เหตุผลในการบุกประเทศไทยอีกครั้งของแบรนด์ Hyundai, หลังจากล้มเหลวในอดีต
ฮุนได มอเตอร์ คัมปะนี ประกาศเพิ่มดีกรีรุกตลาดเอเชียในปี 2566 พร้อมตั้งบริษัท ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินธุรกิจด้วยบริษัทแม่ประเทศเกาหลี
จุดเริ่มต้นของแบรน์รถยนต์ ฮุนได ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1967 ภายใต้ชื่อ ฮุนได มอเตอร์ คัมปะนี (Hyundai Motor Company) ตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ โดยเริ่มต้นจากการผลิตรถยนต์ Hyundai Pony เป็นรุ่นแรก และจากนั้นมีการเติบโตและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
PPTV Online ได้เดินทางมายังประเทศเกาหลีใต้ เพื่อเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ของ ฮุนได (Hyundai) และร่วมสัมภาษณ์ “Seon Seob Kim” Excutive Vice President Hyundai Motor Company ผู้แลรับผิดชอบตลาดในภูมิภาคเอเชีย
Seon Seob Kim Excutive Vice President Hyundai Motor Company
Seon Seob Kim กล่าวว่า วันที่ 1 เมษายน 2566 บริษัทจะเปิดตัวแบรนด์และบริษัทอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ภายใต้การบริหารงานของ ฮุนได มอเตอร์ คัมปะนี ประเทศเกาหลีใต้
"เรายอมรับว่าเคยลองเข้าสู่ตลาดในประเทศไทยแล้วในอดีตที่ผ่านมาแต่ ‘ไม่สำเร็จ’ แต่ในปี 2566 นี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะลองเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง"
ทั้งนี้ ทิศทางการเติบโตในตลาดโลกของ ฮุนได มอเตอร์ ทั่วโลก มีแผนการจำหน่ายรถยนต์ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกในปี 2566 จำนวน 4.3 ล้านคัน เติบโตขึ้น 9.6% จากปีก่อนหน้า ที่มียอดขายรวมอยู่ที่ 3.9 ล้านคัน ซึ่งตลาดหลักอยู่ใน อเมริกาเหนือ, เกาหลีใต้ และ ยุโรป ตามลำดับ
ขณะที่ ในปี 2566 บริษัทมีแผนการเข้ารุกตลาดในภูมิภาคเอเชียอีกครั้ง โดยเฉพาะการโฟกัสในประเทศไทยซึ่งถือเป็นตลาดสำคัญที่มีการแข่งขันที่รุนแรงจากแบรนด์ต่าง ๆ ที่อยู่ในตลาด แต่ปัจจุบันรูปแบบธุรกิจของอุตสาหกรรมยานยนต์เปลี่ยนไปสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า บริษัทจึงมองว่าเป็นโอกาสสำคัญที่จะนำเสนอเทคโนโลยีที่บริษัทมีความมั่นใจว่าจะสามารถส่งมอบประสบการณ์ของผลิตภัณฑ์สู่ผู้บริโภคได้เหนือกว่าคู่แข่งในประเทศไทย
3 สิ่งที่ ฮุนได ถือเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเข้าสู่ประเทศไทย
• ความสะดวกสบาย
• ความปลอดภัย
• ความเชื่อมั่น
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ฮุนได มอเตอร์ คัมปะนี ไม่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยได้เนื่องจาก ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีสัดส่วนยอดขายของรถกระบะเป็นหลัก จึงได้มีการแต่งตั้งตัวแทนผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย (ดิสทริบิวเตอร์) อย่าง โซจิทสึ ซึ่งมียอดขายเฉลี่ยหลักพันคันต่อปี
นอกจากนั้น ยังมีข้อจำกัดของบริษัทมีผลิตภัณฑ์น้อยในการทำการตลาดสำหรับประเทศไทย รวมถึงตลาดประเทศไทยเป็นตลาดพวงมาลัยขวา เป็นปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งในด้านการผลิต
Seon Seob Kim กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพพอสมควร และมีเครือข่ายผู้แทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) กระจายอยู่ในประเทศมากพอสมควร ซึ่งหลังจากนี้การเข้าสู่ตลาดในประเทศไทยอย่างเป็นกทางการของ ฮุนได มอเตอร์ คัมปะนี ซึ่งจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยภายใต้ชื่อ ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด จะเป็นการต่อยอดส่งเสริมการดำเนินธุรกิจและการสร้างแบรนด์ในประเทศไทยได้อย่างแข็งแกร่ง
PPTV HD 36
ฮุนได มอเตอร์ ประกาศบุกทำตลาดในไทยในปี 2566
ฮุนได มอเตอร์ คัมปะนี ประกาศเพิ่มดีกรีรุกตลาดเอเชียในปี 2566 พร้อมตั้งบริษัท ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด ดำเนินธุรกิจด้วยบริษัทแม่ประเทศเกาหลี
จุดเริ่มต้นของแบรน์รถยนต์ ฮุนได ก่อตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1967 ภายใต้ชื่อ ฮุนได มอเตอร์ คัมปะนี (Hyundai Motor Company) ตามนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศเกาหลีใต้ โดยเริ่มต้นจากการผลิตรถยนต์ Hyundai Pony เป็นรุ่นแรก และจากนั้นมีการเติบโตและพัฒนาทางด้านเทคโนโลยีอย่างต่อเนื่อง
PPTV Online ได้เดินทางมายังประเทศเกาหลีใต้ เพื่อเยี่ยมชมสำนักงานใหญ่ของ ฮุนได (Hyundai) และร่วมสัมภาษณ์ “Seon Seob Kim” Excutive Vice President Hyundai Motor Company ผู้แลรับผิดชอบตลาดในภูมิภาคเอเชีย
Seon Seob Kim Excutive Vice President Hyundai Motor Company
Seon Seob Kim กล่าวว่า วันที่ 1 เมษายน 2566 บริษัทจะเปิดตัวแบรนด์และบริษัทอย่างเป็นทางการในประเทศไทย ภายใต้การบริหารงานของ ฮุนได มอเตอร์ คัมปะนี ประเทศเกาหลีใต้
"เรายอมรับว่าเคยลองเข้าสู่ตลาดในประเทศไทยแล้วในอดีตที่ผ่านมาแต่ ‘ไม่สำเร็จ’ แต่ในปี 2566 นี้ ถือเป็นโอกาสที่ดีที่จะลองเข้าสู่ตลาดอีกครั้ง"
ทั้งนี้ ทิศทางการเติบโตในตลาดโลกของ ฮุนได มอเตอร์ ทั่วโลก มีแผนการจำหน่ายรถยนต์ในภูมิภาคต่าง ๆ ทั่วโลกในปี 2566 จำนวน 4.3 ล้านคัน เติบโตขึ้น 9.6% จากปีก่อนหน้า ที่มียอดขายรวมอยู่ที่ 3.9 ล้านคัน ซึ่งตลาดหลักอยู่ใน อเมริกาเหนือ, เกาหลีใต้ และ ยุโรป ตามลำดับ
ขณะที่ ในปี 2566 บริษัทมีแผนการเข้ารุกตลาดในภูมิภาคเอเชียอีกครั้ง โดยเฉพาะการโฟกัสในประเทศไทยซึ่งถือเป็นตลาดสำคัญที่มีการแข่งขันที่รุนแรงจากแบรนด์ต่าง ๆ ที่อยู่ในตลาด แต่ปัจจุบันรูปแบบธุรกิจของอุตสาหกรรมยานยนต์เปลี่ยนไปสู่เทคโนโลยียานยนต์ไฟฟ้า บริษัทจึงมองว่าเป็นโอกาสสำคัญที่จะนำเสนอเทคโนโลยีที่บริษัทมีความมั่นใจว่าจะสามารถส่งมอบประสบการณ์ของผลิตภัณฑ์สู่ผู้บริโภคได้เหนือกว่าคู่แข่งในประเทศไทย
3 สิ่งที่ ฮุนได ถือเป็นหัวใจหลักในการพัฒนาผลิตภัณฑ์เพื่อเข้าสู่ประเทศไทย
• ความสะดวกสบาย
• ความปลอดภัย
• ความเชื่อมั่น
อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ ฮุนได มอเตอร์ คัมปะนี ไม่ประสบความสำเร็จในประเทศไทยได้เนื่องจาก ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีสัดส่วนยอดขายของรถกระบะเป็นหลัก จึงได้มีการแต่งตั้งตัวแทนผู้นำเข้าและจัดจำหน่าย (ดิสทริบิวเตอร์) อย่าง โซจิทสึ ซึ่งมียอดขายเฉลี่ยหลักพันคันต่อปี
นอกจากนั้น ยังมีข้อจำกัดของบริษัทมีผลิตภัณฑ์น้อยในการทำการตลาดสำหรับประเทศไทย รวมถึงตลาดประเทศไทยเป็นตลาดพวงมาลัยขวา เป็นปัญหาสำคัญอีกอย่างหนึ่งในด้านการผลิต
Seon Seob Kim กล่าวว่า ประเทศไทยถือเป็นตลาดที่มีศักยภาพพอสมควร และมีเครือข่ายผู้แทนจำหน่าย (ดีลเลอร์) กระจายอยู่ในประเทศมากพอสมควร ซึ่งหลังจากนี้การเข้าสู่ตลาดในประเทศไทยอย่างเป็นกทางการของ ฮุนได มอเตอร์ คัมปะนี ซึ่งจดทะเบียนบริษัทในประเทศไทยภายใต้ชื่อ ฮุนได โมบิลิตี้ (ประเทศไทย) จำกัด จะเป็นการต่อยอดส่งเสริมการดำเนินธุรกิจและการสร้างแบรนด์ในประเทศไทยได้อย่างแข็งแกร่ง
PPTV HD 36