ทางเลือก วิธีระบายความร้อนในห้องระบบปิดและอื่นๆ

ปัญหาชีวิตในหน้าร้อนที่หนีไม่พ้นสำหรับคนที่ไม่ได้ติดแอร์หรือต้องไปอยู่ในอาคารหรือสถานที่บางที่
มาดูวิธีระบายความร้อนแบบเบสิกกันก่อนคือ พัดลม
1 ใช้พัดลมเป่าไปที่บุคคลโดยตรงวิธีนี้คือการระบายความร้อนจากร่างกายตรงๆ เหมาะสำหรับอากาศที่ค่อนข้างเย็นอยู่แล้ว แต่ไม่สามารถระบายความร้อนในห้องได้  ถ้าเป็นพื้นที่ร้อนมากๆ  ก็จะช่วยได้แค่ทำให้เราระบายความร้อนจากเหงือไวขึ้น สุดท้ายก็ร้อน เหงือส่วนหนึ่งก็ยังออกอยู่อย่างนั้น ไม่สบายตัวเลย
2 ใช้วิธีเปิดช่องระบายอากาศ
การสร้างช่องทางลมจะสามารถทำให้อากาศไหลเวียนภายในอาคารได้ดีขึ้น ไม่ว่าจะเป็นประตูหน้าต่าง หรือพัดลมดูด (ออก) อากาศข้างพนัง บนหลังคา จะระบายดีมากถ้าเปิดช่องทางระบายมากกว่า 2 ช่อง  และจะดีถ้าเป็นทิศตรงกันข้าม อากาศในอาคารจะเย็นขึ้นแต่ก็ยังร้อนกว่าข้างนอกอยู่ดี
3 เปิดช่องอากาศเข้า + และดูดอากาศออก
    เช่นการเปิดประตูหรือหน้าต่างในห้องสองด้าน แล้วเอาพัดลมตั้งไว้ตรงประตูหรือหน้าต่างโดนหันออกไปข้างนอก  หรือวางพัดลมไว้ในสูงๆ ของมุมห้องที่ไม่ใช่ช่องทางลม 
ถ้ามีช่องมากพอ หรือมีลมดูด/เป่า มากพอวิธีนี้จะทำให้อากาศในอาคารเย็นเท่ากับข้างนอกพอดี  เหมาะสำหรับอาคารที่อยู่ห่างไกลตัวเมือง พื้นที่อุตสาหกกรรม หรือห่างไกลถนนที่มีรถสัญจรจำนวนมาก พื้นที่ติดแหล่งน้ำ  อย่างน้อยหลังจาก 5 ทุ่มก็จะได้อุณหภูมิในห้องประมาณ 28 องศาพอช่วยรอดตายไปได้อีกวัน แต่ถ้าอากาศข้างนอกร้อนมากๆ  วิธีนี้จะไม่ช่วยอะไรเลย เผลอๆ ทำให้ร้อนกว่าเดิม แต่ก็ดีกว่าสองวิธีด้านบน
4 ระบายความร้อนด้วยน้ำระบบเปิด
4.1 ระบายความร้อนด้วยน้ำระบบเปิดในอาคาร
  น้ำที่ระเหยด้วยความร้อนจะทำพาความร้อนไหลขึ้นไปบนอากาศ บางคนอาจหลงประเด็นว่าการทำให้ห้องเย็นขึ้นคือสร้างความเย็นเข้ามาในห้อง แต่จริงๆ แล้วการนำความร้อนออกไปไม่ว่าด้วยลม  น้ำ หรือจะเป็นสารทำความเย็นต่างๆ   ข้อใช้พัดลมไอน้ำ การฉีดระอองน้ำภายในอาคารจะช่วยให้เย็นขึ้นบ้าง แต่ความชื้นสูง  ทำให้ไม่สบายตัว  และเป็นปัญหาในการหายใจสูดอากาศเข้าไป ปอดเราคงไม่ไหว ถ้าจะต้องสูดอากาศชื้นๆ นานๆ ดีไม่ดี ดูจากพัดลมไอน้ำที่เคยมีคนซื้อมาใช้อยู่บ้าง  ตอนนี้เงียบหายกลายเป็นพัดลมที่เจลเป็นสารทำความเย็นแทน ตัดปัญหาเรื่องความชื้นออกไป แต่มันไม่ได้เป็นระบบปิดจริงๆ ใช้ไปนานๆ เจลหมด  ต้องซื้อมาใส่ใหม่  
4.2 ระบายความร้อนด้วยน้ำระบบเปิดนอกอาคาร
  การสร้างละอองน้ำนอกอาคารจะช่วยทำให้น้ำระเหยไว  และนำพาควาร้อนลอยขึ้นไป  เปรียบเทียบกับการทำความเย็นก็ใช้หลักการเดียวกัน โดยสารจะสถานนะเป็นก๊าซกับของเหลวสลับดัน แต่สารทำความเย็นมันเป็นระบบปิดไหลเวียนอยู่ในท่อน้ำยาแอร์ ถ้าเปรียบเทียบกับน้ำการทำให้เป็นละออง จะทำให้มันเดือดง่าย และเปลี่ยนสถานะเป็นก๊าซไวขึ้น (ระเหยนั่นแหละ) หรือการลดบนน้ำหลังคาจะให้ให้หลังคาระบายความร้อนออกไป และความร้อนแทรกทะลุเข้ามาได้น้อยขึ้น พออุณหภูมิรอบๆ ข้างนอกเย็น ก็จะทำให้อาคารเย็น แต่วิธีนี้ใช้พื้นที่เยอะ  ถ้าใช้แรงดันจากน้ำประปาปกติ เราก็ตัดปัญหาในเรื่องการใช้ไฟฟ้าไปเลย  แต่ผมก็มองว่ามันดูเป็นการสิ้นเปลือง  เหมือนเอาน้ำไปเททิ้ง  และเปิดน้ำทิ้งไว้ทั้งวันบางทีมันก็สู้ความร้อนถาโถมเข้ามาตลอดไม่ไหว   ยกเว้นบ้านคุณมีสวนมีสนามหญ้าก็ว่ากันไปถือว่ารดน้ำไปในตัว   น้ำดิบเป็นสิ่งมีค่าและเหลือน้อยลงทุกวัน บางประเทศที่เขาเซฟน้ำกันหนัก มาก และคงมีบางประเทศที่ฉีดน้ำทิ้งแบบนี้ได้
5. ติดแอร์เถอะ
  จากปัญหาที่กล่าวมาทั้งหมด  ติดแอร์เถอะ  จะได้จบๆกัน ไป ค่าไฟที่เพิ่มเข้ามาวันละประมาณ 100+- บาททำหรับห้องขนาดกลางสำหรับผมมันถือว่าไม่มากเลยนะ ถ้าเทียบกับค่าครองชีพ  ถ้าคุณอยากสบาย  ก็พยายามหามาจ่ายๆ ให้ได้  แค่คุณคิดว่าอยากประหยัดไฟขับรถไปห้างเดินลากขาไปกินข้าวไม่กี่ชั่วโมงแล้วขับกลับบ้าน  หักค่าน้ำมันคุณก็หมดเงินไปมากกว่า 100 บาทแล้ว  เพราะเหตุนี้ผมคิดว่ามันน้อยมาก  และเป็นสิ่งจำเป็นที่คุณจะต้องซื้อมาและจ่ายมันให้ได้  จะได้ตัดปัญหาจุกจิดที่กล่าวมาทั้งหมด  ที่บางคนยังมองว่ามันสิ้นเปลืองก็น่าจะเพราะรายได้นี่แหละ  แต่ผมเห็นมาหลายคนแล้วที่บอกว่าทนได้  แต่สุดท้ายก็ต้องยอมจ่ายแอร์แพงในราคาของฤดูการหน้าร้อน  สุดท้ายก็ไม่มีใครทนได้
6 ระบายความร้อนด้วยน้ำระบบปิด
  ส่วนมากใช้ในอาคารขนาดใหญ่ เช่นพวกอุตสากรรม   หรือใช้ร่วมกับระบบแอร์สำหรับอาคารขนาดใหญ่  แต่ยังไม่เห็นมีใครทำออกมาสำหรับใช้ส่วนบุคคลเลย   น่าจะเพราะใช้พื้นในการติดตั้งที่เยอะ มีความประหยัดกว่าแอร์มาก แต่ทำความเย็นในอากาศที่ร้อนจัดได้อย่างมากก็ลดได้ 3 องศา (ถ้าร้อนมากๆ) และอาจลดได้ถึง 10 องศาในพื้นที่ที่อากาศไม่ร้อนมาก น่าจะเอามาใช้กับอาคารราชการหรือโรงเรียน (สงสารเด็ก)
7 การระบายความร้อนใต้หลังคา 
  บนฝ้าหรือใต้หลังคาอากาศร้อนจะสะสมอยู่ตรงนั้น ถ้าทะลุฉนวนลงมาได้ บ้านคุณก็ไม่ต่างอะไรกับเตาอบ   การระบายความร้อนใต้หลังคาหรือหาฉนวนมาปู หรือติดตั้งพัดลมแบบต่างๆ หรือระบบอื่นๆ  (ขี้เกียจหาข้อมูลมาขยายความ) ก็จะให้บ้านเย็นและช่วยลดค่าไฟได้ด้วยนะ
8 ระบบระบายความร้อนจากการไหลเวียนอากาศในบาดาล (Ground-coupled heat exchanger/earth cooling system)
  เคยเห็นต่างประเทศใช้กัน (แน่นอนผมขี้เกียจหาข้อมูลมาขยายความ) โดยใช้หลักการการเคลื่อนตัวของอากาศร้อนและเย็นอาการจะมีท่อจะต่อมาจากบ่อบาดาลเอาไปในอาคาร โดยเริ่มจากชั้นล่างสุด ถ้ามีหลายชั้น แล้วก็ต่อท่อระบายอากาศไปตามจุดต่างๆ และทำช่อง  (หรือท่อ) ระบายอากาศออก (คล้ายๆ หลักการข้อ 2, 3) มี  ส่วนบ่อบาดาลจะมีช่อง (หรือท่อ) อากาศเข้าเพื่อให้อากาศร้อนดันอากาศเย็นเข้าไปในอาคาร  วิธีนี้จะใช้ร่วมกับพัดลมดูดอากาศด้วยหรือไม่ก็ได้ (มีพัดลมอากาศไหลจะเวียนไวขึ้น)  วิธีถ่ายโอนความร้อนนี้ไม่ได้สร้างมาสำหรับทำให้อาการเย็นอย่างเดียว  แต่ยังทำให้อาคารหรือบ้านอบอุ่นในฤดูหนาวด้วย โดยใช้หลักการเดียวกันโดยใช้หลักการเคลื่อนตัวของอากาศเนี่ยแหละ ผมขี้เกียจและเปรียบเรียงคำพูดไม่ถูก ขอไม่พิมพ์แล้วกัน ถ้าคุณสงสัยในบางข้อ ผมเชื่อว่าคุณจะต้องไปเชิร์ชหาเองแน่ๆ บางระบบมันก็มีแยกย่อย มีหลายเครื่องหลายหน้าตา ผมเองก็ไม่มีความรู้โดยตรง พอจำได้คร่าวๆ Ground-coupled heat exchanger มันก็มีวิธีการเดินท่อหลายวิธีเหมือนกัน
9 ระบบผสม
 อย่างระบบแอร์ในห้างหรืออาคารอุตสาหรรมบางที่ ตัว CDU เขาไม่ได้ใช้แผงคอยกับพัดลมอย่างเดียวนะ เขามีการใช้น้ำ การนำประจุ  หรือสารอื่นๆ เข้ามาระบายหรือหล่อเย็น เช่น Cooling Tower  
ระบบของ CDU พวกนี้ผมคิดว่าทำไมเอาใช้ในแอร์ส่วนบุคคลบ้างนะ จะได้ประหยัดและทนมากขึ้น  แต่อาจแลกมาด้วยอุปกรณ์ราคา การซ่อมแซมที่จุกจิกมากขึ้น เลยไม่ทำกัน เคยเห็นใครคนหนึ่งในพันทิป ค่อยๆ เอาน้ำมารดแผงคอล์ยร้อนตลอด จำไม่ได้ว่าทำยังไง น่าจะเป็นปั้มหรือท่อเล็กๆ มั้ง  และค่าไฟของเขาก็ลดและแอร์เย็นขึ้น  แต่ไม่แนะน้ำให้ทำตามถ้าไม่ได้ศึกษาดีๆ นะ  อย่างถ้าเป็น CDU ที่เป็นคอล์ยที่เป็นอลูมีเนียมอาจทำให้พังไวขึ้น
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่