คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 1
01 กรณีพระคึกฤทธิ์ เข้าใจพระไตรปิฎกผิด ยึดคำแปลผิดจากฉบับแปลไทย
รู้จักพระไตรปิฎกให้ชัด ให้ตรง
เท้าเรื่อง เท้าความเมื่อกลางปี พ.ศ. 2552 เกิดมีกรณีที่ทราบคร่าวๆ ว่า พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิพโล วัดนาป่าพง ได้นำพระในวัดของท่านสวดปาติโมกข์ลดจาก 227 ข้อ เหลือ 150 ข้อมา 8 ปีแล้ว
ในฐานะที่พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิพโล อยู่ในสายของวัดหนองป่าพง พระสงฆ์สายวัดหนองป่าพง เมื่อประชุมกันประจำปี ได้ทราบเรื่องนี้ ก็ได้มีมติให้พระคึกฤทธิ์ละเลิกการปฏิบัติของตน แต่พระคึกฤทธิ์ไม่ยอม แม้จะให้เวลา 1 ปี ที่จะกลับเข้ามาถือปฏิบัติตามมติสงฆ์ ก็ไม่ทำตาม จึงถูกตัดออกไปจากสายวัดหนองป่าพง ความที่ว่านี้ เล่าไปตามที่ทราบมา ถ้ามีอะไรไม่แม่นยำ ท่านที่เป็นเจ้าของเรื่อง หรืออยู่ในเรื่องโดยตรง อาจช่วยทำให้ชัดยิ่งขึ้น หลังจากเกิดกรณีนั้นในกลางปี 2552 แล้วราว 1 เดือน อาตมาได้ทราบเรื่องจากพระอาจารย์บางท่านในสายวัดหนองป่าพง
เมื่อได้อ่านเอกสารของทางวัดหนองป่าพง ก็เห็นว่า พระสงฆ์สายวัดหนองป่าพงได้สืบค้นหลักฐานข้อมูลทางคัมภีร์ และตรวจสอบคำแปลมาอย่างเพียงพอและมั่นใจแล้วว่า พุทธพจน์ในพระไตรปิฎกมิใช่กล่าวว่าสิกขาบทในพระปาติโมกข์มีเพียง 150 ข้อ แต่มีเกินกว่านั้น ท่านจึงได้มีมติดังที่ว่าข้างต้น เมื่อเรื่องมีขึ้น ควรเข้าใจให้โล่ง การที่พระคึกฤทธิ์สวดปาติโมกข์ลดจาก 227 ข้อ เหลือ 150 ข้อนั้น ท่านว่าเป็นพุทธวจนะ โดยอ้างว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้มาในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ แต่ที่พระคึกฤทธิ์อ้างนั้น ที่จริงไม่ใช่พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ แต่เป็นคำแปลภาษาไทย ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ที่แปลออกมาจากพระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ อีกทอดหนึ่ง ไม่ใช่ตัวจริงของเดิมในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ
เมื่อตรวจสอบดูพุทธวจนะในพระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ หรือไม่ว่าฉบับใด ก็พบพระบาลีว่า (ฉบับสยามรัฐ องฺ.ติก. 20/524/296) สาธิกมิทํ ภนฺเต ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ อนฺวฑฺฒมาสํ อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ แปลเป็นภาษาไทยแบบยกศัพท์อย่างง่ายๆ ว่า “ภนฺเต” ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ “ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ” สิกขาบท 150 “สาธิกมิทํ = สาธิกํ+อิทํ” ... นี้ “อาคจฺฉติ” ย่อมมา “อุทฺเทสํ” สู่อุเทศ/การสวด “อนฺวฑฺฒมาสํ” ทุกกึ่งเดือน
ดูเฉพาะคำแปลภาษาไทย ดังนี้
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ สิกขาบท 150 ... นี้ ย่อมมาสู่อุเทศ/การสวด ทุกกึ่งเดือน
จุดพิจารณา หรือคำที่เป็นปัญหาขึ้น คือ “สาธิกํ” ซึ่งที่นี่ว่างคำแปล โดยทำ ... ไว้ ตรงนี้ หรือคำบาลีนี้ พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย (คือ ฉบับที่แปลเป็นภาษาไทย) ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 4 ฉบับ/ชุด แปลเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ที่ครบชุด และเก่าที่สุด คือ ฉบับที่กรมการศาสนารักษาสืบมา (ปัจจุบันย้ายตามมาอยู่ที่สำนักพุทธฯ หรือไม่ ไม่ได้ตามเรื่อง) เริ่มจากที่รัฐบาลได้อุปถัมภ์คณะสงฆ์จัดพิมพ์ขึ้นเป็น พระไตรปิฎกภาษาไทย อนุสรณ์งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (พ.ศ.2500) ถือว่าเป็นฉบับหลวง หรือเป็นทางการ แต่จะเรียกว่าอย่างไร ก็ไม่เป็นฉบับสยามรัฐ พระไตรปิฎกภาษาไทย ที่สืบมาแต่ พ.ศ.2500 (คำแปลสะสมกันมานาน) ชุดดังกล่าวนั้น แปลบาลีอันเป็นพุทธพจน์ตรงนี้ว่า “สิกขาบท 150 ถ้วน นี้”
ส่วนพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับอื่นๆ ซึ่งเกิดตามมาภายหลัง และตามปกติ มักแปลตามพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงนั้น ในกรณีนี้ บางฉบับก็แปลเหมือนฉบับหลวง แต่บางฉบับแปลว่า “สิกขาบท ที่สำคัญ 150 นี้” บางฉบับนั้น ในที่ที่นำบาลีพุทธวจนะนี้ไปอ้างอีกแห่งหนึ่งแปลว่า “150 สิกขาบท ที่สำเร็จประโยชน์ นี้”
“สาธิกํ” นี้ เป็นคำบาลีในภาษาสามัญคำหนึ่งโดยทั่วไป ในคัมภีร์ทั้งหลายจึงไม่ค่อยอธิบาย
แต่ก็จะเห็นว่า คำ “สาธิกํ” นี้มีความหมายตรงกับ เท่ากับ หรือในจำพวกเดียวกับ “สาติเรก” (มีส่วนเกิน) “ปโร” (กว่า) “อุตฺตรึ” (เพิ่มขึ้นไป) บางทีมาด้วยกันดังเป็นชุด บางทีก็ใช้อธิบายกัน
“สาธิกํ” คือ “สห+อธิก” แปลว่า พร้อมด้วยส่วนที่เกิน มีข้อที่มากขึ้นไป หรือมีเศษ
บาลีพุทธวจนะตรงนี้จึงแปลว่า “สิกขาบท 150 กับทั้งที่เกินออกไป นี้” หรือแปลสั้นๆ ว่า “สิกขาบท 150 มีเศษ นี้”
อรรถกถาถึงจะไม่อธิบายศัพท์ “สาธิกํ” ก็อธิบายความต่อไปว่า (องฺ.อ.2/239) “ที่ตรัสไว้ดังนี้ ทรงหมายถึงสิกขาบทที่ได้ทรงบัญญัติแล้วในเวลา (ที่พระวัชชีบุตรทูลถาม) นั้น” แล้วฎีกายังบอกต่อไปอีกว่า (ม.ฏี.2/300) “พุทธพจน์นี้ ตรัสตามจำนวนสิกขาบทที่ได้ทรงบัญญัติแล้ว ในเวลาที่ทรงแสดงพระสูตรนั้น แต่หลังจากนั้น มีสิกขาบท 200 มีเศษ
‘สาธิกานิ ทฺเวสตานิ’
ท่านผู้ใดไม่ฟังอรรถกถา-ฎีกา ก็ไม่เป็นไร เพราะตัวคำศัพท์ในบาลีพุทธวจนะนั้นชัดเจนอยู่แล้ว ก็เป็นอันว่า พระไตรปิฎกภาษาไทยแปลบาลีพุทธพจน์ตรงนี้พลาด หรือพลั้งเผลอไป
เรื่องความผิดพลาดอย่างนี้ ไม่ควรจะด่วนติเตียนท่าน เดี๋ยวจะพูดเรื่องนี้อีกบ้าง แต่มีข้อสังเกตไว้ทีหนึ่งก่อน
ที่ว่า “สาธิกํ” เป็นคำบาลีในภาษาสามัญนั้น มีอีกคำหนึ่งที่ก็สามัญด้วย และใช้บ่อยกว่า มากกว่า “สาธิกํ” ด้วย เป็นคำที่ควรพูดถึง เพราะมีรูปร่างคล้ายกัน คือคำว่า “สุทฺธิกํ” “สุทฺธิกํ” แปลว่า ล้วน มีใช้บ่อย ที่คุ้น เช่นใน “สุทฺธิกปาจิตฺติยํ” ซึ่งบางที่แยกเป็น “สุทฺธิกํ ปาจิตฺติยํ” (ปาจิตตีย์ล้วน ไม่มีของที่ต้องสละ)
ล้วน กับ ถ้วน ไม่เหมือนกัน ก็จริง แต่ความเผลอๆ เพลินๆ บางทีก็มีได้ บางทีท่านอาจจะนึกถึง “สุทฺธิกํ” ในขณะที่ “สาธิกํ” ผ่านเข้ามา ก็เลยพลั้งไป แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ก็เป็นอันว่าพลาดไป ซึ่งบอกแล้วว่ามีเหตุผลที่ควรเข้าใจเห็นใจ ดังจะว่าต่อไป
ที่ว่านี้เป็นการเล่าเรื่องเก่าที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2552 ที่ดังอื้อ แล้วเข้าใจว่าจางเงียบไปใน 2-3 ปีต่อมา คราวนั้น อาตมาเองได้เขียนอธิบายเรื่องนี้ไว้ จนถือว่าเสร็จไป จบไปแล้ว เรื่องเสร็จไป เจอข่าวเฉไฉช่วยให้ได้ชี้ครบทุกข้อที่จะพึงชัด
รู้จักพระไตรปิฎกให้ชัด ให้ตรง
เท้าเรื่อง เท้าความเมื่อกลางปี พ.ศ. 2552 เกิดมีกรณีที่ทราบคร่าวๆ ว่า พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิพโล วัดนาป่าพง ได้นำพระในวัดของท่านสวดปาติโมกข์ลดจาก 227 ข้อ เหลือ 150 ข้อมา 8 ปีแล้ว
ในฐานะที่พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิพโล อยู่ในสายของวัดหนองป่าพง พระสงฆ์สายวัดหนองป่าพง เมื่อประชุมกันประจำปี ได้ทราบเรื่องนี้ ก็ได้มีมติให้พระคึกฤทธิ์ละเลิกการปฏิบัติของตน แต่พระคึกฤทธิ์ไม่ยอม แม้จะให้เวลา 1 ปี ที่จะกลับเข้ามาถือปฏิบัติตามมติสงฆ์ ก็ไม่ทำตาม จึงถูกตัดออกไปจากสายวัดหนองป่าพง ความที่ว่านี้ เล่าไปตามที่ทราบมา ถ้ามีอะไรไม่แม่นยำ ท่านที่เป็นเจ้าของเรื่อง หรืออยู่ในเรื่องโดยตรง อาจช่วยทำให้ชัดยิ่งขึ้น หลังจากเกิดกรณีนั้นในกลางปี 2552 แล้วราว 1 เดือน อาตมาได้ทราบเรื่องจากพระอาจารย์บางท่านในสายวัดหนองป่าพง
เมื่อได้อ่านเอกสารของทางวัดหนองป่าพง ก็เห็นว่า พระสงฆ์สายวัดหนองป่าพงได้สืบค้นหลักฐานข้อมูลทางคัมภีร์ และตรวจสอบคำแปลมาอย่างเพียงพอและมั่นใจแล้วว่า พุทธพจน์ในพระไตรปิฎกมิใช่กล่าวว่าสิกขาบทในพระปาติโมกข์มีเพียง 150 ข้อ แต่มีเกินกว่านั้น ท่านจึงได้มีมติดังที่ว่าข้างต้น เมื่อเรื่องมีขึ้น ควรเข้าใจให้โล่ง การที่พระคึกฤทธิ์สวดปาติโมกข์ลดจาก 227 ข้อ เหลือ 150 ข้อนั้น ท่านว่าเป็นพุทธวจนะ โดยอ้างว่าพระพุทธเจ้าตรัสไว้มาในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ แต่ที่พระคึกฤทธิ์อ้างนั้น ที่จริงไม่ใช่พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ แต่เป็นคำแปลภาษาไทย ในพระไตรปิฎกภาษาไทย ที่แปลออกมาจากพระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ อีกทอดหนึ่ง ไม่ใช่ตัวจริงของเดิมในพระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ
เมื่อตรวจสอบดูพุทธวจนะในพระไตรปิฎกบาลี ฉบับสยามรัฐ หรือไม่ว่าฉบับใด ก็พบพระบาลีว่า (ฉบับสยามรัฐ องฺ.ติก. 20/524/296) สาธิกมิทํ ภนฺเต ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ อนฺวฑฺฒมาสํ อุทฺเทสํ อาคจฺฉติ แปลเป็นภาษาไทยแบบยกศัพท์อย่างง่ายๆ ว่า “ภนฺเต” ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ “ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ” สิกขาบท 150 “สาธิกมิทํ = สาธิกํ+อิทํ” ... นี้ “อาคจฺฉติ” ย่อมมา “อุทฺเทสํ” สู่อุเทศ/การสวด “อนฺวฑฺฒมาสํ” ทุกกึ่งเดือน
ดูเฉพาะคำแปลภาษาไทย ดังนี้
ข้าแต่พระผู้มีพระภาคเจ้าผู้เจริญ สิกขาบท 150 ... นี้ ย่อมมาสู่อุเทศ/การสวด ทุกกึ่งเดือน
จุดพิจารณา หรือคำที่เป็นปัญหาขึ้น คือ “สาธิกํ” ซึ่งที่นี่ว่างคำแปล โดยทำ ... ไว้ ตรงนี้ หรือคำบาลีนี้ พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย (คือ ฉบับที่แปลเป็นภาษาไทย) ซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 4 ฉบับ/ชุด แปลเหมือนกันบ้าง ต่างกันบ้าง พระไตรปิฎกฉบับภาษาไทย ที่ครบชุด และเก่าที่สุด คือ ฉบับที่กรมการศาสนารักษาสืบมา (ปัจจุบันย้ายตามมาอยู่ที่สำนักพุทธฯ หรือไม่ ไม่ได้ตามเรื่อง) เริ่มจากที่รัฐบาลได้อุปถัมภ์คณะสงฆ์จัดพิมพ์ขึ้นเป็น พระไตรปิฎกภาษาไทย อนุสรณ์งานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ (พ.ศ.2500) ถือว่าเป็นฉบับหลวง หรือเป็นทางการ แต่จะเรียกว่าอย่างไร ก็ไม่เป็นฉบับสยามรัฐ พระไตรปิฎกภาษาไทย ที่สืบมาแต่ พ.ศ.2500 (คำแปลสะสมกันมานาน) ชุดดังกล่าวนั้น แปลบาลีอันเป็นพุทธพจน์ตรงนี้ว่า “สิกขาบท 150 ถ้วน นี้”
ส่วนพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับอื่นๆ ซึ่งเกิดตามมาภายหลัง และตามปกติ มักแปลตามพระไตรปิฎกภาษาไทยฉบับหลวงนั้น ในกรณีนี้ บางฉบับก็แปลเหมือนฉบับหลวง แต่บางฉบับแปลว่า “สิกขาบท ที่สำคัญ 150 นี้” บางฉบับนั้น ในที่ที่นำบาลีพุทธวจนะนี้ไปอ้างอีกแห่งหนึ่งแปลว่า “150 สิกขาบท ที่สำเร็จประโยชน์ นี้”
“สาธิกํ” นี้ เป็นคำบาลีในภาษาสามัญคำหนึ่งโดยทั่วไป ในคัมภีร์ทั้งหลายจึงไม่ค่อยอธิบาย
แต่ก็จะเห็นว่า คำ “สาธิกํ” นี้มีความหมายตรงกับ เท่ากับ หรือในจำพวกเดียวกับ “สาติเรก” (มีส่วนเกิน) “ปโร” (กว่า) “อุตฺตรึ” (เพิ่มขึ้นไป) บางทีมาด้วยกันดังเป็นชุด บางทีก็ใช้อธิบายกัน
“สาธิกํ” คือ “สห+อธิก” แปลว่า พร้อมด้วยส่วนที่เกิน มีข้อที่มากขึ้นไป หรือมีเศษ
บาลีพุทธวจนะตรงนี้จึงแปลว่า “สิกขาบท 150 กับทั้งที่เกินออกไป นี้” หรือแปลสั้นๆ ว่า “สิกขาบท 150 มีเศษ นี้”
อรรถกถาถึงจะไม่อธิบายศัพท์ “สาธิกํ” ก็อธิบายความต่อไปว่า (องฺ.อ.2/239) “ที่ตรัสไว้ดังนี้ ทรงหมายถึงสิกขาบทที่ได้ทรงบัญญัติแล้วในเวลา (ที่พระวัชชีบุตรทูลถาม) นั้น” แล้วฎีกายังบอกต่อไปอีกว่า (ม.ฏี.2/300) “พุทธพจน์นี้ ตรัสตามจำนวนสิกขาบทที่ได้ทรงบัญญัติแล้ว ในเวลาที่ทรงแสดงพระสูตรนั้น แต่หลังจากนั้น มีสิกขาบท 200 มีเศษ
‘สาธิกานิ ทฺเวสตานิ’
ท่านผู้ใดไม่ฟังอรรถกถา-ฎีกา ก็ไม่เป็นไร เพราะตัวคำศัพท์ในบาลีพุทธวจนะนั้นชัดเจนอยู่แล้ว ก็เป็นอันว่า พระไตรปิฎกภาษาไทยแปลบาลีพุทธพจน์ตรงนี้พลาด หรือพลั้งเผลอไป
เรื่องความผิดพลาดอย่างนี้ ไม่ควรจะด่วนติเตียนท่าน เดี๋ยวจะพูดเรื่องนี้อีกบ้าง แต่มีข้อสังเกตไว้ทีหนึ่งก่อน
ที่ว่า “สาธิกํ” เป็นคำบาลีในภาษาสามัญนั้น มีอีกคำหนึ่งที่ก็สามัญด้วย และใช้บ่อยกว่า มากกว่า “สาธิกํ” ด้วย เป็นคำที่ควรพูดถึง เพราะมีรูปร่างคล้ายกัน คือคำว่า “สุทฺธิกํ” “สุทฺธิกํ” แปลว่า ล้วน มีใช้บ่อย ที่คุ้น เช่นใน “สุทฺธิกปาจิตฺติยํ” ซึ่งบางที่แยกเป็น “สุทฺธิกํ ปาจิตฺติยํ” (ปาจิตตีย์ล้วน ไม่มีของที่ต้องสละ)
ล้วน กับ ถ้วน ไม่เหมือนกัน ก็จริง แต่ความเผลอๆ เพลินๆ บางทีก็มีได้ บางทีท่านอาจจะนึกถึง “สุทฺธิกํ” ในขณะที่ “สาธิกํ” ผ่านเข้ามา ก็เลยพลั้งไป แต่ไม่ว่าจะอย่างไร ก็เป็นอันว่าพลาดไป ซึ่งบอกแล้วว่ามีเหตุผลที่ควรเข้าใจเห็นใจ ดังจะว่าต่อไป
ที่ว่านี้เป็นการเล่าเรื่องเก่าที่เกิดขึ้นเมื่อปี 2552 ที่ดังอื้อ แล้วเข้าใจว่าจางเงียบไปใน 2-3 ปีต่อมา คราวนั้น อาตมาเองได้เขียนอธิบายเรื่องนี้ไว้ จนถือว่าเสร็จไป จบไปแล้ว เรื่องเสร็จไป เจอข่าวเฉไฉช่วยให้ได้ชี้ครบทุกข้อที่จะพึงชัด
สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 37
ความคิดเห็นที่ 36
เรื่องสวดปาติโมกข์ พุทธนิกายอื่นๆ สวดกันเท่าไร
สะพานหมุนติ้ว
ขออนุญาตนำมาตอบตรงนี้นะครับ
เท่าที่รวบรวมข้อมูลไว้ได้คือตามตารางข้างล่างนี้
สรุปสั้น ๆ
จำนวน “สาธิกมิทํ...ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ”
เป็นช่วงเวลาหนึ่งในครั้งพุทธกาล มีจำนวนสิกขาบทที่ต้องยกขึ้นสู่การสวดปาติโมกข์ในเวลานั้น จำนวนเท่านั้นข้อ
ซึ่งไม่มีหลักฐานการจำแนกไว้ว่าคือสิกขาบทข้อใดบ้าง
ผู้ใดที่ทำการจำแนกว่าในจำนวน “สาธิกมิทํ...ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ” ว่ามีสิกขาบทข้อใดบ้าง นั่นเป็นเพียงการคาดคะเน คาดเดา
ซึ่งมีโอกาสผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
พระตถาคต ทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มขึ้นตามกาลสมัยที่พระภิกษุ ภิกษุณี สาวกของพระองค์กระทำให้เกิดอาสวัฏฐานิยธรรม ถูกตำหนิติเตียน
สิกขาบทสิ้นพุทธกาลคือ ๒๒๐ ข้อ และอธิกรณสมถะ ๗ ข้อ
เรื่องสวดปาติโมกข์ พุทธนิกายอื่นๆ สวดกันเท่าไร
สะพานหมุนติ้ว
ขออนุญาตนำมาตอบตรงนี้นะครับ
เท่าที่รวบรวมข้อมูลไว้ได้คือตามตารางข้างล่างนี้
สรุปสั้น ๆ
จำนวน “สาธิกมิทํ...ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ”
เป็นช่วงเวลาหนึ่งในครั้งพุทธกาล มีจำนวนสิกขาบทที่ต้องยกขึ้นสู่การสวดปาติโมกข์ในเวลานั้น จำนวนเท่านั้นข้อ
ซึ่งไม่มีหลักฐานการจำแนกไว้ว่าคือสิกขาบทข้อใดบ้าง
ผู้ใดที่ทำการจำแนกว่าในจำนวน “สาธิกมิทํ...ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ” ว่ามีสิกขาบทข้อใดบ้าง นั่นเป็นเพียงการคาดคะเน คาดเดา
ซึ่งมีโอกาสผิดพลาดคลาดเคลื่อนไปจากความเป็นจริง
พระตถาคต ทรงบัญญัติสิกขาบทเพิ่มขึ้นตามกาลสมัยที่พระภิกษุ ภิกษุณี สาวกของพระองค์กระทำให้เกิดอาสวัฏฐานิยธรรม ถูกตำหนิติเตียน
สิกขาบทสิ้นพุทธกาลคือ ๒๒๐ ข้อ และอธิกรณสมถะ ๗ ข้อ
ความคิดเห็นที่ 28
พระบาลี “สาธิกมิทํ...ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ” คำนี้มีสถาบัน บุคคลผู้แปล ได้แปลไว้
คำนี้มีความหมายอย่างไร
ต่อไปนี้ คือ การรวบรวมคำแปลของสถาบัน สำนัก บุคคล ที่ได้แปลไว้
ฉบับหลวง แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้
อ้างอิง : องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๔/๒๑๙, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๖/๒๒๐, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๗/๒๒๐,องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๘/๒๒๓. [พระไตรปิฎกแปลไทยฉบับหลวง]
ฉบับมหาจุฬาฯ แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้
อ้างอิง : องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๘๕/๓๑๑, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๘๗/๓๑๒, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๘๘/๓๑๔.,องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๘๙/๓๑๗.
ฉบับมหามกุฏฯ แปลว่า สิกขาบทที่สำคัญ ๑๕๐ นี้
อ้างอิง : องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๔/๔๕๐, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๖/๔๕๔, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๗/๔๕๙, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๘/๔๖๔.
ฉบับเฉลิมพระเกียรติ แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้
อ้างอิง : องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๙๙๖/๓๕๒, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๙๙๘/๓๕๔, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๙๙๙/๓๕๖, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๑๐๐๐/๓๕๙.
ฉบับพม่า แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ กว่าข้อ
อ้างอิง : Angutaranikaya Samanavagga vol. 1., (Yangon : Buddha Sasana publisher), p. 249, 250, 251, 253.
ฉบับศรีลังกา แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ กว่าข้อ
อ้างอิง : Buddha Jayanti Tripitaka Series, Anguttanikaya (I) vols 18., (Sri Lanka : Dharma Chakkra Child Foundation B.E.2550), p. 408-417.
ฉบับเขมร แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ สำเร็จแล้วนี้
อ้างอิง : The Buddhidh Institute Phanom Penh, Suttata Pitaka (Tripitaka vols 41), (Japan : Hirosaki Sogo Printing Ltd, 1994), p. 321, 324, 327, 331.
ฉบับภาษาอังกฤษ Pali Text “more than a hundred and fifty rules”
อ้างอิง : Pali Text Society.The Book of The Gradual Saying .( Aṅguttara-nikāya) vol 1.,tr by F.L.Wood Ward .Reprinted 6th, (Great Britain : Antony Rowe Ltd, Chippenham,Wiltshire 1995), p. 210, 211.
Bhikkhu Bodhi 2012 “more than a hundred and fifty training rules”
อ้างอิง : Pali Text Society.The Numerical Discourses of the Buddha. (Aṅguttara-nikāya). tr by Bhikkhu Bodhi., (USA : Wisdom Plublications. 2012), p. 316, 317, 318, 320.
เว็บไซด์ www.suttacentral.net : ซึ่งเป็นเว็บไซด์รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนา
ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษไว้ว่า “more than 150 training rules”
อ้างอิง : The Vajjian Monk [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://suttacentral.net/en/an3.84, https://suttacentral.net/en/an3.86
อรรถกถา วัชชีปุตตสูตร ได้อธิบายขายายความ ไว้ว่า
คำว่า วัชชีบุตร (วัชฺชีปุตฺตโก) ได้แก่ บุตรของราชตระกูลวัชชี คำว่า สิกขาบท ๑๕๐ (ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ) ได้แก่ สิกขาบท ๑๕๐ ข้อ
ภิกษุวัชชีบุตรหมายเอาสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ในสมัยนั้นนั่นแลจึงกล่าวคำนี้ว่า สิกขาบท ๑๕๐
(ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ)”
องฺ.ติก.อ. มโนรถปูรณี ภาค ๒ หน้า ๓๒๒.
วรรณกรรมมิลินทปัญหาแปลภาษาไทย พบว่า มีการแปลที่ไม่ตรงกัน ดังนี้
คณะผู้แปลมิลินทปัญหา ในมัยรัชกาลที่ ๓ แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ กว่า
อ้างอิง : มิลินทปัญหา (หนังสือแปลสมัยรัชกาลที่ ๓) รวบรวมจัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร, พิมพ์ครั้งที่ ๙ (กรุงเทพมหานคร : บริษัทประยูรวงศ์พริ้นติ้งจำกัด, ๒๕๕๐), หน้า ๔๐๐-๔๐๑. บาลี หน้า ๗๙๑-๗๙๒.
มิลินทปัญหา (ไทย) ฉบับ มมร. แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วน
อ้างอิง : มหามกุฏราชวิทยาลัย , มิลินทปัญหา (ไทย), พิมพ์ครั้งที่ ๕, (กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖), หน้า ๓๖๐.
คัมภีร์มิลินทปัญหาภาษาไทย ฉบับ มจร. แปลว่า ๑๕๐ กว่าสิกขาบท
อ้างอิง : มิลินทปัญหา (ไทย). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙. หน้า ๓๙๓.
ภาพตัวอย่างหน้าหนังสือ
ข้อสังเกต สำนัก มจร แปลพระบาลีคำนี้ไม่ตรงกัน นั่นคือ
ในพระไตรปิฎก แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้
ส่วนในวรรณกรรม มิลินทปัญญา แปลว่า ๑๕๐ กว่าสิกขาบท
(พิมพ์ตำรามาจากสำนักเดียวกัน พระบาลีคำเดียวกัน แปลไม่ตรงกัน)
พระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) แปลว่า “สิกขาบท ๑๕๐ มีเศษนี้”
อ้างอิง : สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต), รู้จักพระไตรปิฎกให้ชัดให้ตรง, พิมพ์ครั้งที่ ๙,(กรุงเทพมหานคร : เจริญดีการพิมพ์ ๒๕๕๙) , หน้า ๔.
พระคันธสาราภิวงศ์ (พม.สมลักษณ์ คนฺธสาโร) แปลว่า สิกขาบทเกินกว่า ๑๕๐
อ้างอิง : พระคันธสาราภิวงศ์ (พม.สมลักษณ์ คนฺธสาโร) และ พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัศน์,ดร. บทความเพื่อพุทธวจนะ ศีลสิกขาบท ๑๕๐-๒๒๗ พุทธวจนะ รู้จัก รู้จริง รู้แจ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๒ . กรุงเทพมหานคร : ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์, ๒๕๕๗., หน้า ๗-๑๐.
เรื่องการแปลพระบาลี “สาธิกมิทํ...ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ” นี้ ถ้าได้สืบค้นประวัติกระทู้ในพันทิปพบว่าเป็นประเด็นที่ได้สนทนากันมาหลายสิบกระทู้
ถ้าสนใจที่จะสนทนา เสวนา วิชาการ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน
ขอนิมนต์ พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล รวมทั้ง สมาชิกแมลง Saab (เอาตัวเป็น ๆ มาให้ครบทุกล้อกอิน)
ผมจะหาโอกาสนิมนต์ พระอาจารย์สมลักษณ์ คนฺธสาโร รวมทั้งนักวิชาการท่านอื่น มาเป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้
ตลอดจนวิเคราะห์ความเป็นมา การเริ่มสวดมีจำนวนสิกขาบท ? จนสิ้นพุทธกาลมีสิกขาบท ?
สถานที่เป็นกลางทางวิชาการ : มจร วังน้อย
วันเวลา นัดหมายมาเลยครับ
ขอบคุณครับ
คำนี้มีความหมายอย่างไร
ต่อไปนี้ คือ การรวบรวมคำแปลของสถาบัน สำนัก บุคคล ที่ได้แปลไว้
ฉบับหลวง แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้
อ้างอิง : องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๔/๒๑๙, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๖/๒๒๐, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๗/๒๒๐,องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๘/๒๒๓. [พระไตรปิฎกแปลไทยฉบับหลวง]
ฉบับมหาจุฬาฯ แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้
อ้างอิง : องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๘๕/๓๑๑, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๘๗/๓๑๒, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๘๘/๓๑๔.,องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๘๙/๓๑๗.
ฉบับมหามกุฏฯ แปลว่า สิกขาบทที่สำคัญ ๑๕๐ นี้
อ้างอิง : องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๔/๔๕๐, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๖/๔๕๔, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๗/๔๕๙, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๕๒๘/๔๖๔.
ฉบับเฉลิมพระเกียรติ แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้
อ้างอิง : องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๙๙๖/๓๕๒, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๙๙๘/๓๕๔, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๙๙๙/๓๕๖, องฺ.ติก. (ไทย) ๒๐/๑๐๐๐/๓๕๙.
ฉบับพม่า แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ กว่าข้อ
อ้างอิง : Angutaranikaya Samanavagga vol. 1., (Yangon : Buddha Sasana publisher), p. 249, 250, 251, 253.
ฉบับศรีลังกา แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ กว่าข้อ
อ้างอิง : Buddha Jayanti Tripitaka Series, Anguttanikaya (I) vols 18., (Sri Lanka : Dharma Chakkra Child Foundation B.E.2550), p. 408-417.
ฉบับเขมร แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ สำเร็จแล้วนี้
อ้างอิง : The Buddhidh Institute Phanom Penh, Suttata Pitaka (Tripitaka vols 41), (Japan : Hirosaki Sogo Printing Ltd, 1994), p. 321, 324, 327, 331.
ฉบับภาษาอังกฤษ Pali Text “more than a hundred and fifty rules”
อ้างอิง : Pali Text Society.The Book of The Gradual Saying .( Aṅguttara-nikāya) vol 1.,tr by F.L.Wood Ward .Reprinted 6th, (Great Britain : Antony Rowe Ltd, Chippenham,Wiltshire 1995), p. 210, 211.
Bhikkhu Bodhi 2012 “more than a hundred and fifty training rules”
อ้างอิง : Pali Text Society.The Numerical Discourses of the Buddha. (Aṅguttara-nikāya). tr by Bhikkhu Bodhi., (USA : Wisdom Plublications. 2012), p. 316, 317, 318, 320.
เว็บไซด์ www.suttacentral.net : ซึ่งเป็นเว็บไซด์รวบรวมคำสอนในพระพุทธศาสนา
ได้แปลเป็นภาษาอังกฤษไว้ว่า “more than 150 training rules”
อ้างอิง : The Vajjian Monk [ออนไลน์], แหล่งที่มา : https://suttacentral.net/en/an3.84, https://suttacentral.net/en/an3.86
อรรถกถา วัชชีปุตตสูตร ได้อธิบายขายายความ ไว้ว่า
คำว่า วัชชีบุตร (วัชฺชีปุตฺตโก) ได้แก่ บุตรของราชตระกูลวัชชี คำว่า สิกขาบท ๑๕๐ (ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ) ได้แก่ สิกขาบท ๑๕๐ ข้อ
ภิกษุวัชชีบุตรหมายเอาสิกขาบทที่ทรงบัญญัติไว้ในสมัยนั้นนั่นแลจึงกล่าวคำนี้ว่า สิกขาบท ๑๕๐
(ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ)”
องฺ.ติก.อ. มโนรถปูรณี ภาค ๒ หน้า ๓๒๒.
วรรณกรรมมิลินทปัญหาแปลภาษาไทย พบว่า มีการแปลที่ไม่ตรงกัน ดังนี้
คณะผู้แปลมิลินทปัญหา ในมัยรัชกาลที่ ๓ แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ กว่า
อ้างอิง : มิลินทปัญหา (หนังสือแปลสมัยรัชกาลที่ ๓) รวบรวมจัดพิมพ์โดยกรมศิลปากร, พิมพ์ครั้งที่ ๙ (กรุงเทพมหานคร : บริษัทประยูรวงศ์พริ้นติ้งจำกัด, ๒๕๕๐), หน้า ๔๐๐-๔๐๑. บาลี หน้า ๗๙๑-๗๙๒.
มิลินทปัญหา (ไทย) ฉบับ มมร. แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วน
อ้างอิง : มหามกุฏราชวิทยาลัย , มิลินทปัญหา (ไทย), พิมพ์ครั้งที่ ๕, (กรุงเทพมหานคร : มหามกุฏราชวิทยาลัย, ๒๕๕๖), หน้า ๓๖๐.
คัมภีร์มิลินทปัญหาภาษาไทย ฉบับ มจร. แปลว่า ๑๕๐ กว่าสิกขาบท
อ้างอิง : มิลินทปัญหา (ไทย). กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์มหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, ๒๕๕๙. หน้า ๓๙๓.
ภาพตัวอย่างหน้าหนังสือ
ข้อสังเกต สำนัก มจร แปลพระบาลีคำนี้ไม่ตรงกัน นั่นคือ
ในพระไตรปิฎก แปลว่า สิกขาบท ๑๕๐ ถ้วนนี้
ส่วนในวรรณกรรม มิลินทปัญญา แปลว่า ๑๕๐ กว่าสิกขาบท
(พิมพ์ตำรามาจากสำนักเดียวกัน พระบาลีคำเดียวกัน แปลไม่ตรงกัน)
พระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต) แปลว่า “สิกขาบท ๑๕๐ มีเศษนี้”
อ้างอิง : สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ป.อ. ปยุตฺโต), รู้จักพระไตรปิฎกให้ชัดให้ตรง, พิมพ์ครั้งที่ ๙,(กรุงเทพมหานคร : เจริญดีการพิมพ์ ๒๕๕๙) , หน้า ๔.
พระคันธสาราภิวงศ์ (พม.สมลักษณ์ คนฺธสาโร) แปลว่า สิกขาบทเกินกว่า ๑๕๐
อ้างอิง : พระคันธสาราภิวงศ์ (พม.สมลักษณ์ คนฺธสาโร) และ พระมหาอุเทน ปัญญาปริทัศน์,ดร. บทความเพื่อพุทธวจนะ ศีลสิกขาบท ๑๕๐-๒๒๗ พุทธวจนะ รู้จัก รู้จริง รู้แจ้ง. พิมพ์ครั้งที่ ๒ . กรุงเทพมหานคร : ประยูรสาส์นไทยการพิมพ์, ๒๕๕๗., หน้า ๗-๑๐.
เรื่องการแปลพระบาลี “สาธิกมิทํ...ทิยฑฺฒสิกฺขาปทสตํ” นี้ ถ้าได้สืบค้นประวัติกระทู้ในพันทิปพบว่าเป็นประเด็นที่ได้สนทนากันมาหลายสิบกระทู้
ถ้าสนใจที่จะสนทนา เสวนา วิชาการ เพื่อนำไปสู่ความเข้าใจที่ถูกต้องตรงกัน
ขอนิมนต์ พระคึกฤทธิ์ โสตฺถิผโล รวมทั้ง สมาชิกแมลง Saab (เอาตัวเป็น ๆ มาให้ครบทุกล้อกอิน)
ผมจะหาโอกาสนิมนต์ พระอาจารย์สมลักษณ์ คนฺธสาโร รวมทั้งนักวิชาการท่านอื่น มาเป็นวิทยากรผู้ให้ความรู้
ตลอดจนวิเคราะห์ความเป็นมา การเริ่มสวดมีจำนวนสิกขาบท ? จนสิ้นพุทธกาลมีสิกขาบท ?
สถานที่เป็นกลางทางวิชาการ : มจร วังน้อย
วันเวลา นัดหมายมาเลยครับ
ขอบคุณครับ
แสดงความคิดเห็น
รู้จักพระไตรปิฎก ให้ชัด ให้ตรง (กรณีพระคึกฤทธิ์) "คัดลอกข้อความ"
หนังสือนี้ ถือว่าเขียนพอเสร็จให้อ่านไปพลางก่อน เพราะเรื่องที่ปรารภเกิดขึ้นนานแล้วจึงทราบ ควรเร่งให้ความรู้กันไปขั้นหนึ่งก่อน ไม่ให้เป็นความประมาท เมื่อใดทราบเรื่องราวที่เป็นไปละเอียดขึ้น ถ้าเวลาอำนวยและร่างกายยังไหว อาจจะได้ต่อได้เติม เรื่องราวจำพวกปัญหาที่เกิดทยอยมาระยะนี้ แสดงชัดถึงสภาพของพุทธบริษัท ที่คนไทยเหินห่างจากเนื้อตัวของพระพุทธศาสนา ขาดความรู้หลักธรรมวินัย ไม่รู้จักคำพระคำวัดที่พูดจาคุ้นกันมาจนกลายเป็นคำพูดสามัญในสังคมไทย มีแต่ความเข้าใจผิดพลาดเพี้ยนกันไป เมื่อมีเรื่องจำพวกปัญหาเกิดขึ้น ถ้าไม่ถึงกับหลงไปตามเขา ก็มองไม่ออก ตัดสินไม่ได้ จำเป็นต้องรีบตื่นกันขึ้นมา ข้อสำคัญที่สุดอยู่ที่ต้องหาต้องให้ ความรู้เข้าใจที่ถูกต้อง คือต้องศึกษา เมื่อรู้เข้าใจเพียงพอแล้ว มีอะไรเกิดขึ้นมา ก็สามารถพิจารณา มองออกและบอกได้ทันที หนังสือ รู้จักพระไตรปิฎก ให้ชัด ให้ตรง นี้ มิใช่จะตอบโต้ใคร แต่มุ่งรักษาประโยชน์ของคนส่วนใหญ่ อย่างน้อยให้ปลอดพ้นความรู้ผิดเข้าใจพลาดที่เป็นภัยสำคัญ หลายอย่างคงจะยากสักหน่อย แต่ว่าด้วยเรื่องที่จำ เป็นต้องรู้ เพื่อมีคุณสมบัติสมกับที่ได้นับถือพระพุทธศาสนา จึงพึงอดทนศึกษา เหมือนเป็นเครื่องพิสูจน์ความเป็นพุทธศาสนิกชน
ผู้เขียน ..........<พระพรหมคุณาภรณ์ (ป. อ. ปยุตฺโต)>
12 มีนาคม 2558