JJNY : โคราชเตรียมตั้งวอร์รูม│‘เชียงใหม่’กลับมายืนหนึ่งเมืองมลพิษ│หมูเถื่อนทุบเกษตรกรไทยเดี้ยง│จีนปาดเหงื่อ เจอหนี้เสีย

โคราช เตรียมตั้งวอร์รูมเฝ้าระวังโควิด จับตา 7 วันหลังสงกรานต์ คาดมีผู้ป่วยเพิ่ม
 
 
 
โคราช เตรียมตั้งวอร์รูมเฝ้าระวังโควิด จับตา 7 วันหลังสงกรานต์ คาดมีผู้ป่วยเพิ่ม เร่งรณรงค์ฉีดวัคซีนป้องกันกลุ่มเสี่ยง 608 ขณะที่เวทีปราศรัยการเมือง เดินต่อได้ไม่ต้องคัดกรอง
วันที่ 18 เม.ย.2566 นพ.สุผล ตติยนันทพร นพ.สสจ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า ช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา มีประชาชนชาวโคราชออกมาเล่นน้ำสงกรานต์กันเป็นจำนวนมาก ซึ่งเสี่ยงต่อการติดเชื้อโควิดเพิ่มอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ดังนั้นช่วงเที่ยงวันนี้ทางจ.นครราชสีมา จะมีการประชุมหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อเป็นวอร์รูมในการวางมาตรการป้องกันการระบาดของไวรัสโควิด-19 หลังสงกรานต์ขึ้น ที่ห้องประชุมสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด โดยมีนายสยาม ศิริมงคล ผวจ.นครราชสีมา เป็นประธาน
  
เบื้องต้นจะเป็นการรณรงค์ให้ประชาชนในกลุ่มเสี่ยง 608 มาฉีดวัคซีนป้องกันโควิด ณ จุดบริการของโรงพยาบาลต่างๆ ทั่วทั้ง 32 อำเภอ ขณะที่ในตัวเมืองนครราชสีมา ก็จะมีจุดฉีดวัคซีนหลักอยู่ที่ชั้น 4 ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่าโคราช ซึ่งผู้ที่รับเชื้อช่วงเทศกาลสงกรานต์อาจจะยังไม่มีอาการในช่วงนี้ ดังนั้นจึงขอให้ผู้ที่ไปเล่นน้ำสงกรานต์เฝ้าระวังหมั่นตรวจสอบอาการของตัวเอง ในช่วง 7 วันหลังสงกรานต์
 
โดยให้อยู่ห่างกลุ่มเสี่ยง 608 ไว้ เพื่อป้องกันไม่ให้นำเชื้อไปติดกลุ่มเสี่ยง ขณะเดียวกันหากมีอาการคล้ายเป็นหวัด ก็ขอให้ตรวจ ATK ด้วย ซึ่งขณะนี้ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ยังอยู่ในสถานการณ์ปกติ โรงพยาบาลต่างๆ ยังมีผู้ป่วยเข้ารับการรักษาไม่มากนัก ส่วนเรื่องการจัดเวทีปราศรัยช่วงก่อนถึงวันเลือกตั้งนั้น ทางกระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้มีข้อบังคับว่าจะต้องมีการตรวจคัดกรอง เพราะการตรวจคัดกรองเป็นมาตรการขั้นสูงสุด
 
แต่ช่วงนี้เราผ่อนคลายสถานการณ์ให้ประชาชนสามารถใช้ชีวิตได้ปกติ ดังนั้นจึงสามารถเดินหน้าจัดเวทีปราศรัยได้ตามปกติ เพียงแต่ว่าขอให้ประชาชนที่จะเดินทางไปร่วมฟังการปราศรัย พยายามตรวจคัดกรองตนเองไปตั้งแต่ที่บ้านก่อน เพื่อเป็นการรับผิดชอบต่อสังคม ส่วนเวทีปราศรัยของกลุ่มการเมืองต่างๆ สามารถเดินหน้าต่อไปได้ตามปกติ
 
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ นพ.เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผอ.รพ.มหาราชนครราชสีมา และหัวหน้าศูนย์วัคซีนโควิด-19 จ.นครราชสีมา เปิดเผยถึงสถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ ตั้งแต่วันที่ 13-16 เม.ย.2566 พบว่ามีจำนวนผู้ป่วยเข้าข่ายติดโควิด-19 เข้ามาตรวจในรพ. 187 ราย และได้รับการยืนยันผลแล้ว 19 ราย หรือคิดเป็น 10% ของผู้มาตรวจ ซึ่งมีผู้ป่วยที่ต้องนอนพักรักษาตัวที่โรงพยาบาลจำนวน 5 ราย โดยในจำนวนนี้มีผู้ป่วย 2 ในที่ต้องใช้เครื่องช่วยหายใจ



‘เชียงใหม่’ กลับมายืนหนึ่ง เมืองมลพิษแย่สุดในโลก ไฟป่ายังระอุทุกพื้นที่
https://www.dailynews.co.th/news/2227688/

กลับขึ้นมายืนอันดับ 1 "เชียงใหม่" คุณภาพอากาศแย่ที่สุดของโลก PM2.5 สูง 1,180 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนไฟป่ายังระอุทุกพื้นที่
  
เมื่อเวลา 09.00 น. วันที่ 18 เม.ย. 66 ผู้สื่อข่าวรายงานสภาพอากาศของจังหวัดเชียงใหม่ กลับขึ้นมายืนอันดับ 1 คุณภาพอากาศแย่ที่สุดของโลก จากการตรวจสอบ เว็บไซต์ https://www.iqair.com รายงานคุณภาพอากาศและการจัดอันดับเมืองที่มีมลพิษทางอากาศ US AQI พบว่าจังหวัดเชียงใหม่ มีค่า 1,180 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนการรายงานจากศูนย์บัญชาการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละอองขนาดเล็ก PM2.5 จังหวัดเชียงใหม่ พบความร้อน (Hotspot) ประจำวันที่ 18 เม.ย. 66 รอบเช้า จังหวัดเชียงใหม่ พบจุดความร้อน จำนวน 83 จุด จุดความร้อนสะสมตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. 66 ถึงปัจจุบัน ทั้งหมดจำนวน 11,858 จุด ยังเกิดในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ ป่าอนุรักษ์ เขต ส.ป.ก. และพื้นที่ชุมชนและอื่นๆ อำเภอฝางพบจุดความร้อนมากที่สุดจำนวน 25 จุด มี 3 อำเภอพบ 8 จุดเท่ากัน อำเภอพร้าว แม่อาย และเชียงดาว ตั้งแต่วันที่ 1 ม.ค. ถึงวันนี้ 18 เม.ย. 66 พื้นที่พบจุดความร้อนมากที่สุด ป่าอนุรักษ์ จำนวน 6,893 จุด เขตป่าสวนแห่งชาติจำนวน 4,575 จุด เขต ส.ป.ก. 222 จุด พื้นที่ชุมชน 124 จุด พื้นที่การเกษตร 42 จุด และพื้นที่ริมทางหลวง 2 จุด

เช่นเดียวกับการตรวจวัดคุณภาพของกรมควบคุมมลพิษ เว็บไซต์ http://air4thai.com ช่วงเวลา 08.00 น. มีค่า 55-133 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร พื้นที่มีค่าฝุ่นมากที่สุด ต.เมืองนะ อ.เชียงดาว จ.เชียงใหม่ พบปริมาณฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) มีค่า 133 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร พื้นที่ศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ ตำบลช้างเผือก อำเภอเมืองเชียงใหม่ มีค่าเท่ากัน 98 ไมโครกรัมต่อลูกบาศก์เมตร ส่วนพื้นที่กลางเมืองเชียงใหม่ ตำบลศรีภูมิ มีค่า 61 ไมโครกรัมต่อลูกเมตร และพื้นที่ดอยสุเทพ มีค่า 75 ไมโครกรัมต่อลูกเมตร



ราคาหมูดิ่ง เฉียดต่ำ 100 บาท/กก. หมูเถื่อนทุบเกษตรกรไทยเดี้ยง
https://www.prachachat.net/economy/news-1264840

ราคาหมูดิ่ง เกือบต่ำกว่า 100 บาทแล้ว แม้สงกรานต์การบริโภคเพิ่มขึ้น ด้านชมรมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดฉะเชิงเทรา ชี้หมูเถื่อนทุบราคาเกษตรกรไทยไม่ฟื้น เรียกร้องรัฐเปิดรายชื่อชิปปิ้งนำเข้าหมูเถื่อน-คนผิดต้องจ่ายค่าใช้จ่ายในการทำลายของกลางไม่ใช่ให้คนเสียหายลงขันทำลายเอง
 
วันที่ 17 เมษายน 2666 ผู้สื่อข่าว “ประชาชาติธุรกิจ” ลงพื้นที่สำรวจราคาเนื้อหมู พบว่า สถานการณ์ราคาหมูเนื้อแดงปรับลดลงอย่างมาก เหลือเฉลี่ย กก.ละ 109-110 บาท หากเทียบกับปี 2565 ราคาหมู ชำแหละขาย 190 บาท/กก. คิดเป็นการปรับลดลงประมาณ 50-60%

ขณะที่ราคาต้นทุนหมูเป็นหน้าฟาร์มล่าสุดที่สมาคมผู้เลี้ยงสุกรแห่งชาติ ประกาศวันพระ ที่ 13 เมษายน 2566 ทรงตัวเท่ากับงวดก่อนหน้า วันที่ 5 เมษายน 2566 กล่าวคือ
 
• ภาคตะวันตก 84 บาท/กก.
• ภาคตะวันออก 86-88 บาท/กก.
• ภาคอีสาน 88 บาท/กก.
• ภาคเหนือ 88 บาท/กก
• ภาคใต้ 86 บาท/กก.
 
ซึ่งหากเทียบกับปี 2565 ราคาหมูเป็นหน้าฟาร์ม 95 – 98 บาท/กก. ถือว่าราคาหน้าฟาร์มลดลง ประมาณ 10 บาท /กก.

สภาวะการค้าสุกรขุนทุกพื้นที่ราคายืนแข็ง เทศกาลท่องเที่ยวและสงกรานต์เป็นปัจจัยบวกต่อความต้องการบริโภค และคาดการณ์ต้นทุนไตรมาสที่ 2/2566 น่าจะย่อตัวช่วงปลายไตรมาสตามต้นทุนลูกสุกรพันธุ์ที่ปรับลดลง
ส่วนราคาลูกสุกรขุนเล็ก 16 กิโลกรัม วันจันทร์ ที่ 10 เมษายน 2566 อยู่ที่ 2,200 บาท บวก/ลบ 84 บาท
 
หมูเถื่อนระบาดหนัก
 
น.สพ.วรวุฒิ ศิริปุณย์ ประธานชมรมผู้เลี้ยงสุกรจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวว่า หมูเถื่อน ที่ลักลอบนำเข้ามา ขายในประเทศไทยอย่างผิดกฎหมายมายาวนานกว่าหนึ่งปี เบียดเบียนตลาดให้เกษตรกรผู้เลี้ยงหมูของไทยต้องเดือดร้อนและเข้าสู่ภาวะขาดทุน รวมถึงสร้างความเสี่ยงต่อการระบาดซ้ำของโรค ASF ที่เป็นสาเหตุหลักให้หมูไทยหายไปจากระบบจำนวนมาก ทั้งยังเป็นอันตรายต่อสุขภาพของคนไทยผู้บริโภคเนื้อหมูที่ไม่ผ่านการตรวจสอบความปลอดภัยอาหาร นับเป็นมะเร็งร้ายที่เกาะกินประเทศเรื่อยมา

เปิดรายชื่อชิปปิ้ง บี้จ่ายค่าทำลายของกลาง
 
แม้ว่าการติดตาม ตรวจสอบ จับกุม มีออกมาเป็นระยะก็จริง แต่กลับไม่สามารถทำให้กระบวนการหมูเถื่อนหายไปจากประเทศไทยได้อย่างเด็ดขาด เป็นที่น่าสังเกตว่าการจับกุมในแต่ละครั้งมีหลักฐานเช่น การตรวจสอบ ณ ท่าเรือแหลมฉบัง ที่มีการเปิดตู้คอนเทนเนอร์ตกค้างและพบหมูเถื่อนจำนวนมาก
ซึ่งอยากให้ภาครัฐ เปิดเผยชื่อชิปปิ้ง ทุกบริษัทที่นำเข้าหมูเถื่อน และต้องดำเนินคดี ต้องบังคับจ่ายค่าเสียหายในรูปแบบการปรับค่าทำลายซากหมูเถื่อนของกลาง จากชิปปิ้งเหล่านั้น ไม่ใช่เพียงการรอลงอาญา หรือปรับไม่กี่หมื่นบาท 

น.สพ.วรวุฒิ กล่าวเพิ่มเติมว่า การจะนำเข้าสินค้าใดๆ มาจนถึงท่าเรือไทยได้ ต้องผ่านขั้นตอนมากมาย ที่สำคัญ ต้องมีการระบุชื่อ “ชิปปิ้ง“ หรือผู้นำเข้า รวมถึงชื่อเจ้าของสินค้าในตู้นั้น ๆ ลงในเอกสารนำเข้า-ส่งออก ซึ่งจะทำหน้าที่ติดต่อกับหน่วยงานกรมศุลกากร เพื่อผ่านพิธีการศุลกากรซึ่งมีความซับซ้อน

รวมถึงให้บริการอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการนำเข้าและส่งออกสินค้า เพื่อประกอบการผ่านพิธีการ และทำการตรวจปล่อยสินค้า ตลอดจนดำเนินการจัดส่งสินค้าถึงปลายทาง สำหรับสินค้านำเข้า ดังนั้นทางกรมศุลกากร น่จะมีรายชื่อของคนเหล่านี้อยู่ในมือ
 
นอกจากนี้ เมื่อถึงเวลาฝังทำลายของกลางผิดกฏหมายกลับกลายเป็นว่าผู้เสียหาย ต้องลงขันช่วยค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ ทั้งๆที่เกษตรกรผู้เลี้ยงหมู เป็นผู้ที่เสียหายจากการถูกหมูผิดกฎหมายเบียดเบียน ต้องหวาดหวั่นกับเชื้อโรคที่อาจกลับมา แล้วยังต้องมาเสียค่าใช้จ่ายพวกนี้ เป็นต้นทุนแฝงที่ไม่ควรต้องแบกรับ
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่