ความคืบหน้าเรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 5-17 พ.ค.นี้ ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) กำลังเตรียมเจรจากับเจ้าภาพกัมพูชา ให้ลดค่าลิขสิขสิทธิ์ที่ตั้งไว้สูงถึง 800,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 27.6 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ กกท. เรียกร้องให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทบทวนยกเลิกกฏ “มัสต์แฮฟ” (Must Have) เพราะเห็นว่าเป็นต้นตอปัญหาในการดึงภาคเอกชน ร่วมลงทุนในการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดมหกรรมกีฬา 7 รายการ ที่คนไทยต้องดูฟรี ประกอบด้วย ซีเกมส์, อาเซียนพาราเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์, เอเชียนพาราเกมส์, โอลิมปิกเกมส์, พาราลิมปิกเกมส์ และฟุตบอลโลก นั้น
ล่าสุด นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า กรณีของการพิจารณาประเด็นปัญหาของกฏ “มัสต์แฮฟ” ที่ขัดแย้งกับธุรกิจกีฬาโลกนั้น บอร์ด กสทช. มีความเห็นให้ตั้งคณะทำงาน 1 ชุด โดยมี น.ส.มณีรัตน์ กำจรกิจการ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. เป็นประธานเพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างรอบด้าน ซึ่งคณะกรรมการชุดใหญ่รอฟังข้อสรุปก่อนจะพิจารณาตัดสินใจต่อไป
ขณะที่ น.ส.มณีรัตน์ กำจรกิจการ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. เผยว่า เรื่องที่ กกท. ระบุว่า กสทช. บีบบังคับให้ กกท. ดำเนินการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 นั้น น่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกัน เพราะก่อนหน้านี้ กสทช. เชิญ กกท. และคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ มาหารือและชี้แจงทำความเข้าใจกฏ “มัสต์แฮฟ” และ “มัสต์ แครี่” ซึ่งทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันว่า สำหรับการบังคับใช้ของกฏ “มัสต์ แฮฟ” และ “มัสต์ แครี่” จะเริ่มต้นก็ต่อลิขสิทธิ์ถูกซื้อมาดำเนินการในประเทศไทย แต่ตราบใดที่ไม่มีการซื้อเข้ามา กฏดังกล่าวก็ไม่ได้บังคับใช้ หรือสรุปง่ายๆ ก็คือถ้าประเทศไทยไม่ซื้อถือว่า ไม่ได้มีความผิดอะไร แต่ถ้าซื้อมาแล้ว ต้องถ่ายทอดสดให้คนไทยได้รับชมตามช่องทางต่างๆ ที่ระบุไว้แบบไม่เสียเงินค่ารับชม อย่างไรก็ตามไม่ทราบว่าทาง กกท. จะดำเนินการซื้อลิขสิทธิ์หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องของ กกท. ซึ่งแจ้งไว้คร่าวๆ ว่า กำลังหางบประมาณ และจะขอจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
น.ส.มณีรัตน์ กล่าวว่า ส่วนการพิจารณาทบทวนยกเลิก หรือไม่ยกเลิกกฏ “มัสต์แฮฟ” นั้น จะยึดหลัก ดังนี้ 1.ตลาดเรื่องกีฬามีการแข่งขันกันสูง 2.ประกันการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน 3. วิถีของวงการกีฬาของโลก และ 4.กรอบ กติกา ที่ถือปฏิบัติกันทั่วโลก การจะดำเนินการแก้กฏ “มัสต์แฮฟ” หรือถอดกีฬาใดกีฬาหนึ่งออกจาก “มัสต์แฮฟ” ต้องทำการรับฟังความเห็นสาธารณะ ต้องพิจารณาผลกระทบทุกภาคส่วน
“คณะทำงานจะหาสรุปประเด็นดังกล่าวอย่างเร็วที่สุดเพราะเข้าใจดีว่าเป็นประเด็นที่สังคมจับตามอง เมื่อคณะทำงานศึกษาข้อมูลได้สรุปเสร็จจะต้องทำเสนอเข้าที่ประชุมอนุกรรมการโทรทัศน์เพื่อพิจารณา, ดำเนินการรับฟังความเห็นสาธารณะ ใช้เวลา 45 วัน จากนั้นจะเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการอีก 3 ชุด เพื่อจัดทำร่างและเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดเพื่อลงมติ ก่อนจะลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป” น.ส.มณีรัตน์ กล่าว
https://www.dailynews.co.th/news/2111037/
"กสทช." ปลดล็อก จ่อยกเลิกกฎ "มัสต์แฮฟ" ตัวถ่วงวงการกีฬา
ความคืบหน้าเรื่องลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสดการแข่งขันกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 5-17 พ.ค.นี้ ซึ่งในส่วนของประเทศไทยนั้น การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) กำลังเตรียมเจรจากับเจ้าภาพกัมพูชา ให้ลดค่าลิขสิขสิทธิ์ที่ตั้งไว้สูงถึง 800,000 ดอลลาร์สหรัฐฯ หรือประมาณ 27.6 ล้านบาท โดยก่อนหน้านี้ ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ กกท. เรียกร้องให้คณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ทบทวนยกเลิกกฏ “มัสต์แฮฟ” (Must Have) เพราะเห็นว่าเป็นต้นตอปัญหาในการดึงภาคเอกชน ร่วมลงทุนในการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดมหกรรมกีฬา 7 รายการ ที่คนไทยต้องดูฟรี ประกอบด้วย ซีเกมส์, อาเซียนพาราเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์, เอเชียนพาราเกมส์, โอลิมปิกเกมส์, พาราลิมปิกเกมส์ และฟุตบอลโลก นั้น
ล่าสุด นายไตรรัตน์ วิริยะศิริกุล รักษาการแทน เลขาธิการ กสทช. เปิดเผยว่า กรณีของการพิจารณาประเด็นปัญหาของกฏ “มัสต์แฮฟ” ที่ขัดแย้งกับธุรกิจกีฬาโลกนั้น บอร์ด กสทช. มีความเห็นให้ตั้งคณะทำงาน 1 ชุด โดยมี น.ส.มณีรัตน์ กำจรกิจการ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. เป็นประธานเพื่อศึกษาข้อมูลต่างๆ อย่างรอบด้าน ซึ่งคณะกรรมการชุดใหญ่รอฟังข้อสรุปก่อนจะพิจารณาตัดสินใจต่อไป
ขณะที่ น.ส.มณีรัตน์ กำจรกิจการ รักษาการรองเลขาธิการ กสทช. เผยว่า เรื่องที่ กกท. ระบุว่า กสทช. บีบบังคับให้ กกท. ดำเนินการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาซีเกมส์ ครั้งที่ 32 นั้น น่าจะเป็นความเข้าใจที่คลาดเคลื่อนกัน เพราะก่อนหน้านี้ กสทช. เชิญ กกท. และคณะกรรมการโอลิมปิคแห่งประเทศไทยฯ มาหารือและชี้แจงทำความเข้าใจกฏ “มัสต์แฮฟ” และ “มัสต์ แครี่” ซึ่งทุกฝ่ายเข้าใจตรงกันว่า สำหรับการบังคับใช้ของกฏ “มัสต์ แฮฟ” และ “มัสต์ แครี่” จะเริ่มต้นก็ต่อลิขสิทธิ์ถูกซื้อมาดำเนินการในประเทศไทย แต่ตราบใดที่ไม่มีการซื้อเข้ามา กฏดังกล่าวก็ไม่ได้บังคับใช้ หรือสรุปง่ายๆ ก็คือถ้าประเทศไทยไม่ซื้อถือว่า ไม่ได้มีความผิดอะไร แต่ถ้าซื้อมาแล้ว ต้องถ่ายทอดสดให้คนไทยได้รับชมตามช่องทางต่างๆ ที่ระบุไว้แบบไม่เสียเงินค่ารับชม อย่างไรก็ตามไม่ทราบว่าทาง กกท. จะดำเนินการซื้อลิขสิทธิ์หรือไม่ เพราะเป็นเรื่องของ กกท. ซึ่งแจ้งไว้คร่าวๆ ว่า กำลังหางบประมาณ และจะขอจากกองทุนพัฒนาการกีฬาแห่งชาติ
น.ส.มณีรัตน์ กล่าวว่า ส่วนการพิจารณาทบทวนยกเลิก หรือไม่ยกเลิกกฏ “มัสต์แฮฟ” นั้น จะยึดหลัก ดังนี้ 1.ตลาดเรื่องกีฬามีการแข่งขันกันสูง 2.ประกันการคุ้มครองสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชน 3. วิถีของวงการกีฬาของโลก และ 4.กรอบ กติกา ที่ถือปฏิบัติกันทั่วโลก การจะดำเนินการแก้กฏ “มัสต์แฮฟ” หรือถอดกีฬาใดกีฬาหนึ่งออกจาก “มัสต์แฮฟ” ต้องทำการรับฟังความเห็นสาธารณะ ต้องพิจารณาผลกระทบทุกภาคส่วน
“คณะทำงานจะหาสรุปประเด็นดังกล่าวอย่างเร็วที่สุดเพราะเข้าใจดีว่าเป็นประเด็นที่สังคมจับตามอง เมื่อคณะทำงานศึกษาข้อมูลได้สรุปเสร็จจะต้องทำเสนอเข้าที่ประชุมอนุกรรมการโทรทัศน์เพื่อพิจารณา, ดำเนินการรับฟังความเห็นสาธารณะ ใช้เวลา 45 วัน จากนั้นจะเข้าที่ประชุมคณะอนุกรรมการอีก 3 ชุด เพื่อจัดทำร่างและเสนอเข้าที่ประชุมบอร์ดเพื่อลงมติ ก่อนจะลงนาม และประกาศในราชกิจจานุเบกษาต่อไป” น.ส.มณีรัตน์ กล่าว
https://www.dailynews.co.th/news/2111037/