ถ้านักลงทุนมองว่าค่าแรงขั้นต่ำของไทยสูงแล้ว แต่ทำไมโรงงานเกือบทุกที่ถึงยังมีกำลังจ่ายเงินค่าสวัสดิการให้กับแรงงาน?

เห็นหลายคนบอกว่าถ้าไทยขึ้นค่าแรงขั้นต่ำมากกว่านี้
โรงงานจะย้ายฐานการผลิตนู่นนี่นั่น

ผมเองคนนึง ที่ทำงานอยู่โรงงานอุตสาหกรรม ในนิคมขนาดใหญ่แห่งหนึ่ง
(ผมไม่ได้เป็นพนักงานฝ่ายผลิตนะ ทำงานกินเงินเดือน)
ค่าแรงขั้นต่ำ อยู่ที่ 354 บาท/วัน
แต่เงินค่าสวัสดิการของแรงงานที่นี่
เช่น
ค่าอาหาร xx บาท/วัน,เดือน
ค่าอาหารโอที xx บาท/วัน
ค่ากะดึก xxx บาท/วัน
ค่าอาหารกะดึก xx บาท/วัน
ค่าเดินทาง xx บาท/วัน,เดือน
เบี้ยขยัน xx บาท/เดือน
และอื่นๆ
พอรวมกับค่าแรงขั้นต่ำ ตกวันละราวๆ 400-500 บาท
นี่ยังไม่รวมโอทีนะ
ถ้ารวมโอทีแล้ว จะตกวันละราวๆ 600-800 บาท

ผมถามคนรุ่นเก่าที่ทำงานมานานแล้วว่า
ช่วงปี 56 ที่มีการปรับค่าแรงขั้นต่ำ เป็น 300 บาท/วัน
เท่ากันทุกจังหวัดทั่วประเทศ ตอนนั้นเกิดอะไรขึ้นบ้าง
เขาบอกว่า
ก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร โรงงานก็ไม่ได้ปลดคนออก
การจ้างงานก็ปกติ รับสมัครคนเข้ามาทำงานตามปกติ
[Spoil] คลิกเพื่อดูข้อความที่ซ่อนไว้
เลยสงสัยและกังวลว่า โรงงานจะเกิดปัญหาอะไรขึ้นไหม? จะย้ายฐานการผลิตทันทีเลยเหรอ?

ถ้านักลงทุนมองว่าค่าแรงขั้นต่ำของไทยสูงแล้ว
แต่ทำไมโรงงานเกือบทุกที่ถึงยังมีกำลังจ่ายเงินค่าสวัสดิการต่างๆให้กับแรงงาน?
แก้ไขข้อความเมื่อ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 11
ตอบจากประสบการณ์ที่เคยทำงานในทีมบริหารธุรกิจระดับหมื่นล้านนะ ในโลกความเป็นจริงมันมีธุรกิจ หลายขนาด และ หลายวัตถุประสงค์เช่น ผลิตเพื่อส่งออก ผลิตเพื่อขายในประเทศ หรือทั้ง 2 แบบรวมกัน  แต่หลัก ๆ ของธุรกิจคือ การแสวงหาผลกำไรสูงที่สุด โดยปกติ ต้นทุนค่าแรงงานใรงงาน มันขึ้นอยู่กับขนาดอุตสาหกรรม อุตสาหกรรมขนาดเล็กจะมีต้นทุนต่อหน่วยของแรงงานสูงกว่า โรงงานขนาดใหญ่  เวลามีการปรับค่าแรง มันก็จะกระทบกับต้นทุน ซึ่ง อุตสาหกรรมขนาดเล็ก ซึ่งมีจำนวนมากมักจะโดนผลกระทบก่อน เพราะ ต้นทุนต่อหน่วยค่าแรงสูง และ ปกติ อุตสาหกรรมขนาดเล็กมักจะทำกำไรต่อหน่วยจากยอดขายได้น้อยกว่าโรงงานขนาดใหญ่ที่ผลิตสินค้าที่เป็นที่นิยมของตลาด  ดังนั้น การปรับค่าแรง มันคือการทำลายธุรกิจขนาดกลาง และเล็กให้สูญเสียขีดความสามารถในการแข่งขัน แล้วสุดท้ายต้องปิดตัวไป

ส่วนอุตสาหกรรมที่มุ่งเน้นการส่งออก พวกนี้มองหาต้นทุนที่ถูกที่สุดจากการผลิต ประเทศไหนต้นทุนแรงงานถูก ภาษีธุรกิจต่ำ ถึงจุดที่เขาคำนวณแล้วคุ้มต่อการย้ายฐาน เขาก็ทำทันที  จขกท. สามารถดูจากประเทศไทยเทียบกับเวียดนามได้ครับ  ปัจจุบัน GDP ของเวียดนาม โตขึ้นมามาก ๆ และเชื่อว่าอีกไม่กี่ปี เวียดนามจะมี ขนาดเศรษฐกิจเท่ากับประเทศไทย เพราะค่าแรงในเวียดนามถูกกว่าไทยมาก ๆ ดังนั้นนักลงทุนในโลกปัจจุบันเลือกที่จะลงทุนในเวียดนามแทนที่จะเลือกไทยอย่างเช่นในอดีต

สุดท้ายธุรกิจที่โดนผลกระทบน้อยที่สุดคือ ธุรกิจขนาดใหญ่ซึ่งผลิตสินค้าเป็นที่นิยมและขายในประเทศ บ. พวกนี้แทบไม่มีผลกระทบจากการขึ้นค่าแรง เพราะ สินค้าผลิตมาก็ขายให้คนไทย ซึ่งยังงัยคนไทยก็ต้องซื้อเพราะมันไมีมีทางเลือกอื่น ดังนั้นเวลาขึ้นค่าแรง เขาก็ขึ้นราคาสินค้าไปชดเชย ซึ่งบางทีก็ฉวยจังหวะ ช่วงชุลมุน ปรับราคาสินค้า ขึ้นในอัตราที่มากกว่าต้นทุนค่าแรงเพิ่มขึ้นเสียอีก

ดังนั้นการขึ้นค่าแรง ใครที่ทำงานอยู่ในอุตสาหกรรมสินค้าที่ขายในประเทศ จะไม่รู้สึกว่ามีผลกระทบ แต่ ส่วนอื่น ๆ โดนกันถ้วนหน้า

จากที่เล่ามาทั้งหมด ผมมองเห็นประเทศไทยในอีก 20 ปีข้างหน้าแทบจะไม่มีช่องทางการเติบโตอะไรที่เป็นความหวังเลยนะ ประกอบกับการเมืองไทยที่มุ่งเน้นหาเสียงจากการแจกเงิน การเพิ่มเงินให้กับคนจนฟรี ๆ โดยที่คนไม่ต้องทำอะไร แต่นักการเมืองได้คะแนนเสียงไปปกครองประเทศ  วิธีนี้มันกัดกร่อนสังคมไทยไปเรื่อย ๆ แบบที่คนไทยไม่ค่อยรู้สึกตัว เพราะขีดคงามสามารถประเทศมันลดลงทีละนิด ในขณะที่เพื่อนบ้าน และโลกมันปรับตัวขึ้น สิ่งนี้แหละที่น่ากลัวว่าคนรุ่นหลังกำลังจะอดตายเพราะความเห็นแก่ตัวของคนรุ่นปัจจุบันนี้แหละ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่