ประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬายังคงเป็นปัญหาหลอกหลอนคนไทยไปทุกทัวร์นาเมนต์ ทุกมหกรรมกีฬา ไม่เว้นแม้แต่กีฬาพื้นบ้านอย่าง“ซีเกมส์” ที่กำลังจะมีขึ้นที่ประเทศกัมพูชา ในเดือนพฤษภาคมนี้
ว่ากันตามข้อมูลที่แท้จริง ซีเกมส์ ถือเป็นรายการกีฬาระดับภูมิภาค ที่มีความสำคัญน้อยที่สุดเพราะแข่งขันในมวลหมู่ 11 ชาติอาเซียน ไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับเอเชี่ยนเกมส์, โอลิมปิกเกมส์ หรือฟุตบอลโลก ซึ่งโดยปกติแล้วซีเกมส์ ทุกครั้งที่ผ่านมาเจ้าภาพจัดแข่งขันไม่เคยเก็บค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดจากประเทศที่เข้าร่วมเลย หรือเต็มที่ก็มีเพียงค่าธรรมเนียมเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น
ย้อนกลับไป 2 หนหลังสุด ในปี 2019 ที่ประเทศฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพ คิดค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 5,000 เหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 175,000 บาท
ซีเกมส์ 2021 (ที่แข่งขันปี 2022) เวียดนาม เจ้าภาพก็คิดราคาเพิ่มมาเท่าตัว แต่ยังเป็นราคาที่ 10,000 เหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 350,000 บาท
เท่านั้น
มาถึง ซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 5-17 พฤษภาคมนี้ เจ้าภาพกัมพูชากลับเรียกค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดจากประเทศไทย สูงถึง 800,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 28 ล้านบาท มากกว่าตอนเวียดนามเป็นเจ้าภาพ ถึง 80 เท่า
วัธ จำเริญ เลขาธิการคณะกรรมการจัดงานซีเกมส์กัมพูชา (CAMSOC) ชี้แจงประเด็นร้อนฉ่าดังกล่าวว่า กัมพูชาไม่ได้เรียกร้องค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด แต่ค่าธรรมเนียมนั้นเป็นสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องทำการตกลงเจรจากัน และทางกัมพูชาก็ยังไม่ได้ยืนยันราคาตรงนี้ เพียงแต่ค่าธรรมเนียมที่เรียกออกไปเป็นการพิจารณาจากข้อมูลด้านการตลาดและขนาดของผู้ชม ทำให้แต่ละประเทศจึงมีราคาที่ต่างกันออกไป
ประเด็นที่ประเทศไทยถูกเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์แพงจนเกินความเป็นจริง ไม่ใช่เพิ่งเกิด แต่เมื่อปีที่แล้ว ฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศ กาตาร์ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องจ่ายถึง 1,400 ล้านบาท เพื่อซื้อลิขสิทธิ์ ใกล้เคียงกับอินโดนีเซีย ที่จ่ายราวๆ 1,456 ล้านบาท แต่กลับกัน เวียดนาม จ่ายแค่ 532 ล้านบาทเท่านั้น แต่ก็ถ่ายได้ครบทั้ง 64 คู่เท่ากัน ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนประชากรของไทยกับอินโดนีเซียที่มากกว่า
หรืออย่างศึกฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน “เอเอฟเอฟ มิตซูบิชิ อิเล็กทริก คัพ 2023” ที่ผ่านมา ซึ่งไทยเกือบจะไม่ได้ดูการถ่ายทอดสดเพราะว่าผู้ถือลิขสิทธิ์เองตั้งราคาเอาไว้สูงมากๆ และตั้งใจขายแบบครบทุกนัด ในขณะที่ไทยเองสนใจซื้อแค่นัดที่ทีมชาติไทยเตะเท่านั้น จนสุดท้ายต้องได้ “กองสลากพลัส” เข้ามาจ่ายค่าลิขสิทธิ์ 67 ล้านบาท จนทำให้คนไทยได้ดูจนจบทัวร์นาเมนต์
ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ กกท. มองว่า ตัวเลขที่ทางกัมพูชาเรียกร้องมานั้นเป็นจำนวนที่สูงเกินไป เพราะเท่าที่ทราบมายังไม่มีประเทศไหนที่จ่ายราคาแพงขนาดนี้ แต่ทางกัมพูชาเองก็แจ้งมาแล้วสามารถพูดคุยเจรจากันได้ตามความเหมาะสม เราต้องไปหารือกับคณะกรรมการโอลิมปิคฯว่าราคาแบบนี้จำเป็นจะต้องลดลงมาให้มีความเหมาะสม ใกล้เคียงกับครั้งที่ผ่านมา อาจจะเพิ่มบวกขึ้นเล็กน้อยตามสภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งเงินเฟ้อ ราว 5-10 เปอร์เซ็นต์ก็ยังพอรับได้
แต่ค่าลิขสิทธิ์ที่สูงขึ้นก้าวกระโดดหลายเท่าตัวตรงนี้ ต้องยอมรับว่า กกท.ไม่ได้วางงบประมาณไว้รองรับขนาดนั้น และเชื่อว่าหลายประเทศก็รู้สึกเหมือนกัน เท่าที่คุยกับหลายประเทศก็ยังไม่ได้ตกลง เราต้องสะท้อนไปให้ถึงทางคณะกรรมการโอลิมปิกของกัมพูชาด้วยว่า ไทยและหลายประเทศคิดว่าราคาแพงเกินไป เพราะการตัดสินใจทั้งหมดเป็นของโอลิมปิกกัมพูชา
ดร.ก้องศักดกล่าวว่า ถ้าไม่มีการซื้อลิขสิทธิ์ไม่ถือว่าผิดกฎ แต่ถ้าซื้อแล้วก็ต้องถ่ายทอดตามกฎเท่านั้น อย่างไรก็ตามมองในเรื่องการพัฒนากีฬา ถ้าหากไม่มีการถ่ายทอดสด ก็จะไม่เกิดกระแสร่วมเชียร์นักกีฬาไทย เพียงแต่ราคาขนาดนี้คงต้องมาพิจารณาว่ามันคุ้มหรือไม่แต่อย่างใด
ถามว่า ทำไมคนไทยต้องได้ดูการถ่ายทอดสดกีฬาแบบ “ฟรี” คำตอบคือ เกิดจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไปออกกฎ “มัสต์แฮฟ” (Must Have) 7 ชนิดกีฬาที่คนไทยต้องดูฟรี ประกอบด้วย ซีเกมส์, อาเซียนพาราเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์, เอเชี่ยนพาราเกมส์, โอลิมปิกเกมส์, พาราลิมปิกเกมส์ และฟุตบอลโลก
ผิดธรรมชาติด้านสิทธิประโยชน์ของวงการกีฬาโลกที่ทำกันอยู่ การที่หน่วยงานอย่าง กสทช.เขียนกฎดังกล่าวออกมา และยังดื้อดึงไม่ยกเลิกกฎดังกล่าว ปล่อยให้เป็นพิษต่อวงการกีฬาทุกปี ทุกมหกรรมกีฬา เพื่ออะไร
ซีเกมส์ 2023 เจ้าภาพกัมพูชาเองสร้างดราม่าไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนเหรียญกีฬาพื้นบ้านมาอย่างมากมาย ปรับเปลี่ยนกีฬามวยไทย เป็นกุนแขมร์ ทำให้ประชาชนชาวไทยเองถึงกับออกมาเรียกร้องว่าไม่ควรซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่แพงขนาดนี้
ชาวเน็ตไทยมีการสร้างแคมเปญเว็บไซต์ Change.org พร้อมข้อความ “เรียกร้องรัฐบาลและภาคเอกชน งดซื้อลิขสิทธิ์กีฬา SEA Games 2023 ในราคาแพงกว่าทุกชาติอาเซียน”
ลองฟังเสียงประชาชนกันบ้างว่า ถ้าต้องเอาเงินรัฐบาลไปซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬามาให้คนไทยได้ดูฟรี ยอมรับกันได้หรือไม่ ทำไมไม่ปล่อยให้เป็นกลไกทางการตลาดที่ภาคเอกชนจะเข้าไปลงทุน ใครอยากดูก็เสียเงิน ใครไม่อยากดูก็ไม่ต้องจ่ายเงิน
ทุกๆ ครั้งเมื่อเกิดปัญหาเรื่องของค่าลิขสิทธิ์ หน่วยงานที่จะต้องตกเป็นเป้าให้เป็นผู้หาเงินมาซื้อลิขสิทธิ์ก็หนีไม่พ้น การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ที่จะต้องเข้ามารับเผือกร้อน วิ่งเต้นหาเงิน ดึงเงินมาซื้อลิขสิทธิ์กันทุกครั้งไป
จริงๆ แล้ว กกท.ไม่มีหน้าที่ในการไปดำเนินการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาด้วยซ้ำ เพราะยุทธศาสตร์ของ กกท.คือ การพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศ และการพัฒนากีฬาเพื่ออาชีพ ย้ำอีกครั้ง กกท.ไม่มีหน้าที่ไปซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดมหกรรมกีฬาใดเลย
สำหรับซีเกมส์ 2023 หากภาครัฐของไทยอย่าง กกท.ยังคงเดินหน้าซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาซีเกมส์มูลค่า 28 ล้านบาทแทนที่จะนำไปพัฒนานักกีฬา โค้ช หรือช่วยเหลือสมาคมกีฬาที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนน้อยๆ ต้องยอมรับกับการโดนกระแสสังคม กระแสแฟนกีฬาโจมตีอย่างหนักแน่นอน
เพราะรู้ทั้งรู้ว่า หากไม่ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดก็ไม่ผิด แต่ซื้อมาต้องถ่ายให้ “คนไทย” ได้ดูฟรี
แล้วทำไมต้อง “ดิ้นรน” เอาภาษีประชาชนไปซื้อ ทั้งที่ประชาชนเขาไม่ต้องการล่ะ…
https://www.matichon.co.th/sport/news_3877424
‘ซีเกมส์’ อลเวง ลิขสิทธิ์ยิงสดส่อบาน
ประเด็นเรื่องลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬายังคงเป็นปัญหาหลอกหลอนคนไทยไปทุกทัวร์นาเมนต์ ทุกมหกรรมกีฬา ไม่เว้นแม้แต่กีฬาพื้นบ้านอย่าง“ซีเกมส์” ที่กำลังจะมีขึ้นที่ประเทศกัมพูชา ในเดือนพฤษภาคมนี้
ว่ากันตามข้อมูลที่แท้จริง ซีเกมส์ ถือเป็นรายการกีฬาระดับภูมิภาค ที่มีความสำคัญน้อยที่สุดเพราะแข่งขันในมวลหมู่ 11 ชาติอาเซียน ไม่ยิ่งใหญ่เท่ากับเอเชี่ยนเกมส์, โอลิมปิกเกมส์ หรือฟุตบอลโลก ซึ่งโดยปกติแล้วซีเกมส์ ทุกครั้งที่ผ่านมาเจ้าภาพจัดแข่งขันไม่เคยเก็บค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดจากประเทศที่เข้าร่วมเลย หรือเต็มที่ก็มีเพียงค่าธรรมเนียมเล็กๆ น้อยๆ เท่านั้น
ย้อนกลับไป 2 หนหลังสุด ในปี 2019 ที่ประเทศฟิลิปปินส์เป็นเจ้าภาพ คิดค่าธรรมเนียมอยู่ที่ 5,000 เหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 175,000 บาท
ซีเกมส์ 2021 (ที่แข่งขันปี 2022) เวียดนาม เจ้าภาพก็คิดราคาเพิ่มมาเท่าตัว แต่ยังเป็นราคาที่ 10,000 เหรียญสหรัฐ หรือราวๆ 350,000 บาท
เท่านั้น
มาถึง ซีเกมส์ ครั้งที่ 32 ที่กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา ระหว่างวันที่ 5-17 พฤษภาคมนี้ เจ้าภาพกัมพูชากลับเรียกค่าลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดจากประเทศไทย สูงถึง 800,000 เหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 28 ล้านบาท มากกว่าตอนเวียดนามเป็นเจ้าภาพ ถึง 80 เท่า
วัธ จำเริญ เลขาธิการคณะกรรมการจัดงานซีเกมส์กัมพูชา (CAMSOC) ชี้แจงประเด็นร้อนฉ่าดังกล่าวว่า กัมพูชาไม่ได้เรียกร้องค่าลิขสิทธิ์การถ่ายทอดสด แต่ค่าธรรมเนียมนั้นเป็นสิ่งที่ทั้งสองฝ่ายจะต้องทำการตกลงเจรจากัน และทางกัมพูชาก็ยังไม่ได้ยืนยันราคาตรงนี้ เพียงแต่ค่าธรรมเนียมที่เรียกออกไปเป็นการพิจารณาจากข้อมูลด้านการตลาดและขนาดของผู้ชม ทำให้แต่ละประเทศจึงมีราคาที่ต่างกันออกไป
ประเด็นที่ประเทศไทยถูกเรียกเก็บค่าลิขสิทธิ์แพงจนเกินความเป็นจริง ไม่ใช่เพิ่งเกิด แต่เมื่อปีที่แล้ว ฟุตบอลโลก 2022 ที่ประเทศ กาตาร์ที่ผ่านมา ประเทศไทยต้องจ่ายถึง 1,400 ล้านบาท เพื่อซื้อลิขสิทธิ์ ใกล้เคียงกับอินโดนีเซีย ที่จ่ายราวๆ 1,456 ล้านบาท แต่กลับกัน เวียดนาม จ่ายแค่ 532 ล้านบาทเท่านั้น แต่ก็ถ่ายได้ครบทั้ง 64 คู่เท่ากัน ซึ่งเป็นผลมาจากจำนวนประชากรของไทยกับอินโดนีเซียที่มากกว่า
หรืออย่างศึกฟุตบอลชิงแชมป์อาเซียน “เอเอฟเอฟ มิตซูบิชิ อิเล็กทริก คัพ 2023” ที่ผ่านมา ซึ่งไทยเกือบจะไม่ได้ดูการถ่ายทอดสดเพราะว่าผู้ถือลิขสิทธิ์เองตั้งราคาเอาไว้สูงมากๆ และตั้งใจขายแบบครบทุกนัด ในขณะที่ไทยเองสนใจซื้อแค่นัดที่ทีมชาติไทยเตะเท่านั้น จนสุดท้ายต้องได้ “กองสลากพลัส” เข้ามาจ่ายค่าลิขสิทธิ์ 67 ล้านบาท จนทำให้คนไทยได้ดูจนจบทัวร์นาเมนต์
ดร.ก้องศักด ยอดมณี ผู้ว่าการ กกท. มองว่า ตัวเลขที่ทางกัมพูชาเรียกร้องมานั้นเป็นจำนวนที่สูงเกินไป เพราะเท่าที่ทราบมายังไม่มีประเทศไหนที่จ่ายราคาแพงขนาดนี้ แต่ทางกัมพูชาเองก็แจ้งมาแล้วสามารถพูดคุยเจรจากันได้ตามความเหมาะสม เราต้องไปหารือกับคณะกรรมการโอลิมปิคฯว่าราคาแบบนี้จำเป็นจะต้องลดลงมาให้มีความเหมาะสม ใกล้เคียงกับครั้งที่ผ่านมา อาจจะเพิ่มบวกขึ้นเล็กน้อยตามสภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้งเงินเฟ้อ ราว 5-10 เปอร์เซ็นต์ก็ยังพอรับได้
แต่ค่าลิขสิทธิ์ที่สูงขึ้นก้าวกระโดดหลายเท่าตัวตรงนี้ ต้องยอมรับว่า กกท.ไม่ได้วางงบประมาณไว้รองรับขนาดนั้น และเชื่อว่าหลายประเทศก็รู้สึกเหมือนกัน เท่าที่คุยกับหลายประเทศก็ยังไม่ได้ตกลง เราต้องสะท้อนไปให้ถึงทางคณะกรรมการโอลิมปิกของกัมพูชาด้วยว่า ไทยและหลายประเทศคิดว่าราคาแพงเกินไป เพราะการตัดสินใจทั้งหมดเป็นของโอลิมปิกกัมพูชา
ดร.ก้องศักดกล่าวว่า ถ้าไม่มีการซื้อลิขสิทธิ์ไม่ถือว่าผิดกฎ แต่ถ้าซื้อแล้วก็ต้องถ่ายทอดตามกฎเท่านั้น อย่างไรก็ตามมองในเรื่องการพัฒนากีฬา ถ้าหากไม่มีการถ่ายทอดสด ก็จะไม่เกิดกระแสร่วมเชียร์นักกีฬาไทย เพียงแต่ราคาขนาดนี้คงต้องมาพิจารณาว่ามันคุ้มหรือไม่แต่อย่างใด
ถามว่า ทำไมคนไทยต้องได้ดูการถ่ายทอดสดกีฬาแบบ “ฟรี” คำตอบคือ เกิดจากคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ไปออกกฎ “มัสต์แฮฟ” (Must Have) 7 ชนิดกีฬาที่คนไทยต้องดูฟรี ประกอบด้วย ซีเกมส์, อาเซียนพาราเกมส์, เอเชี่ยนเกมส์, เอเชี่ยนพาราเกมส์, โอลิมปิกเกมส์, พาราลิมปิกเกมส์ และฟุตบอลโลก
ผิดธรรมชาติด้านสิทธิประโยชน์ของวงการกีฬาโลกที่ทำกันอยู่ การที่หน่วยงานอย่าง กสทช.เขียนกฎดังกล่าวออกมา และยังดื้อดึงไม่ยกเลิกกฎดังกล่าว ปล่อยให้เป็นพิษต่อวงการกีฬาทุกปี ทุกมหกรรมกีฬา เพื่ออะไร
ซีเกมส์ 2023 เจ้าภาพกัมพูชาเองสร้างดราม่าไว้มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการเพิ่มจำนวนเหรียญกีฬาพื้นบ้านมาอย่างมากมาย ปรับเปลี่ยนกีฬามวยไทย เป็นกุนแขมร์ ทำให้ประชาชนชาวไทยเองถึงกับออกมาเรียกร้องว่าไม่ควรซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดที่แพงขนาดนี้
ชาวเน็ตไทยมีการสร้างแคมเปญเว็บไซต์ Change.org พร้อมข้อความ “เรียกร้องรัฐบาลและภาคเอกชน งดซื้อลิขสิทธิ์กีฬา SEA Games 2023 ในราคาแพงกว่าทุกชาติอาเซียน”
ลองฟังเสียงประชาชนกันบ้างว่า ถ้าต้องเอาเงินรัฐบาลไปซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬามาให้คนไทยได้ดูฟรี ยอมรับกันได้หรือไม่ ทำไมไม่ปล่อยให้เป็นกลไกทางการตลาดที่ภาคเอกชนจะเข้าไปลงทุน ใครอยากดูก็เสียเงิน ใครไม่อยากดูก็ไม่ต้องจ่ายเงิน
ทุกๆ ครั้งเมื่อเกิดปัญหาเรื่องของค่าลิขสิทธิ์ หน่วยงานที่จะต้องตกเป็นเป้าให้เป็นผู้หาเงินมาซื้อลิขสิทธิ์ก็หนีไม่พ้น การกีฬาแห่งประเทศไทย (กกท.) ที่จะต้องเข้ามารับเผือกร้อน วิ่งเต้นหาเงิน ดึงเงินมาซื้อลิขสิทธิ์กันทุกครั้งไป
จริงๆ แล้ว กกท.ไม่มีหน้าที่ในการไปดำเนินการซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาด้วยซ้ำ เพราะยุทธศาสตร์ของ กกท.คือ การพัฒนากีฬาเพื่อความเป็นเลิศ และการพัฒนากีฬาเพื่ออาชีพ ย้ำอีกครั้ง กกท.ไม่มีหน้าที่ไปซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดมหกรรมกีฬาใดเลย
สำหรับซีเกมส์ 2023 หากภาครัฐของไทยอย่าง กกท.ยังคงเดินหน้าซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดกีฬาซีเกมส์มูลค่า 28 ล้านบาทแทนที่จะนำไปพัฒนานักกีฬา โค้ช หรือช่วยเหลือสมาคมกีฬาที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนน้อยๆ ต้องยอมรับกับการโดนกระแสสังคม กระแสแฟนกีฬาโจมตีอย่างหนักแน่นอน
เพราะรู้ทั้งรู้ว่า หากไม่ซื้อลิขสิทธิ์ถ่ายทอดสดก็ไม่ผิด แต่ซื้อมาต้องถ่ายให้ “คนไทย” ได้ดูฟรี
แล้วทำไมต้อง “ดิ้นรน” เอาภาษีประชาชนไปซื้อ ทั้งที่ประชาชนเขาไม่ต้องการล่ะ…
https://www.matichon.co.th/sport/news_3877424