ข้อมูล ณ วันที่ 21 เม.ย.66 ผู้ถือหุ้นใหญ่ 10 อันดับแรกของ ITV
อันดับ 1 คือ บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ ถือ 638,602,846 หุ้น คิดเป็น 75.18%
อันดับ 2 คือ GOLDMAN SACHS AND CO LLC ถือ 48,720,694 หุ้น คิดเป็น 5.74%
อันดับ 3 คือ นายณฤทธิ์ เจียอาภา ถือ 26,628,000 หุ้น คิดเป็น 3.13%
อันดับ 4 คือ NORTRUST NOMINEES LIMITED ถือ 23,117,100 หุ้น คิดเป็น 2.72%
อันดับ 5 คือ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์(ประเทศไทย) ถือ 17,357,100 หุ้น คิดเป็น 2.04%
อันดับ 6 คือ MRS. MEI LEE ถือ 14,785,990 หุ้น คิดเป็น 1.74%
อันดับ 7 คือ แสงเอ็นเตอร์ไพรส์ คอร์ปอเรชั่น ถือ 10,000,000 หุ้น คิดเป็น 1.18%
อันดับ 8 คือ นายวินัย คล่องประกิจ ถือ 8,171,300 หุ้น คิดเป็น 0.96%
อันดับ 9 คือ UOB KAY HIAN PRIVATE LIMITED ถือ 7,095,000 หุ้น คิดเป็น 0.84%
อันดับ 10 คือ นายวิรัตน์ คล่องประกิจ ถือ 5,000,000 หุ้น คิดเป็น 0.59%
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะผู้จัดการมรดกตระกูลลิ้มเจริญรัตน์ ถือหุ้น ITV เพียง 42,000 หุ้นจากจำนวนหุ้นทั้งหมด 849,431,825 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 0.0049% เท่านั้น
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรานี้ คือเพื่อป้องกัน ส.ส. เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชน ในลักษณะที่จะครอบงำ ใช้ ชักนำ หรือบงการสื่อดังกล่าวไปในทางที่เป็นคุณต่อตัวเอง
จะเห็นได้ชัดเจนว่า ด้วยจำนวนหุ้นที่น้อยนิดเพียงเท่านี้ พิธา ไม่มีทางที่จะครอบงำ ใช้ ชักนำ หรือบงการสื่อมวลชนที่ดำเนินการโดย ITV ได้เลย
เหตุผลที่ให้ไว้โดยคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ที่ให้ไว้ในคดีนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2566 เป็นเหตุผลที่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มิได้ตีความตามตัวอักษร
รัฐธรรมนูญ ถือเป็นกฎหมายมหาชน เพราะเป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ กับราษฎร
หลักการตีความกฎหมายมหาชน จึงต้องเคารพเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญ มิใช่ตีความตามตัวอักษรเป๊ะๆ โดยไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวในร่างรัฐธรรมนูญ
ITV มีหุ้นทั้งหมดจำนวน 849.43 ล้านหุ้น กองมรดกตระกูลลิ้มเจริญรัตน์ถือหุ้นเพียง 4.2 หมื่นหุ้น คิดเป็นสัดส่วน 0.0049%
อันดับ 1 คือ บมจ.อินทัช โฮลดิ้งส์ ถือ 638,602,846 หุ้น คิดเป็น 75.18%
อันดับ 2 คือ GOLDMAN SACHS AND CO LLC ถือ 48,720,694 หุ้น คิดเป็น 5.74%
อันดับ 3 คือ นายณฤทธิ์ เจียอาภา ถือ 26,628,000 หุ้น คิดเป็น 3.13%
อันดับ 4 คือ NORTRUST NOMINEES LIMITED ถือ 23,117,100 หุ้น คิดเป็น 2.72%
อันดับ 5 คือ ศูนย์รับฝากหลักทรัพย์(ประเทศไทย) ถือ 17,357,100 หุ้น คิดเป็น 2.04%
อันดับ 6 คือ MRS. MEI LEE ถือ 14,785,990 หุ้น คิดเป็น 1.74%
อันดับ 7 คือ แสงเอ็นเตอร์ไพรส์ คอร์ปอเรชั่น ถือ 10,000,000 หุ้น คิดเป็น 1.18%
อันดับ 8 คือ นายวินัย คล่องประกิจ ถือ 8,171,300 หุ้น คิดเป็น 0.96%
อันดับ 9 คือ UOB KAY HIAN PRIVATE LIMITED ถือ 7,095,000 หุ้น คิดเป็น 0.84%
อันดับ 10 คือ นายวิรัตน์ คล่องประกิจ ถือ 5,000,000 หุ้น คิดเป็น 0.59%
พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ในฐานะผู้จัดการมรดกตระกูลลิ้มเจริญรัตน์ ถือหุ้น ITV เพียง 42,000 หุ้นจากจำนวนหุ้นทั้งหมด 849,431,825 หุ้น คิดเป็นสัดส่วน 0.0049% เท่านั้น
เจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรานี้ คือเพื่อป้องกัน ส.ส. เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการสื่อมวลชน ในลักษณะที่จะครอบงำ ใช้ ชักนำ หรือบงการสื่อดังกล่าวไปในทางที่เป็นคุณต่อตัวเอง
จะเห็นได้ชัดเจนว่า ด้วยจำนวนหุ้นที่น้อยนิดเพียงเท่านี้ พิธา ไม่มีทางที่จะครอบงำ ใช้ ชักนำ หรือบงการสื่อมวลชนที่ดำเนินการโดย ITV ได้เลย
เหตุผลที่ให้ไว้โดยคำพิพากษาของศาลฎีกาแผนกคดีเลือกตั้ง ที่ให้ไว้ในคดีนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ เมื่อวันที่ 3 พ.ค. 2566 เป็นเหตุผลที่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ มิได้ตีความตามตัวอักษร
รัฐธรรมนูญ ถือเป็นกฎหมายมหาชน เพราะเป็นกฎหมายสูงสุดที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ หรือหน่วยงานของรัฐ กับราษฎร
หลักการตีความกฎหมายมหาชน จึงต้องเคารพเจตนารมณ์ที่แท้จริงของรัฐธรรมนูญ มิใช่ตีความตามตัวอักษรเป๊ะๆ โดยไม่คำนึงถึงเจตนารมณ์ของบทบัญญัติดังกล่าวในร่างรัฐธรรมนูญ