คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 41
ถ้าทำสัญญาซื้อขายไปแล้ว ไม่ได้ครับ
เช่นสั่งของแล้ว ทำแล้ว พอจะจ่ายเงินพึ่งมาบอกว่าไม่รับเงินสด อันนี้ไม่ได้
จะกลายเป็นเจ้าหนี้ปฏิเสธไม่ยอมรับปฏิบัติการชำระหนี้อันปราศจากมูลเหตุที่จะอ้างกฎหมายได้ (ป.พ.พ. มาตรา 207) เจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะงอกออกมานอกจากเงินต้นนั้นลูกหนี้ไม่ต้องรับ เช่น ดอกเบี้ย
(เป็นเหตุผลว่าที่ธนบัตรมีข้อความว่า ธนบัตรนี้เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย)
แต่ร้านที่ติดป้ายว่าไม่รับเงินสดชัดเจน ก็คือ เขาไม่สมัครใจทำสัญญาซื้อขายกับคนที่จะชำระด้วยวิธีใช้เงินสดตั้งแต่แรก ถือเป็นสิ่งที่ตกลงกันสองฝ่ายแต่เริ่มได้ว่าการชำระหนี้นั้น จะให้สำเร็จเป็นผลอย่างใด ลูกหนี้ก็ต้องทำให้เป็นอย่างนั้นโดยตรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 เมื่อตกลงกันสองฝ่าย ไม่ขัดกับกฎหมาย ก็เลยไม่ผิดอะไร
(เคยมีฎีกาว่าหนี้กู้ยืมเป็นเงินสด จะชำระด้วยเงินโอนก็ไม่ได้)
เช่นสั่งของแล้ว ทำแล้ว พอจะจ่ายเงินพึ่งมาบอกว่าไม่รับเงินสด อันนี้ไม่ได้
จะกลายเป็นเจ้าหนี้ปฏิเสธไม่ยอมรับปฏิบัติการชำระหนี้อันปราศจากมูลเหตุที่จะอ้างกฎหมายได้ (ป.พ.พ. มาตรา 207) เจ้าหนี้ตกเป็นผู้ผิดนัด ค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ที่จะงอกออกมานอกจากเงินต้นนั้นลูกหนี้ไม่ต้องรับ เช่น ดอกเบี้ย
(เป็นเหตุผลว่าที่ธนบัตรมีข้อความว่า ธนบัตรนี้เป็นเงินที่ชำระหนี้ได้ตามกฎหมาย)
แต่ร้านที่ติดป้ายว่าไม่รับเงินสดชัดเจน ก็คือ เขาไม่สมัครใจทำสัญญาซื้อขายกับคนที่จะชำระด้วยวิธีใช้เงินสดตั้งแต่แรก ถือเป็นสิ่งที่ตกลงกันสองฝ่ายแต่เริ่มได้ว่าการชำระหนี้นั้น จะให้สำเร็จเป็นผลอย่างใด ลูกหนี้ก็ต้องทำให้เป็นอย่างนั้นโดยตรง ตาม ป.พ.พ. มาตรา 208 เมื่อตกลงกันสองฝ่าย ไม่ขัดกับกฎหมาย ก็เลยไม่ผิดอะไร
(เคยมีฎีกาว่าหนี้กู้ยืมเป็นเงินสด จะชำระด้วยเงินโอนก็ไม่ได้)
แสดงความคิดเห็น
ตามกฎหมายแล้ว ร้านค้าสามารถปฎิเสธการรับเงินสดได้หรอครับ
แต่ ตามกฎหมายแล้ว ร้านค้าสามารถปฎิเสธการรับเงินสดได้หรอครับ ในเมื่อมันเขียนไว้ว่า สามารถชำระหนี้ได้ตาม กฎหมาย
ผมใช้ทั้งแอปทั้งบัตรเครดิตก็ สะดวกดี แต่วันนีงลืมเอากระเป๋าเงินไป มีแต่เงินสดในรถ แล้วไม่สามารถใช้บริการได้เลย เกิดความสงสัยขึ้นมา