ประวัติของกลุ่มพระวอพระตาที่คลุมเคลือเเละความพยายามที่จะเปลี่ยนเเปลงประวัติศาสตร์ภาคอีสานโดยเหล่านักปราชญ์ชาวอุบล

อยากบอกไว้ให้คิดสำหรับหลายคนเลย เรื่องที่มีความพยายามที่จะบิดเบือนประวัติศาสตร์เกี่ยวกับ ราชวงศ์ลื้อเชียงรุ่ง-ปางคำ (ผู้เเต่งสังข์ศิลป์ชัย) มีความพยายามที่จะผูกเรื่องดังกล่าวเข้ากับประวัติของพระวอพระตา เเละนิทานนางสีดาผาบนกสักกะไดลิง เป็นเรื่องที่เเต่งโดยนายบำเพ็ญ ณ.อุบล เพียงผู้เดียวที่มีความพยายามบิดเบือนเเละเติมเเต่งข้อมูลเท็จขึ้นในภายหลัง หลักฐานชั้นต้นทางประวัติศาสตร์ พงสาวดารไม่เคยมีกล่าวถึงหรือมีความเกี่ยวข้องกันในเรื่องดังกล่าวเลยเเม้เเต่น้อย

เเละเป็นที่รู้จักกันดีว่า จังหวัดอุบลราชธานีเป็นถิ่นนักปราชญ์ ถิ่นที่มีการเเต่งเรื่องเเต่ง นิทาน ความเชื่อ (เกจิ) บทเพลง กลอนลำ มากมาย จนตั้งฉายาจังหวัดตัวเอง (ตั้งเอาเอง) ไว้ในคำขวัญประจำจังหวัด เเละถึงขั้นเเต่งเพลงประจำจังหวัด เเละเอาคำว่าถิ่นนักปราชญ์ไปใส่ไว้ในเพลง (มีศิลปินของจังหวัดร่วมร้องด้วย) ตรงนี้ไม่ค่อยเเปลกใจ เเต่ก็มีความพยายามขยี้คำว่า ''ราชธานี'' ว่ามีเพียงเเห่งเดียวเเม้ว่าไม่ใช่เมืองหลวงของประเทศ (ราชธานีเเห่งเดียวของอีสานที่คิดขึ้นเอง เพราะไม่รู้ข้อเท็จจริงเเละความเป็นมาของชื่อน่ะเหรอ?) ทำให้ลูกหลานเเละคนทั่วไปเข้าใจไขว่เขว่ (เต็มสื่อออนไลน์ โดยเฉพาะสื่อ Tiktok) เเละคิดกันผิดๆไปเองคิดว่าอุบลเคยเป็นราชธานีของอีสานมาก่อนจริงๆ หลายคนไม่รู้ไปดึงความที่เคยเป็นที่ตั้งกองข้าหลวงประจำมณฑลในยุคมณฑลเทศาภิบาลซึ่งเป็นยุคหลังมาเป็นข้ออ้างที่ว่าทำไมอุบลถึงต่อท้ายด้วยราชธานี ซึ่งมันตลกสิ้นดี ชื่อเมือง ร.1 ท่านตั้งขึ้นพร้อมตั้งเมืองให้มานานกว่า 100 ปี ก่อนจะมีมณฑลเทศาภิบาลซะอีก (คนที่ไม่รู้ก็ก๊อปวางข้อมูลที่เข้าใจผิดกันในสื่อออนไลน์กันตรึม) เเต่ฐานะจริงๆของเมืองอุบลราชธานีก็เหมือนเมืองอื่นๆก็คือเป็นเเค่ระดับเมืองประเทศราช (ประเทศราชขนาดเล็ก) ไม่ได้มีฐานะเป็นถึงนครรัฐที่จะมีกษัตริย์ครองนครประเทศราช (ประเทศราชขนาดใหญ่ มีเมืองขึ้นต่อนคร) หรืออาณาจักรที่มีราชธานีเหมือนกับทางล้านนาหรือสปป.ลาว เพราะการจะเป็นราชธานีได้จะต้องอยู่ในระดับอาณาจักรไม่ใช่เเค่เมืองประเทศราชเท่านั้น

เเละถ้าหากย้อนกลับไปว่าเมืองอุบลราชธานีเป็นเพียงเเห่งเดียวมีชื่อลงท้ายว่า’’เมืองของพระราชา’’ หรือ’’เมืองหลวง’’เพียงเเห่งเดียวจริงเหรอ? (ถ้ายุคที่เป็นจังหวัดน่ะใช่ เเต่ถ้ายุคเจ้าเมืองไม่ใช่ เเละจังหวัดราชบุรีก็ไม่ใช่ชื่อลงท้ายหรือเคยเป็นเมืองระดับประเทศราช) ก็ต้องกลับไปดูด้วยว่ามีที่อื่นเขาถูกตั้งชื่อในความหมายที่เหมือนกันหรือไม่ ก็จะพบว่าเมืองสุวรรณภูมิก็เคยมีชื่อเต็มว่าเมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ ซึ่งหมายถึง ’’เมืองของพระราชา’’ หรือ ’’เมืองหลวง’’ เช่นเดียวกัน ซึ่งเมืองสุวรรณภูมิถูกเพิ่มชื่อห้อยท้ายด้วย ‘’ราชบุรินทร์’’ ในยุค ร.1 อีกทั้งตามหลักฐานการตั้งเจ้าเมืองประเทศราช ชื่อเมืองก็ถูกเรียกว่า’’เมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์’’พร้อมการเเต่งตั้งเจ้าเมืองคนใหม่ก่อนเมืองอุบลราชธานีจะเกิดได้ 1 ปี (ขณะนั้นยังเป็นเพียงเเค่หมู่บ้านห้วยเเจละเเม) ก็ต้องพออุปมานได้ว่าเมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์น่าจะเป็นเเม่เเบบของชื่อเมืองที่ห้อยท้ายด้วย ราชบุรี-ราชบุรินทร์-ราชธานี ในเชิงความหมายเดียวกัน ซึ่งเพื่อไม่ให้ชื่อเรียกซ้ำกัน ร.1 จึงใช้คำเเตกต่างกันนิดหน่อยเเต่ก็ยังคงความหมายเดิม เอามาใช้ตั้งชื่อห้อยท้ายชื่อเมืองอุบลราชธานีจากเเม่เเบบอย่างเมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์ที่ ร.1 ได้เคยตั้งชื่อเอาไว้ก่อนหน้า

เเละจากอีกข้อสังเกตุในการเรียกเจ้านายท้องถิ่นอุบล ท้องถิ่นมีความพยายามเติมคำว่าเจ้านำหน้าพระของตำเเหน่งเจ้าเมืองในใบลานกฎหมายหลักคำเเละพบได้ทั่วไปของข้อมูลตามอินเตอร์เน็ตเพราะท้องถิ่นน่าจะต้องการทดเเทนความรู้สึกเสียหน้าจากหลักฐานประวัติศาสตร์ชั้นต้นที่ รัชกาลที่ 1 เเต่งตั้งโดยการให้เกียติเรียกเจ้านายอีสานหรือเจ้าเมืองไม่เท่ากัน (เเม้จะถูกเเต่งตั้งโดยพระสุพรรณบัตรเเผ่นทองคำเหมือนกัน) ซึ่งทางท้าวคำผงหรือพระปทุมเจ้าเมืองอุบลคนเเรกไม่เคยได้รับเกียรติถูกเรียกศักดิ์จาก ร.1 ว่าเจ้าหรือจ้าวนำหน้าตำเเหน่งอาญาสี่เดิมเป็นซึ่งเป็นนามเรียกก่อนที่จะถูกเเต่งตั้งในนามเจ้าเมือง จาก ร.1 เหมือนเช่นกับกรณีที่ ร.1 เรียก’’เจ้า’’อุปราชเมืองสุวรรณภูมิที่ถูกเเต่งตั้งให้เป็นเจ้าเมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์หรือ’’เจ้า’’หน้า (ฝ่ายหน้า) หัวหน้าหมู่บ้านสิงห์ท่าที่ได้รับเเต่งตั้งเป็นเจ้าเมืองนครจำปาสัก 

เเละถ้าในความเป็นถิ่นนักปราชญ์ของเมืองอุบลหากเเต่ในเรื่องประวัติศาสตร์น่าจะเป็นข้อยกเว้น? (เพราะประวัติศาสตร์ต้องเข้าหาความจริง ไม่ใช่เข้าหาเรื่องเติมเเต่ง) โดยเฉพาะพยายามการเติมเเต่งประวัติศาสตร์ของทั้งกลุ่มพระวอพระตาเอง เเละมีความพยายามบิดเบือนประวัติศาสตร์เจ้านายอีสานกลุ่มอื่นๆเพื่อทำการเชื่อมโยงให้เกี่ยวข้องเพื่อที่จะได้เคลมเป็นลูกหลานหรือพรรคพวกของตัวเอง (เคลมบอเดียv.2?) เฉกเช่นกรณีไปเคลมเพี้ยเมืองเเพนเป็นลูกหลานพระวอพระตาโดยบิดเบือนข้อมูลประวัติพระลับ (พระศรีสัตนาคนหุต) เคลมเจ้าเซียงเจ้าสูนเจ้าเมืองสุวรรณภูมิราชบุรินทร์หลานจารย์เเก้วให้เป็นพรรคพวกของพระวอพระตาที่หนีตาย (ถึงขนาดเคลมเจ้านายอีสานกลุ่มที่ใหญ่ที่สุดกลุ่มหนึ่งเชียวนะ ช่างกล้า ^^) เคลมท้าวอุ่นเจ้าเมืองศรีสะเกษให้เป็นหลวงราชโภชนัยพรรคพวกของพระวอพระตาที่หนีตายอพยพไปสร้างเมืองขึ้นใหม่ (?) หลังพ่ายสงครามกับเวียงจันทน์ ก่อนที่ต่อมาล้านช้างทั้ง 3 โดยเฉพาะเวียงจันทน์จะตกเป็นของสยามในภายหลัง (ที่กลุ่มลูกหลานพระวอพระตาบางคน? ภูมิใจที่บรรพบุรุษตัวเองเป็นชนวนเหตุหรือมีส่วนทำให้เกิดเรื่องดังกล่าว มันน่าภาคภูมิใจ?) การบิดเบือนประวัติดังกล่าวก็ถูกนักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นตีตกเเละไม่ให้ค่าหรือถูกยอมรับ (เเม้จะมีความพยายามบิดเบือน) เพราะไปขัดกับหลักฐานประวัติศาสตร์เเละเอกสารชั้นต้นของกลุ่มเจ้านายอีสานกลุ่มอื่นๆที่ปราชญ์ (?) ชาวอุบลบางคนพยายามจะไปบิดเบือนเขียนขึ้นเเละมีการเผยเเพร่เป็นเอกสารเเละเเชร์ลงอินเตอร์เน็ท (สามารถพบเห็นได้ตามอินเตอร์เน็ต คนที่ไม่สันทัดในเรื่องประวัติศาสตร์อาจจะเข้าผิดเเละหลงเชื่อกันได้ง่าย) 

เเละการบิดเบือนประวัติศาสตร์เเละพิธีกรรมโดยเฉพาะเรื่องปางคำ-เชียงรุ่ง-นิทานนางสีดาผาบนกสักกะไดลิง เพื่อเพิ่มความศักดิ์สิทธิ์ให้กับพิธีปลงศพของเจ้าเมืองเเละเพิ่มความบันเทิงเชิงมหรสพให้เเก่พิธีโดยการไปเพิ่มพิธีที่ไม่เคยมีอยู่จริงมาตั้งเเต่สมัยพระวอพระตาอย่างให้นางสีดา (ธิดาเชื้อสายเจ้าเมืองเชียงรุ่ง ที่สมมุติขึ้นเอาเอง) ฆ่านกนกหัสดีลิงค์เเละนิทานดังกล่าวมีจุดประสงค์เเอบเเฝงเพื่อเติมเเต่งเชื่อมโยงให้พระวอพระตามีเชื้อสายไปเกี่ยวข้องกับทางลื้อเชียงรุ่งเเสนหวีฟ้าโดยใช้ปางคำชาวหนองบัวลำภูผู้ที่อายุห่างจากพระวอพระตาเกือบร้อยปีมาเป็นตัวเชื่อมโยงบิดเบือนโดยพยายามให้ปางคำเป็นบิดาของพระวอพระตาเเละพยายามยัดเยียดให้มีเชื้อสายราชวงศ์ไทลื้อเพื่อโหนลื้อขึ้นเป็นเชื้อเจ้า (พ่อกับลูกที่อายุห่างกันเกือบร้อยปีมันเป็นไปไม่ได้ นี้มันรุ่นทวด-เทียด อีกทั้งเอกสารชั้นต้นทุกฉบับไม่เคยมีการกล่าวถึงความเกี่ยวกันระหว่างปางคำกับพระวอพระตาเเละไทลื้อ-เชียงรุ่งเเสนหวีฟ้า เลยเเม้เเต่ฉบับเดียว) มีความพยายามหลอกให้ผู้คนหลงเชื่อข้อมูลที่เป็นเท็จ จากข้อมูลที่เผยเเพร่ในยุคหลัง อย่างสิ่งตีพิมพ์ที่ไม่เก่าเเก่เกินไปกว่า ปีพ.ศ. 2533 หรือ 30 กว่าปีมานี้เอง ทั้งที่หลักฐานชั้นต้นเกี่ยวกับพิธีศพของเจ้าเมืองอุบลคนเเรกเเละพระวอพระตา ไม่เคยมีการกล่าวถึงตำนานนางสีดาผาบนกสักกะไดลิงเเละเมืองเชียงรุ่งเเสนหวีฟ้าเเม้เเต่นิดเดียว หากเเต่ปรากฎในสิ่งตีพิมพ์ของนายบำเพ็ญ ณ อุบล ที่เป็นต้นกำเนิดในการเผยเเพร่ข้อมูลงดเท็จดังกล่าวเพียงเท่านั้น ข้อมูลบิดเบือนหลายๆอย่างมักจะถูกส่งออกจากชาวเมืองอุบลราชธานีเเละเเพร่ไปยังเมืองในเครือญาติอื่นๆจนพากันเชื่อกันเป็นตุเป็นตะ จนข้อมูลเผยเเพร่ออกไปสู่โลกภายนอกจากจุดบิดเบือนเล็กๆขยายออกไปจนกลายจุดบิดเบือนขนาดใหญ่ จากราชวงศ์สุวรรณปางคำ (ที่ปราชญ์ (?) อุบลเเต่งเรื่องขึ้นเอาเอง) จนพัฒนากลายเป็น พระเจ้าปางคำกษัตริย์เมืองหนองบัวลำภู ซึ่งถูกสถาปนาโดยวิกิพิเดีย เเละวิกิพีเดียก็เเพร่ไปยังสื่อออนไลน์ต่างๆ หลอกคนให้เชื่อได้อีกมากมาย อีกหน่อยก็คงจะได้บิดเบือนเเละพัฒนาจนกลายเป็นอาณาจักรนครเขื่อนขันธ์กาบเเก้วบัวบาน อาณาจักรใหม่ ที่ถูกค้นพบขึ้นใหม่ (?) หรือไม่ก็ไปบิดเบือนเไปเคลมเจ้าโสมพมิตรซึ่งเคยอยู่ร่วมก๊กเดียวกันมาก่อนเเต่คนละวงศ์ตระกูลให้กลายมาเป็นลูกหลานหรือให้กลายมาเป็นวงศ์ตระกูลเดียวกันกับพระวอพระตา ก็คงจะไม่เเปลก (ดูจากการกระทำ) คนส่วนใหญ่มักจะหลงเชื่อเรื่องเเต่งเสริม เพราะความไม่สันทัดทางด้านประวัติศาสตร์ เหล่านักประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเขารู้เเละได้เเต่นักหัวเราะกับข้อมูลที่บิดเบือน เเต่ทำอะไรไม่ได้เพราะไม่อยากมีดราม่า (กลัวโดนด่า) เพราะมันเป็นความเชื่อเเละเป็นเรื่องละเอียดอ่อน (เหมือนกรณีพญานาคนั้นหล่ะ)

ซึ่งสิ่งบิดเบือนความเป็นจริงเหล่านี้สมควรได้รับการเเก้ไขเเละถูกถกหาความจริงกันอย่างจริงๆจังๆ ลูกหลานพระวอพระตาโดยเฉพาะเหล่านักปราชญ์อุบลทั้งหลาย หากยังคงเห็นหัวของคำว่าความจริงหรือประวัติศาสตร์ (ที่ไม่ใช่นิยายหรือตำนานที่เติมเเต่งขึ้น) ยังไม่ต้องมองไกลไปถึงการให้เกียรติคนกลุ่มอื่น (ดูจากการกระทำล้วนๆ) เพราะการให้เกียรติบรรพบุรุษเเละลูกหลานตัวเองยังไม่สามารถทำได้เลยจริงไหม????? 

ปล.เป็นเพียงการบอกเล่าเเละข้อความอาจจะยาวไปนิด จุดประสงค์เพื่อต้องการจะสะกิดใครบางคนที่ละเลยความสำคัญในเรื่องดังกล่าว สามารถวิพากษ์วิจารณ์หรือถกเถียงกันได้อย่างอิสระ

แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่