"ไม่ใช่แค่ภาพยนตร์แอนิเมชั่น แต่นี่คืองานศิลปะชั้นเยี่ยม"
จัดเป็นภาคต่อที่มีความทะเยอทะยานสุดขีดโดยเฉพาะในด้านภาพของแอนิเมชั่นที่เหมือนการผสมผสานงานศิลปะหลายๆรูปแบบหลายๆแขนงมารวมไว้ในที่เดียวกัน ทั้งการนำมาสร้างสรรค์แต่งเติมให้กลายเป็นตัวละครสไปเดอร์แมนหรือตัวละครอื่นๆที่อยู่ในอีกจักรวาล ซึ่งยังรวมไปถึงการใช้ตกแต่งสร้างสรรค์เป็น background ไม่ว่าจะทั้งที่ใช้เป็นภาพนิ่งหริอใช้ในขณะที่เป็นภาพเคลื่อนไหวในแต่ละฉาก ซึ่งล้วนแล้วนับว่าสวยงามมากๆ ยิ่งบวกกับการเล่นแสงสีที่มีครบทั้งโทนร้อนและโทนเย็น ซึ่งในแต่ละโทนสีก็ไปช่วยขับเคลื่อนบริบทอามรณ์นึกคิดของตัวละคร บริบทสถานการณ์ ได้เป็นอย่างดี
ในส่วนส่วนของบทภาคนี้ก็นับว่าเติบโตพอสมควร เพราะภาคนี้ได้พาเราไปสำรวจการเติบโตและการทำหน้าที่ของ "ไมล์ โมราเลส" ในฐานะ "สไปเดอร์แมน" ว่าตอนนี้เขาทำได้ดีถึงขนาดไหนแล้ว ขณะเดียวกันก็พาเราไปเจอกับปัญหาชีวิตจากการที่จะต้องสร้างความสมดุลชีวิตในการเป็นนักเรียนม.ปลายกับการเป็นสไปเดอร์แมน และรวมถึงปัญหาของการใช้ชีวิตที่จะก้าวข้ามจากวัยรุ่นสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่เขามีอิสระในการคิดหรือการทำสิ่งต่างๆที่มีอุปสรรคจากครอบครัวที่ยังคงเป็นห่วงและมองว่าเขายังเป็นเด็กอยู่ ซึ่งนำมาสู่การวางแผนชีวิตให้ไมล์โดยที่ไม่ได้ตรงกับไมล์ที่ต้องการ ซึ่งประเด็นนี้ก็ถูกนำไปใช้กับประเด็นของการเป็นสไปเดอร์แมนอีกด้วย เพราะเขาเองจะต้องเลือกว่าจะเป็นสไปเดอร์แมน "ในแบบที่ตนเองต้องการ" หรือจะเป็นสไปเดอร์แมน "ตามรูปแบบของตำรา" ที่สไปเดอร์แมนคนอื่นถือเป็นกฎ ซึ่งก็เป็นประเด็นที่นับว่าน่าสนใจไม่น้อยเพราะไม่ใช่แค่กระทบกับทั้งชีวิตของไมล์และการเป็นสไปเดอร์แมนและตัวละครอื่นๆในเรื่อง แต่จะยังไปกระทบกับชีวิตของคนดูอย่างเราๆด้วยว่าสุดท้ายจะเลือกการใช้ชีวิตแบบไหนถึงจะออกมาดีและมีผลเสียที่ตามออกมาน้อยที่สุด ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ตกผลึกออกมาและชวนให้คิดไม่น้อยเลย
ด้านของ Spider-Verse ที่ภาคนี้จัดหนักจัดเต็มซึ่งเรียกความว้าว ความตื่นตาตื่นใจได้ไม่น้อยครับ เพราะขนเหล่าสไปเดอร์แมนที่นับรวมๆแล้วต้องเกินร้อยแน่ๆ (ดีไม่ดีไปถึงหลักพัน) ซึ่งแน่นอนว่าภาคนี้ก็เปิดตัวละครหน้าใหม่ที่จะกลายเป็นตัวละครหลักและมีบทสำคัญในภาคต่อไปทั้ง Spider-Man India ตัวป่วนตัวฮาที่สร้างสีสันได้เป็นอย่างดี Spider-Punk คนเท่ คนคูล คนหัวกบฎ จอมแย่งซีน และ Spider-Man 2099 ที่โคตรเท่ โคตรโหด โคตรอันตราย (ไปๆมาๆดันน่ากลัวกว่าเจ้าตัวร้ายหลักอย่าง Spot เสียอีก) และยิ่งบรรดา easter egg ทั้งหลายที่มีมาครบมาจากเหล่าสไปเดอร์แมนและจากเหล่าร้ายคู่ปรับก็ชวนเซอร์ไพร์สให้คนดูว้าวมากๆ เพราะขนมาหมดแทบทุกอย่างที่จะเกี่ยวข้องกับสไปเดอร์แมน
ถึงแม้เราจะพูดได้ว่า Spider-Man: Across the Spider-Verse ก็คือภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่สร้างขึ้นเพื่อต่อยอดความสำเร็จในวันที่ภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร่ได้กำลังความนิยมแบบสุดๆ และเลือกที่จะเล่าออกมาผ่านแอนิเมชั่นที่เด็กดูได้ผู้ใหญ่ดูดี แต่ถ้าเราพิจารณาถึงองค์ประกอบสำคัญต่างๆแล้วก็จะพบนี่ไม่ใช่แค่ภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่ว่าด้วยเรื่องราวของสไปเดอร์แมน แต่เป็นงานศิลปะที่ว่าด้วยเรื่องราวของสไปเดอร์แมนที่ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านจอภาพยนตร์ขนาดใหญ่ ที่มีองค์ประกอบของงานด้านวรรณศิลป์และประเด็นชวนขบคิดที่น่าสนใจไม่น้อยเลยละครับ
ติดตามการรีวิวหนังของผมบางส่วนใน letterboxd ได้ที่ลิงค์ข้างล่างเลยครับ
Spider-Man: Across the Spider-Verse (2023) งานศิลปะชิ้นเยี่ยมที่เล่าเรื่องของ "สไปเดอร์แมน"
ในส่วนส่วนของบทภาคนี้ก็นับว่าเติบโตพอสมควร เพราะภาคนี้ได้พาเราไปสำรวจการเติบโตและการทำหน้าที่ของ "ไมล์ โมราเลส" ในฐานะ "สไปเดอร์แมน" ว่าตอนนี้เขาทำได้ดีถึงขนาดไหนแล้ว ขณะเดียวกันก็พาเราไปเจอกับปัญหาชีวิตจากการที่จะต้องสร้างความสมดุลชีวิตในการเป็นนักเรียนม.ปลายกับการเป็นสไปเดอร์แมน และรวมถึงปัญหาของการใช้ชีวิตที่จะก้าวข้ามจากวัยรุ่นสู่ความเป็นผู้ใหญ่ที่เขามีอิสระในการคิดหรือการทำสิ่งต่างๆที่มีอุปสรรคจากครอบครัวที่ยังคงเป็นห่วงและมองว่าเขายังเป็นเด็กอยู่ ซึ่งนำมาสู่การวางแผนชีวิตให้ไมล์โดยที่ไม่ได้ตรงกับไมล์ที่ต้องการ ซึ่งประเด็นนี้ก็ถูกนำไปใช้กับประเด็นของการเป็นสไปเดอร์แมนอีกด้วย เพราะเขาเองจะต้องเลือกว่าจะเป็นสไปเดอร์แมน "ในแบบที่ตนเองต้องการ" หรือจะเป็นสไปเดอร์แมน "ตามรูปแบบของตำรา" ที่สไปเดอร์แมนคนอื่นถือเป็นกฎ ซึ่งก็เป็นประเด็นที่นับว่าน่าสนใจไม่น้อยเพราะไม่ใช่แค่กระทบกับทั้งชีวิตของไมล์และการเป็นสไปเดอร์แมนและตัวละครอื่นๆในเรื่อง แต่จะยังไปกระทบกับชีวิตของคนดูอย่างเราๆด้วยว่าสุดท้ายจะเลือกการใช้ชีวิตแบบไหนถึงจะออกมาดีและมีผลเสียที่ตามออกมาน้อยที่สุด ซึ่งถือเป็นประเด็นที่ตกผลึกออกมาและชวนให้คิดไม่น้อยเลย
ด้านของ Spider-Verse ที่ภาคนี้จัดหนักจัดเต็มซึ่งเรียกความว้าว ความตื่นตาตื่นใจได้ไม่น้อยครับ เพราะขนเหล่าสไปเดอร์แมนที่นับรวมๆแล้วต้องเกินร้อยแน่ๆ (ดีไม่ดีไปถึงหลักพัน) ซึ่งแน่นอนว่าภาคนี้ก็เปิดตัวละครหน้าใหม่ที่จะกลายเป็นตัวละครหลักและมีบทสำคัญในภาคต่อไปทั้ง Spider-Man India ตัวป่วนตัวฮาที่สร้างสีสันได้เป็นอย่างดี Spider-Punk คนเท่ คนคูล คนหัวกบฎ จอมแย่งซีน และ Spider-Man 2099 ที่โคตรเท่ โคตรโหด โคตรอันตราย (ไปๆมาๆดันน่ากลัวกว่าเจ้าตัวร้ายหลักอย่าง Spot เสียอีก) และยิ่งบรรดา easter egg ทั้งหลายที่มีมาครบมาจากเหล่าสไปเดอร์แมนและจากเหล่าร้ายคู่ปรับก็ชวนเซอร์ไพร์สให้คนดูว้าวมากๆ เพราะขนมาหมดแทบทุกอย่างที่จะเกี่ยวข้องกับสไปเดอร์แมน
ถึงแม้เราจะพูดได้ว่า Spider-Man: Across the Spider-Verse ก็คือภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่สร้างขึ้นเพื่อต่อยอดความสำเร็จในวันที่ภาพยนตร์แนวซูเปอร์ฮีโร่ได้กำลังความนิยมแบบสุดๆ และเลือกที่จะเล่าออกมาผ่านแอนิเมชั่นที่เด็กดูได้ผู้ใหญ่ดูดี แต่ถ้าเราพิจารณาถึงองค์ประกอบสำคัญต่างๆแล้วก็จะพบนี่ไม่ใช่แค่ภาพยนตร์แอนิเมชั่นที่ว่าด้วยเรื่องราวของสไปเดอร์แมน แต่เป็นงานศิลปะที่ว่าด้วยเรื่องราวของสไปเดอร์แมนที่ถูกถ่ายทอดออกมาผ่านจอภาพยนตร์ขนาดใหญ่ ที่มีองค์ประกอบของงานด้านวรรณศิลป์และประเด็นชวนขบคิดที่น่าสนใจไม่น้อยเลยละครับ