“พิธา” ถือหุ้น ITV ส่อขาดคุณสมบัติลงสมัคร ส.ส. เทียบกับกรณีคืนสิทธิสมัครเลือกตั้งให้ชาญชัยปี 66 ที่นครนายกได้ไหม?

จากแหล่งที่มาของข่าว 
https://mgronline.com/politics/detail/9660000042497

ก่อนเข้าเนื้อข่าวด้านล่าง คำถามคือ จะเหมือนกรณีที่ศาลฏีกาวินิจฉัยคีนสิทธิสมัครรับเลือกตั้ง สส.ให้ชาญชัย ในปี 2566 หรือเปล่าครับ?
(สำหรับกรณี คืนสิทธิแก่ ชาญชัยในการสมัคร สส. นครนายกนั้น ผมจะวางลิงค์เนื้อข่าวไว้ใต้เส้นประนะครับ/ และไว้ใต้เนื้อข่าวกรณีเรืองไกรร้องกกต.)

ในการตอบกระทู้นี้ ขอความกรุณาให้ตอบมุ่ง focus ไปที่ประเด็นข้อกฎหมาย หรือหลักกฎหมายนะครับ ไม่อยากให้เอาแบบข้อความสร้างความเกลียดชัง ติ่งแดง ส้ม สลิ่มอะไรทั้งสิ้นครับ

เอาแล้ว!!! “เรืองไกร” จ่อร้อง กกต.สอบ “พิธา” ถือหุ้น ITV ส่อขาดคุณสมบัติลงสมัคร ส.ส. เปิดข้อมูลพบชื่อถือ 42,000 หุ้น ซ้ำบริษัทยังดำเนินธุรกิจอยู่ ชี้ หากจริงเข้าข่ายต้องห้ามลงสมัครตั้งแต่ปี 62

วันนี้ (9 พ.ค.) นายเรืองไกร ลีกิจวัฒนะ เปิดเผยว่า ได้ตรวจสอบพบข้อมูลที่น่าเชื่อว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จำนวน 42,000 หุ้น จึงต้องการให้ กกต.ตรวจสอบ เนื่องจากรัฐธรรมนูญ มาตรา 98(3) บัญญัติห้ามมิให้บุคคลที่เป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็น ส.ส และเมื่อตรวจสอบปรากฏข้อเท็จจริงตามข้อมูลเมื่อวันที่ 7 เม.ย. 66 ที่ทำให้เข้าใจว่า นายพิธา ลิ้มเจริญรัตน์ ยังคงเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ในลำดับที่ 6,121 เลขทะเบียนผู้ถือหลักทรัพย์ 4030954168 ที่อยู่ 98/26 อาคารซิลเวอร์เฮอริเทจ ซ.สุขุมวิท 38 ถ.สุขุมวิท พระโขนง คลองเตย 10110 สัญชาติ ไทย จำนวน 42,000 หุ้น
นายเรืองไกร ยังกล่าวอีกว่า เมื่อตรวจสอบจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบข้อมูลของบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) พบว่า เป็นนิติบุคคลที่ยังดำเนินกิจการอยู่ ธุรกิจตอนจดทะเบียน ระบุการออกอากาศทางวิทยุกระจายเสียงยกเว้นทางออนไลน์

วัตถุประสงค์ตอนจดทะเบียน ระบุสถานีโทรทัศน์ หมวดธุรกิจ ก็ระบุว่า กิจกรรมเผยแพร่ภาพยนตร์วีดิทัศน์และรายการโทรทัศน์ โดยปีที่ส่งงบการเงิน คือ ปี 2560 ต่อเนื่องถึงปี 2564 และเมื่อขอข้อมูลบัญชีรายขื่อผู้ถือหุ้นบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่า ณ วันที่ 27 เม.ย. 65 นายพิธา เป็นผู้ถือหุ้นในลำดับที่ 7,138 จำนวน 42,000 หุ้น เลขที่ใบหุ้น 06680180285422 มูลค่าหุ้นละ 5 บาท
อีกทั้งเมื่อตรวจสอบข้อมูลบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) จากเว็บไซต์ พบว่า บริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) ประกอบกิจการรับจ้างโฆษณา ประชาสัมพันธ์ทุกชนิดทุกประเภท มีรายได้ปี 2565 รวม 21 ล้านบาท และมีรายได้ปี 2564 รวม 24 ล้านบาท โดยบริษัทมีการประชุมสามัญผู้ถือหุ้นประจำปี 2566 ผ่านสื่ออิเล็กทรอนิกส์ (E-AGM) เมื่อวันพุธที่ 26 เม.ย. 66 จากข้อเท็จจริงดังกล่าวจึงมีเหตุอันควรที่ กกต. จะต้องตรวจสอบนายพิธา ผู้สมัครแบบบัญชีรายชื่อและผู้ถูกเสนอชื่อเป็นนายกรัฐมนตรีของพรรคก้าวไกล ว่า เข้าข่ายมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98(3) หรือไม่

“ขอให้ กกต. รีบตรวจสอบยืนยันข้อมูลจากบริษัท ไอทีวี จำกัด (มหาชน) โดยด่วน ว่า นายพิธา ถือหุ้นจำนวนดังกล่าวมาตั้งแต่เมื่อใด หากถือมาก่อนการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 62 จะเข้าข่ายมีลักษณะต้องห้ามมาก่อนหรือไม่ การเป็น ส.ส. ที่ผ่านมา จะชอบหรือไม่ และเมื่อย้อนไปตรวจสอบบัญชีแสดงรายการทรัพย์สินฯที่แจ้งต่อ ป.ป.ช. กรณีเข้ารับตำแหน่ง ส.ส. เมื่อวันที่ 25 พ.ค. 62 นายพิธา แจ้งเงินลงทุนไว้ 45 รายการ แต่ไม่พบลงทุนในหุ้นบริษัท ไอทีวี แต่อย่างใด ซึ่งที่อยู่ที่ นายพิธา แจ้งไว้ต่อ ป.ป.ช. ก็สอดคล้องกับที่อยู่ตามบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้นดังกล่าว ดังนั้น ในวันที่ 10 พ.ค. เวลาประมาณ 10.00 น. ผมจึงจะไปยื่นหนังสือที่ กกต. ด้วยตนเอง”
.....................................................................................................................................................................................................

ละเอียดยิบ! เปิดคำพิพากษาศาลฎีกาคืนสิทธิ์สมัครรับเลือกตั้ง ส.ส. นครนายกให้แก่ 'ชาญชัย อิสระเสนารักษ์' ปมถือครอง บมจ. AIS 200 หุ้น...... วินิจฉัยประกอบธุรกิจสื่อในนิยามความหมายสื่อมวลชนใดๆ  แต่ข้อเท็จจริงถือสัดส่วนน้อยมาก ไม่มีอำนาจสั่งการให้เผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อประโยชน์ต่อตนเองหรือผู้อื่น  กกต.ตีความ กม.ตามลายลักษณ์อักษร ไม่ตรงเจตนารมณ์รัฐธรรมนูญ  สั่งเพิ่มชื่อเขต 2 นครนายก
แหล่งที่มา (สามารถอ่านคำวินิจฉัยเต็มได้ตามลิงค์) https://www.isranews.org/article/isranews-scoop/118255-isranews-325.html


เมื่อวันที่ 2 พ.ค. 2566 ศาลฎีกามีคำพิพากษาให้ผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจําเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครนายก เพิ่มชื่อนายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ และประกาศรายชื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครนายก ของพรรคประชาธิปัตย์ กรณี นายชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ผู้ร้อง ร้องศาลฎีกาปมถูกผู้อํานวยการการเลือกตั้งประจําเขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครนายก ผู้คัดค้าน ไม่ประกาศรายชื่อเป็นผู้สมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เนื่องจากผู้คัดค้านให้เหตุผลว่า นายชาญชัยเป็นบุคคลต้องห้ามไม่ให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรเนื่องจากเป็นผู้ถือหุ้นใน บริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน) ซึ่งประกอบกิจการสื่อมวลชนโดยอ้อม

โดยศาลวินิจฉัยว่า แม้ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จำกัด ( เอไอเอส)  ถือหุ้นในบริษัทลูก คือ บริษัท เทเลอินโฟ มีเดีย จำกัด (มหาชน) และบริษัท เยลโล เพจเจส คอมเมอร์ส จำกัด ประกอบกิจการสื่อมวลชน ย่อมถือได้ว่า  บริษัท AIS  อยู่ความหมายคำว่า สื่อมวลชนใดๆ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 98 (3) และพระราชบัญญัติประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร พ.ศ. 2561 มาตรา 42 (3) ด้วย   แต่ผู้ร้องไม่ใช่เจ้าของหรือมีจำนวนหุ้นมากพอที่จะสามารถดําเนินการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ร้องและพรรคการเมืองของผู้ร้อง หรือเป็นโทษแก่ผู้สมัครและพรรคการเมืองอื่น การตีความบทบัญญัติของกฎหมายตามลายลักษณ์อักษร ให้ผู้ร้องมีลักษณะต้องห้ามมิให้ใช้สิทธิสมัครรับเลือกตั้งเพราะจองบริษัทแอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส จํากัด (มหาชน) เพียง 200 หุ้น ย่อมไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญ การที่ผู้คัดค้านไม่ประกาศรายชื่อผู้ร้องเป็นผู้มีสิทธิสมัครรับเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร แบบแบ่งเขตเลือกตั้ง เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครนายก จึงเป็นการไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่