เมืองไทยอากาศร้อนขนาดนี้ แต่ทำไมบรรพบุรุษของเราถึงรังสรรค์แต่อาหารเผ็ดๆขึ้นมา

เมืองไทยอากาศร้อนขนาดนี้ แต่ทำไมบรรพบุรุษของเราถึงรังสรรค์แต่อาหารเผ็ดๆขึ้นมาล่ะคะ

ทั้งๆที่อาหารรสเผ็ด(จัด)มันไปกันไม่ได้กับอากาศร้อนๆแบบบ้านเราเลย
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 31
ผมแปลกใจที่ความเห็นก่อนหน้าไปในทางเดียวกันหมดเลยว่า อาหารเผ็ดกับอากาศร้อนเป็นของไม่เข้ากัน ทั้งๆที่ในความเป็นจริง จะไปมีอะไรเข้าคู่กันดีไปกว่าอาหารเผ็ดกับอากาศร้อนชื้นอย่างในไทยได้อีกล่ะครับ

อย่าลืมว่าฟังก์ชันของการกินอาหารเผ็ดนั้น คือการที่ร่างกายจะขับเหงื่อออกมาโดยธรรมชาติ ซึ่งนั่นหมายถึงการคายความร้อนออกจากร่างกาย หรือก็คือว่าง่ายๆ กินเผ็ดเพื่อให้รู้สึกเย็น ไงครับ ไล่ไปตามประวัติศาสตร์ถ้าจำไม่ผิด พริกเป็นพืชท้องถิ่นของแถวอมริกากลาง และอเมริกาใต้ แถวอเมซอน พวกนี้สภาพอากาศเค้าไม่ต่างจากเรามากนักคือร้อน (แถมค่อนไปทางร้อนชื้นด้วย) เพราะงั้นก่อนช่วงที่สเปน หรือ โปรตุเกสไปอเมริกา โลกยังไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามีพืชที่สามารถให้ความเร่าร้อนกับอาหาร และหลังทานยังรู้สึกเย็นได้อีกด้วย ลองอ่านในพวกศิลาจารึก หรือหนังสือสมัย สุโขทัย หรืออยุธยาตอนต้นได้เลยครับ ไม่มีอะไรเกี่ยวข้องกับน้ำพริก หรือ”เครื่องเทศ”ทั้งนั้น (แหม่ เครื่องเทศ ชื่อมันก็บอกอยู่แล้วว่า เทศ) หลังจากมีการค้าขาย ติดต่อกับพวกโปรตุเกส คนไทยถึงได้รู้จัก และค้นพบว่าพืชประหลาดจากโลกใหม่อันนี้ช่างเหมาะกับการมาปรุงอาหารสำหรับการคลายร้อนดีจริงๆ ถึงได้พัฒนา วิวัฒนาการอยู่คู่กับอาหารไทยตั้งแต่ตอนนั้นเองครับ

อนึ่ง หากสังเกตดีๆ ประเทศที่ทานเผ็ด หรือบริเวณสถานที่ๆทานเผ็ดแบบบ้านเรา (ที่กินพริกแล้วน้ำหูน้ำตาไหล เหงื่อซกเป็นกระบุง) พวกนี้ล้วนแต่เป็นประเทศในบริเวณเขตร้อนชื้นทั้งสิ้น อินเดีย ไทย เม็กซิโก เปรู ฯลฯ ยิ่งอากาศหนาวยิ่งทานเผ็ดน้อยลง ซึ่งก็มาจากเหตุผลง่ายๆ พวกเมืองหนาวเค้าไม่มีเหตุผลอะไรที่ต้องไปคายความร้อนออกจากร่างกายทั้งนั้น (ต้องคงความร้อนไว้ถึงจะถูก) ประโยชน์เดียวของอาหารเผ็ดคือความซู่ซ่า และเพื่อรสชาติที่จัดจ้านขึ้นมาเท่านั้น ลองไปกินแกงเหลืองปักษ์ใต้กลางอากาศหนาวๆหิมะตกดูสิครับ เหงื่อไหลจนร่างกายหนาวช็อคได้เลย

ปล.ประวัติศาสตร์ 700 กว่าปีตั้งแต่สุโขทัย และอยุธยามา มีทั้งช่วงที่ร้อน และเย็นกว่าปัจจุบันครับ ยุค Medieval warm สมัยปลายละโว้มาต่ออยุธยาตอนต้น มีความเป็นไปได้สูงมากที่โลกจะร้อนกว่าปัจจุบัน ดูได้จากหลักฐานที่ตำแหน่งเมืองโบราณ ที่ตั้งลึกเข้าไปในแผ่นดินปัจจุบันมาก ทั้งๆที่ฟังก์ชันของเมืองเหล่านั้นเป็นเมืองท่าแท้ๆ หรือก็คือ อ่าวไทยในช่วงนั้นลึกเข้าไปในแผ่นดินกว่าปัจจุบันมาก (ซึ่งก็ไม่แปลกเพราะค่าระดับ ของกทม. หรือจังหวัดพวกสมุทร ทั้งหลายตอนนี้ก็แทบไม่ต่างกับอยุธยาเลยด้วย ห่างกันระดับไม่เกิน 5 เมตรด้วยซ้ำ) จากนั้นพอมาถึงยุคตั้งแต่อยุธยาตอนกลางโลกก็เริ่มเย็น และมาเย็นที่สุดก็ช่วงแถวๆยุคพระนารายณ์ หลังจากนั้นอุณหภูมิก็เย็นๆขึ้นๆลงอยู่แถวนั้นจนมาตั้งแต่ร. 4 โลกถึงได้เริ่มกลับเข้ามาสู่ ช่วงอุณหภูมิขาขึ้นจริงๆอีกครั้ง ร้อนขึ้นเรื่อยๆจนมายุคปัจจุบัน อย่างไรก็ตามข้อเท็จจริงอีกประการที่เกี่ยวกับภูมิอากาศในไทย (อย่างน้อยก็ภาคกลาง และภาคใต้) ก็คือ ด้วยความที่ประเทศเราตั้งอยู่ใกล้ทะเล และมีความชื้นจากทะเลเข้ามาเติมได้ง่าย เพราะงั้นต่อให้โลกจะร้อนโดยเฉลี่ยมากขึ้นกว่านี้ไปอีกสักองศา อุณหภูมิเฉลี่ยช่วงร้อนที่สุดของไทยก็จะแทบไม่ต่างจากเดิม เพราะหากร้อนมากไปก็จะมีฝนมาตกแทน เพราะงั้นยิ่งไม่ต้องไปกังวลเลยว่าต่อจากนี้อุณหภูมิอากาศไทยช่วงหน้าร้อนมันจะร้อนกว่าเดิมสักเท่าไหร่เลย มาคิดถึงวิธีระบายความร้อนที่อบอยู่ในเมืองจนทำให้”รู้สึกร้อน” ถึงจะถูกต้องกว่าครับ

สรุป โลกร้อนกว่าเดิมมั้ย ⭕️ ใช่หากเทียบกับเมื่อ 100 กว่าปีที่แล้ว ❌ ไม่หากเทียบกับเมื่อ 600 700 ปีที่แล้ว


อุณหภูมิช่วงกลางหน้าร้อนของไทยตลอด 70 80 ปีที่ผ่านมา
ความคิดเห็นที่ 1
ในอดีตไม่น่าจะร้อนเท่าตอนนี้นะ
ความคิดเห็นที่ 5
1 สภาพภูมิอากาศในสมัยก่อน ดีกว่านี้ครับ
  ถ้าเกิดไม่ทัน ให้ลองสังเกต อุณหภูมิในแต่ละปี ดูสิครับ มันเพิ่มขึ้นทุกๆปีเลย
2 อาหารแต่ละฤดู เขาก็ทำสลับกันไปครับ อาจจะไม่ได้กินทุกวัน
   เช่น ข้าวแช่ กินตอนหน้าร้อน
         แกงส้มดอกแค ได้กินตอนดอกแคออก ประมาณปลายฝนต้นหนาว
   อะไรทำนองนี้ครับ
3 พันธุกรรม คนไทย น่าจะชอบกินเผ็ดอยู่แล้ว
4  สภาพภูมิประเทศ ที่มีพืชพรรณในแนวเผ็ดๆ ฉุนๆ มีเยอะ เลยต้องประยุกต์มากินซะหน่อย
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่