ทำไมชัชชาติไม่ใช้หนี้ BTS ล่ะ วันนี้ ลองสรุปคำถาม-ตอบ ปมแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ดังนี้

2564 
ชัชชาติ"ข้องใจกทม.มีเงินกว่า 5 หมื่นล. แต่ทำไมไม่ใช้หนี้บีทีเอส 8 พันล.  https://siamrath.co.th/n/212051 

เมษายน 2564
นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ว่าที่ผู้สมัครผู้ว่า กทม. โพสต์ข้อความทางเฟซบุ๊กส่วนตัวว่า เมื่อวานระหว่างนั่งรถไฟฟ้า BTS ไปงานศพที่วัดธาตุทอง ได้เห็นคลิปในจอของรถไฟฟ้าที่ไม่เคยคิดว่าจะได้เห็น คือการทวงหนี้ออกอากาศ ที่ทาง BTS ชี้แจงว่า กทม.ค้างชำระหนี้จำนวนมากกว่า 30,000 ล้านบาท ซึ่งหนี้ก้อนนี้จะไม่เป็นภาระต่องบประมาณ ถ้า ครม.ยอมต่อสัมปทานให้ BTS อีก 30 ปี (2572-2602)  https://www.prachachat.net/breaking-news/news-647729  

2565 
ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ขอเวลา 1 เดือนหาทางออก ปลดหนี้แสนล้านรถไฟฟ้าสายสีเขียว การแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ถือเป็น 1 ใน 4 เรื่องเร่งด่วนที่ “ชัชชาติ สิทธิพันธุ์” ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร “ประกาศในวันรับตำแหน่งผู้ว่าฯ กรุงเทพมหานคร และวันแรก (2 มิถุนายน 2565) ที่เขาเริ่มทำงาน https://www.tcc.or.th/policies/policy-bts-green-line/

พฤศจิกายน 2022 
กรุงเทพมหานครยืนยัน ไม่มีเจตนาไม่ชำระหนี้รถไฟฟ้าสายสีเขียวส่วนต่อขยาย หลังบีทีเอส ปล่อยคลิปทวงหนี้ 40,000 ล้านบาท ย้ำ “ติดหนี้ต้องจ่าย” โดย กทม. อธิบายว่า หนี้เหล่านี้ยังไม่ผ่านการพิจารณาของสภากรุงเทพมหานคร  https://www.bbc.com/thai/articles/cz7lpely4r3o

09.2022
ชัชชาติ พร้อมยื่นอุทธรณ์ กรณีหนี้ ‘BTS สายสีเขียว’ ย้ำต้องคิดให้ดีก่อนจ่าย เพราะเป็นภาษีประชาชน  https://thestandard.co/chadchart-appeal-bts/  

สิงหาคม 2565
ชัชชาติยันไม่เบี้ยวหนี้ BTS แต่ขอดำเนินการอย่างรอบคอบ https://www.prachachat.net/general/news-995938 


วันนี้ ลองสรุปคำถาม-ตอบ ปมแก้ปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียว ดังนี้

1. ถ้ารัฐบาลทำตามข้อเสนอที่ผู้ว่าฯ ชัชชาติ ทำหนังสือตอบมหาดไทย จะจบหรือไม่? 

ผู้ว่าฯ ชัชชาติ เสนอให้รัฐบาลรับภาระค่างานโยธาที่รับมาจาก รฟม. ประมาณ 5.5 หมื่นล้านบาทค่าระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (ส่วนต่อขยาย 2) ประมาณ2 หมื่นล้านบาท 

สองรายการข้างต้น รวมเป็นเงินประมาณ7.5 หมื่นล้านบาท 

ลองคิดง่ายๆ ถ้ารัฐบาลพร้อมจะจ่ายเงิน7.5 หมื่นล้านบาทตั้งแต่ต้น แล้วจะต้องให้ไปเจรจาเอกชนเพื่ออะไร? 

นายกฯ พลเอกประยุทธ์จะไม่รู้หรือว่าจะต้องใช้เงินเท่าไหร่? 

ตรงกันข้าม นายชัชชาติย่อมรู้หรือควรรู้ เพราะบอกว่าศึกษาปัญหา กทม.มากว่า 2 ปี ว่าปัญหารถไฟฟ้าสายสีเขียวมีต้นทุนค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวข้องมากมายแค่ไหนเงื่อนไขสัญญาเป็นอย่างไร แต่กลับหาเสียงปั้นแต่งวาทกรรม เพื่อป้อนความหวังลมๆ แล้งๆ พ่วงการโจมตีทางการเมือง แล้วสุดท้าย พอนายชัชชาติมีอำนาจจริงๆ ก็ไม่สามารถทำได้ตามสัญญาหาเสียงเลย 

ดร.สามารถ ราชพลสิทธิ์ คำนวณว่า ถึงวันที่ 3 พ.ย. 2565 กทม. มีหนี้ (1) หนี้กับ BTSC เป็นค่าจ้างเดินรถและติดตั้งงานระบบไฟฟ้าและเครื่องกล (รวมดอกเบี้ย) ประมาณ 46,000 ล้านบาท (2) หนี้กับ รฟม. เป็นค่างานโยธาส่วนต่อขยายที่ 2 (รวมดอกเบี้ย) ประมาณ 60,000 ล้านบาท รวมหนี้ทั้งหมดประมาณ 106,000 ล้านบาท  

อีกทั้ง ยังมีภาระจากเวลานี้จนถึงปีสิ้นสุดสัญญาสัมปทาน คือปี พ.ศ. 2572 อีกก้อนใหญ่ เนื่องจากการเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยายจะขาดทุน  

ด้วยเหตุนี้ คณะกรรมการตามคำสั่ง คสช. จึงเสนอให้ขยายสัมปทานสายสีเขียวส่วนหลักให้ BTSC เป็นเวลา 30 ปี ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2572-2602 เพื่อนำรายได้จากส่วนหลักมาชดเชยการให้บริการเดินรถส่วนต่อขยาย  

การแก้ปัญหาโดยวิธีนี้ ผู้ว่าฯ กทม. คนที่แล้ว (ท่านผู้ว่าฯ อัศวิน) เห็นด้วย แต่ผู้ว่าฯกทม. คนปัจจุบัน (ผู้ว่าฯ ชัชชาติ) ไม่เห็นด้วย 

สมมุติว่า ถ้ารัฐบาลยอมตามนายชัชชาติรับภาระกว่า 7 หมื่นล้านบาท สองรายการนั้นมาจริง ปัญหาก็ไม่จบ 

กทม.จะเอาเงินจากไหนมาจ่ายเดินรถสายสีเขียวส่วนต่อขยายอีกหมื่นกว่าล้าน ตามที่ศาลปกครองพิพากษา? ยังไม่รวมดอกเบี้ย ยังไม่รวมค่าเดินรถสายสีเขียวฯที่มีเพิ่มขึ้นอีกทุกวัน หลังคดีแรก (พร้อมดอกเบี้ย)  

โดยที่นายชัชชาติ ผู้ว่าฯ กทม. ยังไม่กล้าเก็บค่าโดยสารส่วนต่อขยายสายสีเขียวเลยจนปัจจุบัน ทั้งๆ ที่ เป็นอำนาจหน้าที่ของฝ่ายบริหาร กทม.เองโดยตรง
ลองคิดดู สัมปทานส่วนหลักของสายสีเขียวจะสิ้นสุด 2572 (วาระของผู้ว่าฯ ชัชชาติจะสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2569)  

แม้จะรอเปิดประมูลใหม่ ก็จะยังติดสัญญาเดินรถที่จ้างเอกชนถึงปี 2585 

ที่สำคัญ ระหว่างนี้ จนถึงปี 2572 ดูแล้ว กทม.ไม่สามารถหาเงินมาชำระหนี้ให้ BTSC ได้แน่นอน 

ตัวผู้ว่าฯ ชัชชาติอาจหมดสมัยไปก่อน แต่ กทม.จะติดหนี้หัวโต รวมดอกเบี้ยที่เพิ่มทุกวัน มหาศาล มโหฬาร ถึงวันนั้น คนที่รับผิดชอบคือใคร? 

ผู้ว่าฯคนปัจจุบัน อาจเปิดก้นไปไหนแล้ว? 

หากรัฐบาล นายกฯ พลเอกประยุทธ์ไม่ลงมือแก้ตาม ม.44 ประวัติศาสตร์จะบันทึกว่าเป็นความล้มเหลวด่างพร้อยหัวหน้า คสช.
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่