The Oldest Director of The World
ฉลอง ภักดีวิจิตร ผู้กำกับหนังบู๊โกอินเตอร์วัย 92 ปี ที่ Guinness World Records บันทึกว่าอายุมากที่สุดในโลก
“อาไม่เคยทำหรอกพวกระเบิดภูเขา เผากระท่อม… โคตรกระจอก
!!!”
อาหลอง-ฉลอง ภักดีวิจิตร ผู้กำกับหนังรุ่นเก๋าระเบิดเสียงหัวเราะ เมื่อพูดถึงฉายาที่สื่อมวลชนต่างขนานนามให้ตลอดหลายสิบปี
เพราะเขาเคยแต่เอาเฮลิคอปเตอร์มาชนกับเครื่องบิน บิดมอเตอร์ไซค์ลงจากเครื่องบินสูง 15,000 ฟุต ขับรถจี๊ปแล้วชนเครื่องบินขาด 2 ท่อน ขี่มอเตอร์ไซค์กางปีกพุ่งทะยานข้ามหน้าผา ฯลฯ
ส่วนเรื่องง่าย ๆ แบบระเบิดภูเขาเผากระท่อมนั้นไม่เคยอยู่ในสคริปต์ของอาหลองเลย
แน่นอน แม้แต่ละฉากล้วนลงทุนมหาศาล แต่เขาก็ไม่เคยหวั่น เพราะอยากให้ภาพสุดตะลึงนี้ฝังแน่นในความทรงจำไปของผู้ชมอีกนานแสนนาน
ไม่แปลกเลยว่า เหตุใดใคร ๆ จึงพากันยกย่องให้อาหลองเป็นตำนานของวงการหนัง-ละคร แถมไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้นที่ยอมซูฮก แม้แต่ฝรั่งตาน้ำข้าวก็ยังยกนิ้วให้
เนื่องในโอกาสที่ชายคนนี้อยู่ในวงการต่อเนื่องมาเกิน 7 ทศวรรษ แถมยังไม่เคยหยุดกำกับ แม้วัยจะล่วงเลยมาถึง 92 ปี กระทั่ง Guinness World Records ต้องบันทึกในฐานะผู้กำกับชายที่อายุมากสุดในโลก
ยอดมนุษย์..คนธรรมดา จะพาทุกคนไปสัมผัสกับเรื่องราว ชีวิต และความฝันที่ไม่เคยหยุดนิ่งของศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2556 ชายผู้สร้างปรากฏการณ์พาหนังไทยไปท่องโลกคนนี้
จากช่างภาพมือทอง สู่ผู้กำกับมือเก๋า
ในวัยเด็ก อาหลองไม่ได้มีเป้าหมายจะเป็นคนทำหนัง แต่มีฝันอยากเป็นวิศวกร
แต่คงเพราะโชคชะตาที่เกิดมาบนกองฟิล์ม จากวิศวกรสร้างตึกสร้างถนน จึงต้องกลายเป็นวิศวกรสร้างความบันเทิงแทน
ย้อนไปไกลถึงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ่อของอาหลอง
พุฒ ภักดีวิจิตร คือนักสร้างหนังยุคบุกเบิก ผู้ก่อตั้งศรีบูรพาภาพยนตร์ บริษัทผลิตภาพยนตร์แห่งแรก ๆ ของประเทศไทย
พุฒ ในฐานะผู้อำนวยการสร้าง ได้ร่วมกับน้องชาย
สดศรี ภักดีวิจิตร หรือ
สด ศรีบูรพารมณ์ ผู้กำกับและช่างภาพระดับปรมาจารย์ ผลิตผลงานที่น่าตื่นตาตื่นใจออกมานับไม่ถ้วน ทั้ง สาวเครือฟ้า แสนแสบ รอยไถ นางไพร ซากผีดิบ ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้ บรรดาลูกชายจึงมักถูกเกณฑ์เข้ามาช่วยงานตั้งแต่วัยเยาว์
อย่างอาหลอง ซึ่งมีแววดี ถ่ายรูปออกมาแล้วสวย จึงถูกวางตัวให้มารับหน้าที่ช่างภาพ โดยทุกเช้าเขาจะต้องฝึกมือหมุนกล้องถ่าย เพื่อให้ได้ความเร็วของฟิล์มสม่ำเสมอ คือ 24 เฟรมต่อวินาที
“สมัยนั้นกล้องเป็นกล้องสี่เหลี่ยม ต้องไขลาน เคยเห็นหนัง ชาลี แชปลิน ไหม บางทีก็เร็ว บางทีช้า อยู่ที่มือไขลาน แล้วช่างภาพแต่ก่อนไม่ได้เหมือนสมัยนี้ หนัง 16 มม. ไม่ได้ถ่ายเป็นเนกาทีฟ ถ่ายเป็นโพสิทีฟ สีธรรมชาติเลย ทุกอย่างต้องเป๊ะ เพราะเราปรับสีช่วยทีหลังไม่ได้”
เพราะต้องทำทุกอย่างเองตลอด ทั้งฝึกถ่าย ฝึกตัดต่อ ฝึกล้างฟิล์ม จากความเคยชินก็กลายมาเป็นความหลงใหล และอยากพัฒนาตัวเองไม่หยุด
หลังเรียนจบชั้นเตรียมอุดมศึกษา เมื่อ พ.ศ. 2493 อาหลองในวัย 19 ปี เดินหน้าสู่วงการภาพยนตร์เต็มตัวครั้งแรกในฐานะช่างภาพเรื่อง แสนแสบ
เขาสนุกกับการสั่งซื้อตำราของฮอลลีวูด ตระเวนรับชมภาพยนตร์จากตะวันตก ที่สำคัญ เขายังเป็นคนไทยคนแรกที่ถ่ายกรีนสกรีนในภาพยนตร์ไทย 35 มม. เรื่อง เล็บครุฑ ตอน ประกาศิตจางซูเหลียง เป็นฉากดิ่งพสุธา เรียกเสียงฮือฮาของผู้ชมยุคนั้นอย่างมาก
ด้วยสไตล์ที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ และเป็นสากล ส่งผลให้อาหลองกลายเป็นช่างภาพมือทอง คว้ารางวัลช่างภาพตุ๊กตาทองพระราชทาน 2 ปีซ้อน จากภาพยนตร์เรื่อง พิภพมัจจุราช และ ละอองดาว
หากแต่อาหลองก็ไม่ต่างจากทุกคนที่ฝันถึงความก้าวหน้า ด้วยเขาเป็นคนที่ศึกษาตำรามาก บวกกับได้เห็นแบบอย่างของรุ่นพี่ ๆ ไม่ว่าจะ ส. อาสนจินดา หรือ สุพรรณ พราหมณ์พันธุ์ ซึ่งต่างสร้างผลงานจนโด่งดัง เป็นที่ชื่นชมของประชาชน
เมื่อ พ.ศ. 2510 เขาจึงตัดสินใจชิมลางงานกำกับ พร้อมตั้ง บริษัทบางกอกการภาพยนตร์ ขึ้นครั้งนั้น อาหลองหยิบนำผลงานตอนหนึ่งจากชุด อินทรีแดง ของ เศก ดุสิต มาสร้างเป็นหนังเรื่อง จ้าวอินทรี โดยได้พระเอกดังแห่งยุค มิตร ชัยบัญชา มาประกบกับนางเอกสาว พิศมัย วิไลศักดิ์
หากแต่ผลงานชิ้นแรกกลับไม่ดังอย่างที่คิด โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ขายไม่ได้เลย แต่โชคดีที่อาหลองมีชื่อเรื่องถ่ายภาพมานาน บรรดาสายหนังต่างจังหวัดจึงช่วยซื้อหนังไปฉาย ทำให้ไม่ขาดทุน
“ตอนนั้นคิดจะกลับไปประกอบอาชีพเดิม รับจ้างถ่ายหนังดีกว่า ก็คงเหมือน สตีเวน สปีลเบิร์ก สมัยยังไม่รุ่ง ทำหนังออกมาเรื่องหนึ่ง ก็ไม่ได้ตังค์เลย เฟลมาก แต่มีเพื่อนสนิทบอกว่า อย่าเลิกทำเลย เอ็งเป็นคนมีฝีมือ ทำต่อไป”
แม้จะผิดหวังไปบ้าง แต่เขาก็ไม่เคยหยุดฝัน
3 ปีถัดมา เขาได้รับบทหนังที่เปลี่ยนชีวิตจาก ส. อาสนจินดา คือเรื่อง ฝนใต้ หนังบู๊แอ็กชันที่มีฉากเด็ดอย่างการต่อสู้ท่ามกลางสายฝน ซึ่งนับเป็นครั้งแรกของวงการหนังไทยเลยก็ว่าได้
แต่ปัญหาคือ ไม่มีเงิน อาหลองจึงต้องนำนาฬิกายี่ห้อโอเมกาสุดหวงไปจำนำแถวประตูน้ำ เพื่อหาทุนรอนก้อนแรก
ครั้งนั้นเขาได้พระเอกดัง สมบัติ เมทะนี มาประกบกับนางเอกเบอร์ 1 อย่าง เพชรา เชาวราษฎร์ แล้วยังมี สุรสิทธิ์ สัตยวงษ์ พระเอกที่โด่งดังไม่แพ้กัน พลิกบทบาทมาเล่นเป็นโจรฝาแฝด แถมด้วยราชาเพลงพูด เพลิน พรหมแดน ซึ่งมาลงจอเงินเป็นครั้งแรก
การทุ่มสุดตัวรอบนี้ได้ผลเกินคาด หนังได้ทั้งเงินได้ทั้งกล่อง แถมในปีเดียวกัน เขายังสร้างหนังชื่อ ฝนเหนือ ออกมาโกยเงิน โดยใช้ทีมนักแสดงนำเดิมเกือบยกชุดมาร่วมเล่น
แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือการที่อาหลองได้พบสไตล์หนังที่เหมาะกับตัวเองคือ หนังบู๊แอ็กชัน
“มันสะใจตอนสู้กัน มันหนำใจดี เราเองก็สนุกกับการคิดฉากแปลก ๆ ให้ผู้ชมประทับใจ ส่วนหนังชีวิตมันเนือย ๆ มีแต่คนพูดกัน อีกอย่างคือเวลาอาทำหนังสไตล์อื่นแล้ว คนก็ไม่ค่อยรับเท่าไหร่”
อาหลองยืนหนึ่งในฐานะผู้กำกับหนังบู๊ได้ไม่นาน เขาก็เริ่มฝันไกลยิ่งกว่าเดิม
ฝันที่เขาอยากเห็น คือการพาหนังไทยออกไปสู่สายตาชาวโลก
ปรากฏการณ์ ‘ทอง’ สะท้านโลก
“เราเห็นหนังฝรั่งมาโกยเงินคนไทย แต่ก่อนหนังไทยสู้ไม่ได้หรอก เราก็เลยอยากเอาชนะ”
เพราะเชื่อมั่นว่าคนไทยก็มีความสามารถไม่แพ้ใครในโลก แล้วเหตุใดหนังไทยจะโกอินเตอร์ไม่ได้
พ.ศ. 2515 เป็นปีที่อาหลองเริ่มทดลองจับงานระดับอินเตอร์ อย่าง 2 สิงห์ 2 แผ่นดิน โดยมี ชาญ ทองมั่น อดีตมือโฆษณาของ Shaw Brothers Studio จากฮ่องกง ผู้เป็นบิดาของ Peter Chan (ผู้กำกับภาพยนตร์เรื่อง เถียน มี มี่ 3650 วัน รักเธอคนเดียว) เป็นหุ้นส่วน
หนังเรื่องนี้ได้ดาราใหญ่ของฝั่งไทย สมบัติ เมทะนี มาประกบ เกาหย่วน พระเอกเงินล้านของเกาะฮ่องกง แถมยังถูกฉายในหลายเมืองของสหรัฐอเมริกา มีฉากบู๊สุดประทับใจ ทั้งขับเรือหางยาวไล่ล่ากันและแก๊งมอเตอร์ไซค์ขับเคี่ยวกับเรือหางยาว
“ผมตั้งชื่อเอง คิดอยู่ในหัวตลอด ต้องหาชื่อแปลก ๆ เป็นเรื่องของฝาแฝด อยู่ฮ่องกงคนหนึ่ง อยู่เมืองไทยคนหนึ่ง ก็เลยเป็น 2 แผ่นดิน การตั้งชื่อไม่ใช่ของง่าย ต้องตั้งให้ฮือฮา ดูว่าจะโฆษณาแบบไหน”
หากแต่โปรเจกต์เปลี่ยนชีวิตของอาหลองที่แท้จริงคือ เรื่อง ทอง หรือชื่อเดิมคือ ซัมทอง ซึ่งได้รับคำแนะนำจาก บรรเจิด ทวี หรือนามปากกา ไก่อ่อน คอลัมนิสต์จากหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ให้นำเรื่องนี้มาทำหนัง โดยได้รุ่นพี่คู่ใจอย่าง ป๋า ส. มาเขียนบทให้เช่นเคย
ทอง ดัดแปลงมาจากบทประพันธ์ของนักเขียนตำรวจ ประชา พูนวิวัฒน์ เล่าเหตุการณ์ทองที่ประเทศมหาอำนาจนำไปช่วยเวียดนามใต้ในช่วงสงครามเวียดนามเกิดสูญหายระหว่างทาง จึงมีการส่งสายลับมือดีเข้ามาที่เมืองไทย เพื่อรวบรวมทีมทหารรับจ้างและตามทองกลับมา
เคล็ดลับอย่างหนึ่งที่อาหลองนึกถึง คือต้องนำนักแสดงจากต่างประเทศมาร่วมแสดงด้วย
“ตอนนั้นถึงเราจะทำหนังประวัติศาสตร์ไทยใหญ่โตมโหฬารเพียงใดก็สู้หนังฝรั่งไม่ได้หรอก เป็นหนังฝรั่งคนเป็นพันเป็นหมื่น สู้เราเอาดาราฝรั่งมาเล่นดีกว่า มาให้เป็นสะพานเชื่อมสู่ตลาดโลก”
ดาราที่อาหลองเล็งไว้คือ Greg Morris ซึ่งกำลังโด่งดังจากทีวีซีรีส์เรื่อง ขบวนการพยัคฆ์ร้าย หรือ Mission Impossible
แต่แน่นอน การที่นักแสดงระดับนี้จะมาเล่นหนังไทยไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างแรกเลย คือฝรั่งส่วนใหญ่ไม่รู้จักด้วยซ้ำไปว่าเมืองไทยอยู่ที่ไหน พอบอกว่ามาจากไทยแลนด์ ก็จะตอบกลับมาว่า อ๋อ ไต้หวัน
อาหลองจึงต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อม ตั้งแต่ทำบทให้เสร็จ เขียนสคริปต์ให้เรียบร้อย พอเขียนเสร็จก็ต้องจ้างคนมาแปล หาล่ามเป็นชาวอเมริกันพูดไทยได้ 1 คน กับคนไทยที่พูดอเมริกันได้อีกคน
ที่สำคัญคือ ต่อให้ไม่ใช่พระเอก แต่บทก็ต้องเด่นไม่แพ้กันหรือมากกว่าด้วยซ้ำไป แล้วพอมาถึงเมืองไทยก็ต้องต้อนรับอย่างดี ทุกอย่างต้องชั้นหนึ่งหมด
สุดท้าย Greg Morris ก็ตกปากรับคำมาร่วมแสดง ด้วยค่าตัวประมาณ 5 ล้านบาท
“ก่อนสร้าง เราให้คนในประเทศทายว่าจะเอา Greg Morris มาได้ไหม สุดท้ายก็มาได้ ส่วนฝ่ายหญิง เราได้นางเอกเวียดนาม Thuy Hang Tham มาเล่น นุ่งกางเกงขาสั้น มีมังกรสัก คนดูชอบมาก แล้วมีพระเอกไทย 2 คน คือ กรุง ศรีวิไล กับ สมบัติ เมทะนี เล่นคู่กัน ตอนแรกกรุงเขากลัว เพราะเอาไปประกบกับสมบัติ เพราะสมบัติกำลังดัง อาก็บอกว่า ไม่ต้องกลัว กูกำกับจะกลัวอะไร”
ทอง ใช้เวลาสร้างอยู่นาน 1 ปีถึงแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2516 มีฉากเด็ดที่ผู้ชมไม่รู้ลืม อย่างขี่มอเตอร์ไซค์ดิ่งพสุธาท่ามกลางสายฝน ซึ่งอาหลองถ่ายอยู่ 7 วัน 7 คืนเต็ม
ความโด่งดังของ ทอง ยืนยันได้จากการเข้าฉายในโรงหนังใหญ่ถึง 2 โรง คือปารีสและพาราเมาท์ ซึ่งปกติฉายแต่หนังฝรั่ง แต่ละโรงมีคนยืนรอยาวเป็นกิโลเมตร นับเป็นประวัติศาสตร์ของวงการหนังไทย
ฉลอง ภักดีวิจิตร ผู้กำกับหนังบู๊โกอินเตอร์วัย 92 ปี ที่ Guinness World Records บันทึกว่าอายุมากที่สุดในโลก
อาหลอง-ฉลอง ภักดีวิจิตร ผู้กำกับหนังรุ่นเก๋าระเบิดเสียงหัวเราะ เมื่อพูดถึงฉายาที่สื่อมวลชนต่างขนานนามให้ตลอดหลายสิบปี
เพราะเขาเคยแต่เอาเฮลิคอปเตอร์มาชนกับเครื่องบิน บิดมอเตอร์ไซค์ลงจากเครื่องบินสูง 15,000 ฟุต ขับรถจี๊ปแล้วชนเครื่องบินขาด 2 ท่อน ขี่มอเตอร์ไซค์กางปีกพุ่งทะยานข้ามหน้าผา ฯลฯ
ส่วนเรื่องง่าย ๆ แบบระเบิดภูเขาเผากระท่อมนั้นไม่เคยอยู่ในสคริปต์ของอาหลองเลย
แน่นอน แม้แต่ละฉากล้วนลงทุนมหาศาล แต่เขาก็ไม่เคยหวั่น เพราะอยากให้ภาพสุดตะลึงนี้ฝังแน่นในความทรงจำไปของผู้ชมอีกนานแสนนาน
ไม่แปลกเลยว่า เหตุใดใคร ๆ จึงพากันยกย่องให้อาหลองเป็นตำนานของวงการหนัง-ละคร แถมไม่ใช่แค่คนไทยเท่านั้นที่ยอมซูฮก แม้แต่ฝรั่งตาน้ำข้าวก็ยังยกนิ้วให้
เนื่องในโอกาสที่ชายคนนี้อยู่ในวงการต่อเนื่องมาเกิน 7 ทศวรรษ แถมยังไม่เคยหยุดกำกับ แม้วัยจะล่วงเลยมาถึง 92 ปี กระทั่ง Guinness World Records ต้องบันทึกในฐานะผู้กำกับชายที่อายุมากสุดในโลก
ยอดมนุษย์..คนธรรมดา จะพาทุกคนไปสัมผัสกับเรื่องราว ชีวิต และความฝันที่ไม่เคยหยุดนิ่งของศิลปินแห่งชาติ พ.ศ. 2556 ชายผู้สร้างปรากฏการณ์พาหนังไทยไปท่องโลกคนนี้
แต่คงเพราะโชคชะตาที่เกิดมาบนกองฟิล์ม จากวิศวกรสร้างตึกสร้างถนน จึงต้องกลายเป็นวิศวกรสร้างความบันเทิงแทน
ย้อนไปไกลถึงยุคหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 พ่อของอาหลอง พุฒ ภักดีวิจิตร คือนักสร้างหนังยุคบุกเบิก ผู้ก่อตั้งศรีบูรพาภาพยนตร์ บริษัทผลิตภาพยนตร์แห่งแรก ๆ ของประเทศไทย
พุฒ ในฐานะผู้อำนวยการสร้าง ได้ร่วมกับน้องชาย สดศรี ภักดีวิจิตร หรือ สด ศรีบูรพารมณ์ ผู้กำกับและช่างภาพระดับปรมาจารย์ ผลิตผลงานที่น่าตื่นตาตื่นใจออกมานับไม่ถ้วน ทั้ง สาวเครือฟ้า แสนแสบ รอยไถ นางไพร ซากผีดิบ ปู่โสมเฝ้าทรัพย์ ฯลฯ
ด้วยเหตุนี้ บรรดาลูกชายจึงมักถูกเกณฑ์เข้ามาช่วยงานตั้งแต่วัยเยาว์
อย่างอาหลอง ซึ่งมีแววดี ถ่ายรูปออกมาแล้วสวย จึงถูกวางตัวให้มารับหน้าที่ช่างภาพ โดยทุกเช้าเขาจะต้องฝึกมือหมุนกล้องถ่าย เพื่อให้ได้ความเร็วของฟิล์มสม่ำเสมอ คือ 24 เฟรมต่อวินาที
“สมัยนั้นกล้องเป็นกล้องสี่เหลี่ยม ต้องไขลาน เคยเห็นหนัง ชาลี แชปลิน ไหม บางทีก็เร็ว บางทีช้า อยู่ที่มือไขลาน แล้วช่างภาพแต่ก่อนไม่ได้เหมือนสมัยนี้ หนัง 16 มม. ไม่ได้ถ่ายเป็นเนกาทีฟ ถ่ายเป็นโพสิทีฟ สีธรรมชาติเลย ทุกอย่างต้องเป๊ะ เพราะเราปรับสีช่วยทีหลังไม่ได้”
เพราะต้องทำทุกอย่างเองตลอด ทั้งฝึกถ่าย ฝึกตัดต่อ ฝึกล้างฟิล์ม จากความเคยชินก็กลายมาเป็นความหลงใหล และอยากพัฒนาตัวเองไม่หยุด
หลังเรียนจบชั้นเตรียมอุดมศึกษา เมื่อ พ.ศ. 2493 อาหลองในวัย 19 ปี เดินหน้าสู่วงการภาพยนตร์เต็มตัวครั้งแรกในฐานะช่างภาพเรื่อง แสนแสบ
ด้วยสไตล์ที่โดดเด่น เป็นเอกลักษณ์ และเป็นสากล ส่งผลให้อาหลองกลายเป็นช่างภาพมือทอง คว้ารางวัลช่างภาพตุ๊กตาทองพระราชทาน 2 ปีซ้อน จากภาพยนตร์เรื่อง พิภพมัจจุราช และ ละอองดาว
เมื่อ พ.ศ. 2510 เขาจึงตัดสินใจชิมลางงานกำกับ พร้อมตั้ง บริษัทบางกอกการภาพยนตร์ ขึ้นครั้งนั้น อาหลองหยิบนำผลงานตอนหนึ่งจากชุด อินทรีแดง ของ เศก ดุสิต มาสร้างเป็นหนังเรื่อง จ้าวอินทรี โดยได้พระเอกดังแห่งยุค มิตร ชัยบัญชา มาประกบกับนางเอกสาว พิศมัย วิไลศักดิ์
หากแต่ผลงานชิ้นแรกกลับไม่ดังอย่างที่คิด โดยเฉพาะในเขตกรุงเทพฯ ขายไม่ได้เลย แต่โชคดีที่อาหลองมีชื่อเรื่องถ่ายภาพมานาน บรรดาสายหนังต่างจังหวัดจึงช่วยซื้อหนังไปฉาย ทำให้ไม่ขาดทุน
“ตอนนั้นคิดจะกลับไปประกอบอาชีพเดิม รับจ้างถ่ายหนังดีกว่า ก็คงเหมือน สตีเวน สปีลเบิร์ก สมัยยังไม่รุ่ง ทำหนังออกมาเรื่องหนึ่ง ก็ไม่ได้ตังค์เลย เฟลมาก แต่มีเพื่อนสนิทบอกว่า อย่าเลิกทำเลย เอ็งเป็นคนมีฝีมือ ทำต่อไป”
แม้จะผิดหวังไปบ้าง แต่เขาก็ไม่เคยหยุดฝัน
การทุ่มสุดตัวรอบนี้ได้ผลเกินคาด หนังได้ทั้งเงินได้ทั้งกล่อง แถมในปีเดียวกัน เขายังสร้างหนังชื่อ ฝนเหนือ ออกมาโกยเงิน โดยใช้ทีมนักแสดงนำเดิมเกือบยกชุดมาร่วมเล่น
แต่สิ่งที่สำคัญกว่า คือการที่อาหลองได้พบสไตล์หนังที่เหมาะกับตัวเองคือ หนังบู๊แอ็กชัน
“มันสะใจตอนสู้กัน มันหนำใจดี เราเองก็สนุกกับการคิดฉากแปลก ๆ ให้ผู้ชมประทับใจ ส่วนหนังชีวิตมันเนือย ๆ มีแต่คนพูดกัน อีกอย่างคือเวลาอาทำหนังสไตล์อื่นแล้ว คนก็ไม่ค่อยรับเท่าไหร่”
อาหลองยืนหนึ่งในฐานะผู้กำกับหนังบู๊ได้ไม่นาน เขาก็เริ่มฝันไกลยิ่งกว่าเดิม
ฝันที่เขาอยากเห็น คือการพาหนังไทยออกไปสู่สายตาชาวโลก
“ผมตั้งชื่อเอง คิดอยู่ในหัวตลอด ต้องหาชื่อแปลก ๆ เป็นเรื่องของฝาแฝด อยู่ฮ่องกงคนหนึ่ง อยู่เมืองไทยคนหนึ่ง ก็เลยเป็น 2 แผ่นดิน การตั้งชื่อไม่ใช่ของง่าย ต้องตั้งให้ฮือฮา ดูว่าจะโฆษณาแบบไหน”
หากแต่โปรเจกต์เปลี่ยนชีวิตของอาหลองที่แท้จริงคือ เรื่อง ทอง หรือชื่อเดิมคือ ซัมทอง ซึ่งได้รับคำแนะนำจาก บรรเจิด ทวี หรือนามปากกา ไก่อ่อน คอลัมนิสต์จากหนังสือพิมพ์ เดลินิวส์ ให้นำเรื่องนี้มาทำหนัง โดยได้รุ่นพี่คู่ใจอย่าง ป๋า ส. มาเขียนบทให้เช่นเคย
เคล็ดลับอย่างหนึ่งที่อาหลองนึกถึง คือต้องนำนักแสดงจากต่างประเทศมาร่วมแสดงด้วย
“ตอนนั้นถึงเราจะทำหนังประวัติศาสตร์ไทยใหญ่โตมโหฬารเพียงใดก็สู้หนังฝรั่งไม่ได้หรอก เป็นหนังฝรั่งคนเป็นพันเป็นหมื่น สู้เราเอาดาราฝรั่งมาเล่นดีกว่า มาให้เป็นสะพานเชื่อมสู่ตลาดโลก”
ดาราที่อาหลองเล็งไว้คือ Greg Morris ซึ่งกำลังโด่งดังจากทีวีซีรีส์เรื่อง ขบวนการพยัคฆ์ร้าย หรือ Mission Impossible
แต่แน่นอน การที่นักแสดงระดับนี้จะมาเล่นหนังไทยไม่ใช่เรื่องง่าย อย่างแรกเลย คือฝรั่งส่วนใหญ่ไม่รู้จักด้วยซ้ำไปว่าเมืองไทยอยู่ที่ไหน พอบอกว่ามาจากไทยแลนด์ ก็จะตอบกลับมาว่า อ๋อ ไต้หวัน
อาหลองจึงต้องเตรียมทุกอย่างให้พร้อม ตั้งแต่ทำบทให้เสร็จ เขียนสคริปต์ให้เรียบร้อย พอเขียนเสร็จก็ต้องจ้างคนมาแปล หาล่ามเป็นชาวอเมริกันพูดไทยได้ 1 คน กับคนไทยที่พูดอเมริกันได้อีกคน
ที่สำคัญคือ ต่อให้ไม่ใช่พระเอก แต่บทก็ต้องเด่นไม่แพ้กันหรือมากกว่าด้วยซ้ำไป แล้วพอมาถึงเมืองไทยก็ต้องต้อนรับอย่างดี ทุกอย่างต้องชั้นหนึ่งหมด
สุดท้าย Greg Morris ก็ตกปากรับคำมาร่วมแสดง ด้วยค่าตัวประมาณ 5 ล้านบาท
“ก่อนสร้าง เราให้คนในประเทศทายว่าจะเอา Greg Morris มาได้ไหม สุดท้ายก็มาได้ ส่วนฝ่ายหญิง เราได้นางเอกเวียดนาม Thuy Hang Tham มาเล่น นุ่งกางเกงขาสั้น มีมังกรสัก คนดูชอบมาก แล้วมีพระเอกไทย 2 คน คือ กรุง ศรีวิไล กับ สมบัติ เมทะนี เล่นคู่กัน ตอนแรกกรุงเขากลัว เพราะเอาไปประกบกับสมบัติ เพราะสมบัติกำลังดัง อาก็บอกว่า ไม่ต้องกลัว กูกำกับจะกลัวอะไร”
ทอง ใช้เวลาสร้างอยู่นาน 1 ปีถึงแล้วเสร็จเมื่อ พ.ศ. 2516 มีฉากเด็ดที่ผู้ชมไม่รู้ลืม อย่างขี่มอเตอร์ไซค์ดิ่งพสุธาท่ามกลางสายฝน ซึ่งอาหลองถ่ายอยู่ 7 วัน 7 คืนเต็ม
ความโด่งดังของ ทอง ยืนยันได้จากการเข้าฉายในโรงหนังใหญ่ถึง 2 โรง คือปารีสและพาราเมาท์ ซึ่งปกติฉายแต่หนังฝรั่ง แต่ละโรงมีคนยืนรอยาวเป็นกิโลเมตร นับเป็นประวัติศาสตร์ของวงการหนังไทย