• ทดลองขับและสัมผัสรถพลังงานทางเลือก
• ทดลองขับ Toyota Hilux Revo BEV Concept ครั้งแรก ๆ ในโลก
• สัมผัสรถเมล์ FCEV และแท็กซี่ใช้ก๊าซ LPG พ่วงไฮบริด
• เราคิดว่ารถพลังงานทางเลือกทำให้ชีวิตดีขึ้น
4 บริษัทภาคีในนาม CJPT จัดกิจกรรมทดสอบสมรรถนะรถยนต์ ภายใต้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย พร้อมแนะนำรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายในบ้านเรา ณ Toyota ALIVE บางนา กม. 3
ในชื่องานว่า “งานแสดงนวัตกรรมยานยนต์เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality Mobility Event” โดย CJPT
Toyota ได้ร่วมมือกับ 4 บริษัทภาคีในนาม Commercial Japan Partnership Technologies Corporation หรือ CJPT ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง Isuzu, Suzuki, Daihatsu และ Hino
ทั้งหมดนี้จับมือเพื่อร่วมกันไปยังเป้าหมายการลดคาร์บอน โดยมุ่งไปที่ประเด็นของการขนส่ง และต่อยอดให้สังคมมีความเป็นกลางทางคาร์บอนในแต่ละประเทศหรือภูมิภาค
สำหรับในบ้านเรา Toyota และ CJPT ได้เริ่มจับมือกับยักษ์ใหญ่อย่างเครือ CP เพื่อร่วมมือกันทำโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ตั้งแต่เมื่อเดือนธันวาคม 2022 ที่ผ่านมา
เป้าหมายของการขนส่งจะประกอบด้วย ทางออกด้านพลังงาน ทางเลือกผ่านการใช้ข้อมูล และทางออกด้านการเดินทาง ในงานนี้ AutoFun Thailand ได้โอกาสรับฟังข้อมูลในด้านการจัดการพลังงานทางเลือก และยังได้ทดลองขับรถที่ใช้พลังงานเหล่านี้ด้วย
จากการทดลองขับและนั่งรถยนต์พลังงานทางเลือกเหล่านี้ ได้พบถึงข้อดีหลายประการที่ทำให้ชีวิตของผู้ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์เชิงพาณิชย์ดีขึ้น แต่ก็ตามมาด้วยข้อสงสัยที่ต้องรอการพิสูจน์ต่อไป
พวกเราได้ขับรถทั้งหมด 3 รุ่น ได้แก่
• Isuzu Elf FCEV Light Duty Truck รถไฮโดรเจนฟิวเซล
• Toyota Hilux Revo BEV Concept รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV)
• Suzuki Every รถเคคาร์ที่ปล่อยมลพิษน้อย
และได้ลองสัมผัสรถยนต์พลังงานทางเลือกอีก 3 รุ่น ได้แก่ Hino FCEV Heavy Duty Truck, Toyota LPG-HEV Taxi Concept และ Toyota Sora
การทดสอบจะเริ่มให้เราขับรถเครื่องยนต์สันดาปทั่วไปก่อน แล้วจึงสลับให้เราขับรถพลังงานทางเลือก ทำให้ผู้ทดสอบเห็นถึงความแตกต่างของรถทั้งสองคันอย่างชัดเจน
Isuzu Elf FCEV Light Duty Truck รถบรรทุก 6 ล้อที่จะขับง่ายขึ้น
Isuzu Elf หนึ่งในรถ 6 ล้อยอดนิยมสำหรับใช้เพื่อการพาณิชย์เช่นเดียวกับ Hino 300 Innovator โดยเราจะขับเทียบกันโดยเริ่มที่รถน้ำมันอย่าง Hino 300 Innovator เทียบกับรถไฮโดรเจนฟิวเซลอย่าง Isuzu Elf FCEV
การควบคุมรถทั้งสองคันสามารถทำได้อย่างง่ายดายด้วยพวงมาลัยผ่อนแรงและสามารถปรับระดับได้ 4 ทิศทาง แต่ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างทั้งสองคันนี้คือ อัตราเร่ง ซึ่งรถบรรทุกฟิวเซลสามารถตอบสนองการขับขี่ได้ดีกว่า
นอกจากนี้เรายังพบว่า รถ 6 ล้อทั้งสองคันไม่ได้ควบคุมยากอย่างที่คิด อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเราหลายประการ เช่น เกียร์อัตโนมัติ ไปจนถึงพวงมาลัยแบบผ่อนแรง
Suzuki Every เคคาร์ที่ไม่ได้หยุด แต่ลดการปล่อยมลพิษ
ขอคั่นด้วยรถที่ไม่ใช่พลังงานทางเลือกอย่าง Suzuki Every ซึ่งเป็นรถเคคาร์เครื่องยนต์สันดาปธรรมดา แต่การที่ Toyota นำรถเคคาร์เข้ามาเป็นเพราะคิดว่ารถประเภทนี้จะช่วยให้ไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยเช่นกัน
ซึ่งความเป็นกลางทางคาร์บอน นั่นรวมถึงการลดคาร์บอนด้วย ไม่ใช่เพียงสร้างรถทุกคันให้ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์อย่างเดียว การร่วมมือครั้งนี้มีแผนที่จะใช้เคคาร์สำหรับการขนส่งในเมืองแทนการใช้รถกระบะ เพราะคล่องตัวกว่าและปล่อยมลพิษน้อยกว่านั่นเอง
การทดสอบรถคันนี้จะเป็นการขับไปตามเส้นทางเดียวกับรถพลังงานทางเลือกคันอื่น ๆ ทั้งการทดสอบอัตราเร่ง การเลี้ยวโค้ง แต่ก่อนจะกลับมาจุดเริ่มต้นก็มีการกั้นทางสำหรับรถคันนี้โดยเฉพาะ
โดยจะกั้นเป็นทางที่แคบกว่าทางปกติและมีโค้งเล็กน้อย คล้ายเป็นการจำลองเส้นทางซอยลึก ๆ ในประเทศไทย เพื่อบ่งบอกว่าหากใช้เคคาร์เพื่อการขนส่งในเมืองจะคล่องตัวมากขึ้นเพียงใด
ทดลองขับ Toyota Hilux Revo BEV Concept ครั้งแรก ๆ ในโลก
สำหรับการทดสอบการขับขี่กระบะขวัญใจมหาชน Hilux Revo เวอร์ชั่นไฟฟ้าเทียบกับเวอร์ชั่นน้ำมัน ทำให้เราพบความแตกต่างที่ทำให้ผู้ขับขี่มีชีวิตที่ดีขึ้นได้จริง
การทดสอบจะเริ่มที่การขับขี่รถ Hilux Revo เครื่องสันดาปเช่นเดียวกับการทดสอบก่อนหน้า และตามมาด้วย Hilux Revo BEV เป็นลำดับถัดมา
ความแตกต่างประการแรกของทั้งสองคันนี้ คือ พวงมาลัยของ Hilux Revo BEV จะเป็นพวงมาลัยไฟฟ้าแล้ว ส่งผลการควบคุมรถง่ายขึ้น แต่อาจจะรู้สึกหวิว ๆ เล็กน้อยเมื่อเทียบกับพวงมาลัยของ Revo รุ่นปกติ
ประการต่อมาคือ ไม่มีคันเกียร์แล้ว มีเพียงปุ่มหมุนเปลี่ยนเกียร์แบบรถไฟฟ้าเท่านั้น การเปลี่ยนเกียร์จะต้องกดตัววงแหวนแล้วถึงจะสามารถหมุนเกียร์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ส่วนการจอดรถนั้นทำได้โดยการเบรกรถให้หยุดนิ่งและกดปุ่ม P เท่านั้น
ประการสุดท้าย เป็นสิ่งที่โดดเด่นสำหรับรถพลังงานทางเลือก นั่นคือ อัตราเร่งที่ทันใจมากกว่า แต่มาพร้อมห้องโดยสารที่เงียบกว่า เมื่อเหยียบคันเร่งจะมีเสียงสังเคราะห์จากลำโพงให้เรารับรู้ถึงสิ่งที่จะตามมา
การทดสอบอัตราเร่งเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถเห็นความแตกต่างของทั้งสองคันได้อย่างชัดเจน แม้จะเป็นช่วงระยะทางสั้น ๆ เท่านั้น
สัมผัส Toyota Sora / Hino FCEV Heavy Duty Truck และ Toyota LPG-HEV Taxi Concept
สำหรับรถอีก 3 คันที่พวกเราได้สัมผัส มีจุดที่โดดเด่น ดังนี้
Toyota Sora รถบัสพลังงาน FCEV โดยเป็นรถพลังงานทางเลือกคันแรกที่สัมผัสในงานนี้เลยก็ว่าได้ เพราะรถคันนี้ทำหน้าที่เป็นรถบัสที่นำพาพวกเราจากด้านหน้าของ Toyota ALIVE Space มายังสนามทดสอบด้านหลัง
พบว่าตัวรถมีความนุ่มนวลในระดับหนึ่ง มีอัตราเร่งที่ดีแม้คนจะนั่งและยืนเต็มรถ ขณะเร่งนั้นไม่กระชากแบบรถเมล์ทั่วไป แต่ต้องลองพิสูจน์กับสภาพจริงของถนนเมืองไทยต่อไป
สำหรับ Hino FCEV Heavy Duty Truck นั้นเป็นการลองนั่งเปรียบเทียบกับรุ่นเครื่องสันดาปเช่นกัน พบข้อดีที่คล้ายกับของรถบรรทุก 6 ล้อ
และเมื่อถามถึงความเปลี่ยนแปลงของการเปลี่ยนมาใช้รถบรรทุก FCEV กับพนักงานขับรถ ก็มีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน บวกกับว่าการเติมไฮโดรเจนรถ FCEV หนึ่งครั้งสามารถวิ่งได้ราว 800 กม. ไกลกว่ารถน้ำมันเกือบ 2 เท่า (400 กว่ากม.) เลยทีเดียว
Toyota LPG-HEV Taxi Concept เป็นแท็กซี่ญี่ปุ่นที่นำมาตกแต่งสไตล์ไทย พร้อมขุมพลังใหม่ที่ใช้พลังงานจากแก๊ส LPG พ่วงกับระบบไฮบริด เสริมความประหยัดขึ้นไปอีกขั้น โดยเคลมไว้ที่ กม. ละ 1 บาทเท่านั้น
เมื่อลองนั่งดูสั้น ๆ พบว่าตัวรถมีพื้นที่กว้างขวางกว่ารถแท็กซี่ยอดนิยมอย่าง Toyota Corolla อย่างมากโดยเฉพาะพื้นที่วางขา แถมช่วงล่างยังนุ่มนวลมากกว่า แต่ติดอยู่ที่ประเด็นของเครื่องยนต์
เนื่องจากรถคันนี้เป็นเครื่องยนต์ 1.5 ลิตรซึ่งมีความจุกระบอกสูบ (น่าจะ) ไม่เกิน 1,500 ซีซี แต่ พรบ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 ระบุความจุกระบอกสูบของเครื่องยนต์รถแท็กซี่ว่าต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 1,500 ซีซีเท่านั้น ซึ่งต้องหาหนทางกันต่อไปสำหรับบ้านเรา
เราคิดว่ารถพลังงานทางเลือกทำให้ชีวิตดีขึ้น
สิ่งที่ทำให้พวกเราคิดว่าชีวิตของผู้ที่ใช้รถพลังงานทางเลือกจะดีขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากห้องโดยสารที่ปราศจากเสียงและแรงสั่นเครื่องยนต์
เนื่องจากในปี 2018 มีงานวิจัยที่ค้นพบว่า ความสั่นของรถส่งผลกระทบต่อความง่วงนอนของผู้ขับขี่ รวมถึงการจดจ่อกับถนนและความตื่นตัวได้ตั้งแต่ 15 นาทีแรกที่ขับรถเลยทีเดียว
หากห้องโดยสารของรถมีความสั่นน้อยหรือแทบไม่รู้สึกเลยอย่างรถพลังงานทางเลือกเหล่านี้ อาจลดความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการขับขี่ได้มาก โดยเฉพาะพนักงานขับรถเชิงพาณิชย์ที่ต้องขับรถทางไกลเป็นประจำ อาจช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ไม่มากก็น้อย
ต้องการรถแบบไหน ก็ส่งเสียงไปให้ถึง
จากการได้รับข้อมูลเรื่องต่าง ๆ จนถึงการทดสอบการขับขี่รถพลังงานทางเลือก เราได้พบข้อดีมากมายของรถ ทั้งด้านสมรรถนะการขับขี่ ประสบการณ์ภายในห้องโดยสาร ไปจนถึงยังสามารถตอบสนองความต้องการของคนในบ้านเราได้
แต่ก็ยังมีคำถามตามมาเช่นกันในด้านของโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะสำหรับรถไฮโดรเจนฟิวเซล (FCEV) ที่แม้จะมีแหล่งผลิตไฮโดรเจนในประเทศไทยแล้ว แต่ก็คงต้องรอให้ต้นทุนพลังงานทางเลือกเหล่านี้ลดลงมากพอจนมีการใช้งานในวงกว้าง
ส่วนหนึ่งมาจากการสนับสนุนของภาครัฐ และอีกส่วนหนึ่งคือ ผู้คนทั่วไปต้องเชื่อด้วยว่าพลังงานทางเลือกนั้นจะสามารถเป็นไปได้จริงอย่างที่ใครหลายคนเชื่อในรถยนต์ไฟฟ้า
จากการให้สัมภาษณ์ผู้บริหารของ Toyota และกลุ่ม CJPT พบว่าพวกเขาเชื่อในความต้องการของลูกค้า หากลูกค้าต้องการพลังงานทางเลือกแบบใด พวกเขาก็สามารถตอบสนองกับความต้องการลูกค้าได้ทุกรูปแบบ (ที่พวกเขาเสนอมา)
เพราะฉะนั้น หากใครต้องการที่จะมีรถยนต์พลังงานทางเลือกใด ๆ ในประเทศไทย เราคงต้องส่งเสียงให้ดังไปถึงผู้บริหารของ Toyota และกลุ่ม CJPT ให้พวกเขาตอบสนองความต้องการของเราอย่างแท้จริง
AutoFun
ลองขับ Toyota Hilux Revo BEV และรถ FCEV เทียบรถน้ำมัน พบความต่างที่ทำให้ชีวิตดีขึ้น
• ทดลองขับ Toyota Hilux Revo BEV Concept ครั้งแรก ๆ ในโลก
• สัมผัสรถเมล์ FCEV และแท็กซี่ใช้ก๊าซ LPG พ่วงไฮบริด
• เราคิดว่ารถพลังงานทางเลือกทำให้ชีวิตดีขึ้น
4 บริษัทภาคีในนาม CJPT จัดกิจกรรมทดสอบสมรรถนะรถยนต์ ภายใต้บริษัท โตโยต้า มอเตอร์ ประเทศไทย พร้อมแนะนำรถยนต์เพื่อการพาณิชย์ที่สามารถตอบโจทย์การใช้งานที่หลากหลายในบ้านเรา ณ Toyota ALIVE บางนา กม. 3
ในชื่องานว่า “งานแสดงนวัตกรรมยานยนต์เพื่อความเป็นกลางทางคาร์บอน Carbon Neutrality Mobility Event” โดย CJPT
Toyota ได้ร่วมมือกับ 4 บริษัทภาคีในนาม Commercial Japan Partnership Technologies Corporation หรือ CJPT ซึ่งเกิดจากความร่วมมือกันระหว่าง Isuzu, Suzuki, Daihatsu และ Hino
ทั้งหมดนี้จับมือเพื่อร่วมกันไปยังเป้าหมายการลดคาร์บอน โดยมุ่งไปที่ประเด็นของการขนส่ง และต่อยอดให้สังคมมีความเป็นกลางทางคาร์บอนในแต่ละประเทศหรือภูมิภาค
สำหรับในบ้านเรา Toyota และ CJPT ได้เริ่มจับมือกับยักษ์ใหญ่อย่างเครือ CP เพื่อร่วมมือกันทำโครงการเพื่อบรรลุเป้าหมายเหล่านี้ตั้งแต่เมื่อเดือนธันวาคม 2022 ที่ผ่านมา
เป้าหมายของการขนส่งจะประกอบด้วย ทางออกด้านพลังงาน ทางเลือกผ่านการใช้ข้อมูล และทางออกด้านการเดินทาง ในงานนี้ AutoFun Thailand ได้โอกาสรับฟังข้อมูลในด้านการจัดการพลังงานทางเลือก และยังได้ทดลองขับรถที่ใช้พลังงานเหล่านี้ด้วย
จากการทดลองขับและนั่งรถยนต์พลังงานทางเลือกเหล่านี้ ได้พบถึงข้อดีหลายประการที่ทำให้ชีวิตของผู้ที่เกี่ยวข้องกับรถยนต์เชิงพาณิชย์ดีขึ้น แต่ก็ตามมาด้วยข้อสงสัยที่ต้องรอการพิสูจน์ต่อไป
พวกเราได้ขับรถทั้งหมด 3 รุ่น ได้แก่
• Isuzu Elf FCEV Light Duty Truck รถไฮโดรเจนฟิวเซล
• Toyota Hilux Revo BEV Concept รถยนต์ไฟฟ้าแบตเตอรี่ (BEV)
• Suzuki Every รถเคคาร์ที่ปล่อยมลพิษน้อย
และได้ลองสัมผัสรถยนต์พลังงานทางเลือกอีก 3 รุ่น ได้แก่ Hino FCEV Heavy Duty Truck, Toyota LPG-HEV Taxi Concept และ Toyota Sora
การทดสอบจะเริ่มให้เราขับรถเครื่องยนต์สันดาปทั่วไปก่อน แล้วจึงสลับให้เราขับรถพลังงานทางเลือก ทำให้ผู้ทดสอบเห็นถึงความแตกต่างของรถทั้งสองคันอย่างชัดเจน
Isuzu Elf FCEV Light Duty Truck รถบรรทุก 6 ล้อที่จะขับง่ายขึ้น
Isuzu Elf หนึ่งในรถ 6 ล้อยอดนิยมสำหรับใช้เพื่อการพาณิชย์เช่นเดียวกับ Hino 300 Innovator โดยเราจะขับเทียบกันโดยเริ่มที่รถน้ำมันอย่าง Hino 300 Innovator เทียบกับรถไฮโดรเจนฟิวเซลอย่าง Isuzu Elf FCEV
การควบคุมรถทั้งสองคันสามารถทำได้อย่างง่ายดายด้วยพวงมาลัยผ่อนแรงและสามารถปรับระดับได้ 4 ทิศทาง แต่ความแตกต่างที่เห็นได้ชัดเจนระหว่างทั้งสองคันนี้คือ อัตราเร่ง ซึ่งรถบรรทุกฟิวเซลสามารถตอบสนองการขับขี่ได้ดีกว่า
นอกจากนี้เรายังพบว่า รถ 6 ล้อทั้งสองคันไม่ได้ควบคุมยากอย่างที่คิด อาจเป็นเพราะเทคโนโลยีเข้ามาช่วยเราหลายประการ เช่น เกียร์อัตโนมัติ ไปจนถึงพวงมาลัยแบบผ่อนแรง
Suzuki Every เคคาร์ที่ไม่ได้หยุด แต่ลดการปล่อยมลพิษ
ขอคั่นด้วยรถที่ไม่ใช่พลังงานทางเลือกอย่าง Suzuki Every ซึ่งเป็นรถเคคาร์เครื่องยนต์สันดาปธรรมดา แต่การที่ Toyota นำรถเคคาร์เข้ามาเป็นเพราะคิดว่ารถประเภทนี้จะช่วยให้ไปสู่ความเป็นกลางทางคาร์บอนด้วยเช่นกัน
ซึ่งความเป็นกลางทางคาร์บอน นั่นรวมถึงการลดคาร์บอนด้วย ไม่ใช่เพียงสร้างรถทุกคันให้ปล่อยมลพิษเป็นศูนย์อย่างเดียว การร่วมมือครั้งนี้มีแผนที่จะใช้เคคาร์สำหรับการขนส่งในเมืองแทนการใช้รถกระบะ เพราะคล่องตัวกว่าและปล่อยมลพิษน้อยกว่านั่นเอง
การทดสอบรถคันนี้จะเป็นการขับไปตามเส้นทางเดียวกับรถพลังงานทางเลือกคันอื่น ๆ ทั้งการทดสอบอัตราเร่ง การเลี้ยวโค้ง แต่ก่อนจะกลับมาจุดเริ่มต้นก็มีการกั้นทางสำหรับรถคันนี้โดยเฉพาะ
โดยจะกั้นเป็นทางที่แคบกว่าทางปกติและมีโค้งเล็กน้อย คล้ายเป็นการจำลองเส้นทางซอยลึก ๆ ในประเทศไทย เพื่อบ่งบอกว่าหากใช้เคคาร์เพื่อการขนส่งในเมืองจะคล่องตัวมากขึ้นเพียงใด
ทดลองขับ Toyota Hilux Revo BEV Concept ครั้งแรก ๆ ในโลก
สำหรับการทดสอบการขับขี่กระบะขวัญใจมหาชน Hilux Revo เวอร์ชั่นไฟฟ้าเทียบกับเวอร์ชั่นน้ำมัน ทำให้เราพบความแตกต่างที่ทำให้ผู้ขับขี่มีชีวิตที่ดีขึ้นได้จริง
การทดสอบจะเริ่มที่การขับขี่รถ Hilux Revo เครื่องสันดาปเช่นเดียวกับการทดสอบก่อนหน้า และตามมาด้วย Hilux Revo BEV เป็นลำดับถัดมา
ความแตกต่างประการแรกของทั้งสองคันนี้ คือ พวงมาลัยของ Hilux Revo BEV จะเป็นพวงมาลัยไฟฟ้าแล้ว ส่งผลการควบคุมรถง่ายขึ้น แต่อาจจะรู้สึกหวิว ๆ เล็กน้อยเมื่อเทียบกับพวงมาลัยของ Revo รุ่นปกติ
ประการต่อมาคือ ไม่มีคันเกียร์แล้ว มีเพียงปุ่มหมุนเปลี่ยนเกียร์แบบรถไฟฟ้าเท่านั้น การเปลี่ยนเกียร์จะต้องกดตัววงแหวนแล้วถึงจะสามารถหมุนเกียร์ไปยังตำแหน่งที่ต้องการได้ ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย ส่วนการจอดรถนั้นทำได้โดยการเบรกรถให้หยุดนิ่งและกดปุ่ม P เท่านั้น
ประการสุดท้าย เป็นสิ่งที่โดดเด่นสำหรับรถพลังงานทางเลือก นั่นคือ อัตราเร่งที่ทันใจมากกว่า แต่มาพร้อมห้องโดยสารที่เงียบกว่า เมื่อเหยียบคันเร่งจะมีเสียงสังเคราะห์จากลำโพงให้เรารับรู้ถึงสิ่งที่จะตามมา
การทดสอบอัตราเร่งเป็นสิ่งที่ทำให้เราสามารถเห็นความแตกต่างของทั้งสองคันได้อย่างชัดเจน แม้จะเป็นช่วงระยะทางสั้น ๆ เท่านั้น
สัมผัส Toyota Sora / Hino FCEV Heavy Duty Truck และ Toyota LPG-HEV Taxi Concept
สำหรับรถอีก 3 คันที่พวกเราได้สัมผัส มีจุดที่โดดเด่น ดังนี้
Toyota Sora รถบัสพลังงาน FCEV โดยเป็นรถพลังงานทางเลือกคันแรกที่สัมผัสในงานนี้เลยก็ว่าได้ เพราะรถคันนี้ทำหน้าที่เป็นรถบัสที่นำพาพวกเราจากด้านหน้าของ Toyota ALIVE Space มายังสนามทดสอบด้านหลัง
พบว่าตัวรถมีความนุ่มนวลในระดับหนึ่ง มีอัตราเร่งที่ดีแม้คนจะนั่งและยืนเต็มรถ ขณะเร่งนั้นไม่กระชากแบบรถเมล์ทั่วไป แต่ต้องลองพิสูจน์กับสภาพจริงของถนนเมืองไทยต่อไป
สำหรับ Hino FCEV Heavy Duty Truck นั้นเป็นการลองนั่งเปรียบเทียบกับรุ่นเครื่องสันดาปเช่นกัน พบข้อดีที่คล้ายกับของรถบรรทุก 6 ล้อ
และเมื่อถามถึงความเปลี่ยนแปลงของการเปลี่ยนมาใช้รถบรรทุก FCEV กับพนักงานขับรถ ก็มีความคิดเห็นไปในทางเดียวกัน บวกกับว่าการเติมไฮโดรเจนรถ FCEV หนึ่งครั้งสามารถวิ่งได้ราว 800 กม. ไกลกว่ารถน้ำมันเกือบ 2 เท่า (400 กว่ากม.) เลยทีเดียว
Toyota LPG-HEV Taxi Concept เป็นแท็กซี่ญี่ปุ่นที่นำมาตกแต่งสไตล์ไทย พร้อมขุมพลังใหม่ที่ใช้พลังงานจากแก๊ส LPG พ่วงกับระบบไฮบริด เสริมความประหยัดขึ้นไปอีกขั้น โดยเคลมไว้ที่ กม. ละ 1 บาทเท่านั้น
เมื่อลองนั่งดูสั้น ๆ พบว่าตัวรถมีพื้นที่กว้างขวางกว่ารถแท็กซี่ยอดนิยมอย่าง Toyota Corolla อย่างมากโดยเฉพาะพื้นที่วางขา แถมช่วงล่างยังนุ่มนวลมากกว่า แต่ติดอยู่ที่ประเด็นของเครื่องยนต์
เนื่องจากรถคันนี้เป็นเครื่องยนต์ 1.5 ลิตรซึ่งมีความจุกระบอกสูบ (น่าจะ) ไม่เกิน 1,500 ซีซี แต่ พรบ.รถยนต์ พ.ศ. 2522 ระบุความจุกระบอกสูบของเครื่องยนต์รถแท็กซี่ว่าต้องมากกว่าหรือเท่ากับ 1,500 ซีซีเท่านั้น ซึ่งต้องหาหนทางกันต่อไปสำหรับบ้านเรา
เราคิดว่ารถพลังงานทางเลือกทำให้ชีวิตดีขึ้น
สิ่งที่ทำให้พวกเราคิดว่าชีวิตของผู้ที่ใช้รถพลังงานทางเลือกจะดีขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากห้องโดยสารที่ปราศจากเสียงและแรงสั่นเครื่องยนต์
เนื่องจากในปี 2018 มีงานวิจัยที่ค้นพบว่า ความสั่นของรถส่งผลกระทบต่อความง่วงนอนของผู้ขับขี่ รวมถึงการจดจ่อกับถนนและความตื่นตัวได้ตั้งแต่ 15 นาทีแรกที่ขับรถเลยทีเดียว
หากห้องโดยสารของรถมีความสั่นน้อยหรือแทบไม่รู้สึกเลยอย่างรถพลังงานทางเลือกเหล่านี้ อาจลดความเหนื่อยล้าที่เกิดจากการขับขี่ได้มาก โดยเฉพาะพนักงานขับรถเชิงพาณิชย์ที่ต้องขับรถทางไกลเป็นประจำ อาจช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้ไม่มากก็น้อย
ต้องการรถแบบไหน ก็ส่งเสียงไปให้ถึง
จากการได้รับข้อมูลเรื่องต่าง ๆ จนถึงการทดสอบการขับขี่รถพลังงานทางเลือก เราได้พบข้อดีมากมายของรถ ทั้งด้านสมรรถนะการขับขี่ ประสบการณ์ภายในห้องโดยสาร ไปจนถึงยังสามารถตอบสนองความต้องการของคนในบ้านเราได้
แต่ก็ยังมีคำถามตามมาเช่นกันในด้านของโครงสร้างพื้นฐาน โดยเฉพาะสำหรับรถไฮโดรเจนฟิวเซล (FCEV) ที่แม้จะมีแหล่งผลิตไฮโดรเจนในประเทศไทยแล้ว แต่ก็คงต้องรอให้ต้นทุนพลังงานทางเลือกเหล่านี้ลดลงมากพอจนมีการใช้งานในวงกว้าง
ส่วนหนึ่งมาจากการสนับสนุนของภาครัฐ และอีกส่วนหนึ่งคือ ผู้คนทั่วไปต้องเชื่อด้วยว่าพลังงานทางเลือกนั้นจะสามารถเป็นไปได้จริงอย่างที่ใครหลายคนเชื่อในรถยนต์ไฟฟ้า
จากการให้สัมภาษณ์ผู้บริหารของ Toyota และกลุ่ม CJPT พบว่าพวกเขาเชื่อในความต้องการของลูกค้า หากลูกค้าต้องการพลังงานทางเลือกแบบใด พวกเขาก็สามารถตอบสนองกับความต้องการลูกค้าได้ทุกรูปแบบ (ที่พวกเขาเสนอมา)
เพราะฉะนั้น หากใครต้องการที่จะมีรถยนต์พลังงานทางเลือกใด ๆ ในประเทศไทย เราคงต้องส่งเสียงให้ดังไปถึงผู้บริหารของ Toyota และกลุ่ม CJPT ให้พวกเขาตอบสนองความต้องการของเราอย่างแท้จริง
AutoFun