เรียนเนติอย่างไรให้สอบผ่านในครั้งเดียว (ฉบับพึ่งตัวเอง)
จั่วหัวไว้แบบนี้หลายท่านคงคิดว่าผู้เขียนสอบเนติครั้งเดียวผ่านทั้ง 4 ขาเป็นแน่ แต่ไม่ใช่ครับผู้เขียนเคยสอบไม่ผ่านครั้งนึงตอนลงสอบครั้งแรก ในขาที่คนเรียนเนติเห็นตรงกันว่าเป็นขาที่ง่ายที่สุด ใช่ครับ วิอาญานั่นเอง ในเมื่อเคยสอบไม่ผ่านแล้วจะมาเขียนวิธีสอบครั้งเดียวให้ผ่านได้อย่างไร ง่ายๆครับ ก็แค่ไม่ทำอย่างที่เคยทำในขาที่ไม่ผ่านแค่นั้น ไม่เห็นยาก 😁
ผู้เขียนเรียนจบนิติศาสตร์มาราวๆ 20 ปีก่อนมาลงเรียนเนติ และไม่เคยเป็นทนาย นักกฎหมาย หรือนิติกรใดๆทั้งสิ้น ความรู้ที่เคยมีเมื่อ 20 ปีก่อนเลือนลางเต็มที ประกอบกับกฎหมายมีการแก้ไขปรับปรุงหลายครั้ง การมาลงสอบเนติครั้งนี้จึงเหมือนการนับ 1 ใหม่ในการเรียนกฎหมาย (อีกครั้ง) ก็ว่าได้ วิธีการเป็นไงไปลองติดตามดูครับ
อย่างแรกให้ลงทีละขาเพราะทำงานไปด้วยเรียนด้วย อย่าเสี่ยงลง 2 ขาเพราะการจับปลา 2 มือโอกาสคว้าน้ำเหลวทั้งคู่มีสูง การเลือกลงขาที่ใครๆบอกว่าง่ายสุดก่อนก็เพื่อเป็นกำลังใจ ขาต่อไปจะได้มีแรงฮึด โดยยอมลงสมัครเรียนในภาค 2/73 เสียค่าลงทะเบียน 1,800 กับการลงสอบวิอาญาได้ขาเดียว ทั้งที่หลายคนเตือนแล้วว่าให้ลงสมัครภาค 1 จะได้เสียค่าลงทะเบียนครั้งเดียวแต่สอบได้ทั้ง 2 ขา การสอบเนติไม่ใช่ง่าย เพราะส่วนมากอิงฎีกาและถามหลักกฎหมายเชิงลึก ข้อสอบบางข้อยาว มีตัวละครหลายตัว แค่ทำความเข้าใจเรื่องราวและประเด็นที่โจทย์ถามก็หืดขึ้นคอแล้วกับเวลาข้อละ 24 นาที ตรงนี้สำคัญ อ่านโจทย์ปุ๊บหลักกฎหมายต้องมา คิดหาวิธีเขียนตอบ จะเอาประเด็นไหนขึ้นก่อน ที่สำคัญไม่มีเวลาทบทวนบอกเลย ห้ามลังเลเด็ดขาด ตัดสินใจให้แน่วแน่แล้วลุย สาเหตุสำคัญที่สอบไม่ผ่านขาวิอาญาครั้งแรก พอจะแยกจุดบกพร่องได้ 3 ข้อ คือ 1. ความรู้ไม่พอจำเป็นต้องตอบแบบเดาสุ่มไปหลายข้อ 2. บริหารเวลาผิดพลาดจนทำข้อสอบไม่ทันเพราะใช้เวลาในบางข้อมากเกินไป (แต่ผลไม่ได้ดีอย่างที่คิด) 3. ตอบไม่ครบประเด็นทำให้คะแนนหาย ตรงนี้ทำให้รู้ว่าตอบๆไปถูกบ้างผิดบ้างยังดีกว่าไม่ตอบ จาก 3 สาเหตุดังกล่าวทำให้คะแนนขาดไป 5.5 คะแนน ไม่ผ่าน ทั้งที่ปีนั้นข้อสอบไม่ยากมาก มีคนสอบผ่านกว่า 1,900 คน
หลังผิดพลาดแก้ไขยังไง บอกเลยครับว่าการสอบวิอาญาซึ่งเป็นขาที่ง่ายที่สุดไม่ผ่าน ทำให้ผู้เขียนเสียศูนย์ไปพอสมควร แต่ก็ได้ประสบการณ์มาวิเคราะห์สภาพปัญหาและหาแนวทางแก้ไขไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีก พร้อมตั้งเป้าหมายว่าต้องสอบขาอาญา วิอาญา (ครั้งที่ 2) แพ่ง และวิแพ่งให้ผ่านรวดเดียวจบ อ่านมาถึงตรงนี้หลายท่านคงนึกหัวเราะในใจ ขนาดขาที่ง่ายสุดยังไม่รอดแล้วจะไปสอบผ่านขายากๆ อย่างอาญา แพ่ง หรือวิแพ่ง มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
แต่มันเป็นไปได้ครับ และก็เป็นไปแล้วถ้าเรามีการวางแผนที่ดี หาความรู้และบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ผลที่ได้ย่อมเกินกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้มากอย่างน่าอัศจรรย์ แม้ว่าปัจจัยต่างๆดูเหมือนว่าจะเป็นไปไม่ได้เลยก็ตาม เช่น
1. ขาอาญา คนสมัครหมื่นกว่า มาสอบ 5,500 ผ่านแค่ 775 คน
2. ขาแพ่ง คนสมัครหมื่นกว่า มาสอบ 5,700 ผ่านแค่ 496 คน
3. ขาวิอาญา (ครั้งที่ 2) คนมาสอบ 3,800 ผ่าน 676 คน (น้อยกว่าครั้งก่อน 3 เท่าตัว)
4. ขาวิแพ่ง คนมาสอบ 6,000 ผ่าน 1,073 คน
ดูจากสถิติคนเข้าสอบกับจำนวนคนที่สอบผ่านแล้วคงพอจะประเมินความยากง่ายของข้อสอบได้เป็นอย่างดี แต่ใครจะเชื่อล่ะครับว่าผู้เขียนสอบผ่านทั้ง 4 ขา แบบม้วนเดียวจบ
เพื่อไม่ให้เสียเวลาเรามาดูเคล็ดลับของผู้เขียนกันเลยครับว่าทำได้อย่างไร จริงๆก็ไม่ได้ซับซ้อนซ่อนเงื่อนอะไรมากมายเพียงแต่ต้องวางแผนบริหารจัดการดีๆ กับข้อสอบ 10 ข้อ ในแต่ละขา เริ่มด้วย
1. ดูตามเพจที่วางสโคปเนื้อหาและมาตราในแต่ละข้อของแต่ละขาไว้ จากนั้นมาดูเนื้อหาแต่ละข้อว่ายากง่ายยังไง เราถนัดเรื่องไหนแล้วคัดมาสัก 5 เรื่อง โฟกัสไปที่ 5 ข้อนี้ ศึกษาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมีเยอะ ทำความเข้าใจให้ดีเน้นสุดๆ เอาง่ายๆ 5 ข้อนี้ต้องมีคะแนน 6-7 ถ้าออกตรงๆ 8-9 ต้องมี สำหรับอีก 3 ข้อศึกษาพอประมาณ ดูภาพรวม ถ้ายากเกินก็ดูข้อสอบเก่าไว้มากๆ จำประเด็นที่ออกสอบไว้ และที่เหลือ 2 ข้อสุดท้าย เท่าที่สอบมา 40 ข้อ 4 ขา มันจะมีข้อยากอยู่ 1-2 ข้อ ทุกขา ไม่ต้องไปกังวล พยายามทำความเข้าใจหลักพื้นฐานให้ได้ แล้วเอาไปเขียนตอนสอบ เขียนหลักปูพื้นไปเลยโดยไม่ต้องสนใจโจทย์ ถ้าจับประเด็นพอได้ก็ให้ฟันธงตอบไป อย่างน้อยได้ 1-2 แต้มก็ยังดี อย่าเทเด็ดขาด ต้องเขียนตอบเอาความรู้ที่มีใส่ลงไป ผู้เขียนเคยอ่านโจทย์แล้วมึนเลยไม่รู้ว่าถามอะไรแต่ก็พยายามเขียนหลักไปได้มา 0.5-3 คะแนน
การเรียนรู้ด้วยตัวเองไม่ง่ายครับ แต่ก็มีอิสระดีอยากรู้เรื่องอะไร สนใจเรื่องอะไรไปอ่านเรื่องนั้นก่อน พยายามเก็บรายละเอียดประเด็นสำคัญให้มากที่สุดซึ่งในอินเทอร์เน็ตมีความรู้มากมายมหาศาล ต้องคัดเลือกที่มีประโยชน์ แล้วมาวางแผนจัดการความรู้แต่ละข้อ เชื่อว่าไม่ได้ยากจนเกินไป หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมไม่โฟกัสทั้ง 10 ข้อเท่าๆกันจะได้สอบผ่านชัวร์ ต้องบอกไว้เลยครับว่าไม่ง่ายถ้าเรียนรู้เองโดยไม่พึ่งสถาบันติว เพราะเนติเนื้อหาเยอะมาก หากไปเอาทุกเรื่องทุกประเด็นสมองอาจจะรับไม่ไหว ความรู้ในหัวตีกันมั่ว จนทำให้ออกทะเลตอนเข้าห้องสอบได้ (แต่ถ้าใครทำได้ก็แจ๋วเลยครับ โอกาสผ่านจะยิ่งสูงขึ้น)
ลองดูครับ เรียนอย่างอิสระ ไม่ยึดติด เอาที่ชอบเรื่องที่ถนัดเชื่อว่าทุกคนทำได้ หากสงสัยรายละเอียดวิธีการ สามารถสอบถามได้ที่ผู้เขียนโดยตรงครับ ยินดีให้แนวทางเป็นวิทยาทาน
เรียนเนติอย่างไรให้สอบครั้งเดียวผ่าน (จากประสบการณ์จริง)
จั่วหัวไว้แบบนี้หลายท่านคงคิดว่าผู้เขียนสอบเนติครั้งเดียวผ่านทั้ง 4 ขาเป็นแน่ แต่ไม่ใช่ครับผู้เขียนเคยสอบไม่ผ่านครั้งนึงตอนลงสอบครั้งแรก ในขาที่คนเรียนเนติเห็นตรงกันว่าเป็นขาที่ง่ายที่สุด ใช่ครับ วิอาญานั่นเอง ในเมื่อเคยสอบไม่ผ่านแล้วจะมาเขียนวิธีสอบครั้งเดียวให้ผ่านได้อย่างไร ง่ายๆครับ ก็แค่ไม่ทำอย่างที่เคยทำในขาที่ไม่ผ่านแค่นั้น ไม่เห็นยาก 😁
ผู้เขียนเรียนจบนิติศาสตร์มาราวๆ 20 ปีก่อนมาลงเรียนเนติ และไม่เคยเป็นทนาย นักกฎหมาย หรือนิติกรใดๆทั้งสิ้น ความรู้ที่เคยมีเมื่อ 20 ปีก่อนเลือนลางเต็มที ประกอบกับกฎหมายมีการแก้ไขปรับปรุงหลายครั้ง การมาลงสอบเนติครั้งนี้จึงเหมือนการนับ 1 ใหม่ในการเรียนกฎหมาย (อีกครั้ง) ก็ว่าได้ วิธีการเป็นไงไปลองติดตามดูครับ
อย่างแรกให้ลงทีละขาเพราะทำงานไปด้วยเรียนด้วย อย่าเสี่ยงลง 2 ขาเพราะการจับปลา 2 มือโอกาสคว้าน้ำเหลวทั้งคู่มีสูง การเลือกลงขาที่ใครๆบอกว่าง่ายสุดก่อนก็เพื่อเป็นกำลังใจ ขาต่อไปจะได้มีแรงฮึด โดยยอมลงสมัครเรียนในภาค 2/73 เสียค่าลงทะเบียน 1,800 กับการลงสอบวิอาญาได้ขาเดียว ทั้งที่หลายคนเตือนแล้วว่าให้ลงสมัครภาค 1 จะได้เสียค่าลงทะเบียนครั้งเดียวแต่สอบได้ทั้ง 2 ขา การสอบเนติไม่ใช่ง่าย เพราะส่วนมากอิงฎีกาและถามหลักกฎหมายเชิงลึก ข้อสอบบางข้อยาว มีตัวละครหลายตัว แค่ทำความเข้าใจเรื่องราวและประเด็นที่โจทย์ถามก็หืดขึ้นคอแล้วกับเวลาข้อละ 24 นาที ตรงนี้สำคัญ อ่านโจทย์ปุ๊บหลักกฎหมายต้องมา คิดหาวิธีเขียนตอบ จะเอาประเด็นไหนขึ้นก่อน ที่สำคัญไม่มีเวลาทบทวนบอกเลย ห้ามลังเลเด็ดขาด ตัดสินใจให้แน่วแน่แล้วลุย สาเหตุสำคัญที่สอบไม่ผ่านขาวิอาญาครั้งแรก พอจะแยกจุดบกพร่องได้ 3 ข้อ คือ 1. ความรู้ไม่พอจำเป็นต้องตอบแบบเดาสุ่มไปหลายข้อ 2. บริหารเวลาผิดพลาดจนทำข้อสอบไม่ทันเพราะใช้เวลาในบางข้อมากเกินไป (แต่ผลไม่ได้ดีอย่างที่คิด) 3. ตอบไม่ครบประเด็นทำให้คะแนนหาย ตรงนี้ทำให้รู้ว่าตอบๆไปถูกบ้างผิดบ้างยังดีกว่าไม่ตอบ จาก 3 สาเหตุดังกล่าวทำให้คะแนนขาดไป 5.5 คะแนน ไม่ผ่าน ทั้งที่ปีนั้นข้อสอบไม่ยากมาก มีคนสอบผ่านกว่า 1,900 คน
หลังผิดพลาดแก้ไขยังไง บอกเลยครับว่าการสอบวิอาญาซึ่งเป็นขาที่ง่ายที่สุดไม่ผ่าน ทำให้ผู้เขียนเสียศูนย์ไปพอสมควร แต่ก็ได้ประสบการณ์มาวิเคราะห์สภาพปัญหาและหาแนวทางแก้ไขไม่ให้เกิดเหตุการณ์เช่นนั้นอีก พร้อมตั้งเป้าหมายว่าต้องสอบขาอาญา วิอาญา (ครั้งที่ 2) แพ่ง และวิแพ่งให้ผ่านรวดเดียวจบ อ่านมาถึงตรงนี้หลายท่านคงนึกหัวเราะในใจ ขนาดขาที่ง่ายสุดยังไม่รอดแล้วจะไปสอบผ่านขายากๆ อย่างอาญา แพ่ง หรือวิแพ่ง มันแทบจะเป็นไปไม่ได้เลย
แต่มันเป็นไปได้ครับ และก็เป็นไปแล้วถ้าเรามีการวางแผนที่ดี หาความรู้และบริหารจัดการอย่างเป็นระบบ ผลที่ได้ย่อมเกินกว่าที่ตั้งเป้าหมายไว้มากอย่างน่าอัศจรรย์ แม้ว่าปัจจัยต่างๆดูเหมือนว่าจะเป็นไปไม่ได้เลยก็ตาม เช่น
1. ขาอาญา คนสมัครหมื่นกว่า มาสอบ 5,500 ผ่านแค่ 775 คน
2. ขาแพ่ง คนสมัครหมื่นกว่า มาสอบ 5,700 ผ่านแค่ 496 คน
3. ขาวิอาญา (ครั้งที่ 2) คนมาสอบ 3,800 ผ่าน 676 คน (น้อยกว่าครั้งก่อน 3 เท่าตัว)
4. ขาวิแพ่ง คนมาสอบ 6,000 ผ่าน 1,073 คน
ดูจากสถิติคนเข้าสอบกับจำนวนคนที่สอบผ่านแล้วคงพอจะประเมินความยากง่ายของข้อสอบได้เป็นอย่างดี แต่ใครจะเชื่อล่ะครับว่าผู้เขียนสอบผ่านทั้ง 4 ขา แบบม้วนเดียวจบ
เพื่อไม่ให้เสียเวลาเรามาดูเคล็ดลับของผู้เขียนกันเลยครับว่าทำได้อย่างไร จริงๆก็ไม่ได้ซับซ้อนซ่อนเงื่อนอะไรมากมายเพียงแต่ต้องวางแผนบริหารจัดการดีๆ กับข้อสอบ 10 ข้อ ในแต่ละขา เริ่มด้วย
1. ดูตามเพจที่วางสโคปเนื้อหาและมาตราในแต่ละข้อของแต่ละขาไว้ จากนั้นมาดูเนื้อหาแต่ละข้อว่ายากง่ายยังไง เราถนัดเรื่องไหนแล้วคัดมาสัก 5 เรื่อง โฟกัสไปที่ 5 ข้อนี้ ศึกษาข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตมีเยอะ ทำความเข้าใจให้ดีเน้นสุดๆ เอาง่ายๆ 5 ข้อนี้ต้องมีคะแนน 6-7 ถ้าออกตรงๆ 8-9 ต้องมี สำหรับอีก 3 ข้อศึกษาพอประมาณ ดูภาพรวม ถ้ายากเกินก็ดูข้อสอบเก่าไว้มากๆ จำประเด็นที่ออกสอบไว้ และที่เหลือ 2 ข้อสุดท้าย เท่าที่สอบมา 40 ข้อ 4 ขา มันจะมีข้อยากอยู่ 1-2 ข้อ ทุกขา ไม่ต้องไปกังวล พยายามทำความเข้าใจหลักพื้นฐานให้ได้ แล้วเอาไปเขียนตอนสอบ เขียนหลักปูพื้นไปเลยโดยไม่ต้องสนใจโจทย์ ถ้าจับประเด็นพอได้ก็ให้ฟันธงตอบไป อย่างน้อยได้ 1-2 แต้มก็ยังดี อย่าเทเด็ดขาด ต้องเขียนตอบเอาความรู้ที่มีใส่ลงไป ผู้เขียนเคยอ่านโจทย์แล้วมึนเลยไม่รู้ว่าถามอะไรแต่ก็พยายามเขียนหลักไปได้มา 0.5-3 คะแนน
การเรียนรู้ด้วยตัวเองไม่ง่ายครับ แต่ก็มีอิสระดีอยากรู้เรื่องอะไร สนใจเรื่องอะไรไปอ่านเรื่องนั้นก่อน พยายามเก็บรายละเอียดประเด็นสำคัญให้มากที่สุดซึ่งในอินเทอร์เน็ตมีความรู้มากมายมหาศาล ต้องคัดเลือกที่มีประโยชน์ แล้วมาวางแผนจัดการความรู้แต่ละข้อ เชื่อว่าไม่ได้ยากจนเกินไป หลายท่านอาจสงสัยว่าทำไมไม่โฟกัสทั้ง 10 ข้อเท่าๆกันจะได้สอบผ่านชัวร์ ต้องบอกไว้เลยครับว่าไม่ง่ายถ้าเรียนรู้เองโดยไม่พึ่งสถาบันติว เพราะเนติเนื้อหาเยอะมาก หากไปเอาทุกเรื่องทุกประเด็นสมองอาจจะรับไม่ไหว ความรู้ในหัวตีกันมั่ว จนทำให้ออกทะเลตอนเข้าห้องสอบได้ (แต่ถ้าใครทำได้ก็แจ๋วเลยครับ โอกาสผ่านจะยิ่งสูงขึ้น)
ลองดูครับ เรียนอย่างอิสระ ไม่ยึดติด เอาที่ชอบเรื่องที่ถนัดเชื่อว่าทุกคนทำได้ หากสงสัยรายละเอียดวิธีการ สามารถสอบถามได้ที่ผู้เขียนโดยตรงครับ ยินดีให้แนวทางเป็นวิทยาทาน