ไอดอลหญิงเป็นมนุษย์ ไม่ใช่สินค้า หรือสนามอารมณ์ของสังคม
BY PATCHSITA PAIBULSIRI
7 สาวเจนเนอเรชันใหม่ตรงหน้าเรา กำลังจะพูดความรู้สึกของพวกเธอต่อประเด็นต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาทั้งในฐานะ ‘ไอดอล’ และในฐานะ ‘มนุษย์’ คนหนึ่งที่มีความรู้สึกรัก ชัง เจ็บได้ ร้องไห้เป็น
ภายใต้สปอตไลต์ส่อง ตาออม อ๊ะอาย พั้นช์ ฝ้าย โจริญ แฮนน่า และมายด์ มีนามสกุลไอดอลวง ‘4EVE’ เกิร์ลกรุ๊ปค่าย XOXO Entertainment ซึ่งโชว์ให้เห็นว่าวงการ T-Pop บ้านเราไม่น้อยหน้าใคร เพราะมีเด็กที่ร้อง เต้น แร็ป และเก่งด้านเพอร์ฟอร์ม
ขณะที่นอกเวที พวกเธอคือกลุ่มเด็กรุ่นใหม่อายุ 16-22 ปี ที่อยากรักเมื่อรู้สึกรัก กินอะไรที่อยากกิน ทำอะไรที่อยากทำ พูดอะไรที่อยากพูด และเป็นคนในแบบที่อยากเป็น ไม่ใช่คนที่สังคม หรือใครอยากให้เป็น
ถ้าสังคมเคยกำหนดไว้ว่าไอดอลต้องยอมรับให้ได้ถ้าโดนบูลลี่ โดนเหยียด โดนสเตริโอไทป์ โดน Sexual Harassment ห้ามมีแฟน ห้ามอ่อนแอ หรือต้องสวย มีหุ่นตาม Beauty Standard หรือที่สำคัญอย่าพูดเรื่องการเมืองเลย มันเสี่ยง ฯลฯ อย่างนี้แล้ว ‘4EVE’ ก็ขอไหว้ย่อ บอกปฏิเสธ เพราะพวกเธอในวันนี้จะกำหนดภาพลักษณ์ไอดอลด้วยตัวเอง
ตาออม เบญญาภา อุ่นจิตร : เป็นไอดอลห้ามมีแฟน?
เวลามีข่าวลือว่าไอดอลกำลังเดตอยู่กับใคร จะเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ผิดหวัง”, “ถ้าอยากมีแฟนก็ไปทำอาชีพอื่น” หรือประกาศแบน และลามไปด่าแฟนของไอดอลคนนั้น นี่คือวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจริง ราวกับว่าแฟนคลับเป็นเจ้าของชีวิต หรือมองไอดอลเป็นสิ่งของที่ไม่มีหัวใจ ห้ามรักใคร ‘ตาออม’ จะมาบอกว่าเธอคิดอย่างไรกับเรื่องนี้บ้าง
“เราแฮปปี้กับการที่ไอดอลที่เราชอบมีแฟน หรือใช้ชีวิตของเขานะ เพราะเรื่องแฟนเป็นชีวิตส่วนตัว แฟนคลับควรรักเขาในพาร์ตการทำงาน เขาทำเพลงออกมาให้เราฟัง เราควรซัพพอร์ต และรักที่นิสัย หรือการแสดงออกที่เขาทรีตต่อแฟนคลับอย่างไรมากกว่าไปโฟกัสที่ชีวิตส่วนตัว”
“คนที่เป็นพนักงานประจำ หรือทำอาชีพอะไรก็แล้วแต่ ยังต้องการชีวิตส่วนตัวเลย ไอดอลก็เหมือนกันค่ะ เพราะทุกการทำงานมันมีเรื่องเครียด บางวันที่เราผ่านเรื่องแย่ๆ มา การมีแฟนอาจเป็นอีกกำลังใจที่จะทำให้อยู่ตรงนั้นต่อได้ มันทำให้ชีวิตยังมีความสุขอย่างอื่นเข้ามาเยียวยาใจ”
“เวลาเกิดดราม่าไอดอลมีแฟน แล้วหลายคนผิดหวัง ถ้าเป็นเรา เราจะไม่สนใจ เพราะเราเคยได้ยินคำพูดที่ว่า อย่าเอาความคิดเห็นของคนอื่นมาเป็นความจริงของตัวเอง ในเมื่อนี่มันคือชีวิตเรา เรารู้ว่ามาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร เราต้องเจออะไรบ้าง และเราเป็นคนแบบไหน ถ้าเราแฮปปี้กับอะไร เราก็ควรจะเป็นแบบนั้นต่อไป ไม่ใช่ว่าจะต้องทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ เพียงเพราะคนมาวิจารณ์”
“เราคงทำให้เห็นมากกว่าว่าการที่ไอดอลมาอยู่ตรงนี้ได้ มันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการที่เขาจะมีหรือไม่มีแฟน ตราบใดที่เรื่องนี้ไม่ได้ทำให้ความรับผิดชอบในการเป็นศิลปินแย่ลง เรายังทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีอยู่ เรายังรัก และทรีตพวกคุณอย่างดีในฐานะแฟนคลับ เราอยากให้แฟนคลับมองไอดอลที่ความสามารถ และการกระทำมากกว่าค่ะ”
มายด์ อาทิตยา ตรีบุดารักษ์ : การเมืองไม่ใช่เรื่องของไอดอล! ใครบอก?
“การเมืองเป็นเรื่องของไอดอลค่ะ เพราะการเมืองเป็นเรื่องของทุกคน” 'มายด์' ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ของวงยืนยันกับเราตั้งแต่เริ่มด้วยสีหน้ามั่นใจ เธอไร้ความกลัว ไร้ความกังวล เพราะวันนี้เธอต้องการเป็นอีกกระบอกเสียงให้คนรุ่นใหม่ และรณรงค์ให้คนในวงการออกมาพูดเรื่องการเมือง หรือสิทธิมนุษยชนกันให้มาก เนื่องจากเสียงของคนมีชื่อเสียง มันดังไปได้ไกล และช่วยคนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีโอกาสใช้เสียงของตัวเองได้จริง
“ยังมีคนส่วนหนึ่งที่คิดว่าไอดอลไม่ควรพูดเรื่องการเมือง แต่ยิ่งเห็นสถานการณ์ประเทศตอนนี้แล้ว เรารู้สึกว่าทำไมต้องไม่พูด มายด์พูดเรื่องการเมืองตั้งแต่ก่อนจะเป็น 4EVE แล้วยิ่งตอนนี้ พอเรายืนอยู่ในแสง เสียงของเราจะดังขึ้นอีก มันยิ่งควรพูดให้คนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ได้เห็นว่าสถานการณ์ปัจจุบันมันอยู่ในสภาพไหน แล้วให้เขาพิจารณาต่อเอาเอง”
“มายด์ไม่ได้กลัวเสี่ยงอะไร การเมืองเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ นี่คืออนาคตของพวกเรา เรากำลังจะเสียภาษีให้คนกลุ่มหนึ่งที่เราก็เห็นฟีดแบ็กกลับมา ว่ามันไม่แฟร์ ไม่สมน้ำสมเนื้อ ดังนั้นเราจึงต้องเรียกร้อง บอกความต้องการ พูดสิ่งที่คิด และพัฒนาอนาคตที่เราอยากให้เป็นขึ้นมา”
“เมื่อก่อนคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องไกลตัว แต่หลังๆ ปัญหามันเพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้รู้ว่า ใกล้ขนาดนี้เลยเหรอ เช่น ในฐานะผู้มีประจำเดือน ก็มองเห็นปัญหาเรื่องผ้าอนามัยแจกฟรีที่ผู้ชายออกมาค้านกัน และกฎหมายไม่มีการรองรับ ซึ่งมันเป็นเรื่องสุขภาพ ที่ควรได้รับการซัพพอร์ตเหมือนกับบางประเทศที่ส่งเสริมความเท่าเทียมให้กับผู้หญิง”
“หนูคงไม่ได้เรียกร้องในฐานะประชาชน และผู้หญิงอย่างเดียว แต่ขอพูดเรื่อง LGBTQ+ ด้วย เพราะทุกคนก็คือคนที่จ่ายภาษีเหมือนกัน คือเรารักใครสักคน อยากสร้างครอบครัว ทำไมถึงทำไม่ได้ เพราะกฎหมายประเทศนี้ มันคือเรื่องของคนสองคน แต่ถูกสังคมครอบไว้ว่าไม่เหมาะสม ถ้าไทยเปิดใจเรื่องสิทธิ์ในการรับรองเรื่องต่างๆ หนูเชื่อว่าทุกคนจะกล้าเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งคงมันเป็นเรื่องน่ายินดีมากๆ”
ฝ้าย ณัฐธยาน์ บุตรธุระ : ไอดอลต้องเงียบ (เหรอ) ถ้าถูกบูลลี่?
“อ้วนที่สุดในวง”, “อ้วนกว่าคนอื่น” เป็นประโยคที่ ‘ฝ้าย’ ไม่คิดว่าจะเจอกับตัวเอง เพราะก่อนที่จะได้เดบิวต์ เธออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการเหยียด หรือบูลลี่กัน ฝ้ายบอกว่าเธอพร้อมรับคำติชมจากแฟนๆ ที่อยากให้เธอพัฒนาหากเธอทำผิดพลาด ทว่าเรื่อง ‘หุ่น’ เธอผิด หรือสังคมอคติกันไปเอง?
“ในแถบตะวันตก ไอดอล หรือศิลปิน เขาไม่ค่อยมีปัญหาการโดนบูลลี่รูปร่าง เพราะเขาสนใจความสามารถจริงๆ ทุกคนมีความเก่ง ความยูนีค และคนเคารพในตัวผลงาน แต่ปัญหาของประเทศไทย มันอยู่ที่นอกจากคนไซส์เล็ก ตัวเล็ก น่ารัก แล้ว ก็ไม่ค่อยเห็นคนหุ่นแบบอื่นได้รับโอกาส เพราะมันถูกปลูกฝังกันมาแบบนั้น”
“ตอนที่เรายังไม่มีสปอตไลต์ เราใช้ชีวิตปกติ ชีวิตนี้ไม่เคยโดนบูลลี่เลย จนกระทั่งมาเป็นศิลปิน คนติดภาพไอดอลในอุดมคติ แล้วเราไม่ใช่แบบนั้น เราถูกเบลมจากใครที่ไหนไม่รู้ ใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการด่าเรา จนเราคิดว่าแบบ พวกคุณมาเอาไร”
“การบูลลี่กัน มันไม่ได้ทำให้ใครมีความสุข คนที่บูลลี่ก็ต้องพยายามหาจุดด้อยคนอื่นมาคิดคำด่ามากมาย ไม่เคยได้มองโลกในแง่ดี สุขภาพจิตก็จะแย่ลง ส่วนคนที่โดนบูลลี่ จิตใจเขาไม่โอเคอยู่แล้ว ถ้าการบูลลี่หายไปมันก็ทำให้เขาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขขึ้น วินวินสองฝ่าย”
“หนูแข่งขันมาด้วยความสามารถของหนู กว่าจะมายืนจุดนี้ หนูเลยไม่อยากแคร์พวก Hate Speech เพราะคนพวกนั้นคือคนที่มีปม อยากกดคนอื่นเพื่อให้ตัวเองดูดีขึ้น ลองคิดดูถ้ามีคนที่เก่งมากๆ ในสายงานหนึ่ง แต่รูปลักษณ์เขาไม่ตรงสแตนดาร์ดที่ใครบางคนสร้างขึ้นมา แล้วโดนตัดโอกาสตรงนั้นไป แทนที่คุณจะได้บุคลากรที่มีคุณภาพตรงสายคุณก็ไม่ได้ เพราะคุณต้องการแค่คนที่มีหน้าตาตามอุดมคติ แล้วแบบนี้โลกจะน่าอยู่ได้ยังไง”
“เราเป็นคนใช้ชีวิต ไม่ใช้ให้คนอื่นมาใช้ชีวิตเรา ไม่มีใครสามารถเลือกได้ว่าจะเกิดมาระบบเผาผลาญดีมาก หรือระบบเผาผลาญแย่มาก ดังนั้นการลด หรือเพิ่มความอ้วน มันต้องทำเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่ทำเพราะโดนบูลลี่ว่า ผอมไปเป็นโรคเหรอ หรืออ้วนไปตัวจะแตกแล้ว”
แฮนน่า โรสเซ็นบรูม : จะใช้คำว่า ‘ลาว’ ในแง่ลบกันไปถึงไหน?
คนไทยหลายคนชินกับการเหยียดเชื้อชาติด้วยชื่อประเทศ ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่ง ‘ลาว’ กลายเป็นประเทศที่ถูกทำให้เป็นคำด่าที่ลดทอนความเป็นมนุษย์ ‘แฮนน่า’ ในฐานะที่เป็นไอดอลต่างชาติคนเดียวในวงที่เป็นลูกครึ่ง ลาว-อเมริกัน บอกกับเราว่า ถ้าใครก็ตามที่กำลังจะอ่านในสิ่งที่เธอพูด ถ้าเลี่ยงได้ ก็ขอให้เลี่ยงใช้คำว่าลาว ในการเปรียบเทียบสิ่งที่ Negative เพราะคนลาว ไม่ตลกด้วย
“หนูโดนคนไทยเหยียดว่าลาวบ่อยมากกกก เจอต่อหน้าหลายครั้งด้วย คือคนไทยใช้คำว่าลาว ในการดูถูก เอาไปเทียบกับคำว่าบ้านนอก ไม่พัฒนา เป็นแง่ลบตั้งแต่อดีตยันปัจจุบัน พอคำนี้ปลูกฝังมาเรื่อยๆ ว่าเป็นคำปกติ คนก็เลยพูดกันเป็นปกติ ทั้งๆ ที่มันไม่ปกติ”
“แรกๆ ที่โดนด่าว่าลาว เราร้องไห้หนักมาก คิดตลอดว่าบ้านเรามันแย่ขนาดนั้นเลยเหรอ ทำไมคนต้องมาเหยียด ใช้คำพูดดีๆ ไม่ต้องมาเหยียดกันได้ไหม หลังๆ ก็เข้มแข็งขึ้น เวลามีคนด่าว่าหน้าลาวมาก เราจะหืม มองหน้าตัวเองในกระจกก็ไม่ได้แย่ป้ะ (หัวเราะ)”
“บางคนก็ตั้งใจที่จะเหยียดคนลาว เช่น ล่าสุด #คลับเฮ้าส์toxic กลุ่มคนพวกนั้นเทียบคนอีสาน กับคนลาว ที่เราเข้าไปฟังปุ๊บ 2 นาทีต้องกดออก เพราะ toxic มาก หนูงงว่ามันควรเป็นคำพูดที่ควรรู้อยู่แล้ว ว่าไม่ควรพูดออกมาหรือเปล่า คนบ้าอะไรจะเหยียดเชื้อชาติกัน โปรไฟล์ที่เขาใช้ก็ไม่ใช่รูปจริง ถ้าเก่งจริง ทำไมไม่เอาหน้าคุณขึ้น ชื่อคุณขึ้นล่ะ”
“บางคนก็เป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็ยังจะใช้คำว่าลาวมาก ลาวเหลือเกิน ด้วยการใช้เสียง และท่าทาง ที่บ่งบอกว่าเหยียด อยากถามหน่อยว่าคุณเคยไปสัมผัสชีวิตคนลาวจริงๆ แล้วหรือยัง คนลาวก็คือมนุษย์เหมือนคนทุกประเทศ เป็นคนที่คุณควรให้เกียรติในฐานะมนุษย์ เอาเวลาที่เหยียดไปทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้นดีกว่าไหม และไม่ว่าคุณจะมีชีวิตดีๆ เงินล้นฟ้า หรือชีวิตคุณจะแย่ยังไง ก็ไม่ใช่ข้ออ้างในการเหยียดคนอื่น คิดแต่ด้านลบๆ ไม่ปวดหัวตายเหรอ”
หลังแฮนน่าพูดจบตาออมในฐานะคนไทยจึงขอยกตัวอย่างเพื่อให้คนตระหนักเรื่องนี้มากขึ้นว่า “ลองคิดดูว่าถ้าประเทศอื่นเขาด่าเราว่าไทยมากกกก เราจะเสียใจไหม ตอนนี้เราก็อยู่ในจุดที่ไม่ดีขนาดนั้น ใจเขาใจเรานิดนึง”
(ต่อในความคิดเห็นที่ 1)
👇👇
#4EVE #MirrorThailand #TPOP
ไอดอลหญิงเป็นมนุษย์ ไม่ใช่สินค้า หรือสนามอารมณ์ของสังคม | MIRROR THAILAND
BY PATCHSITA PAIBULSIRI
7 สาวเจนเนอเรชันใหม่ตรงหน้าเรา กำลังจะพูดความรู้สึกของพวกเธอต่อประเด็นต่างๆ ที่ถาโถมเข้ามาทั้งในฐานะ ‘ไอดอล’ และในฐานะ ‘มนุษย์’ คนหนึ่งที่มีความรู้สึกรัก ชัง เจ็บได้ ร้องไห้เป็น
ภายใต้สปอตไลต์ส่อง ตาออม อ๊ะอาย พั้นช์ ฝ้าย โจริญ แฮนน่า และมายด์ มีนามสกุลไอดอลวง ‘4EVE’ เกิร์ลกรุ๊ปค่าย XOXO Entertainment ซึ่งโชว์ให้เห็นว่าวงการ T-Pop บ้านเราไม่น้อยหน้าใคร เพราะมีเด็กที่ร้อง เต้น แร็ป และเก่งด้านเพอร์ฟอร์ม
ขณะที่นอกเวที พวกเธอคือกลุ่มเด็กรุ่นใหม่อายุ 16-22 ปี ที่อยากรักเมื่อรู้สึกรัก กินอะไรที่อยากกิน ทำอะไรที่อยากทำ พูดอะไรที่อยากพูด และเป็นคนในแบบที่อยากเป็น ไม่ใช่คนที่สังคม หรือใครอยากให้เป็น
ถ้าสังคมเคยกำหนดไว้ว่าไอดอลต้องยอมรับให้ได้ถ้าโดนบูลลี่ โดนเหยียด โดนสเตริโอไทป์ โดน Sexual Harassment ห้ามมีแฟน ห้ามอ่อนแอ หรือต้องสวย มีหุ่นตาม Beauty Standard หรือที่สำคัญอย่าพูดเรื่องการเมืองเลย มันเสี่ยง ฯลฯ อย่างนี้แล้ว ‘4EVE’ ก็ขอไหว้ย่อ บอกปฏิเสธ เพราะพวกเธอในวันนี้จะกำหนดภาพลักษณ์ไอดอลด้วยตัวเอง
ตาออม เบญญาภา อุ่นจิตร : เป็นไอดอลห้ามมีแฟน?
เวลามีข่าวลือว่าไอดอลกำลังเดตอยู่กับใคร จะเกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ว่า “ผิดหวัง”, “ถ้าอยากมีแฟนก็ไปทำอาชีพอื่น” หรือประกาศแบน และลามไปด่าแฟนของไอดอลคนนั้น นี่คือวัฒนธรรมที่เกิดขึ้นจริง ราวกับว่าแฟนคลับเป็นเจ้าของชีวิต หรือมองไอดอลเป็นสิ่งของที่ไม่มีหัวใจ ห้ามรักใคร ‘ตาออม’ จะมาบอกว่าเธอคิดอย่างไรกับเรื่องนี้บ้าง
“เราแฮปปี้กับการที่ไอดอลที่เราชอบมีแฟน หรือใช้ชีวิตของเขานะ เพราะเรื่องแฟนเป็นชีวิตส่วนตัว แฟนคลับควรรักเขาในพาร์ตการทำงาน เขาทำเพลงออกมาให้เราฟัง เราควรซัพพอร์ต และรักที่นิสัย หรือการแสดงออกที่เขาทรีตต่อแฟนคลับอย่างไรมากกว่าไปโฟกัสที่ชีวิตส่วนตัว”
“คนที่เป็นพนักงานประจำ หรือทำอาชีพอะไรก็แล้วแต่ ยังต้องการชีวิตส่วนตัวเลย ไอดอลก็เหมือนกันค่ะ เพราะทุกการทำงานมันมีเรื่องเครียด บางวันที่เราผ่านเรื่องแย่ๆ มา การมีแฟนอาจเป็นอีกกำลังใจที่จะทำให้อยู่ตรงนั้นต่อได้ มันทำให้ชีวิตยังมีความสุขอย่างอื่นเข้ามาเยียวยาใจ”
“เวลาเกิดดราม่าไอดอลมีแฟน แล้วหลายคนผิดหวัง ถ้าเป็นเรา เราจะไม่สนใจ เพราะเราเคยได้ยินคำพูดที่ว่า อย่าเอาความคิดเห็นของคนอื่นมาเป็นความจริงของตัวเอง ในเมื่อนี่มันคือชีวิตเรา เรารู้ว่ามาอยู่ตรงนี้ได้อย่างไร เราต้องเจออะไรบ้าง และเราเป็นคนแบบไหน ถ้าเราแฮปปี้กับอะไร เราก็ควรจะเป็นแบบนั้นต่อไป ไม่ใช่ว่าจะต้องทำในสิ่งที่ตัวเองไม่ชอบ เพียงเพราะคนมาวิจารณ์”
“เราคงทำให้เห็นมากกว่าว่าการที่ไอดอลมาอยู่ตรงนี้ได้ มันไม่ได้เกี่ยวอะไรกับการที่เขาจะมีหรือไม่มีแฟน ตราบใดที่เรื่องนี้ไม่ได้ทำให้ความรับผิดชอบในการเป็นศิลปินแย่ลง เรายังทำหน้าที่ของตัวเองได้ดีอยู่ เรายังรัก และทรีตพวกคุณอย่างดีในฐานะแฟนคลับ เราอยากให้แฟนคลับมองไอดอลที่ความสามารถ และการกระทำมากกว่าค่ะ”
มายด์ อาทิตยา ตรีบุดารักษ์ : การเมืองไม่ใช่เรื่องของไอดอล! ใครบอก?
“การเมืองเป็นเรื่องของไอดอลค่ะ เพราะการเมืองเป็นเรื่องของทุกคน” 'มายด์' ซึ่งเป็นพี่ใหญ่ของวงยืนยันกับเราตั้งแต่เริ่มด้วยสีหน้ามั่นใจ เธอไร้ความกลัว ไร้ความกังวล เพราะวันนี้เธอต้องการเป็นอีกกระบอกเสียงให้คนรุ่นใหม่ และรณรงค์ให้คนในวงการออกมาพูดเรื่องการเมือง หรือสิทธิมนุษยชนกันให้มาก เนื่องจากเสียงของคนมีชื่อเสียง มันดังไปได้ไกล และช่วยคนตัวเล็กๆ ที่ไม่มีโอกาสใช้เสียงของตัวเองได้จริง
“ยังมีคนส่วนหนึ่งที่คิดว่าไอดอลไม่ควรพูดเรื่องการเมือง แต่ยิ่งเห็นสถานการณ์ประเทศตอนนี้แล้ว เรารู้สึกว่าทำไมต้องไม่พูด มายด์พูดเรื่องการเมืองตั้งแต่ก่อนจะเป็น 4EVE แล้วยิ่งตอนนี้ พอเรายืนอยู่ในแสง เสียงของเราจะดังขึ้นอีก มันยิ่งควรพูดให้คนได้รับรู้ข้อมูลข่าวสาร ได้เห็นว่าสถานการณ์ปัจจุบันมันอยู่ในสภาพไหน แล้วให้เขาพิจารณาต่อเอาเอง”
“มายด์ไม่ได้กลัวเสี่ยงอะไร การเมืองเป็นเรื่องที่ต้องใส่ใจ นี่คืออนาคตของพวกเรา เรากำลังจะเสียภาษีให้คนกลุ่มหนึ่งที่เราก็เห็นฟีดแบ็กกลับมา ว่ามันไม่แฟร์ ไม่สมน้ำสมเนื้อ ดังนั้นเราจึงต้องเรียกร้อง บอกความต้องการ พูดสิ่งที่คิด และพัฒนาอนาคตที่เราอยากให้เป็นขึ้นมา”
“เมื่อก่อนคิดว่าการเมืองเป็นเรื่องไกลตัว แต่หลังๆ ปัญหามันเพิ่มขึ้น ยิ่งทำให้รู้ว่า ใกล้ขนาดนี้เลยเหรอ เช่น ในฐานะผู้มีประจำเดือน ก็มองเห็นปัญหาเรื่องผ้าอนามัยแจกฟรีที่ผู้ชายออกมาค้านกัน และกฎหมายไม่มีการรองรับ ซึ่งมันเป็นเรื่องสุขภาพ ที่ควรได้รับการซัพพอร์ตเหมือนกับบางประเทศที่ส่งเสริมความเท่าเทียมให้กับผู้หญิง”
“หนูคงไม่ได้เรียกร้องในฐานะประชาชน และผู้หญิงอย่างเดียว แต่ขอพูดเรื่อง LGBTQ+ ด้วย เพราะทุกคนก็คือคนที่จ่ายภาษีเหมือนกัน คือเรารักใครสักคน อยากสร้างครอบครัว ทำไมถึงทำไม่ได้ เพราะกฎหมายประเทศนี้ มันคือเรื่องของคนสองคน แต่ถูกสังคมครอบไว้ว่าไม่เหมาะสม ถ้าไทยเปิดใจเรื่องสิทธิ์ในการรับรองเรื่องต่างๆ หนูเชื่อว่าทุกคนจะกล้าเป็นตัวของตัวเอง ซึ่งคงมันเป็นเรื่องน่ายินดีมากๆ”
ฝ้าย ณัฐธยาน์ บุตรธุระ : ไอดอลต้องเงียบ (เหรอ) ถ้าถูกบูลลี่?
“อ้วนที่สุดในวง”, “อ้วนกว่าคนอื่น” เป็นประโยคที่ ‘ฝ้าย’ ไม่คิดว่าจะเจอกับตัวเอง เพราะก่อนที่จะได้เดบิวต์ เธออยู่ในสภาพแวดล้อมที่ไม่มีการเหยียด หรือบูลลี่กัน ฝ้ายบอกว่าเธอพร้อมรับคำติชมจากแฟนๆ ที่อยากให้เธอพัฒนาหากเธอทำผิดพลาด ทว่าเรื่อง ‘หุ่น’ เธอผิด หรือสังคมอคติกันไปเอง?
“ในแถบตะวันตก ไอดอล หรือศิลปิน เขาไม่ค่อยมีปัญหาการโดนบูลลี่รูปร่าง เพราะเขาสนใจความสามารถจริงๆ ทุกคนมีความเก่ง ความยูนีค และคนเคารพในตัวผลงาน แต่ปัญหาของประเทศไทย มันอยู่ที่นอกจากคนไซส์เล็ก ตัวเล็ก น่ารัก แล้ว ก็ไม่ค่อยเห็นคนหุ่นแบบอื่นได้รับโอกาส เพราะมันถูกปลูกฝังกันมาแบบนั้น”
“ตอนที่เรายังไม่มีสปอตไลต์ เราใช้ชีวิตปกติ ชีวิตนี้ไม่เคยโดนบูลลี่เลย จนกระทั่งมาเป็นศิลปิน คนติดภาพไอดอลในอุดมคติ แล้วเราไม่ใช่แบบนั้น เราถูกเบลมจากใครที่ไหนไม่รู้ ใช้ความรู้สึกส่วนตัวในการด่าเรา จนเราคิดว่าแบบ พวกคุณมาเอาไร”
“การบูลลี่กัน มันไม่ได้ทำให้ใครมีความสุข คนที่บูลลี่ก็ต้องพยายามหาจุดด้อยคนอื่นมาคิดคำด่ามากมาย ไม่เคยได้มองโลกในแง่ดี สุขภาพจิตก็จะแย่ลง ส่วนคนที่โดนบูลลี่ จิตใจเขาไม่โอเคอยู่แล้ว ถ้าการบูลลี่หายไปมันก็ทำให้เขาใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุขขึ้น วินวินสองฝ่าย”
“หนูแข่งขันมาด้วยความสามารถของหนู กว่าจะมายืนจุดนี้ หนูเลยไม่อยากแคร์พวก Hate Speech เพราะคนพวกนั้นคือคนที่มีปม อยากกดคนอื่นเพื่อให้ตัวเองดูดีขึ้น ลองคิดดูถ้ามีคนที่เก่งมากๆ ในสายงานหนึ่ง แต่รูปลักษณ์เขาไม่ตรงสแตนดาร์ดที่ใครบางคนสร้างขึ้นมา แล้วโดนตัดโอกาสตรงนั้นไป แทนที่คุณจะได้บุคลากรที่มีคุณภาพตรงสายคุณก็ไม่ได้ เพราะคุณต้องการแค่คนที่มีหน้าตาตามอุดมคติ แล้วแบบนี้โลกจะน่าอยู่ได้ยังไง”
“เราเป็นคนใช้ชีวิต ไม่ใช้ให้คนอื่นมาใช้ชีวิตเรา ไม่มีใครสามารถเลือกได้ว่าจะเกิดมาระบบเผาผลาญดีมาก หรือระบบเผาผลาญแย่มาก ดังนั้นการลด หรือเพิ่มความอ้วน มันต้องทำเพื่อสุขภาพ ไม่ใช่ทำเพราะโดนบูลลี่ว่า ผอมไปเป็นโรคเหรอ หรืออ้วนไปตัวจะแตกแล้ว”
แฮนน่า โรสเซ็นบรูม : จะใช้คำว่า ‘ลาว’ ในแง่ลบกันไปถึงไหน?
คนไทยหลายคนชินกับการเหยียดเชื้อชาติด้วยชื่อประเทศ ทั้งโดยรู้ตัวและไม่รู้ตัว ซึ่ง ‘ลาว’ กลายเป็นประเทศที่ถูกทำให้เป็นคำด่าที่ลดทอนความเป็นมนุษย์ ‘แฮนน่า’ ในฐานะที่เป็นไอดอลต่างชาติคนเดียวในวงที่เป็นลูกครึ่ง ลาว-อเมริกัน บอกกับเราว่า ถ้าใครก็ตามที่กำลังจะอ่านในสิ่งที่เธอพูด ถ้าเลี่ยงได้ ก็ขอให้เลี่ยงใช้คำว่าลาว ในการเปรียบเทียบสิ่งที่ Negative เพราะคนลาว ไม่ตลกด้วย
“หนูโดนคนไทยเหยียดว่าลาวบ่อยมากกกก เจอต่อหน้าหลายครั้งด้วย คือคนไทยใช้คำว่าลาว ในการดูถูก เอาไปเทียบกับคำว่าบ้านนอก ไม่พัฒนา เป็นแง่ลบตั้งแต่อดีตยันปัจจุบัน พอคำนี้ปลูกฝังมาเรื่อยๆ ว่าเป็นคำปกติ คนก็เลยพูดกันเป็นปกติ ทั้งๆ ที่มันไม่ปกติ”
“แรกๆ ที่โดนด่าว่าลาว เราร้องไห้หนักมาก คิดตลอดว่าบ้านเรามันแย่ขนาดนั้นเลยเหรอ ทำไมคนต้องมาเหยียด ใช้คำพูดดีๆ ไม่ต้องมาเหยียดกันได้ไหม หลังๆ ก็เข้มแข็งขึ้น เวลามีคนด่าว่าหน้าลาวมาก เราจะหืม มองหน้าตัวเองในกระจกก็ไม่ได้แย่ป้ะ (หัวเราะ)”
“บางคนก็ตั้งใจที่จะเหยียดคนลาว เช่น ล่าสุด #คลับเฮ้าส์toxic กลุ่มคนพวกนั้นเทียบคนอีสาน กับคนลาว ที่เราเข้าไปฟังปุ๊บ 2 นาทีต้องกดออก เพราะ toxic มาก หนูงงว่ามันควรเป็นคำพูดที่ควรรู้อยู่แล้ว ว่าไม่ควรพูดออกมาหรือเปล่า คนบ้าอะไรจะเหยียดเชื้อชาติกัน โปรไฟล์ที่เขาใช้ก็ไม่ใช่รูปจริง ถ้าเก่งจริง ทำไมไม่เอาหน้าคุณขึ้น ชื่อคุณขึ้นล่ะ”
“บางคนก็เป็นผู้ใหญ่แล้ว ก็ยังจะใช้คำว่าลาวมาก ลาวเหลือเกิน ด้วยการใช้เสียง และท่าทาง ที่บ่งบอกว่าเหยียด อยากถามหน่อยว่าคุณเคยไปสัมผัสชีวิตคนลาวจริงๆ แล้วหรือยัง คนลาวก็คือมนุษย์เหมือนคนทุกประเทศ เป็นคนที่คุณควรให้เกียรติในฐานะมนุษย์ เอาเวลาที่เหยียดไปทำให้ชีวิตตัวเองดีขึ้นดีกว่าไหม และไม่ว่าคุณจะมีชีวิตดีๆ เงินล้นฟ้า หรือชีวิตคุณจะแย่ยังไง ก็ไม่ใช่ข้ออ้างในการเหยียดคนอื่น คิดแต่ด้านลบๆ ไม่ปวดหัวตายเหรอ”
หลังแฮนน่าพูดจบตาออมในฐานะคนไทยจึงขอยกตัวอย่างเพื่อให้คนตระหนักเรื่องนี้มากขึ้นว่า “ลองคิดดูว่าถ้าประเทศอื่นเขาด่าเราว่าไทยมากกกก เราจะเสียใจไหม ตอนนี้เราก็อยู่ในจุดที่ไม่ดีขนาดนั้น ใจเขาใจเรานิดนึง”
(ต่อในความคิดเห็นที่ 1)
👇👇
#4EVE #MirrorThailand #TPOP