ทำอย่างไรจะเปลี่ยนความคิดของลูกได้ ในการเลือกทำงาน สถานที่ทำงาน

ลูกจบ มหาลัยฯ แต่ชอบทำงานประเภทร้านอาหาร อยากทำงานเป็นกุ๊กหรือคนทำอาหาร  (เคยทำงาน หาเงินพิเศษร้านอาหารตั้งแต่อยู่ ปี 2- จนจบ) 
ตอนที่สอบเข้า มหาลัยฯ ก็อยากจะเข้าเรียน คหกรรมศาสตร์ แต่โน๊มน้าวให้ไปเรียนสาขาอื่น
จบออกมาสมัครงานร้านอาหารญี่ปุ่นชั้นนำในห้างสรรพสินค้า ได้ทำงาน และพอได้ประสพการณ์บ้างแล้ว
ตอนนี้เห็นส่งสมัครงาน  ร้านอาหารอื่นอีก รวมถึงงานอาหารในโรงแรม ซึ่งก็โทรมาให้ไปสัมภาษณ์อยู่บ่อยครั้ง
ไม่สนใจงานประเภทสำนักงาน หรือบริษัท โรงงาน หรือราชการบ้างเลยตามที่เรียนมาบ้างเลย

คำถามคือ จะมีวิธีโน๊มน้าวใจของลูกให้เปลี่ยนสายงาน ไปแนวอื่นอย่างไรได้บ้าง(ไม่ใช่ว่าร้านอาหารไม่ดี)
เข้าใจว่าลูกโตแล้ว และก็เคารพการตัดสินใจของลูก ในสายงานนี้ลูกก็ทำได้ดีด้วย
แต่อยากให้เขามีวันหยุดที่แน่นอน ได้อยู่พร้อมหน้าพร้อมตาในครอบครัวในวันหยุด (มีลูกคนเดียว)

น้อมรับทุกคำแนะนำ ขอบคุณครับ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 2
บอกเขาตามที่คุณพ่อเล่าในกระทู้นี่แหละครับ ว่าอยากมีเวลาอยู่กับลูก

จะบอกว่าบางทีเด็กเขาก็ดูออกนะครับว่าพ่อแม่ไม่สื่อสารตรงกับเขา การที่พ่อแม่พยายามโน้มน่าว อ้อมค้อม ฯลฯ มันกระตุ้นต่อมดื้อให้เขาได้ง่ายด้วย

แต่ถ้าพ่อแม่กล้าเปิดใจพูดความรู้สึกตรง ๆ ลูกสามารถเช้าใจได้ดีครับ
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 7
คุณผิดตั้งแต่ตอนที่ไม่ยอมให้ลูกเรียนคหกรรมแล้ว  สิ่งที่ควรทำคือโน้มน้าวใจตัวเองไม่ให้ไปขัดขวางลูกทำในสิ่งที่เค้ารัก อยากเห็นลูกทำงานที่ไม่รักแล้วไม่มีความสุขไปทั้งชีวิตเหรอ
ความคิดเห็นที่ 25
ถ้าลูกทำงานบริษัทต้องไปทำงานต่างประเทศ หรือประจำอยู่ต่างจังหวัด หรือทำงานเป็นกะหยุดไม่ตรงกับคนอื่นจะให้ลูกเปลี่ยนงานมั้ยครับ

ถ้าลูกต้องรับราชการต้องอยู่ต่างจังหวัด หรืออยู่ทำงานในวันที่คนอื่นเขาหยุดกันจะให้ลูกเปลี่ยนงานมั้ยครับ

ถ้าลูกมีความสามารถได้ไปเรียนต่อต่างประเทศหรือทำงานดีๆในต่างประเทศจะให้ลูกไปมั้ยครับ

ถ้าข้างบนคำตอบของจขกทคือให้ทำงานนั้นได้แสดงว่าจขกท.มีอคติกับอาชีพเชฟ อาจจะมาจากสาเหตุที่ว่ามันไม่มีเกียรติ ดูไม่มั่นคง มีฐานะสู้พวกทำงานโรงงาน บริษัท หรือรับราชการไม่ได้ แต่ถ้าจขกท. ไม่ให้ทำไม่ให้ไปไม่ว่างานนั้นตอนแรกจะอยู่ในหมวดหมู่งานที่ดีของจขกท. ก็ตาม แสดงว่าจขกท. คิดว่าลูกเป็นทรัพย์สินที่จขกท. เป็นเจ้าของ ซึ่งเจ้าของควรมีสิทธิ์ในการที่จะให้ทรัพย์สินนั้นลงทุนต่อยอดอย่างไร ตั้งวางที่ไหน ถ้าไม่ได้ดั่งใจก็กดดันด้วยบุญคุณที่เลี้ยงมาและตีกรอบด้วยคำว่าหวังดี

แก้ที่ตัวเองครับ

คนที่หาตัวเองเจอและสามารถหาเลี้ยงตัวเองด้วยสิ่งที่ชอบมีไม่มาหรอกนะครับ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศที่มีโอกาสน้อยให้แตกต่างและมีความคิดผิดไปจากค่านิยมปกติแบบประเทศเรา คนที่รู้และทำในสิ่งที่ตัวเองเลือกได้ตั้งแต่เด็กถือว่ามีความมุ่งมั่นมาก

คนเราต้องเลือกอนาคตเองครับ เขาจะได้ยอมรับผลที่ตามมาได้ จังหวะชีวิตมันมีทั้งขึ้นและลง ครอบครัวที่ดีจะคอยสนับสนุนเมื่อเขาเจออุปสรรคและท้วงติงหากเจอว่าสิ่งที่ตัดสินใจไม่เข้าท่า แต่การตัดสินใจขั้นสุดท้ายย่อมเป็นของเจ้าตัวเอง เมื่อเขามีความสุขเขาจะคิดถึงครอบครัวและเมื่อเขามีความทุกข์เขาก็จะกลับมาหาครอบครัว เป็นเซฟโซนชาร์ตพลังให้สู้ต่อ แต่ถ้ามีแต่ความกดดันและบงการ สักวันถ้าถึงจุดที่ทนไม่ไหวคุณจะเสียเขาไปครับ
ความคิดเห็นที่ 10
ยังไม่เห็นมุมไหนที่มีความเป็นห่วงอนาคตหรือความรู้สึกของลูกเลย มีแต่อยากให้ลูกทำตามใจตนเองตั้งแต่เรียนยันทำงาน อยากให้ลูกมีวันหยุดตรงกับวันที่ตนเองหยุด ลองคิดถึงความสุขของลูกมากกว่าของตนเองบ้างดีไหมคะ

พอถึงวันหนึ่งที่คุณเกษียณทุกวันหยุดของลูกจะตรงกับวันหยุดของคุณแล้วค่ะเพราะคุณไม่ต้องทำงานสักวัน ส่วนตอนนี้ปล่อยให้ลูกทำในสิ่งที่ลูกชอบไปเถอะ ถ้าเขาค้นพบว่ามันไม่เวิร์คหรือเขาอยากได้วันหยุดแบบอื่นเดี๋ยวเขาก็หางานแนวใหม่เองนั่นล่ะ
ความคิดเห็นที่ 3
บ้านไม่ใช่เซฟโซนหรือเปล่าคะหนิ เขาไม่มีทางได้อยู่พร้อมหน้าตลอดไปหรอกค่ะ ณ วันนึงเขาก็ต้องมีครอบครัวเขา มีชีวิตเป็นของตนเอง ไม่ต้องไปปรับลูกค่ะ ปรับตัวเองก่อนเลย ทุกคนเป็นพ่อแม่ได้ แต่ไม่ได้หมายความว่าจะเป็นพ่อแม่ที่ดี ความหวังดีของพ่อแม่อะ บางทีก็ควรถามลูกหน่อยว่าต้องการไหม พ่อแม่ที่ดีมีหน้าที่ซัพพอร์ทและแนะนำในสิ่งที่ลูกฝัน ไม่ใช่สิ่งที่ตนเองฝันนะคะคุณพ่อ วุ่นวายเรื่องเรียนลูกไม่พอ มาวุ่นวายเรื่องงานลูกอีก เดี๋ยวก็วุ่นวายเรื่องผัวลูก วุ่นวายเรื่องเงิน วุ่นวายเรื่องหลาน ตามมาอีกแหละทรงนี้อะ คุณพ่ออออ!
ความคิดเห็นที่ 9
คุณไม่สนใจที่จะสนับสนุนและให้กำลังใจ ให้ลูกได้ทำและประสบความสำเร็จในสิ่งที่ลูกต้องการบ้างหรอคะ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่