให้แหกออกมาสู่อิสระภาพ ดังนั้น ของบางอย่างมันไม่ได้คอขาดบาดตาย การให้ได้รู้และลอง พร้อมทั้งทำความเข้าใจเหตุและผลของมัน เมื่อเค้าได้ลองแล้วก็รู้เองว่า แค่ไหนถึงจะพอดี
ที่สำคัญ การให้พื้นที่เค้าได้พูด แสดงออก และรับฟัง น่าจะเป็นทางออกที่ดีที่สุด
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่