ต้นพุทธกาล สิงหน วติ กุมาร โอรส K เทวการ นครไทยเทศ=ราชคฤห์ ที่สืบเชื้อสายมาจากไทยเมือง
เดินทางมาทางตะวันออกเฉียงใต้ ถึง น.โขง ที่มีเมืองร้างชื่อ สุวรรณโคมคำ
ได้สร้างเมืองขึ้นใหม่ชื่อ นาคพันธ์ุสิงหนวตินคร = โยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสน
ต่อมาเมืองนาคพันธ์ุสิงหนวตินครล่มไปในหนอง
เกิดมีเทวดา ลงเกิ๋นจากสวรรค์ เนรมิตอาสนะเงินขึ้นประทับ และประกาศตัวเป็นกษัตริย์แบบโอปาติกะ - เกิดขึ้นเองไม่ได้เกิดจากพ่อแม่ ชื่อ ลวจังกราช
อยู่ไป ๆ ชาวบ้านชาวเมือง ถามกันว่า อาสนะเงินหายไปหรือยัง บางคนก็ตอบว่ายัง เป็นที่มาของชื่อ เงินยัง : ยัง ภาษาล้านนาแปลว่าอยู่
หรือ อีกทางเล่าว่า ได้รื้ออาสนะเงินมาทำเป็นเงินเจาะรู เรียก เงินยาง
มีพิธีสรงน้ำ ยกลวจังกราชขึ้นเป็นกษัตริย์ เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น เหรัญ(เงิน)นคร
ได้ซื้อที่จากลาวจก (จก ก.ไก่) - ลัวะที่มีจอบ 500 แสดงถึงผู้มีอิทธิพลสูง เพื่อสร้างดอยตุงและให้ปู่ลาวจก ย่าลาวจกดูแลพระธาตุ
ลวจังกราช มีโอรส 2 องค์ ธิดา 1 องค์ องค์เล็กชื่อ ลาวเกลาแก้วมาเมือง ลาวเกลาแก้วมาเมือง ครองเมืองเหรัญนครเงินยาง ต่อจากบิดา
ต่อมาอีก 10 ชั่วท้าว ถึงท้าวลาวเคียง สร้างเมืองแม่สาย
ต่อมาอีก 11 ชั่วท้าว ถึงขุนลาวเงิน ขุนลาวเงินผู้ครองนครเงินยางเชียงแสน ราชวงค์ลวจังกราช
ดำริให้พระราชโอรส 2 องค์ คือ ขุนชิน ผู้พี่ให้ครองนครเงินยางเชียงแสน ขุนจอมธรรม ผู้น้องให้ไปปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้
ขุนจอมธรรม แรกมาตั้งมั่น ที่เชียงหมั้นก่อนสร้างเมือง ได้ขุดคูจากแม่น้ำสายตามาใช้ถึงที่พักเรียกคลองแม่เหมือง - เหมือง ภาษาล้านนาแปลว่าร่องน้ำ
ยังคงมีวัดเชียงหมั้น และคลองแม่เหมือง ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว
เสนาและปุโหิตได้มาหาทำเลตั้งเมืองใหม่ พบว่า ที่เชิงเขาชมภู หางดอยด้วน ลงไปจรดฝั่งแม่น้ำสายตา หรือแม่น้ำอิง
มีเมืองเก่า กว้าง 1000 วา ยาว 1200 วา ร่องกำแพงลึก 7 วา มีประตูเมือง 8 แห่ง
กำแพงทิศตะวันตกสูง - ติดน้ำ, ทิศตะวันออกต่ำ - ติดเนินเขา ตีนเขาข้างประตูตะวันออกมีไม้ 3 ต้น
มีสระใหญ่ 2 แห่ง ทางตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ >> ตามคำภีร์บอกว่าเมืองนี้ชื่อ เมืองสีหราช
ขุนจอมธรรมจึงตั้งเมืองขึ้นที่ เมืองสีหราช เรียกว่าเวียงภูกามยาว
มีเขื่อนค่าย ปราการ กำแพง คูเมือง มีประตูใหญ่แปดช่อง ตามคัมภีร์ทักษาเมืองคือ ประตูไชย ประตูหอกลอง ประตูเหล็ก ประตูท่านาง ประตูสลี ประตูปราสาท ประตูท่าแป้น คือ เป็นประตูอยู่ในทิศกาลกิณี - นำศพออก ในเวลากลางคืน และ ประตูออมปอม
มีเมืองในอำนาจปกครอง
คือ เมืองงาว เมืองกาว สะเอียบ เชียงม่วน เมืองเทิง เมืองสระ เมืองออย สะสาว เมืองดอบ เชียงคำ เมืองลอ เมืองเชียงแลง เมืองหงาว แซ่เหียง แซ่ลุล ปากบ่อง เมืองป่าเป้า เมืองวัง แซ่ซ้อง เมืองปราบ แซ่ห่ม
* อำเภอเมือง *
พิพิธภัณฑ์วัดลี
จัดแสดงโบราณวัตถุ ในเมืองพะเยา อันบอกเรื่องราวในอดีตได้แจ่มชัดขึ้น เช่น
พบ
จารึกรูปใบเสมาส่วนบนมีรูปดวงฤกษ์บอกเวลาที่ทำการ
พระพุทธรูปที่มีจารึกที่ฐานสามองค์
มีข้อความกล่าวถึงคำสนทนาของ ... ลาวงำเมิง ... และ พะญาร่วง
บอกว่า
พญามังราย พระร่วง และพญางำเมือง ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกันที่บริเวณสบร่องขุย
ซึ่งร่องขุยเป็นร่องน้ำจากเทือกเขาในเขตอำเภอดอกคำใต้ ไหลมาสบน้ำอิง
ในช่วงปลายสมัยสุโขทัย
เจ้าสามพระยาได้พระราชธิดาในพระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งพระโอรสของพญาลิไท) แห่งกรุงสุโขทัยเป็นพระมเหสี - เป็นการผนวกอาณาจักรโดยการอภิเษกสมรส
พระโอรสของเจ้าสามพระยาคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ให้คำมั่นไว้กับ พระยายุทธิษฐิระ เพื่อนสนิทยามพระเยาว์ว่า ถ้าพระองค์ได้ขึ้นครองอยุธยา จะให้พระยายุทธิษฐิระครองสุโขทัย
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองอยุธยา กลับให้พระยายุทธิษฐิระไปครองสองแควที่เล็กกว่า แทนที่จะเป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระยายุทธิษฐิระจึงไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราช พระเจ้าติโลกได้ยกพญายุทธิษฐิระเป็นพระโอรสบุญธรรม และให้ครองเมืองพะเยา
พระพุทธศาสนาจึงได้รับการทำนุบำรุงมีความเจริญรุ่งเรือง มีการสร้างวัดหลายวัด
มีจารึกที่บอกถึงงานบุญที่ชนชั้นสูงได้ทำบุญอุทิศแก่พุทธศาสนาจำนวนมาก
มีการสร้างพระพุทธรูปหินทรายมากที่สุดในประเทศไทย เป็นพระพุทธรูปแกะจากหินทรายทั้งก้อน มีความละเอียด นิ่มนวล พระพักตร์กลมเป็นรูปไข่ ได้รับอิทธิพลสุโขทัย ส่วนใหญ่จะมีพระพักตร์ยิ้ม ไม่ได้แกะแต่ละส่วนแล้วเอามาต่อกันแบบอยุธยา
ฐานพระพุทธรูปนิยมทำรูปช้างแบกฐานบัว
วัดลี
ตั้งอยู่ในเวียงพยาว - เวียงรูปน้ำเต้า กว้างประมาณ 1,000 เมตร ยาวประมาณ 1,500 เมตร ส่วนหัวขั้วน้ำเต้ากว้างประมาณ 500 เมตร มีคันดินและคูน้ำล้อมรอบ มีแม่น้ำอิงไหลผ่านเวียงจากทิศใต้ไปทิศตะวันออก
จารึกวัดลี บอกว่าพ.ศ.2038 ซึ่งเป็นปีที่พญายอดเชียงรายสวรรคต หมื่นหน่อเทพครู ซึ่งเป็นเจ้าสี่หมื่นหรือเจ้าเมืองพะเยา ผู้เป็นราชครูของพญายอดเชียงรายได้ฝังเสมาวัดลี และถวายที่นาให้วัด เรียกว่า “นาจังหัน” คือที่นาที่คนทำนาจังหันต้องเสียภาษีให้วัด เป็นการบำรุงวัด
ลีแปลว่ากาด หรือตลาด แสดงว่าบริเวณวัดลีตั้งอยู่ที่ตลาด ใจกลางของชุมชน ในระยะเวลานั้น
เจ้าสี่หมื่นเป็นตำแหน่งเจ้าเมืองพยาว-ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเชียงใหม่ ปรากฎครั้งแรกปี พ.ศ. 1954 โดยพญาสามฝั่งแกน - พระราชบิดาพระเจ้าติโลก
เมื่อล้านนา (คำว่าล้านนาใช้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าติโลกเป็นต้นมา) ตกอยู่ในการปกครองของพม่า ประชาชนถูกข่มเหงจึงหนีไป ทำให้วัดส่วนใหญ่กลายเป็นวัดร้าง วัดลีก็เช่นกัน เป็นวัดร้างมาจนได้รับการบูรณปฎิสังขรณ์ครั้งใหญ่ และยกเป็นวัดอีกครั้งพ.ศ. 2463-2478 โดยพระครูบาศรีวิชัย ตนบญแห่งล้านนา มาเป็นผู้นำในการบูรณะ
วัดติโลกอาราม
เป็นโบราณสถานที่จมอยู่ในกว๊านพะเยา จากศิลาจารึกที่พบได้ในวัดร้างกลางกว๊านพะเยาหรือในบริเวณหนองเต่า บอกว่า
สร้างในสมัยพระเจ้าติโลก โดย พญายุทธิษฐิระบุตรบุญธรรมพระเจ้าติโลก ราวปี พ.ศ. 2019-2029
เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแก่พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรล้านนา ในบริเวณที่เรียกว่า บวกสี่แจ่ง ( แอ่งน้ำ สี่ มุม = แอ่งน้ำรูปสี่เหลี่ยม; ผ้าสี่แจ่งคือผ้าเช็ดหน้า)
วัดศรีโคมคำ
ประธานในวิหารคือ พระเจ้าตนหลวง หมายถึงองค์พระใหญ่มาก หรือ หลวงพ่อโต ได้ยกเสาอินทขิล หรือเสากระดูกสันหลังพระพุทธรูปเมื่อ พ.ศ. 2067
ในสมัยพญายอดเชียงราย หรือท้าวยอดเมือง (หลานปู่พระเจ้าติโลก) ที่ครองล้านนาต่อจากพระเจ้าติโลกราช ตรงกับพญาเมืองยี่ครองเมืองพะเยา
ต่อมาสมัยของพระเมืองแก้ว แห่งล้านนา พระเมืองแก้วได้พระราชทานทองคำ 3000 เงิน 6000 มาสร้างวิหารครอบ " พระเจ้าตนหลวงทุ่งเอื้องเมืองพยาว "
ตำนานเรื่องพระเจ้าตนหลวง
ในสมัยพระพุทธกาล พญานาคได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้เกิดศรัทธาจะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ จึงนำทองคำมาให้ตายาย ที่มีบ้านอยู่ริมกว๊านพะเยา
สร้างเป็นพระพุทธรูปหน้าตักยาว 14 เมตร สูง 18 เมตร ใช้เวลาก่อสร้างราว 33 ปี จึงเสร็จ
ตำนานเรื่องทุ่งเอี้ยง
พระร่วงเจ้าเสด็จมาเมืองพะเยา เห็นพระนางอั้วเชียงแสน พระชายา พญางำเมือง ก็เกิดปฏิพัทธ์ จึงแปลงร่างเป็นพญางำเมือง เข้าห้องบรรทมพระนางอั้วเชียงแสน
พญางำเมืองทราบจึงสั่งให้ทหารตามจับ พระร่วงจึงแปลงเป็นนกเอี้ยงบินไป พ่อขุนงำเมืองก็เสกมนต์ทำให้นกเอี้ยงอ่อนกำลังตกลงไปในหนองน้ำ
หนองนั้นจึงได้ชื่อว่า “หนองเอี้ยง”
หลังจากบุเรงนองได้ยกทัพมาตีล้านนา ได้กวาดต้อนผู้คนที่ไม่ได้หนีกลับพม่าไปด้วย พะเยาถูกปล่อยให้รกร้าง เมื่อสงบก็มีคนเข้ามาอยู่ใหม่
จนอะแซหวุ่นกี้ยกทัพมา เจ้าเมืองฝาง เชียงราย พะเยา เมืองสาด พาผู้คนหนีไปอยู่ลำปาง และข้ารับราชการกับสยาม คนพะเยาไปอยู่ที่บ้านปงสนุกใต้
พะเยาก็ร้างไป 56 ปี ถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เจ้าหลวงมหาวงศ์ (เจ้าน้อยพุทธวงศ์ ณ ลำปาง) เป็น พระยาประเทศอุดรทิศ - ต้นตระกูลมหาวงศ์ ปกครองเมืองพะเยา และให้แบ่งคนจากลำปางมาฟื้นเมืองพะเยา
เมื่อพญาประเทศอุดรทิศถึงแก่พิราลัย ทรงโปรดเกล้าฯ เจ้ามหายศ ขึ้นครองเมืองพะเยาแทน และตั้งเจ้าบุรีรัตน์ขึ้นเป็นอุปราช
ท่านทั้งสองและเจ้าเมืองพะเยาต่อ ๆ มา ได้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระประธานพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำขึ้นใหม่ แต่ก็ยังไม่เสร็จ
จนได้อาราธรา พระคุณเจ้าครูบาศรีวิชัยมาเป็นประธาน จึงสำเร็จพร้อมทั้ง ก่อสร้างพระวิหารหลวงขึ้นใหม่และสำเร็จในปี พ.ศ. 2467
กว๊านพะเยา
เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ อันดับ 4 ของประเทศไทยรองจาก หนองหาน สกลนคร, บึงบอระเพ็ด นครสวรรค์ และบึงละหาน ชัยภูมิน้ำในกว๊าน ลึกประมาณ 1 ศอก ตอนกลางน้ำลึก 1 วา 3 ศอก รอบ ๆ เป็นป่าไผ่ และไม้กระยาเลย จะมีน้ำมากเฉพาะในฤดูฝน คือ เดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน ทำให้บวก ( แอ่งน้ำ ) และหนองน้ำ รอบ ๆ มากมายล้นมาบรรจบกันเป็นผืนน้ำกว้าง ใหญ่สองผืนคือ
กว๊านน้อย ทางทิศตะวันตก เป็นร่องน้ำจากน้ำแม่ตุ่น และ กว๊านหลวง อยู่ทางทิศตะวันออก ใกล้กับลำน้ำอิง ร่องผ่านกลางเชื่อมติดกัน เรียก แม่ร่องน้อยห่าง
พอหน้าแล้งน้ำก็แห้ง เหลือเป็นแค่ลำคลอง และแม่น้ำที่ไหลอยู่ จนชาวบ้านเดินไปหากันได้ หลังสร้างทำนบปี 2482 - 2484 จึงมีวัดที่จมน้ำอยู่หลายวัด
ลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง ไปตามหาไอติมกะทิริมกว๊าน - เลือกร้านที่รถจอดซื้อเยอะ
Pb place พี.บี.เพลส ที่พักที่เคยไปปลายปี 2565 เป็นตึกแถวห้องสุดท้ายติดกว๊านพะเยา มี สามห้อง สามแบบ ที่พักสะอาด วิวสวย
ติดร้านครัวออโรรา@กว๊าน ร้านอาหารริมกว๊าน อาหารอร่อย ดนตรีโฟล์คชิวๆ วิวสวย
วัดอนาลโย ไปย้อนความหลังที่ได้มาไหว้พระพุทธรูปทองคำเมื่อเกือบ 40 ปีที่แล้ว ปัจจุบันประดิษฐานอยู่บนหอพระแก้ว
(มีต่อในกล่องคอมเมนต์)
พะเยา - เที่ยวพะเยาตามใจฉัน
เดินทางมาทางตะวันออกเฉียงใต้ ถึง น.โขง ที่มีเมืองร้างชื่อ สุวรรณโคมคำ
ได้สร้างเมืองขึ้นใหม่ชื่อ นาคพันธ์ุสิงหนวตินคร = โยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสน
ต่อมาเมืองนาคพันธ์ุสิงหนวตินครล่มไปในหนอง
เกิดมีเทวดา ลงเกิ๋นจากสวรรค์ เนรมิตอาสนะเงินขึ้นประทับ และประกาศตัวเป็นกษัตริย์แบบโอปาติกะ - เกิดขึ้นเองไม่ได้เกิดจากพ่อแม่ ชื่อ ลวจังกราช
อยู่ไป ๆ ชาวบ้านชาวเมือง ถามกันว่า อาสนะเงินหายไปหรือยัง บางคนก็ตอบว่ายัง เป็นที่มาของชื่อ เงินยัง : ยัง ภาษาล้านนาแปลว่าอยู่
หรือ อีกทางเล่าว่า ได้รื้ออาสนะเงินมาทำเป็นเงินเจาะรู เรียก เงินยาง
มีพิธีสรงน้ำ ยกลวจังกราชขึ้นเป็นกษัตริย์ เปลี่ยนชื่อเมืองเป็น เหรัญ(เงิน)นคร
ได้ซื้อที่จากลาวจก (จก ก.ไก่) - ลัวะที่มีจอบ 500 แสดงถึงผู้มีอิทธิพลสูง เพื่อสร้างดอยตุงและให้ปู่ลาวจก ย่าลาวจกดูแลพระธาตุ
ลวจังกราช มีโอรส 2 องค์ ธิดา 1 องค์ องค์เล็กชื่อ ลาวเกลาแก้วมาเมือง ลาวเกลาแก้วมาเมือง ครองเมืองเหรัญนครเงินยาง ต่อจากบิดา
ต่อมาอีก 10 ชั่วท้าว ถึงท้าวลาวเคียง สร้างเมืองแม่สาย
ต่อมาอีก 11 ชั่วท้าว ถึงขุนลาวเงิน ขุนลาวเงินผู้ครองนครเงินยางเชียงแสน ราชวงค์ลวจังกราช
ดำริให้พระราชโอรส 2 องค์ คือ ขุนชิน ผู้พี่ให้ครองนครเงินยางเชียงแสน ขุนจอมธรรม ผู้น้องให้ไปปกครองหัวเมืองฝ่ายใต้
ขุนจอมธรรม แรกมาตั้งมั่น ที่เชียงหมั้นก่อนสร้างเมือง ได้ขุดคูจากแม่น้ำสายตามาใช้ถึงที่พักเรียกคลองแม่เหมือง - เหมือง ภาษาล้านนาแปลว่าร่องน้ำ
ยังคงมีวัดเชียงหมั้น และคลองแม่เหมือง ตำบลดงเจน อำเภอภูกามยาว
มีเมืองเก่า กว้าง 1000 วา ยาว 1200 วา ร่องกำแพงลึก 7 วา มีประตูเมือง 8 แห่ง
กำแพงทิศตะวันตกสูง - ติดน้ำ, ทิศตะวันออกต่ำ - ติดเนินเขา ตีนเขาข้างประตูตะวันออกมีไม้ 3 ต้น
มีสระใหญ่ 2 แห่ง ทางตะวันออกเฉียงเหนือ และทิศตะวันตกเฉียงเหนือ >> ตามคำภีร์บอกว่าเมืองนี้ชื่อ เมืองสีหราช
ขุนจอมธรรมจึงตั้งเมืองขึ้นที่ เมืองสีหราช เรียกว่าเวียงภูกามยาว
มีเขื่อนค่าย ปราการ กำแพง คูเมือง มีประตูใหญ่แปดช่อง ตามคัมภีร์ทักษาเมืองคือ ประตูไชย ประตูหอกลอง ประตูเหล็ก ประตูท่านาง ประตูสลี ประตูปราสาท ประตูท่าแป้น คือ เป็นประตูอยู่ในทิศกาลกิณี - นำศพออก ในเวลากลางคืน และ ประตูออมปอม
คือ เมืองงาว เมืองกาว สะเอียบ เชียงม่วน เมืองเทิง เมืองสระ เมืองออย สะสาว เมืองดอบ เชียงคำ เมืองลอ เมืองเชียงแลง เมืองหงาว แซ่เหียง แซ่ลุล ปากบ่อง เมืองป่าเป้า เมืองวัง แซ่ซ้อง เมืองปราบ แซ่ห่ม
จัดแสดงโบราณวัตถุ ในเมืองพะเยา อันบอกเรื่องราวในอดีตได้แจ่มชัดขึ้น เช่น
จารึกรูปใบเสมาส่วนบนมีรูปดวงฤกษ์บอกเวลาที่ทำการ
พระพุทธรูปที่มีจารึกที่ฐานสามองค์
มีข้อความกล่าวถึงคำสนทนาของ ... ลาวงำเมิง ... และ พะญาร่วง
พญามังราย พระร่วง และพญางำเมือง ทำสัญญาเป็นพันธมิตรกันที่บริเวณสบร่องขุย
เจ้าสามพระยาได้พระราชธิดาในพระมหาธรรมราชาที่ 2 ซึ่งพระโอรสของพญาลิไท) แห่งกรุงสุโขทัยเป็นพระมเหสี - เป็นการผนวกอาณาจักรโดยการอภิเษกสมรส
พระโอรสของเจ้าสามพระยาคือสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ได้ให้คำมั่นไว้กับ พระยายุทธิษฐิระ เพื่อนสนิทยามพระเยาว์ว่า ถ้าพระองค์ได้ขึ้นครองอยุธยา จะให้พระยายุทธิษฐิระครองสุโขทัย
เมื่อสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถครองอยุธยา กลับให้พระยายุทธิษฐิระไปครองสองแควที่เล็กกว่า แทนที่จะเป็นพระร่วงเจ้าสุโขทัย
พระยายุทธิษฐิระจึงไปเข้ากับพระเจ้าติโลกราช พระเจ้าติโลกได้ยกพญายุทธิษฐิระเป็นพระโอรสบุญธรรม และให้ครองเมืองพะเยา
พระพุทธศาสนาจึงได้รับการทำนุบำรุงมีความเจริญรุ่งเรือง มีการสร้างวัดหลายวัด
มีจารึกที่บอกถึงงานบุญที่ชนชั้นสูงได้ทำบุญอุทิศแก่พุทธศาสนาจำนวนมาก
มีการสร้างพระพุทธรูปหินทรายมากที่สุดในประเทศไทย เป็นพระพุทธรูปแกะจากหินทรายทั้งก้อน มีความละเอียด นิ่มนวล พระพักตร์กลมเป็นรูปไข่ ได้รับอิทธิพลสุโขทัย ส่วนใหญ่จะมีพระพักตร์ยิ้ม ไม่ได้แกะแต่ละส่วนแล้วเอามาต่อกันแบบอยุธยา
ฐานพระพุทธรูปนิยมทำรูปช้างแบกฐานบัว
ตั้งอยู่ในเวียงพยาว - เวียงรูปน้ำเต้า กว้างประมาณ 1,000 เมตร ยาวประมาณ 1,500 เมตร ส่วนหัวขั้วน้ำเต้ากว้างประมาณ 500 เมตร มีคันดินและคูน้ำล้อมรอบ มีแม่น้ำอิงไหลผ่านเวียงจากทิศใต้ไปทิศตะวันออก
จารึกวัดลี บอกว่าพ.ศ.2038 ซึ่งเป็นปีที่พญายอดเชียงรายสวรรคต หมื่นหน่อเทพครู ซึ่งเป็นเจ้าสี่หมื่นหรือเจ้าเมืองพะเยา ผู้เป็นราชครูของพญายอดเชียงรายได้ฝังเสมาวัดลี และถวายที่นาให้วัด เรียกว่า “นาจังหัน” คือที่นาที่คนทำนาจังหันต้องเสียภาษีให้วัด เป็นการบำรุงวัด
ลีแปลว่ากาด หรือตลาด แสดงว่าบริเวณวัดลีตั้งอยู่ที่ตลาด ใจกลางของชุมชน ในระยะเวลานั้น
เจ้าสี่หมื่นเป็นตำแหน่งเจ้าเมืองพยาว-ที่ได้รับการแต่งตั้งจากเชียงใหม่ ปรากฎครั้งแรกปี พ.ศ. 1954 โดยพญาสามฝั่งแกน - พระราชบิดาพระเจ้าติโลก
เมื่อล้านนา (คำว่าล้านนาใช้ตั้งแต่สมัยพระเจ้าติโลกเป็นต้นมา) ตกอยู่ในการปกครองของพม่า ประชาชนถูกข่มเหงจึงหนีไป ทำให้วัดส่วนใหญ่กลายเป็นวัดร้าง วัดลีก็เช่นกัน เป็นวัดร้างมาจนได้รับการบูรณปฎิสังขรณ์ครั้งใหญ่ และยกเป็นวัดอีกครั้งพ.ศ. 2463-2478 โดยพระครูบาศรีวิชัย ตนบญแห่งล้านนา มาเป็นผู้นำในการบูรณะ
เป็นโบราณสถานที่จมอยู่ในกว๊านพะเยา จากศิลาจารึกที่พบได้ในวัดร้างกลางกว๊านพะเยาหรือในบริเวณหนองเต่า บอกว่า
สร้างในสมัยพระเจ้าติโลก โดย พญายุทธิษฐิระบุตรบุญธรรมพระเจ้าติโลก ราวปี พ.ศ. 2019-2029
เพื่อเป็นการเทิดพระเกียรติแก่พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์ผู้ยิ่งใหญ่แห่งอาณาจักรล้านนา ในบริเวณที่เรียกว่า บวกสี่แจ่ง ( แอ่งน้ำ สี่ มุม = แอ่งน้ำรูปสี่เหลี่ยม; ผ้าสี่แจ่งคือผ้าเช็ดหน้า)
ประธานในวิหารคือ พระเจ้าตนหลวง หมายถึงองค์พระใหญ่มาก หรือ หลวงพ่อโต ได้ยกเสาอินทขิล หรือเสากระดูกสันหลังพระพุทธรูปเมื่อ พ.ศ. 2067
ในสมัยพญายอดเชียงราย หรือท้าวยอดเมือง (หลานปู่พระเจ้าติโลก) ที่ครองล้านนาต่อจากพระเจ้าติโลกราช ตรงกับพญาเมืองยี่ครองเมืองพะเยา
ต่อมาสมัยของพระเมืองแก้ว แห่งล้านนา พระเมืองแก้วได้พระราชทานทองคำ 3000 เงิน 6000 มาสร้างวิหารครอบ " พระเจ้าตนหลวงทุ่งเอื้องเมืองพยาว "
ตำนานเรื่องพระเจ้าตนหลวง
ในสมัยพระพุทธกาล พญานาคได้เข้าเฝ้าพระพุทธเจ้า ได้เกิดศรัทธาจะสร้างพระพุทธรูปองค์ใหญ่ จึงนำทองคำมาให้ตายาย ที่มีบ้านอยู่ริมกว๊านพะเยา
สร้างเป็นพระพุทธรูปหน้าตักยาว 14 เมตร สูง 18 เมตร ใช้เวลาก่อสร้างราว 33 ปี จึงเสร็จ
ตำนานเรื่องทุ่งเอี้ยง
พระร่วงเจ้าเสด็จมาเมืองพะเยา เห็นพระนางอั้วเชียงแสน พระชายา พญางำเมือง ก็เกิดปฏิพัทธ์ จึงแปลงร่างเป็นพญางำเมือง เข้าห้องบรรทมพระนางอั้วเชียงแสน
พญางำเมืองทราบจึงสั่งให้ทหารตามจับ พระร่วงจึงแปลงเป็นนกเอี้ยงบินไป พ่อขุนงำเมืองก็เสกมนต์ทำให้นกเอี้ยงอ่อนกำลังตกลงไปในหนองน้ำ
หนองนั้นจึงได้ชื่อว่า “หนองเอี้ยง”
หลังจากบุเรงนองได้ยกทัพมาตีล้านนา ได้กวาดต้อนผู้คนที่ไม่ได้หนีกลับพม่าไปด้วย พะเยาถูกปล่อยให้รกร้าง เมื่อสงบก็มีคนเข้ามาอยู่ใหม่
จนอะแซหวุ่นกี้ยกทัพมา เจ้าเมืองฝาง เชียงราย พะเยา เมืองสาด พาผู้คนหนีไปอยู่ลำปาง และข้ารับราชการกับสยาม คนพะเยาไปอยู่ที่บ้านปงสนุกใต้
พะเยาก็ร้างไป 56 ปี ถึงสมัยรัชกาลที่ 3 ได้โปรดเกล้าแต่งตั้งให้ เจ้าหลวงมหาวงศ์ (เจ้าน้อยพุทธวงศ์ ณ ลำปาง) เป็น พระยาประเทศอุดรทิศ - ต้นตระกูลมหาวงศ์ ปกครองเมืองพะเยา และให้แบ่งคนจากลำปางมาฟื้นเมืองพะเยา
เมื่อพญาประเทศอุดรทิศถึงแก่พิราลัย ทรงโปรดเกล้าฯ เจ้ามหายศ ขึ้นครองเมืองพะเยาแทน และตั้งเจ้าบุรีรัตน์ขึ้นเป็นอุปราช
ท่านทั้งสองและเจ้าเมืองพะเยาต่อ ๆ มา ได้บูรณะปฏิสังขรณ์องค์พระประธานพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำขึ้นใหม่ แต่ก็ยังไม่เสร็จ
จนได้อาราธรา พระคุณเจ้าครูบาศรีวิชัยมาเป็นประธาน จึงสำเร็จพร้อมทั้ง ก่อสร้างพระวิหารหลวงขึ้นใหม่และสำเร็จในปี พ.ศ. 2467
เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ อันดับ 4 ของประเทศไทยรองจาก หนองหาน สกลนคร, บึงบอระเพ็ด นครสวรรค์ และบึงละหาน ชัยภูมิน้ำในกว๊าน ลึกประมาณ 1 ศอก ตอนกลางน้ำลึก 1 วา 3 ศอก รอบ ๆ เป็นป่าไผ่ และไม้กระยาเลย จะมีน้ำมากเฉพาะในฤดูฝน คือ เดือนกรกฎาคม - พฤศจิกายน ทำให้บวก ( แอ่งน้ำ ) และหนองน้ำ รอบ ๆ มากมายล้นมาบรรจบกันเป็นผืนน้ำกว้าง ใหญ่สองผืนคือ
กว๊านน้อย ทางทิศตะวันตก เป็นร่องน้ำจากน้ำแม่ตุ่น และ กว๊านหลวง อยู่ทางทิศตะวันออก ใกล้กับลำน้ำอิง ร่องผ่านกลางเชื่อมติดกัน เรียก แม่ร่องน้อยห่าง
พอหน้าแล้งน้ำก็แห้ง เหลือเป็นแค่ลำคลอง และแม่น้ำที่ไหลอยู่ จนชาวบ้านเดินไปหากันได้ หลังสร้างทำนบปี 2482 - 2484 จึงมีวัดที่จมน้ำอยู่หลายวัด
ติดร้านครัวออโรรา@กว๊าน ร้านอาหารริมกว๊าน อาหารอร่อย ดนตรีโฟล์คชิวๆ วิวสวย