สารานุกรมปืนตอนที่ 1941 Baker rifle

ขอขอบคุณเพจ ป.ปืน อย่างสูงครับ

https://www.facebook.com/Porpeunbybaster



Pattern 1800 Infantry Rifle

ในช่วงก่อนยุค 1800 กองทัพอังกฤษได้เริ่มเรียนรู้จากประสบการณ์การรบในสงครามต่างๆที่ผ่านตลอดทศวรรษ หลังช่วงสงครามปฏิวัติอเมริกา อาวุธแบบใหม่ที่กำลังเข้ามามีบทบาทในสนามรบชนิดต่างๆเริ่มมีการเปลี่ยนปแลงรูปโฉมการรบมากขึ้น(เช่นสงครามปฏิวัติฝรั่งเศส: Revolutionary France) หนึ่งในนั้นคือปืนเล็กยาวลำกล้องมีเกลียวหรือ Rifle ซึ่งช่วงแรกๆ อังกฤษมีการนำเข้าจากปรัสเซีย ซึ่งไม่มีรูปแบบแน่นอน และเป็นอาวุธที่มีราคาแพง
กองทัพอังกฤษได้ใช้งานปืนเล็กยาวบรรจุปากลำกล้องเรียบแบบ British Land Pattern Musket หรือ. Brown Bess มาตั้งแต่ ปี1722 ซึ่งมีระยะหวังผลต่อบุกคลอยู่ที่100หลา (เมื่อยิงด้วย Line infantry ด้วยแถวทหาร จะอยู่ที่ 300 หลา) และต่อมามีการนำปืนเล็กยาวแบบ Ferguson rifle ซึ่งเป้นปืนบรรจุท้ายรังเพลิง (breech-loading rifles) แบบแรกของอังกฤษ ในปี1776 ก็ยังเป็นอาวุธราคาแพงอยู่ดี แต่ด้วยระยะหวังผลของปืนอยู่ที่ 200 ถึง 300 หลามันจึงเป็นอาวุธที่สามารถสร้างความได้เปรียบในสนามรบได้
ในปี1800 ได้มีการจัดตั้ง Experimental Rifle Corps ขึ้นเพื่อทดลองใช้กองทหารซึ่งใช้อาวุธหลักคือปืนเล็กยาว(ลำกล้องมีเกลียว) ขึ้น โดยหน้าที่การจัดหาอาวุธป็นของ British Board of Ordnance โดยมีการจัดตั้งคณะกรรมธิการพิจรณา วันที่ 22 กุมภาพันธ์ ปี 1800 เพื่อบรรจุเป็นแบบปืนเล็กยาวมาตรฐาน(standard rifle pattern)ของกองทัพต่อไป
หนึ่งในแบบที่ได้รับการพิจรณาคือแบบของ Ezekiel Baker โดยจากการทดสอบเป้ากลมขนาด 6 ฟุต ระยะ 300 หลา จาก 12 นัด เข้าเป้าถึง 11 นัด
Colonel Coote Manningham เป็นนายทหารที่มิอิทธิพลต่อการออกแบบของ Baker ซึ่งเขาเป็นผู้บังคับการของ Rifle Corps ซึ่งเป็นผู้ทดสอบการใช้งานรวมถึงมีข้อแนะนำต่างๆซึ่งในไปสู่การปรับปรุง ในรุ่นแรกของ Baker ได้พื้นฐานของปืนเล็กยาวบรรจุปากลำกล้องเรียบแบบ Brown Bess ซึ่งก็ได้รับข้อแนะนำว่ามีน้ำหนักมาเกินไปและไม่คล่องตัว ต่อมา Baker ได้รัยตัวอย่างปืนเล็กยาวลำกล้องมีเกลียวแบบ Jäger rifle ของเยอรมัน ซึ่งกลายเป็นตัวชี้นำสำคัญในการออกแบบ



เขาๆได้ใช้ขนาดปากลำกล้องขนาด .75 นิ้ว( caliber bore) ซึ่งเป็นขนาดเดียวกับปืนเล็กยาวบรรจุปากลำกล้องเรียบของทหารราบหรือ infantry musket. ใช้ความยาวลำกล้อง 32 นิ้ว สันเกลียวลำกล้องแบบสันสี่เหลี่ยมผืนผ้า 8 เกลียว ปืนถูกปรับปรุงจนกระทั่งกลายเป็นปืลเล็กยาวบรรจุปากลำกล้องมีเกลียวทหารราบหรือ Infantry Rifle, ไปในที่สุดและได้รับการยอมรับให้เป็นแบบมาตรฐานหรือ Pattern 1800 Infantry Rifle และได้รับการผลิตในที่สุดรุ่นที่ 3 ซึ่งเป็นแบบสุดท้ายเข้าใช่ขนนาดปากกล้อง .653 นิ้ว ใช้กับกระสุนขนาด .625 นิ้ว ลดความยาวลงเหลือ 30 นิ้ว มี 7เกลียวในลำกล้อง ซึ่งทั้งหมดเป็นปืนในระบบปืนคาบศิลาหรือ Flintlock. โกร่งไกปืนจะยาวลงมาเป็นแผ่นเสริมด้ามปืนZ firm grip )ทรงสามเหลี่ยม แท่นดาบปลายอยู่ด้านขวาของปากลำกล้องใช้กับดาบปลายปืนขนาด24นิ้ว มีแซ่กระทุ้งอยู่ใต้ลำกล้อง ศูนย์หลังแบบพับได้ ชุดทำความสะอาดปืน ผ้า น้ำมันหล่อลื่น และเครื่องมือบำรุงรักษาปืน จะเก็บไว้ที่ช่องที่พานท้ายหรือ "butt-trap” ซึ่งฝาทำด้วยทองเหลือง
มีการประทับตรามงกุฎ และ GR และคำว่า Tower หลังวอร์เตอร์ลูใช้คำว่า Enfield ตัวปืนมีความยาวทั้งหมด 45 นิ้ว ซึ่งสั้นกว่าปืนเล็กยาวบรรจุปากลำกล้องเรียบแบบเก่าถึง 12 นิ้วหลังมีการนำ Baker rifle ใช้งานในกองทัพก็มีการผลิตรุ่นอื่นๆตามความต้องการของผู้ใช้ขึ้นมาอีกมากมาย เช่น รุ่นลำกล้องขนาก33นิ้ว ซึ่งใช้งงานโดย Duke of Cumberland's Corps of Sharpshooters สิงหาคม ปี 1803 ต่อมามีแบบ "Newland" ซึ่งใช้แหวนคอปืนแบบ flat-faced ring neck cock ซึ่งเป็นด้ามคอปืนแบบตรงกลม. มีการผลิตใช้ด้ามปืนแบบ "pistol grip" รุ่นที่มีช่องเก็บอุปกรณ์ใหญ่ขึ้นหรือ "slit stock" มีการเปลี่ยนมาใช้แส้กระทุ้งเป็นเหล็กหลังแบบไม้มีการชำรุดเสียหายจากการใช้งานหรือสะภาพแวดล้อม
Baker rifle มีการผลิตตั้งแต่ปี 1800 ถึง 1837. ซึ่งทั้งหมดไม่ได้ทำการผลิตโดย Ezekiel Baker, เพียงรายเดียว แต่มีการผลิตตามสัญญาจ้างโดย ระบบ Tower of London ถึง 20 ราย มีปัญหาเกิดขึ้นในช่วงปี 1805–1815 จากการส่งมอบบางรายชิ้นส่วนไม่ครบก็มีเนื่องจากมีการส่งปืนไปให้ผู้รับเหมาทำการตกแต่งก่อนการส่งมอบด้วยที่ Board of Ordnance จะต้องมีการปรับแต่งปืนตามความต้องการของ Infantry Staff Officers จึงมีการส่งปรับแต่งในรูปแบบต่างๆเช่น 1801 pattern West India Rifle, ซึ่งปรับแต่งให้แส้ต้องหมุนเพื่อเก็บและนำออกมาใช้ หรือ 1809 pattern ใช้กระสุนขนาด .75 (musket) caliber, รุ่น 1800/15 ซึ่งพานท้ายมีช่องเก็บดาบปลายปืน มีการดัดแปลงให้ด้ามปืนและพานท้ายโค้ง(bent stockยิ้มเพื่อให้เข้ากับสรีระนักแม่นปืน



Baker rifle ถูกแจกจ่ายให้แก่หน่วยรบชั้นดีของอังกฤษเช่น 5th battalion , rifle companies of the 6th และ 7th Battalions ของ the 60th Regiment of Foot, สามกองพันของ 95th Regiment of Foot ในการบังคับบัญชาของ Duke of Wellington ในช่วงสงคราม Peninsular และช่วงการยุทธที่ Waterloo. สองกองพันของ light infantry Battalions of the King's German Legion หมวดพลแม่นปืน (sharpshooter platoons )ของ Light Companies of the KGL Line Bns ก็ใช้ Baker rifle กองร้อยพลแม่นปืน(Atiradores (sharpshooters) company) และทุกกองพันของ Portuguese Caçadores battalions
ครั้งหนึ่งในการยุทธที่ Cacabelos พลปืน Thomas Plunkett (or Plunket) สังกัด 1st Battalion, 95th Rifles, ได้ยิงนายพลฝรั่งเศสคือ General Colbert ในระยะประมาณ 600 หลา รวมถึงผู้ช่วยของนายพลด้วยอีก1นาย
นอกจากกองทัพแล้วก็ยังมีอาสาสมัครและพลเรือนอาสาทั่วไปที่จัดหามาใช้งาน หรืออย่างเช่น ทหารม้า 10th Hussars.
กองทัพอังกฤษยังคงผลิต Baker rifle จนถึงปี 1841 ถึงแม้กองทัพอังกฤษจะเลิกใช้งานแล้วในปี 1837 รวมๆแล้วมีการผลิตโดยประมาณ 22,000 กระบอก ยังมีการส่งออกให้ชาติอื่นใช้งานเช่น โปรตุเกส บราซิล สหรัฐฯ แม็กซิโก และ เนปาล



ขอบคุณที่ติดตามและขออภัยหากมีข้อผิดพลาดประการใดๆมา ณ. ที่นี้ครับ

Cr.
https://95th-rifles.co.uk/equipment/baker-rifle/
https://en.wikipedia.org/wiki/Baker_rifle#References
https://www.militaryheritage.com/baker.htm
http://web.prm.ox.ac.uk/.../68-baker-rifle-18842739.html
#Baker_rifle #ป_ปืน






สวัสดีครับ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่