มลพิษ ทำให้ภูมิตก และรุกรามจนกลายเป็น
โรคผิวหนังต่างๆ เหล่านี้ #โรคผิวหนัง
1. Ringworm
กลาก เกลื้อน (ผื่นรูปวงแหวน)
เชื้อราที่สามารถติดต่อได้ทางของใช้ต่างๆ เช่น ผ้าขนหนู เสื้อผ้า รองเท้า เป็นต้น
อาการส่วนใหญ่คือ คัน แดงและแสบ บางคนอาจมีผมร่วงร่วมด้วย
อาการของโรคมักปรากฏหลังสัมผัสเชื้อ 14 วัน
การรักษาใช้ครีมหรือขี้ผึ้งที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา โดยเฉพาะ
2. Rosacea
โรคผิวหนังเรื้อรัง ทำให้หน้าแดง ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้ใหญ่ที่มีผิวซีด เพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุเฉลี่ย 30-60 ปี สาเหตุเกิดจาก พันธุกรรม แสงแดด อากาศร้อน ของเผ็ด สูบบุหรี่ สุรา ไปกระตุ้นหลอดเลือดที่ผิวหน้า เกิดการขยายตัว ทำให้ผิวหน้าแดง นูนหน้าเป็นปื้น เกิดสิวขึ้น แสบตา มีปัญหาการมองเห็น
วิธีรักษา คือ ยาปฏิชีวินะทั้งแบบทาและรับประทาน หรือการรักษาด้วยเลเซอร์ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง
3. Eczema
โรคเรื้อน หรือ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ส่วนใหญ่เกิดกับเด็ก อาการเกิดก่อน 5 ขวบ และจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเริ่มเจริญเติบโต
อาการผิวแห้ง แสบคัน และมีตุ่มนูนแดง เป็นขุย และอาจมีหนองร่วมด้วย ส่วนใหญ่เกิดที่มือหรือส่วนข้อพับตามร่างกายเช่น หลังข้อศอก ข้อเข่า
สาเหตุอาจจะเกิดจากยีนส์ภูมิคุ้มกันบางอย่างทำงานผิดพลาด
วิธีรักษาส่วนใหญ่ คือ ลดอาการแสบ
คันตามอาการ และแนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่นน้ำหอม หรือใช้ครีมสเตอลอยด์ในการรักษาเพื่อระงับหากรุกราม
4. Contact Dermatitis
โรคผิวหนังจากการสัมผัส เป็นกรากชนิดหนึ่ง เมื่อเราไปสัมผัสกับบางอย่างที่เราแพ้ ทำให้ระคายเคือง และเกิดการอักเสบต่อมา ส่วนใหญ่เป็นสารระคายเคือง เช่น สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง หรือโลหะบางอย่าง น้ำยางจากต้นไม้ อากาารคือ คัน แสบร้อน พุพอง
ผื่นชนิดนี้ สามารถใช้ยาเฉพาะที่ได้ เช่น ครีม ยาแก้คันสเตอลอยด์ เป็นต้ืน
5. Impetigo
พุพอง เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดการพุพอง ส่วนใหญ่พบในเด็ก เกิดที่บริเวณริมปาก จมูก แขนและขา อาการจะคันมากและสามารถติดต่อไปยังคนอื่นได้ การรักษา ใช้ครีม โลชั่น ยาปฏิชีวนะ
6. Seborrhea Dermatitis (Dandruff)
ผิวหนังอักเสบจากไขมันบนหนังศีรษะ (รังแค) เกิดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ภาวะนี้มักเกี่ยวกับผิวหนังที่หนาและหยาบกร้าน สามารถลามไปที่ใบหน้า หน้าอกได้ เพราะตรงนั้นมีต่อมไขมันอยู่มาก เรียกอีกอย่างนึงว่า เป็นภูมิแพ้ต่อเชื้อราในบริเวณนั้น
การรักษา คือ สระผมด้วยตัวยาที่ฆ่าเชื้อราเป็นประจำตามแพทย์สั่ง
7. Pityriasis Rosea
เป็นตุ่มกลมหรือวงรีขนาดใหญ่ หรือวงรีหลายๆ วง เป็นที่หน้าอก หรือใบหน้า สาเหตุไม่ชัดเจน อาจเกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรีย ส่วนใหญ่จะแพร่ในบางช่วงเวลา การรักษาคือ การรับยาทาและรับประทาน หรือยิงเลเซอร์ ระยะเวลาของโรค 8 สัปดาห์ หรือยาวไป 5 เดือน ก็เป็นไปได้
8. Actinic Keratosis
คือ การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังก่อนเป็นมะเร็ง เพราะถูกแดดมาก ลักษณะจะเป็นวงกลมแบน ตกสะเก็ด และหยาบ ส่วนใหญ่พบที่ใบหน้า ริมผีปากและแขน เพราะเป็นส่วนของร่างกายที่มักสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ถ้าคุณรู้ตัวว่าเป็นคนผิวขาวมากๆ ให้ระวังในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ด้วย เพราะการรักษาจะยากมาก
9. Jock Itch
อยู่ในตระกูลเดียวกับกลากเกลื้อน พบมากในบริเวณที่ชื้นของร่างกาย เช่นขาหนีบ ต้นขาด้านใน และ ก้น พบมากในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก อาการจะคันมาก ถ้ายิ่งไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าบ่อยๆ ระยะโรค ถ้าไม่รีบดูแล จะเป็นนาน วิธีรักษาคือ ใช้ยาต้านเชื้อรา และหมั่นเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ๆ ทุกวัน
10. Tinea Versicolor
คนที่มีผิวมัน เช่น วัยรุ่น และคนเขตร้อน มีโอกาสเป็นโรคผิวหนังชนิดนี้มาก เกิดจากยีสต์ ปรากฏเป็นเกลื่อนเป็นหย่อมๆ สีชมพู ขาว ตามไหล่ หน้าอก และรักแร้ มีอาการคันเมื่อเหงื่ออก คนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เบาหวาน หรือหญิงคลอดบุตร จะมีโอกาสเป็นมากกว่าคนปกติ การรักษาใช้สเตอรอยด์ หรือยาต้านเชื้อราเฉพาะที่ และหมั่นทำความสะอาดบ่อยๆ
11. Pityriasis Rubra Pilaris (PRP)
เป็นกลุ่มของภาวะผิวหนังที่ทำให้เป็นปื้นแดงและตกสะเก็ด เกิดที่ข้อศอก หัวเข่า ข้อเท้า มือ และเท้าสาเหตุไม่แน่ชัด แต่อาจเกี่ยวกับพันธุกรรม และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ดูเผินๆ เหมือนโรคสะเก็ดเงิน
ระยะเวลาของโรคจะค่อนข้างนาน คำแนะนำของแพทย์มักให้ยาประเภท retinoids เช่น accutane (isotretinoin) เป็นต้น
12. Cellulitis
ติดเชื้อบนผิวหนังอันเกิดจากผิวที่แตก เกิดขึ้นได้ทั่วร่างกายโดยเฉพาะที่เท้า และขา และจะกลายเป็นฝี และมีพื้นผิวเหมือนเปลือกส้ม คนที่น้ำหนักตัวเยอะ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือเป็นเบาหวาน ก็จะพบได้บ่อย วิธีรักษาคือ ใช้ยาปฏิชีวินะ เพื่อทำการฆ่าเชื้อดังกล่าว
การดูแลสุขภาพจากภายในและภายนอก เป็นสิ่งสำคัญ
โรคผิวหนัง มีอะไรบ้าง มาดูกัน
มลพิษ ทำให้ภูมิตก และรุกรามจนกลายเป็นโรคผิวหนังต่างๆ เหล่านี้ #โรคผิวหนัง
1. Ringworm
กลาก เกลื้อน (ผื่นรูปวงแหวน)
เชื้อราที่สามารถติดต่อได้ทางของใช้ต่างๆ เช่น ผ้าขนหนู เสื้อผ้า รองเท้า เป็นต้น
อาการส่วนใหญ่คือ คัน แดงและแสบ บางคนอาจมีผมร่วงร่วมด้วย
อาการของโรคมักปรากฏหลังสัมผัสเชื้อ 14 วัน
การรักษาใช้ครีมหรือขี้ผึ้งที่มีฤทธิ์ต้านเชื้อรา โดยเฉพาะ
2. Rosacea
โรคผิวหนังเรื้อรัง ทำให้หน้าแดง ส่วนใหญ่มักเกิดในผู้ใหญ่ที่มีผิวซีด เพศหญิงมากกว่าเพศชาย อายุเฉลี่ย 30-60 ปี สาเหตุเกิดจาก พันธุกรรม แสงแดด อากาศร้อน ของเผ็ด สูบบุหรี่ สุรา ไปกระตุ้นหลอดเลือดที่ผิวหน้า เกิดการขยายตัว ทำให้ผิวหน้าแดง นูนหน้าเป็นปื้น เกิดสิวขึ้น แสบตา มีปัญหาการมองเห็น
วิธีรักษา คือ ยาปฏิชีวินะทั้งแบบทาและรับประทาน หรือการรักษาด้วยเลเซอร์ ก็เป็นอีกแนวทางหนึ่ง
3. Eczema
โรคเรื้อน หรือ ผิวหนังอักเสบเรื้อรัง ส่วนใหญ่เกิดกับเด็ก อาการเกิดก่อน 5 ขวบ และจะค่อยๆ ดีขึ้นเมื่อเริ่มเจริญเติบโต
อาการผิวแห้ง แสบคัน และมีตุ่มนูนแดง เป็นขุย และอาจมีหนองร่วมด้วย ส่วนใหญ่เกิดที่มือหรือส่วนข้อพับตามร่างกายเช่น หลังข้อศอก ข้อเข่า
สาเหตุอาจจะเกิดจากยีนส์ภูมิคุ้มกันบางอย่างทำงานผิดพลาด
วิธีรักษาส่วนใหญ่ คือ ลดอาการแสบ
คันตามอาการ และแนะนำให้หลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น เช่นน้ำหอม หรือใช้ครีมสเตอลอยด์ในการรักษาเพื่อระงับหากรุกราม
4. Contact Dermatitis
โรคผิวหนังจากการสัมผัส เป็นกรากชนิดหนึ่ง เมื่อเราไปสัมผัสกับบางอย่างที่เราแพ้ ทำให้ระคายเคือง และเกิดการอักเสบต่อมา ส่วนใหญ่เป็นสารระคายเคือง เช่น สบู่ ผงซักฟอก เครื่องสำอาง หรือโลหะบางอย่าง น้ำยางจากต้นไม้ อากาารคือ คัน แสบร้อน พุพอง
ผื่นชนิดนี้ สามารถใช้ยาเฉพาะที่ได้ เช่น ครีม ยาแก้คันสเตอลอยด์ เป็นต้ืน
5. Impetigo
พุพอง เป็นการติดเชื้อแบคทีเรีย ทำให้เกิดการพุพอง ส่วนใหญ่พบในเด็ก เกิดที่บริเวณริมปาก จมูก แขนและขา อาการจะคันมากและสามารถติดต่อไปยังคนอื่นได้ การรักษา ใช้ครีม โลชั่น ยาปฏิชีวนะ
6. Seborrhea Dermatitis (Dandruff)
ผิวหนังอักเสบจากไขมันบนหนังศีรษะ (รังแค) เกิดได้ทั้งเด็กและผู้ใหญ่ ภาวะนี้มักเกี่ยวกับผิวหนังที่หนาและหยาบกร้าน สามารถลามไปที่ใบหน้า หน้าอกได้ เพราะตรงนั้นมีต่อมไขมันอยู่มาก เรียกอีกอย่างนึงว่า เป็นภูมิแพ้ต่อเชื้อราในบริเวณนั้น
การรักษา คือ สระผมด้วยตัวยาที่ฆ่าเชื้อราเป็นประจำตามแพทย์สั่ง
7. Pityriasis Rosea
เป็นตุ่มกลมหรือวงรีขนาดใหญ่ หรือวงรีหลายๆ วง เป็นที่หน้าอก หรือใบหน้า สาเหตุไม่ชัดเจน อาจเกิดจากไวรัสหรือแบคทีเรีย ส่วนใหญ่จะแพร่ในบางช่วงเวลา การรักษาคือ การรับยาทาและรับประทาน หรือยิงเลเซอร์ ระยะเวลาของโรค 8 สัปดาห์ หรือยาวไป 5 เดือน ก็เป็นไปได้
8. Actinic Keratosis
คือ การเปลี่ยนแปลงของผิวหนังก่อนเป็นมะเร็ง เพราะถูกแดดมาก ลักษณะจะเป็นวงกลมแบน ตกสะเก็ด และหยาบ ส่วนใหญ่พบที่ใบหน้า ริมผีปากและแขน เพราะเป็นส่วนของร่างกายที่มักสัมผัสกับแสงแดดโดยตรง ถ้าคุณรู้ตัวว่าเป็นคนผิวขาวมากๆ ให้ระวังในการป้องกันไม่ให้เกิดโรคนี้ด้วย เพราะการรักษาจะยากมาก
9. Jock Itch
อยู่ในตระกูลเดียวกับกลากเกลื้อน พบมากในบริเวณที่ชื้นของร่างกาย เช่นขาหนีบ ต้นขาด้านใน และ ก้น พบมากในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก อาการจะคันมาก ถ้ายิ่งไม่อาบน้ำและเปลี่ยนเสื้อผ้าบ่อยๆ ระยะโรค ถ้าไม่รีบดูแล จะเป็นนาน วิธีรักษาคือ ใช้ยาต้านเชื้อรา และหมั่นเปลี่ยนเสื้อผ้าใหม่ๆ ทุกวัน
10. Tinea Versicolor
คนที่มีผิวมัน เช่น วัยรุ่น และคนเขตร้อน มีโอกาสเป็นโรคผิวหนังชนิดนี้มาก เกิดจากยีสต์ ปรากฏเป็นเกลื่อนเป็นหย่อมๆ สีชมพู ขาว ตามไหล่ หน้าอก และรักแร้ มีอาการคันเมื่อเหงื่ออก คนที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ เบาหวาน หรือหญิงคลอดบุตร จะมีโอกาสเป็นมากกว่าคนปกติ การรักษาใช้สเตอรอยด์ หรือยาต้านเชื้อราเฉพาะที่ และหมั่นทำความสะอาดบ่อยๆ
11. Pityriasis Rubra Pilaris (PRP)
เป็นกลุ่มของภาวะผิวหนังที่ทำให้เป็นปื้นแดงและตกสะเก็ด เกิดที่ข้อศอก หัวเข่า ข้อเท้า มือ และเท้าสาเหตุไม่แน่ชัด แต่อาจเกี่ยวกับพันธุกรรม และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม ดูเผินๆ เหมือนโรคสะเก็ดเงิน
ระยะเวลาของโรคจะค่อนข้างนาน คำแนะนำของแพทย์มักให้ยาประเภท retinoids เช่น accutane (isotretinoin) เป็นต้น
12. Cellulitis
ติดเชื้อบนผิวหนังอันเกิดจากผิวที่แตก เกิดขึ้นได้ทั่วร่างกายโดยเฉพาะที่เท้า และขา และจะกลายเป็นฝี และมีพื้นผิวเหมือนเปลือกส้ม คนที่น้ำหนักตัวเยอะ ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันอ่อนแอ หรือเป็นเบาหวาน ก็จะพบได้บ่อย วิธีรักษาคือ ใช้ยาปฏิชีวินะ เพื่อทำการฆ่าเชื้อดังกล่าว
การดูแลสุขภาพจากภายในและภายนอก เป็นสิ่งสำคัญ