จะเล่าจนกว่าจะมีคนฟัง Part 6 การวางแผนการออมเงิน part 2 (ความเสี่ยงการออมการลงทุน)

รอบที่แล้วผมพูดถึงเรื่องการวางแผนการออมเงิน และทิ้งท้ายไว้เรื่องความเสี่ยง 
วันนี้จะขอทำความเข้าใจกับทุกคนเรื่องความเสี่ยงกันนะครับ 
(ยาววววว หน่อยนะ กระทู้นี้)

ความเสี่ยง พูดภาษาบ้านๆเลย คือ โอกาสที่เราจะทำในสิ่งที่ตั้งใจและมีโอกาสที่จะไม่เป็นดังหวัง หรีอเกิดเหตุที่ไม่ได้ตั้งใจขึ้น
เช่น ความเสี่ยงที่จะซื้อ lottery ไม่ถูก, ความเสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุจากการเดินทาง, หรือ ความเสี่ยงจากการทำงานแล้วเจ้านายไม่ปลื้ม

และคนเราก็มีวิธีจัดการความเสี่ยงไม่เหมือนกัน และที่สำคัญ
ทุกคนสามารถ  รับความเสี่ยงได้ " ไม่เท่ากัน "

ในทางการออมเงินหรือการลงทุน ความเสี่ยง คือ โอกาสที่เราจะไม่ได้ผลตอบแทนตามที่ตั้งใจ 
เช่น อยากลงทุนในทองคำ 100,000 บาท และอยากได้ผลตอบแทนจากการลงทุน 10% 
แต่เอาเข้าจริง ขาดทุน หรือ ได้ไม่ถึง 10%

แต่ที่เกิดเหตุการณ์แบบข้างตัน เป็นเพราะว่า พวกเราไม่เข้าใจในเรื่องความเสี่ยงดี ทำให้ความเสี่ยงนั้น ยิ่งเสี่ยงสูงเข้าไปอีก

แล้วยังไงละคือการเข้าใจความเสี่ยง

ขอแบ่งความเสี่ยงออกเป็น 2 ส่วนนะครับ
1. ความเสี่ยง และความสามารถในการรับความเสี่ยงของเราเอง
2. ความเสี่ยงที่เป็นธรรมชาติของสินทรัพย์นั้นๆ

และ เราก็มี วิธีการจัดการความเสี่ยง (ขอเป็นกระทู้ถัดไปนะครับ ไม่งั้นมันจะยาววมาก) 
การจัดการความเสี่ยงคือ การลดทอนความเสี่ยง หรือการกระจายความเสี่ยง หรือ การป้องกันความเสี่ยง เพื่อให้ความเสี่ยงที่เกิดขึ้น 
อยู่ในเกณฑ์ที่เรายอมรับได้นั้นเอง ครับ

กลับมาที่เรื่องความเสี่ยงครับ
1. ความเสี่ยง และความสามารถในการรับความเสี่ยงของเราเอง 
ในการลงทุน ก่อนการลงทุนทุกครั้ง เราจำเป็น แบบจำเป็นต้องทำ และ ไม่ทำไม่ได้ด้วย  นั่นคือ แบบประเมินความเสี่ยง (Suitability test) ซึ่งเป็นแบบทดสอบ 10 + 3 ข้อ ที่เมื่อเราทำเสร็จแล้ว เราจะทราบทันทีว่า จริงๆแล้ว เราสามารถรับความเสี่ยงจากการลงทุนได้ระดับไหน และควรลงทุนในรูปแบบใด ให้เหมาะสมกับเราที่สุด เช่น หากเราทดสอบแล้ว เราสามารถรับความเสี่ยงได้ระดับปานกลาง
ดังนั้น การลงทุนของเรา ก็ควรจะลงทุนในอะไรที่ความเสี่ยงไม่สูงมาก เพื่อให้เมื่อเราลงทุนไปแล้ว เราจะได้ผลตอบแทนตามหวัง และจิตไม่ตกเวลาลงทุน 
หรือถ้าประเมินแล้ว เราเป็นคนที่รับความเสี่ยงได้ต่ำ แล้วเราไปลงทุนหรือออม ในอะไรที่มันมีความผันผวนมากๆ หรือเสี่ยงสูง เราอาจจะลงไปแล้ว จิตตก นอนไม่หลับ แทนที่เราจะได้ออม เรากลับเสียสุขภาพจิตจากการออม มันก็คงไม่ใช่

" นี่เป็นเหตุผลที่ว่า ทำไมบางคนทนเห็นเงินเราติดลบได้นานๆ ขณะที่บางคนเห็นเลขติดลบ หรือเงินหาย แล้วไม่สบายใจ   ก็เพราะว่า คนเราแต่ละคนรับความเสี่ยงได้ไม่เท่ากัน "

2. ธรรมชาติความเสี่ยงของสินทรัพย์นั้นๆ
คือ การที่เราเอาเงินไปลงทุนในอะไรก็ตาม สิ่งที่เราลงทุนนั้นมันมีโอกาสได้ผลตอบแทน หรือ ขาดทุน ไม่เท่ากัน เพราะว่าความเสี่ยงจากการลงทุน นั้นไม่เท่ากัน 
ยกตัวอย่างธรรมชาติของสินทรัพย์ เช่น
1. พันธบัตรรัฐบาล เสี่ยงน้อย เพราะมีรัฐบาลเป็นประกัน
2. หุ้นกู้ เสี่ยงขึ้นมาหน่อย เพราะออกโดยเอกชน มีโอกาสเบี้ยวหนี้มากกว่ารัฐ แต่ถ้าบริษัทมั่นคงๆ ก็ดีหน่อย เสี่ยงไม่มาก และหากบริษัทล้มจริง เรามีสถานะเป็นเจ้าหนี้ จะได้รับชำระเงินก่อนเจ้าของ
3.หุ้น เสี่ยงกว่า หุ้นกู้ เพราะมีสถานะเป็นเจ้าของ หากเกิดบริษัทล้ม เงินต้องจ่ายเจ้าหนี้ก่อน อาจจะเหลือไม่ถึงเรา
4.การลงทุนในหมวดอุตสาหกรรมเดียวกัน  เสี่ยงขึ้นไปอีก เพราะลงทุนในธุรกิจเดียว ถ้าเจ็งก็หมดกระดาน 
5.สินทรัพย์ทางเลือก ทอง น้ำมัน อื่นๆ  ได้ผลตอบแทนสูงจริง มีวิธีการจัดการที่ซับซ้อน เข้าใจยาก ซึ่งบางครั้งเป็นลักษณะของสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งไม่คุ้มครองเงินเราด้วย

พอเห็นภาพไหมครับ

ถ้าเรารับุวามเสี่ยงได้ต่ำ ไปลงทุนในน้ำมัน  คงนอนไม่หลับ เพราะเงินนี้เราต้องใช้ ห้ามหาย
กลับกัน บางคนเป็นเงินเย็น เงินเหลือ เอามาลงทุนเพื่อหวังผลตอบแทนสูงจากน้ำมัน เมื่อมันลงเยอะๆเค้าก็ไม่เดือดร้อน เพราะเงินเค้าพร้อมเสีย แต่ถ้าไม่เสีย เค้าก็ได้ผลตอบแทนเป็นกอบเป็นกำ นั้นเอง

อย่าเพิ่งตกใจ นะครับ ว่า อ้าว งั้นฉันรับความเสี่ยงได้ต่ำ และไม่มีสิทธิจะลงอะไรที่ได้ผลตอบแทนดีๆหรือ คำตอบคือ มีครับ
เมื่อเราทราบความเสี่ยงตัวเองแล้ว เราก็มาวางแผนการลงทุนของเรา โดย  การจัดพอร์ท การลงทุน หรือการกระจายเงินของเราไปลงทุนในสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงต่างๆ แต่เมื่อกระจายไปแล้ว โดยรวมจะทำให้อยู่ในวิสัยที่เรายอมรับได้ 
เช่น เงิน 100%

คนชอบเสี่ยงต่ำ อาจจะลง พันธบัตร เยอะหน่อย  มีหุ้นกู้บ้าง และไปลงทุนทองเล็กน้อย เพื่อให้มีผลตอบแทนให้กับพอร์ท

คนชอบเสี่ยงสูง อาจจะลงหุ้นกู้เยอะหน่อย ทองคำมากหน่อย พันธบัตรเล็กน้อย เพื่อรักษาเงินในพอร์ท

ซึ่ง เรื่องพวกนี้หาสูตรสำเร็จได้จากอินเตอร์เน็ตเลยครับ asset alocation หรือ การกระจายความเสี่ยงการลงทุน หรือการจัดพอร์ท การลงทุน 
ถ้ากล่าวทั้งหมด คงยาวเกินไป 

หวังว่าเพื่อนๆคงมองภาพ เรื่องความเสี่ยง กันออกแล้วนะครับ 
 Ep ถัดไป เราจะมีพูดถึง วิธีการจัดการความเสี่ยงกันนะครับ จริงๆวันนี้ก็เกริ่นไปเยอะแล้ว ค่อยมาสรุปกันครั้งหน้าครับ

ขอบคุณที่ทนอ่านจนจบครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่