พรรคที่ชนะที่ 1 ต้องได้ตำแหน่งประธานรัฐสภาตามประเพณี

กระทู้สนทนา
นักการเมืองที่อ้าง ประเพณีนี้ โกหก 100%

ประเทศเราไม่เคยมี ประเพณีอย่างนี้มาแต่ไหนแต่ไร

การจัดตั้งรัฐบาลของเรา ใช้เสียงสนับสนุนจากสส.ในสภาล่าง (บางครั้งใช้สว.ร่วมด้วย)
แต่การโหวตเลือกประธานสภาผู้แทนราษฎร ใช้เสียงสนับสนุนจากส.ส.ในสภาล่างเท่านั้น

แต่เดิมช่วงการเมืองปกติ หลังทราบผลเลือกตั้ง
พรรคลำดับต้นๆ ที่มีต้นทุนส.ส.จำนวนมากจะเป็นแกนนำในการรวบรวม บางครั้งมีมากกว่า 2 พรรค
ต่างคนต่างตั้งหน้าตั้งตารวบรวมเสียงส.ส.ให้ได้มากที่สุด ด้วยกำลังของตัวเอง และตัวช่วยเท่าที่มี
เจรจาต่อรอง ยื่นเงื่อนไข ให้ตำแหน่ง ให้ผลประโยชน์อะไรก็ว่ากันไป

เพื่อเป้าหมายเป็นนายกรัฐมนตรี จัดตั้งรัฐบาล

กลุ่มไหนได้มากกว่าก็เสนอหน.พรรคแกนนำขึ้น โหวตชนะก็เป็นนายกรัฐมนตรี
ตำแหน่งประธานฯ จากการโหวตเป็นผลพลอยได้จากการรวบรวมสส.ไว้ในมือของพรรคแกนนำ(รัฐบาล)
ส่วนใหญ่จะเห็นว่ามาจากพรรคที่ได้จำนวนสส.สูงสุดจากการเลือกตั้งแทบทุกครั้ง
ทำให้เข้าใจผิดคิดไปว่าเป็น ประเพณี

ในอดีตแม้แต่พรรคปชป.ที่ชนะการเลือกตั้งในปี 2518 มรว.เสนีย์ ปราโมช เป็นนายกรัฐมนตรี
มีประธานสภาผู้แทนราษฎรชื่อ นายประสิทธิ์ กาญจนวัฒน์ จากพรรคสังคมชาตินิยม ที่มีส.ส. 16 คน

ประธานสภาฯ อยู่คนละพรรค และไม่ได้เป็นพรรคอันดับหนึ่ง อยู่ที่พวกเขาจะเลือกใคร

การที่ก้าวไกลอ้างสิทธิจากพรรคที่มีสส.มากสุด จากข้อตกลงร่วมในการเสนอชื่อและรับรองตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
เป็นคนละเรื่องเดียวกันกับอดีตที่ผ่านมา นั่นเขาลงทุนลงแรงไม่ใช่อ้างลอยๆ ที่สำคัญพรรคนั้นเป็นพรรคแกนนำแต่ก้าวไกลไม่ใช่

ประเพณีนี้ไม่เคยมีอยู่จริง

มันน่าขำที่เราๆ ท่านๆ บอกว่านักการเมืองเลว เห็นแก่ตัว ไว้ใจไม่ได้ โกง จอมหักหลัง ฯลฯ
แต่วันนี้ดันมีความเชื่อว่า นักการเมืองมีธรรมเนียมประเพณีที่ยึดถือตามๆ กันมา
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่