โลกสะดุ้ง! ยื่นอุทธรณ์ผ่านเว็บไซต์ 'เซเลนสกี' ขอประจำการ 'อาวุธนิวเคลียร์สหรัฐฯ' ในยูเครน
เผยแพร่: 2 เม.ย. 2566
หนังสืออุทธณ์หนึ่งปรากฏบนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว (30 มี.ค.) ร้องขอประจำการอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ในประเทศ
ความเคลื่อนไหวที่ คิม โย-จอง น้องสาวผู้ทรงอิทธิพลของ คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ร่วมแสดงความคิดเห็น เชื่อว่าผู้นำเคียฟมีส่วนรู้เห็นด้วย พร้อมเตือนว่ามันนำพาเคราะห์กรรมมาสู่ประเทศและประชาชนของพวกเขาเอง
"ประจำการอาวุธนิวเคลียร์สหรัฐฯ ในดินแดนยูเครน หรือไม่ก็เปลี่ยนยูเครนเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ของตนเอง" ข้อเสนอของผู้เขียนหนังสืออุทธรณ์ระบุ
จนถึงช่วงปลายสัปดาห์ หนังสืออุทธรณ์ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนแล้วราวๆ 650 คน ซึ่งเรียกร้องบังคับประธานาธิบดีเซเลนสกี ทำการทบทวนคำอุทธรณ์ดังกล่าว
และตอบสนองอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ ตามข้อกำหนดแล้ว หนังสืออุทธรณ์ต้องมีผู้ร่วมลงนาม 25,000 คนภายในเวลา 90 วัน
ที่ผ่านมา หนังสืออุทธรณ์เสนอติดอาวุธนิวเคลียร์แก่ยูเครน เคยปรากฏบนเว็บไซต์ของประธานาธิบดียูเครนมาแล้วหลายต่อหลายครั้งนับตั้งแต่ปี 2015
แต่มันไม่เคยมีผู้ร่วมลงนามในจำนวนมากพอ สำหรับบังคับให้ประธานาธิบดีพิจารณาทบทวน อย่างไรก็ตามคราวนี้สถานการณ์แตกต่างกันออกไป เนื่องจากมันเกิดขึ้นท่ามกลางการรุกรานของรัสเซีย และความเคลื่อนไหวล่าสุดของรัสเซียที่จะประจำการอาวุธนิวเคลียร์ในเบลารุส
ก่อนหน้านี้ ระหว่างกล่าวกับที่ประชุมด้านความมั่นคงในเมืองมิวนิก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 เซเลนสกีเคยคาดการณ์ว่าบางทีเคียฟอาจต้องพิจารณาทบทวนใหม่เกี่ยวกับพันธสัญญาของพวกเขาภายใต้บันทึกความเข้าใจบูดาเปสต์ปี 2994
ซึ่งกำหนดให้ยูเครนปฏิเสธอาวุธนิวเคลียร์ แลกกับการรับประกันด้านความมั่นคง
จากนั้นในเวลาต่อมา ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน บอกว่าการปรากฏตัวแม้กระทั่งอาวุธนิวเคลียร์ทางเทคนิคในยูเครน จะถือเป็นภัยคุกคามทางยุทธศาสตร์สำหรับรัสเซีย
พัฒนาการต่างๆ ข้างต้นได้ถูกจับตาอย่างใกล้ชิดจากทั่วโลก ในนั้นรวมถึง คิม โย-จอง น้องสาวผู้ทรงอิทธิพลของ คิม จอง-อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ที่ชี้ว่าประธานาธิบดีเซเลนสกี กำลังวางเดิมพันอนาคตของประเทศยูเครน ด้วยการเสาะแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์
ตามรายงานของสำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ (เคซีเอ็นเอ) ในวันเสาร์ (1 เม.ย.)
โย-จอง แสดงความคิดเห็นพาดพิงถึงหนังสืออุทธรณ์ออนไลน์ ที่เรียกร้องประจำการอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ในดินแดนยูเครนหรือเปลี่ยนยูเครนเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ของตนเอง ซึ่งเปิดให้ลงนามสนับสนุนบนเว็บไซต์ของเซเลนสกี
โดยหนังสืออุทธรณ์นี้จำเป็นต้องมีผู้ร่วมลงนามอย่างน้อย 25,000 คน สำหรับเข้าสู่การพิจารณาของประธานาธิบดี
คิม โย-จอง ซึ่งเป็นบุคคลระดับสูงของพรรคแรงงาน พรรครัฐบาลเกาหลีเหนือ ให้คำจำกัดความหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าวว่าเป็นม่านปกปิดคำกล่าวอ้างว่ามันมาจากการแสดงเจตจำนงของประประชาชน
แต่ความจริงแล้ว ไม่ใช่เรื่องยากที่จะคาดเดาเลยว่ามันเป็นฝีมือของบรรดาเจ้าหน้าที่ของเซเลนสกี และเป็นอุบายชั่วร้ายทางการเมือง
ด้วยการตีไพ่นิวเคลียร์ เซเลนสกี พยายามยืดเวลาวันท้ายๆ ที่เหลืออยู่ของเขาด้วยการทุ่มเดิมพันทั้งหมดกับชะตากรรมของประเทศและของประชาชนของตนเอง ไม่ว่าจะต้องชดใช้ราคาแพงแค่ไหนก็ตาม"
สำนักข่าวเคซีเอ็นเอ อ้างคำกล่าวของโย-จอง "ถ้าเซเลนสกีคำนวณว่าพวกเขาสามารถหลีกเลี่ยงการโจมตีหนักหน่วงของรัสเซียได้ก็ต่อเมื่อเข้าไปอยู่ใต้ร่มนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ซึ่งถูกเจาะทะลวงแล้ว
พวกเขากำลังเดินไปในเส้นทางผิดๆ และคงเป็นเส้นทางสุดท้าย"
สำหรับเกาหลีเหนือ พวกเขาเป็นชาติที่อาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองเช่นกัน และอยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรหนักหน่วงของนานาชาติ สืบเนื่องจากโครงการนิวเคลียร์ด้านการทหารของพวกเขา
ดมิทรี เปสคอฟ เลขานุการฝ่ายสื่อสารมวลชนของวังเครมลิน บอกในวันศุกร์ (31 มี.ค.) ว่าความเคลื่อนไหวในประเด็นนิวเคลียร์ในยูเครน เป็นแนวโน้มที่อันตรายและเป็นภัยคุกคามที่รัสเซียไม่สามารถเพิกเฉยได้
(ที่มา : ทาสนิวส์/อาร์ทีนิวส์/เอเจนซี)
https://mgronline.com/around/detail/9660000030521
โลกสะดุ้ง! ยื่นขอแล้ว 'เซเลนสกี' ขอประจำการ 'อาวุธนิวเคลียร์สหรัฐฯ' ในยูเครนแล้ว 555++
เผยแพร่: 2 เม.ย. 2566
หนังสืออุทธณ์หนึ่งปรากฏบนเว็บไซต์อย่างเป็นทางการของประธานาธิบดีโวโลดิมีร์ เซเลนสกี แห่งยูเครน เมื่อวันพฤหัสบดีที่แล้ว (30 มี.ค.) ร้องขอประจำการอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ในประเทศ
ความเคลื่อนไหวที่ คิม โย-จอง น้องสาวผู้ทรงอิทธิพลของ คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ร่วมแสดงความคิดเห็น เชื่อว่าผู้นำเคียฟมีส่วนรู้เห็นด้วย พร้อมเตือนว่ามันนำพาเคราะห์กรรมมาสู่ประเทศและประชาชนของพวกเขาเอง
"ประจำการอาวุธนิวเคลียร์สหรัฐฯ ในดินแดนยูเครน หรือไม่ก็เปลี่ยนยูเครนเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ของตนเอง" ข้อเสนอของผู้เขียนหนังสืออุทธรณ์ระบุ
จนถึงช่วงปลายสัปดาห์ หนังสืออุทธรณ์ดังกล่าวได้รับการสนับสนุนแล้วราวๆ 650 คน ซึ่งเรียกร้องบังคับประธานาธิบดีเซเลนสกี ทำการทบทวนคำอุทธรณ์ดังกล่าว
และตอบสนองอย่างเป็นทางการ ทั้งนี้ ตามข้อกำหนดแล้ว หนังสืออุทธรณ์ต้องมีผู้ร่วมลงนาม 25,000 คนภายในเวลา 90 วัน
ที่ผ่านมา หนังสืออุทธรณ์เสนอติดอาวุธนิวเคลียร์แก่ยูเครน เคยปรากฏบนเว็บไซต์ของประธานาธิบดียูเครนมาแล้วหลายต่อหลายครั้งนับตั้งแต่ปี 2015
แต่มันไม่เคยมีผู้ร่วมลงนามในจำนวนมากพอ สำหรับบังคับให้ประธานาธิบดีพิจารณาทบทวน อย่างไรก็ตามคราวนี้สถานการณ์แตกต่างกันออกไป เนื่องจากมันเกิดขึ้นท่ามกลางการรุกรานของรัสเซีย และความเคลื่อนไหวล่าสุดของรัสเซียที่จะประจำการอาวุธนิวเคลียร์ในเบลารุส
ก่อนหน้านี้ ระหว่างกล่าวกับที่ประชุมด้านความมั่นคงในเมืองมิวนิก ในเดือนกุมภาพันธ์ 2022 เซเลนสกีเคยคาดการณ์ว่าบางทีเคียฟอาจต้องพิจารณาทบทวนใหม่เกี่ยวกับพันธสัญญาของพวกเขาภายใต้บันทึกความเข้าใจบูดาเปสต์ปี 2994
ซึ่งกำหนดให้ยูเครนปฏิเสธอาวุธนิวเคลียร์ แลกกับการรับประกันด้านความมั่นคง
จากนั้นในเวลาต่อมา ประธานาธิบดีวลาดิมีร์ ปูติน บอกว่าการปรากฏตัวแม้กระทั่งอาวุธนิวเคลียร์ทางเทคนิคในยูเครน จะถือเป็นภัยคุกคามทางยุทธศาสตร์สำหรับรัสเซีย
พัฒนาการต่างๆ ข้างต้นได้ถูกจับตาอย่างใกล้ชิดจากทั่วโลก ในนั้นรวมถึง คิม โย-จอง น้องสาวผู้ทรงอิทธิพลของ คิม จอง-อึน ผู้นำเกาหลีเหนือ ที่ชี้ว่าประธานาธิบดีเซเลนสกี กำลังวางเดิมพันอนาคตของประเทศยูเครน ด้วยการเสาะแสวงหาอาวุธนิวเคลียร์
ตามรายงานของสำนักข่าวกลางเกาหลีเหนือ (เคซีเอ็นเอ) ในวันเสาร์ (1 เม.ย.)
โย-จอง แสดงความคิดเห็นพาดพิงถึงหนังสืออุทธรณ์ออนไลน์ ที่เรียกร้องประจำการอาวุธนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ในดินแดนยูเครนหรือเปลี่ยนยูเครนเป็นรัฐที่มีอาวุธนิวเคลียร์ของตนเอง ซึ่งเปิดให้ลงนามสนับสนุนบนเว็บไซต์ของเซเลนสกี
โดยหนังสืออุทธรณ์นี้จำเป็นต้องมีผู้ร่วมลงนามอย่างน้อย 25,000 คน สำหรับเข้าสู่การพิจารณาของประธานาธิบดี
คิม โย-จอง ซึ่งเป็นบุคคลระดับสูงของพรรคแรงงาน พรรครัฐบาลเกาหลีเหนือ ให้คำจำกัดความหนังสืออุทธรณ์ดังกล่าวว่าเป็นม่านปกปิดคำกล่าวอ้างว่ามันมาจากการแสดงเจตจำนงของประประชาชน
แต่ความจริงแล้ว ไม่ใช่เรื่องยากที่จะคาดเดาเลยว่ามันเป็นฝีมือของบรรดาเจ้าหน้าที่ของเซเลนสกี และเป็นอุบายชั่วร้ายทางการเมือง
ด้วยการตีไพ่นิวเคลียร์ เซเลนสกี พยายามยืดเวลาวันท้ายๆ ที่เหลืออยู่ของเขาด้วยการทุ่มเดิมพันทั้งหมดกับชะตากรรมของประเทศและของประชาชนของตนเอง ไม่ว่าจะต้องชดใช้ราคาแพงแค่ไหนก็ตาม"
สำนักข่าวเคซีเอ็นเอ อ้างคำกล่าวของโย-จอง "ถ้าเซเลนสกีคำนวณว่าพวกเขาสามารถหลีกเลี่ยงการโจมตีหนักหน่วงของรัสเซียได้ก็ต่อเมื่อเข้าไปอยู่ใต้ร่มนิวเคลียร์ของสหรัฐฯ ซึ่งถูกเจาะทะลวงแล้ว
พวกเขากำลังเดินไปในเส้นทางผิดๆ และคงเป็นเส้นทางสุดท้าย"
สำหรับเกาหลีเหนือ พวกเขาเป็นชาติที่อาวุธนิวเคลียร์ในครอบครองเช่นกัน และอยู่ภายใต้มาตรการคว่ำบาตรหนักหน่วงของนานาชาติ สืบเนื่องจากโครงการนิวเคลียร์ด้านการทหารของพวกเขา
ดมิทรี เปสคอฟ เลขานุการฝ่ายสื่อสารมวลชนของวังเครมลิน บอกในวันศุกร์ (31 มี.ค.) ว่าความเคลื่อนไหวในประเด็นนิวเคลียร์ในยูเครน เป็นแนวโน้มที่อันตรายและเป็นภัยคุกคามที่รัสเซียไม่สามารถเพิกเฉยได้
(ที่มา : ทาสนิวส์/อาร์ทีนิวส์/เอเจนซี)
https://mgronline.com/around/detail/9660000030521