——เพราะมนุษย์มีอวิชชาจึงมีการปรุงแต่งเหตุปัจจัยให้เกิดทุกข์——
จิต คือ "สภาวะรู้"
เจตสิก คือ "สิ่งที่ถูกรู้" หรือ "สิ่งที่จิตเข้าไปรู้"
การศึกษาเรื่องจิตและเจตสิกให้เข้าใจไม่ต้องมองอื่นไกลเลย เพียงรู้ว่ากำลังอกหัก รู้ว่ากำลังเครียด รู้ว่ากำลังเบื่อ รู้ว่ากำลังอิจฉา "รู้ว่าอะไรเป็นอะไร" นั่นแหละ เรากำลังวิเคราะห์หรือแยกแยะจิตกับเจตสิกอยู่
"รู้ว่า" หมายความถึง "จิต"
ส่วนที่เป็นความอกหัก ความเครียด ความเบื่อ ความอิจฉา ความโกรธ ฯลฯ ทั้งหลายที่เรามีสภาวะรู้เห็นมันนั้น ล้วนเป็น "เจตสิก"
ตามธรรมชาติของจิตมนุษย์ซึ่งมีทุกข์นั้นมักเหมารวมจิตกับเจตสิกเป็นสิ่งเดียวกัน (ไม่มองให้มันเป็นของคู่กัน) พุทธศาสนาเรียกการเหมารวมในลักษณะนี้ว่า "อวิชชา" ซึ่งหมายถึง "ความไม่รู้" ซึ่งความไม่รู้ตรงนี้แหละที่ปรุงแต่งเหตุปัจจัยให้เรารู้สึกว่ามี "ตัวเรา" ซึ่งเป็นอัตตาเกิดขึ้น (ชาติ) เมื่อมีตัวเรา มันก็ไม่พ้นความทุกข์เป็นของเรา เราเป็นผู้ทุกข์ ตัวเราเจ็บปวดเหลือเกิน ตัวเราเกลียดเหลือเกิน เปรียบดังตัวเราเป็นที่ตั้งของไฟให้เผาไหม้ ถ้าไม่มีตัวเราไฟจะไหม้แต่ที่ไหน สภาวะซึ่งดับความร้อนตรงนี้เรียกว่า "นิพพาน" หรือ "จิตบริสุทธิ์" คือ เป็นสภาวะรู้ว่าอะไรเป็นอะไรล้วนๆ ปราศจากอวิชชาเหมือนที่บอกมาแล้ว
ทั้งนี้ เราต้องทำความเข้าใจให้ถี่ถ้วนอีกว่า จิตกับเจตสิกนั้นเป็นสิ่งที่ต้องมาคู่กัน (ไม่ใช่รวมกัน) เป็นธรรมชาติ จิตรู้ รู้ว่าอะไรเป็นอะไร รู้ว่าความรู้สึกไหน เรา "แยกแยะ" ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ใช่ "แยกขาด" ไม่ให้มีเจตสิก ไม่ให้มีความรู้สึกอะไรเลย สภาวะรู้คือการสังเกตความเป็นไป ไม่ฝืนเกร็ง ไม่บีบบังคับให้ทุกข์หายไป เพียงแค่รู้เท่านั้น ทุกข์ก็ดับลงแล้ว จิตบริสุทธิ์นี่เป็นอย่างนี้
.
.
—————————
.
.
——เหตุปัจจัยซึ่งอาศัยกันและกันแล้วเกิดขึ้นเป็นทุกข์——
เพราะมีความไม่รู้ (อวิชชา) จึงมีการปรุงแต่งเหตุปัจจัยทั้งหลาย (สังขาร) ให้ต้องเป็นทุกข์
เพราะมีการปรุงแต่ง (สังขาร) การรู้แจ้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (วิญญาณ) ก็พร้อมรับรู้ในทางที่เป็นทุกข์
เพราะการรับรู้นั้น (วิญญาณ) พร้อมที่จะรับรู้อย่างเป็นทุกข์ ชีวิต (นามรูป) ซึ่งประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ คือ อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งภายใน-ภายนอก , ความรู้สึก , ความจำได้หมายรู้ , ความตั้งใจ , การกระทบ-สัมผัส และการพิจารณาไตร่ตรองต่างๆ เหล่านี้ก็พร้อมเป็นทุกข์
เพราะชีวิต (นามรูป) พร้อมที่จะเป็นทุกข์ ประตูสู่การรับรู้ซึ่งประกอบด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็เตรียมรับสัมผัสกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางร่างกาย และเรื่องราวต่างๆที่ถูกนึกคิด (สฬายตนะ)
เมื่อประตูสู่การรับรู้ได้รับสัมผัสกับคู่เหล่านั้น เรียกว่า “ผัสสะ” คือ ตาที่เห็นรูปจะรู้ว่ารูปนั้นเป็นอย่างไร หูที่ได้ยินเสียงจะรู้ว่าเสียงนั้นเป็นแบบไหน จมูกที่รับกลิ่นจะรู้ว่ากลิ่นนั้นเป็นอย่างไร ลิ้นที่ลิ้มรสจะรู้ว่ารสนั้นรสอะไร กายได้สัมผัสกับอะไรบางอย่างจะรู้ว่าสิ่งที่สัมผัสนั้นเป็นอย่างไร และความนึกคิดที่นึกไปยังเรื่องราวต่างๆ เรื่องราวนั้นเป็นอย่างไร
เพราะมีผัสสะ จึงมีความรู้สึก (เวทนา) ต่างๆเกิดขึ้นตามมา คือ ความพอใจ-ไม่พอใจ
เพราะมีความรู้สึก (เวทนา) คือความพอใจ-ไม่พอใจ จึงมีความอยากในความรู้สึกนั้น (ตัณหา) ถ้าพอใจก็อยากได้หรืออยากมีอยากเป็น ถ้าไม่พอใจก็อยากไม่ได้หรืออยากไม่มีอยากไม่เป็น เช่นว่า เห็นผู้หญิงสวยแล้วเกิดความพอใจก็อยากได้ เห็นงูแล้วเกิดความไม่พอใจก็อยากฆ่ามันหรืออยากไม่ให้มันเข้ามาใกล้ ได้ยินเสียงเพลงแล้วเกิดความพอใจก็อยากฟังต่อ ได้ยินคนด่าแล้วเกิดความไม่พอใจก็อยากเข้าทะเลาะวิวาทหรืออยากออกห่างจากคนด่า
เพราะมีความอยาก (ตัณหา) ความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) จึงเกิดขึ้น
เพราะมีความยึดมั่นถือมั่นเกิดขึ้น (อุปาทาน) ความมี-ความเป็น (ภพ) "ตัวเรา" ก็ค่อยๆเกิดขึ้น ถ้ายึดมั่นถือมั่นในความอยากฆ่าคน ตัวเราก็จะเป็นฆาตกร , ถ้ายึดมั่นถือมั่นในความอยากฆ่าสัตว์ ตัวเราก็จะเป็นนายพราน , ถ้ายึดมั่นถือมั่นในความอยากในเสียงที่ไพเราะ ตัวเราก็จะเป็นคนธรรพ์ , ถ้ายึดมั่นถือมั่นในความอยากในความชิมแล้วชิมอีกในรสชาติอาหารอร่อย ตัวเราก็จะเป็นเทวดา , ถ้ายึดมั่นถือมั่นในความอยากในความสะอิดสะเอียนออกจากรสชาติที่ไม่อร่อย ตัวเราก็เป็นเปรต
เพราะมีความมี-ความเป็น (ภพ) ความรู้สึกว่ามี "ตัวเรา" (ชาติ) จึงเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์
เมื่อมี "ตัวเรา" (ชาติ) ก็มีตัวเราผู้แก่ (ชรา) , ตัวเราผู้ตาย (มรณะ) , ตัวเราผู้เหี่ยวแห้ง (โสกะ) , ตัวเราผู้คร่ำครวญ (ปริเทวะ) , ตัวเราผู้บีบคั้นดิ้นรน (ทุกขะ) , ตัวเราผู้เศร้าโศกเสียใจ (โทมนัส) ,ตัวเราผู้คับแค้นใจ (อุปายาส) โดยย่อคือการเกิดขึ้นของกองทุกข์จึงมีขึ้นพร้อม
.
.
—————————
.
.
——ความดับไม่เหลือของทุกข์——
"นิพพาน" คือ ความดับสนิทของทุกข์
“สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” หมายถึง สิ่งทั้งปวงเป็น "อนัตตา"
อนัตตา คือ ความปราศจากตัวตน
นิพพานเองก็ต้องเป็นอนัตตา เพราะการดับสนิทของทุกข์นั้น "ตัวผู้ดับ" จะมีไม่ได้
ตัวเราไม่ได้มีแต่แรก เราคือผลสืบเนื่องจากตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของพ่อแม่ที่ไปพบกันเข้า เกิดความรู้สึกรักใคร่พอใจต่อกัน แล้วก็มาสืบพันธุ์กัน จากอสุจิก็ค่อยๆก่อรูปเป็นอวัยวะส่วนต่างๆ เป็นเนื้อหนังขึ้นมา เมื่อออกมาจากช่องคลอดได้ เราก็ถูกหมายมั่นว่าเรามีชื่อนี้ เกิดวันนี้ มีตำหนิตามร่างกายอย่างนี้นี่เป็นตัวเรา พอมันรู้ประสาขึ้นมาก็ยึดมั่นถือมั่นต่อว่า หน้าตาอย่างนี้ ลักษณะการพูดการแสดงออกแบบนี้คือตัวเรา วันวานผ่านไป ร่างกายและจิตใจนี้ก็เปลี่ยนแปลง หนังค่อยๆเหี่ยว สายตาพล่าเลือน โรคเริ่มรุมเร้า ลมหายใจก็หยุดลง อุณหภูมิของร่างกายก็ปรับลง ผ่านไปสักระยะหนึ่งแบคทีเรียก็ทำให้ร่างส่งกลิ่นเหม็นเน่า หนอนค่อยๆซอนไซ เป็นอาหารให้สัตว์อื่นๆประทังชีวิต เหลือโครงกระดูก บางส่วนของร่างก็กลายเป็นปุ๋ยดินเพื่อให้ต้นไม้เจริญเติบโตต่อไป
การเกิดมีขึ้นเพราะเรารู้สึกว่ามี "ตัวผู้เกิด" การตายไม่มีความหมายเลยถ้าไม่มี "ตัวผู้ตาย" สิ่งทั้งหลายก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งซึ่งกันและกัน “ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย นี่คือชื่อเรียกหนึ่งของนิพพาน”
ถ้าร่างกายและจิตใจนี้เป็นตัวเรา เป็นของเราจริงๆ เราก็ต้องบังคับบัญชาให้มันเป็นดั่งความอยากของเราได้ เป็นมะเร็งก็สั่งให้เนื้อร้ายสลายไปได้ อ้วนก็สั่งให้ผอมลงได้ สายตาสั้นก็สั่งให้มันปกติได้ เพราะบังคับไม่ได้นี่คือชื่อเรียกหนึ่งของอนัตตา
การมีชื่อ การมีคำสรรพนามเรียกแทน ตัวเรา ตัวเขา พวกเรา พวกเขา ทั้งหลายเหล่านี้เป็นแต่เพียงการสมมุติขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ ง่ายต่อการทำงานร่วมกันในสังคม
เขาว่า “ก็ในเมื่อไม่มีตัวเรา แล้วทำไมยังต้องมีการหาเงิน หรือวิธีคิดอย่างกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ในสิ่งของ” นั่นก็เพราะ มนุษย์มีกลไกในการปกป้องชีวิตของตนเอง อาหารช่วยคลายความหิว เครื่องนุ่งห่มช่วยรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้อุ่น เงินนั้นใช้หาปัจจัยที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและปัจจัยที่เราสามารถใช้มันได้อย่างรู้เท่าทัน กรรมสิทธิ์เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะต่อรองทางการค้าหรือแลกเปลี่ยนทางการค้า
การมีปัญญาเห็นแจ้งอนัตตาจะทำให้ความทุกข์ไม่มีที่ยืน เมื่อก่อนนี้ทุกข์มีขึ้นเพราะมีเราเป็นตัวตั้ง ถ้าไม่มีเรา ทุกข์จะตั้งอยู่บนไหน เกิดแต่ที่ไหน "ไม่มีตัวผู้ทุกข์" ไม่มีที่ตั้งของไฟให้เผาไหม้ เป็นความเย็น เป็นความดับสนิทของทุกข์ นี่เรียกว่า "นิพพาน"
ใบไม้กำมือเดียว
จิต คือ "สภาวะรู้"
เจตสิก คือ "สิ่งที่ถูกรู้" หรือ "สิ่งที่จิตเข้าไปรู้"
การศึกษาเรื่องจิตและเจตสิกให้เข้าใจไม่ต้องมองอื่นไกลเลย เพียงรู้ว่ากำลังอกหัก รู้ว่ากำลังเครียด รู้ว่ากำลังเบื่อ รู้ว่ากำลังอิจฉา "รู้ว่าอะไรเป็นอะไร" นั่นแหละ เรากำลังวิเคราะห์หรือแยกแยะจิตกับเจตสิกอยู่
"รู้ว่า" หมายความถึง "จิต"
ส่วนที่เป็นความอกหัก ความเครียด ความเบื่อ ความอิจฉา ความโกรธ ฯลฯ ทั้งหลายที่เรามีสภาวะรู้เห็นมันนั้น ล้วนเป็น "เจตสิก"
ตามธรรมชาติของจิตมนุษย์ซึ่งมีทุกข์นั้นมักเหมารวมจิตกับเจตสิกเป็นสิ่งเดียวกัน (ไม่มองให้มันเป็นของคู่กัน) พุทธศาสนาเรียกการเหมารวมในลักษณะนี้ว่า "อวิชชา" ซึ่งหมายถึง "ความไม่รู้" ซึ่งความไม่รู้ตรงนี้แหละที่ปรุงแต่งเหตุปัจจัยให้เรารู้สึกว่ามี "ตัวเรา" ซึ่งเป็นอัตตาเกิดขึ้น (ชาติ) เมื่อมีตัวเรา มันก็ไม่พ้นความทุกข์เป็นของเรา เราเป็นผู้ทุกข์ ตัวเราเจ็บปวดเหลือเกิน ตัวเราเกลียดเหลือเกิน เปรียบดังตัวเราเป็นที่ตั้งของไฟให้เผาไหม้ ถ้าไม่มีตัวเราไฟจะไหม้แต่ที่ไหน สภาวะซึ่งดับความร้อนตรงนี้เรียกว่า "นิพพาน" หรือ "จิตบริสุทธิ์" คือ เป็นสภาวะรู้ว่าอะไรเป็นอะไรล้วนๆ ปราศจากอวิชชาเหมือนที่บอกมาแล้ว
ทั้งนี้ เราต้องทำความเข้าใจให้ถี่ถ้วนอีกว่า จิตกับเจตสิกนั้นเป็นสิ่งที่ต้องมาคู่กัน (ไม่ใช่รวมกัน) เป็นธรรมชาติ จิตรู้ รู้ว่าอะไรเป็นอะไร รู้ว่าความรู้สึกไหน เรา "แยกแยะ" ว่าอะไรเป็นอะไร ไม่ใช่ "แยกขาด" ไม่ให้มีเจตสิก ไม่ให้มีความรู้สึกอะไรเลย สภาวะรู้คือการสังเกตความเป็นไป ไม่ฝืนเกร็ง ไม่บีบบังคับให้ทุกข์หายไป เพียงแค่รู้เท่านั้น ทุกข์ก็ดับลงแล้ว จิตบริสุทธิ์นี่เป็นอย่างนี้
.
.
—————————
.
.
——เหตุปัจจัยซึ่งอาศัยกันและกันแล้วเกิดขึ้นเป็นทุกข์——
เพราะมีความไม่รู้ (อวิชชา) จึงมีการปรุงแต่งเหตุปัจจัยทั้งหลาย (สังขาร) ให้ต้องเป็นทุกข์
เพราะมีการปรุงแต่ง (สังขาร) การรู้แจ้งทางตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ (วิญญาณ) ก็พร้อมรับรู้ในทางที่เป็นทุกข์
เพราะการรับรู้นั้น (วิญญาณ) พร้อมที่จะรับรู้อย่างเป็นทุกข์ ชีวิต (นามรูป) ซึ่งประกอบด้วยร่างกายและจิตใจ คือ อวัยวะน้อยใหญ่ทั้งภายใน-ภายนอก , ความรู้สึก , ความจำได้หมายรู้ , ความตั้งใจ , การกระทบ-สัมผัส และการพิจารณาไตร่ตรองต่างๆ เหล่านี้ก็พร้อมเป็นทุกข์
เพราะชีวิต (นามรูป) พร้อมที่จะเป็นทุกข์ ประตูสู่การรับรู้ซึ่งประกอบด้วยตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจ ก็เตรียมรับสัมผัสกับรูป เสียง กลิ่น รส สัมผัสทางร่างกาย และเรื่องราวต่างๆที่ถูกนึกคิด (สฬายตนะ)
เมื่อประตูสู่การรับรู้ได้รับสัมผัสกับคู่เหล่านั้น เรียกว่า “ผัสสะ” คือ ตาที่เห็นรูปจะรู้ว่ารูปนั้นเป็นอย่างไร หูที่ได้ยินเสียงจะรู้ว่าเสียงนั้นเป็นแบบไหน จมูกที่รับกลิ่นจะรู้ว่ากลิ่นนั้นเป็นอย่างไร ลิ้นที่ลิ้มรสจะรู้ว่ารสนั้นรสอะไร กายได้สัมผัสกับอะไรบางอย่างจะรู้ว่าสิ่งที่สัมผัสนั้นเป็นอย่างไร และความนึกคิดที่นึกไปยังเรื่องราวต่างๆ เรื่องราวนั้นเป็นอย่างไร
เพราะมีผัสสะ จึงมีความรู้สึก (เวทนา) ต่างๆเกิดขึ้นตามมา คือ ความพอใจ-ไม่พอใจ
เพราะมีความรู้สึก (เวทนา) คือความพอใจ-ไม่พอใจ จึงมีความอยากในความรู้สึกนั้น (ตัณหา) ถ้าพอใจก็อยากได้หรืออยากมีอยากเป็น ถ้าไม่พอใจก็อยากไม่ได้หรืออยากไม่มีอยากไม่เป็น เช่นว่า เห็นผู้หญิงสวยแล้วเกิดความพอใจก็อยากได้ เห็นงูแล้วเกิดความไม่พอใจก็อยากฆ่ามันหรืออยากไม่ให้มันเข้ามาใกล้ ได้ยินเสียงเพลงแล้วเกิดความพอใจก็อยากฟังต่อ ได้ยินคนด่าแล้วเกิดความไม่พอใจก็อยากเข้าทะเลาะวิวาทหรืออยากออกห่างจากคนด่า
เพราะมีความอยาก (ตัณหา) ความยึดมั่นถือมั่น (อุปาทาน) จึงเกิดขึ้น
เพราะมีความยึดมั่นถือมั่นเกิดขึ้น (อุปาทาน) ความมี-ความเป็น (ภพ) "ตัวเรา" ก็ค่อยๆเกิดขึ้น ถ้ายึดมั่นถือมั่นในความอยากฆ่าคน ตัวเราก็จะเป็นฆาตกร , ถ้ายึดมั่นถือมั่นในความอยากฆ่าสัตว์ ตัวเราก็จะเป็นนายพราน , ถ้ายึดมั่นถือมั่นในความอยากในเสียงที่ไพเราะ ตัวเราก็จะเป็นคนธรรพ์ , ถ้ายึดมั่นถือมั่นในความอยากในความชิมแล้วชิมอีกในรสชาติอาหารอร่อย ตัวเราก็จะเป็นเทวดา , ถ้ายึดมั่นถือมั่นในความอยากในความสะอิดสะเอียนออกจากรสชาติที่ไม่อร่อย ตัวเราก็เป็นเปรต
เพราะมีความมี-ความเป็น (ภพ) ความรู้สึกว่ามี "ตัวเรา" (ชาติ) จึงเกิดขึ้นอย่างสมบูรณ์
เมื่อมี "ตัวเรา" (ชาติ) ก็มีตัวเราผู้แก่ (ชรา) , ตัวเราผู้ตาย (มรณะ) , ตัวเราผู้เหี่ยวแห้ง (โสกะ) , ตัวเราผู้คร่ำครวญ (ปริเทวะ) , ตัวเราผู้บีบคั้นดิ้นรน (ทุกขะ) , ตัวเราผู้เศร้าโศกเสียใจ (โทมนัส) ,ตัวเราผู้คับแค้นใจ (อุปายาส) โดยย่อคือการเกิดขึ้นของกองทุกข์จึงมีขึ้นพร้อม
.
.
—————————
.
.
——ความดับไม่เหลือของทุกข์——
"นิพพาน" คือ ความดับสนิทของทุกข์
“สพฺเพ ธมฺมา อนตฺตา” หมายถึง สิ่งทั้งปวงเป็น "อนัตตา"
อนัตตา คือ ความปราศจากตัวตน
นิพพานเองก็ต้องเป็นอนัตตา เพราะการดับสนิทของทุกข์นั้น "ตัวผู้ดับ" จะมีไม่ได้
ตัวเราไม่ได้มีแต่แรก เราคือผลสืบเนื่องจากตา หู จมูก ลิ้น กาย และใจของพ่อแม่ที่ไปพบกันเข้า เกิดความรู้สึกรักใคร่พอใจต่อกัน แล้วก็มาสืบพันธุ์กัน จากอสุจิก็ค่อยๆก่อรูปเป็นอวัยวะส่วนต่างๆ เป็นเนื้อหนังขึ้นมา เมื่อออกมาจากช่องคลอดได้ เราก็ถูกหมายมั่นว่าเรามีชื่อนี้ เกิดวันนี้ มีตำหนิตามร่างกายอย่างนี้นี่เป็นตัวเรา พอมันรู้ประสาขึ้นมาก็ยึดมั่นถือมั่นต่อว่า หน้าตาอย่างนี้ ลักษณะการพูดการแสดงออกแบบนี้คือตัวเรา วันวานผ่านไป ร่างกายและจิตใจนี้ก็เปลี่ยนแปลง หนังค่อยๆเหี่ยว สายตาพล่าเลือน โรคเริ่มรุมเร้า ลมหายใจก็หยุดลง อุณหภูมิของร่างกายก็ปรับลง ผ่านไปสักระยะหนึ่งแบคทีเรียก็ทำให้ร่างส่งกลิ่นเหม็นเน่า หนอนค่อยๆซอนไซ เป็นอาหารให้สัตว์อื่นๆประทังชีวิต เหลือโครงกระดูก บางส่วนของร่างก็กลายเป็นปุ๋ยดินเพื่อให้ต้นไม้เจริญเติบโตต่อไป
การเกิดมีขึ้นเพราะเรารู้สึกว่ามี "ตัวผู้เกิด" การตายไม่มีความหมายเลยถ้าไม่มี "ตัวผู้ตาย" สิ่งทั้งหลายก็เป็นไปตามเหตุปัจจัยที่ปรุงแต่งซึ่งกันและกัน “ไม่มีการเกิด ไม่มีการตาย นี่คือชื่อเรียกหนึ่งของนิพพาน”
ถ้าร่างกายและจิตใจนี้เป็นตัวเรา เป็นของเราจริงๆ เราก็ต้องบังคับบัญชาให้มันเป็นดั่งความอยากของเราได้ เป็นมะเร็งก็สั่งให้เนื้อร้ายสลายไปได้ อ้วนก็สั่งให้ผอมลงได้ สายตาสั้นก็สั่งให้มันปกติได้ เพราะบังคับไม่ได้นี่คือชื่อเรียกหนึ่งของอนัตตา
การมีชื่อ การมีคำสรรพนามเรียกแทน ตัวเรา ตัวเขา พวกเรา พวกเขา ทั้งหลายเหล่านี้เป็นแต่เพียงการสมมุติขึ้นเพื่อให้ง่ายต่อการสื่อสารให้เกิดความเข้าใจ ง่ายต่อการทำงานร่วมกันในสังคม
เขาว่า “ก็ในเมื่อไม่มีตัวเรา แล้วทำไมยังต้องมีการหาเงิน หรือวิธีคิดอย่างกรรมสิทธิ์ในที่ดิน ในสิ่งของ” นั่นก็เพราะ มนุษย์มีกลไกในการปกป้องชีวิตของตนเอง อาหารช่วยคลายความหิว เครื่องนุ่งห่มช่วยรักษาอุณหภูมิในร่างกายให้อุ่น เงินนั้นใช้หาปัจจัยที่จำเป็นต่อการใช้ชีวิตและปัจจัยที่เราสามารถใช้มันได้อย่างรู้เท่าทัน กรรมสิทธิ์เป็นเครื่องมือหนึ่งที่จะต่อรองทางการค้าหรือแลกเปลี่ยนทางการค้า
การมีปัญญาเห็นแจ้งอนัตตาจะทำให้ความทุกข์ไม่มีที่ยืน เมื่อก่อนนี้ทุกข์มีขึ้นเพราะมีเราเป็นตัวตั้ง ถ้าไม่มีเรา ทุกข์จะตั้งอยู่บนไหน เกิดแต่ที่ไหน "ไม่มีตัวผู้ทุกข์" ไม่มีที่ตั้งของไฟให้เผาไหม้ เป็นความเย็น เป็นความดับสนิทของทุกข์ นี่เรียกว่า "นิพพาน"