ขอถามเกี่ยวกับดาวเคราะห์น้อยในแถบไคเปอร์หน่อยครับ

ดวงอาทิตย์ของเรามีแถบไคเปอร์หุ้มอยู่ด้านนอกสุดใช่ไหมครับ เลยอยากทราบต่อว่า
1) แล้วดาวฤกษ์ดวงอื่นๆหละครับ มีแถบไคเปอร์ห่อหุ้มอยู่เหมือนกันไหมครับ นักดาราศาสตร์พบเจอกันบ้างหรือยังครับ
2) ที่ว่าหุ้มนี่คือแบบไหนครับ หุ้มเป็นทรงกลมเหมือนเปลือกไข่ หรือว่าหุ้มตามแนวระนาบเท่านั้น
3) ดาวเคราะห์น้อยแต่ละดวงอยู่ห่างกันประมาณไหนครับ หลักร้อยกิโลหรือหลักพันกิโลครับ เห็นว่ามีอยู่หนาแน่นมากๆ
ขอบคุณมากครับ
คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
1. มีการค้นพบหลายดวงแล้วครับ
https://en.wikipedia.org/wiki/Debris_disk

2. คล้ายกับโดนัทมากกว่าครับ คือมีเฉียงขึ้นลงเล็กน้อย


3. หลักล้านกิโลเมตรเป็นอย่างต่ำกครับ อาจจะห่างกันเป็น AU เลยก็ได้ ดูอย่างยาน New Horizon ซึ่งหา Kuiper Belt Object (KBO) สำรวจเพิ่มได้แค่ดวงเดียวเท่านั้น อย่าลืมว่าด้วยรัศมี 30 - 50 AU นั่นหมายความว่าเส้นรอบวงของ Kuiper Belt มีความยาวมากถึง 2 × 3.14159 × 50 × 150,000,000 = 47,123,000,000 กิโลเมตรเลยทีเดียว ต่อให้มี KBO ถึงแสนดวงเรียงกันเฉพาะในแนวเส้นรอบวงนี้เท่านั้น มันก็ยังห่างกันเฉลี่ยถึง 471,230 กม.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่