สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 1
จริงๆประกันชีวิต และประกันสุขภาพ ต้องมองแยกกันครับ ตัวแทนประกันชอบเอามันมารวมกัน แล้วถ้าไม่ดูลึกๆจะไม่ทราบว่ามันแยกกันอย่างไร
ประกันชีวิต ใช้เพื่อปิดความเสี่ยงในการเสียชีวิต และคนข้างหลังมีเงินก้อนเอาไว้ใช้ (หรือเอาไว้ปิดหนี้ที่เรามีอยู่) สมมติว่าเราไม่มีภาระอะไรข้างหลัง ประกันชีวิตแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยครับ ทำให้น้อยที่สุดก็พอ (บริษัทประกันส่วนใหญ่ไม่ยอมให้ยอดส่วนนี้เป็น0 ก็จะบอกว่าต้องมีสัญญาหลักเป็นประกันชีวิตก่อน) ส่วนใหญ่การจ่ายเงินในเฉพาะส่วนนี้ มองเป็นเงินออมก็ได้ครับ เพราะส่วนใหญ่จะคล้ายกับการฝากเงินไว้กับเค้า และได้ดอกผลกลับมาเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามที่ตกลงกัน
ประกันสุขภาพ ในส่วนนี้จะเป็นการจ่ายแบบทิ้งปีต่อปี (หยุดจ่ายก็หยุดคุ้มครอง) ก้อนนี้แหละครับ ที่ถูกมองเป็นรายจ่ายจริงๆได้ (เพราะมันจ่ายทิ้ง) โดยส่วนตัวจะดูตารางเบี้ยยิงยาวๆไปถึงอายุเยอะๆ ว่าเราพอจะจ่ายมันจนจบได้มั้ย (อันนี้อยู่ที่อาชีพครับ ถ้ารายได้มั่นคง คงที่ก็ประเมินไม่ยาก ส่วนตัวทำงาน เป็นเจ้าของธุรกิจเล็กๆ ไม่ได้มีความมั่นคงอะไร ก็จะกันเงินก้อนนึง เอาไว้จ่ายประกันตัวนี้สำหรับชีวิตที่เหลือเอาไว้เลย ก็จะเลือกเอาแค่พอมั่นใจว่าจ่ายไหวพอ)
ประกันอย่างอื่น ที่เอามาพ่วงๆ มันซับซ้อนมากๆครับ อย่าง UDR บริษัทประกันพยายามเอาเบี้ยทั้งชีวิตที่มันจะค่อยๆแพงขึ้น มาถัวให้เท่าๆกันทั้งชีวิต โดยส่วนตัวเค้าแค่พยายามให้เราไม่ย้ายหนี้เค้า และโดยstatแล้วเค้าได้เงินมากขึ้นมากกว่าการจ่ายเบี้ยตามปกติที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น แต่ก็จะตอบโจทย์คนที่ออมเงินไม่เก่ง เพราะจ่ายเยอะหน่อยช่วงนี้ ช่วงแก่ๆเงินเฟ้อไปไกลแล้วแต่ก็จ่ายเท่าเดิม(ก็จะรู้สึกจ่ายน้อยลงตามมูลค่าเงิน)
เค้าออกแบบproductให้เหมาะกับคนบางกลุ่ม ถ้าเราเข้าใจมันลึกๆหน่อยก็จะมองออกว่าเหมาะกับตัวเองรึเปล่าครับ
ประกันชีวิต ใช้เพื่อปิดความเสี่ยงในการเสียชีวิต และคนข้างหลังมีเงินก้อนเอาไว้ใช้ (หรือเอาไว้ปิดหนี้ที่เรามีอยู่) สมมติว่าเราไม่มีภาระอะไรข้างหลัง ประกันชีวิตแทบจะไม่มีประโยชน์อะไรเลยครับ ทำให้น้อยที่สุดก็พอ (บริษัทประกันส่วนใหญ่ไม่ยอมให้ยอดส่วนนี้เป็น0 ก็จะบอกว่าต้องมีสัญญาหลักเป็นประกันชีวิตก่อน) ส่วนใหญ่การจ่ายเงินในเฉพาะส่วนนี้ มองเป็นเงินออมก็ได้ครับ เพราะส่วนใหญ่จะคล้ายกับการฝากเงินไว้กับเค้า และได้ดอกผลกลับมาเมื่อสิ้นสุดระยะเวลาตามที่ตกลงกัน
ประกันสุขภาพ ในส่วนนี้จะเป็นการจ่ายแบบทิ้งปีต่อปี (หยุดจ่ายก็หยุดคุ้มครอง) ก้อนนี้แหละครับ ที่ถูกมองเป็นรายจ่ายจริงๆได้ (เพราะมันจ่ายทิ้ง) โดยส่วนตัวจะดูตารางเบี้ยยิงยาวๆไปถึงอายุเยอะๆ ว่าเราพอจะจ่ายมันจนจบได้มั้ย (อันนี้อยู่ที่อาชีพครับ ถ้ารายได้มั่นคง คงที่ก็ประเมินไม่ยาก ส่วนตัวทำงาน เป็นเจ้าของธุรกิจเล็กๆ ไม่ได้มีความมั่นคงอะไร ก็จะกันเงินก้อนนึง เอาไว้จ่ายประกันตัวนี้สำหรับชีวิตที่เหลือเอาไว้เลย ก็จะเลือกเอาแค่พอมั่นใจว่าจ่ายไหวพอ)
ประกันอย่างอื่น ที่เอามาพ่วงๆ มันซับซ้อนมากๆครับ อย่าง UDR บริษัทประกันพยายามเอาเบี้ยทั้งชีวิตที่มันจะค่อยๆแพงขึ้น มาถัวให้เท่าๆกันทั้งชีวิต โดยส่วนตัวเค้าแค่พยายามให้เราไม่ย้ายหนี้เค้า และโดยstatแล้วเค้าได้เงินมากขึ้นมากกว่าการจ่ายเบี้ยตามปกติที่ค่อยๆเพิ่มขึ้น แต่ก็จะตอบโจทย์คนที่ออมเงินไม่เก่ง เพราะจ่ายเยอะหน่อยช่วงนี้ ช่วงแก่ๆเงินเฟ้อไปไกลแล้วแต่ก็จ่ายเท่าเดิม(ก็จะรู้สึกจ่ายน้อยลงตามมูลค่าเงิน)
เค้าออกแบบproductให้เหมาะกับคนบางกลุ่ม ถ้าเราเข้าใจมันลึกๆหน่อยก็จะมองออกว่าเหมาะกับตัวเองรึเปล่าครับ
แสดงความคิดเห็น
เงินจ่ายค่าประกันชีวิต ประกันสุขภาพ ควรเป็นกี่ % ของเงินเดือนคะ
เมื่อเดือนที่แล้วเพื่อนที่เป็นตัวแทนประกันก็มาเสนอประกันแบบ UDR โดยคุ้มครองคล้ายเดิม ค่าใช้จ่ายจะเป็น 20% ของรายได้ทั้งปี ยังไม่ได้ตกลงจะทำนะคะ เพราะเห็นว่าถ้าจ่ายส่วนนี้การเงินจะตึงค่อนข้างมาก และเป็นสัญญาผูกพัน 22 ปี ไม่รู้ว่าในอนาคตจะเกิดอะไรขึ้นบ้าง แต่ข้อเสนอของ UDR ก็น่าสนใจตรงที่เป็นเบี้ยคงที่ ถ้ากองทุนทำผลกำไรได้ตามใบเสนอที่ตัวแทนอธิบายมา ตัวแทนเองเสนอให้ย้ายจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพที่หัก 15% มาลงที่ UDR แทน แต่คิดว่าคงไม่ย้าย PVD ไปลง เพราะมีผลประโยชน์จากบริษัทสมทบ
ทีนี้เลยลังเลค่ะ ว่าทำแบบ UDR นี่คุ้มไหมคะ ควรรอให้รายได้สูงกว่านี้ หรือจ่ายแบบ PPR ต่อไปดี