คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 20
ในสำนวนคำว่า"ช้างเท้าหน้า" เขาไม่ได้หมายถึง เท้าคู่หน้าของช้าง ครับ แต่เขาหมายถึงช้างทั้งตัว(ขออนุญาตใช้ลักษณะนามช้างเป็นตัวเพื่อไม่ให้เกิดความสับสน)
ซึ่งสำนวนนี้มีที่มาจากการนำช้างสองตัวมาร่วมกันลากซุง โดยการผูกช้าง สามารถทำได้สองวิธี คือ การ"ลากเคียง" และ การ"ลากต้อย"
การลากเคียง คือการผูกช้างทั้งสองตัวให้ยืนคู่กัน ซึ่งจะทำได้เส้นทางการเดินต้องกว้างพอที่ช้างสองตัวสามารถเดินคู่กันได้ ข้อดีของการลากเคียงคือ ช้างสองตัวจะออกแรงเท่าๆกัน เราจึงได้สำนวนไทยอีกสำนวนคือ "ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กัน"
ส่วนการ"ลากต้อย" นั้นจะใช้การผูกช้างโดยให้ช้างตัวหนึ่งอยู่ด้านหน้าเลียกช้างตัวนี้ว่าช้างเท้าหน้า และช้างอีกตัวอยู่ด้านหลังเลียกช้างตัวนี้ว่าช้างเท้าหลัง สามมารถทำงานได้ดีในที่รกมีทางเดินแคบๆ ลองนึกภาพตามน้ะครับ เชือกที่ผูกคอช้างเข้าไม่ได้ลอดใต้หว่างขาช้างแต่เขาใช้เชือกสองเส้นออกทางไหล่ ซ้ายหนึ่งเส้น ไหล่ขว่าอีกหนึ่งเส้น เชือกทั้งสองเส้นของช้างตัวหน้าจึงทำหน้าที่บังคับช้างตัวหลังให้เดินตามตัวหน้าเท่านั้น ไม่สามารถเถลไถล ออกนอกลู่นอกทางได้ เราจึงได้สำนวนไทยอีกสำนวนคือ "เดินตามกันต้อย ๆ "
และการผูกช้างแบบ"ลากต้อย"นี้ยังมีประโยชน์ อีกอย่างหนึ่งคือใช้ฝึกช้างใหม่ หรือช้างดื้อ
เพราะฉะนั้น คำว่าช้างเท้าหน้า จึงไม่ไม่ได้หมายถึงเท้าคู่หน้า แต่หมายถึงช้างทั้งตัวที่เดินนำหน้าทำหน้าที่เป็นผู้นำ ครับ
ซึ่งสำนวนนี้มีที่มาจากการนำช้างสองตัวมาร่วมกันลากซุง โดยการผูกช้าง สามารถทำได้สองวิธี คือ การ"ลากเคียง" และ การ"ลากต้อย"
การลากเคียง คือการผูกช้างทั้งสองตัวให้ยืนคู่กัน ซึ่งจะทำได้เส้นทางการเดินต้องกว้างพอที่ช้างสองตัวสามารถเดินคู่กันได้ ข้อดีของการลากเคียงคือ ช้างสองตัวจะออกแรงเท่าๆกัน เราจึงได้สำนวนไทยอีกสำนวนคือ "ยืนเคียงบ่าเคียงไหล่กัน"
ส่วนการ"ลากต้อย" นั้นจะใช้การผูกช้างโดยให้ช้างตัวหนึ่งอยู่ด้านหน้าเลียกช้างตัวนี้ว่าช้างเท้าหน้า และช้างอีกตัวอยู่ด้านหลังเลียกช้างตัวนี้ว่าช้างเท้าหลัง สามมารถทำงานได้ดีในที่รกมีทางเดินแคบๆ ลองนึกภาพตามน้ะครับ เชือกที่ผูกคอช้างเข้าไม่ได้ลอดใต้หว่างขาช้างแต่เขาใช้เชือกสองเส้นออกทางไหล่ ซ้ายหนึ่งเส้น ไหล่ขว่าอีกหนึ่งเส้น เชือกทั้งสองเส้นของช้างตัวหน้าจึงทำหน้าที่บังคับช้างตัวหลังให้เดินตามตัวหน้าเท่านั้น ไม่สามารถเถลไถล ออกนอกลู่นอกทางได้ เราจึงได้สำนวนไทยอีกสำนวนคือ "เดินตามกันต้อย ๆ "
และการผูกช้างแบบ"ลากต้อย"นี้ยังมีประโยชน์ อีกอย่างหนึ่งคือใช้ฝึกช้างใหม่ หรือช้างดื้อ
เพราะฉะนั้น คำว่าช้างเท้าหน้า จึงไม่ไม่ได้หมายถึงเท้าคู่หน้า แต่หมายถึงช้างทั้งตัวที่เดินนำหน้าทำหน้าที่เป็นผู้นำ ครับ
แสดงความคิดเห็น
สำนวน “ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้า” คือว่าให้เดินเวลาผู้หญิงก้าวเท้าใช่ไหม เพราะช้างจะก้าวเท้าหลังก่อน
แล้วแบบนี้สำนวนที่ว่า
“ผู้ชายเป็นช้างเท้าหน้าผู้หญิงเป็นช้างเท้าหลัง”
แต่ว่าผู้ชายก็ต้องคอยระวังเวลาผู้หญิงเดินถ้าผู้หญิงก้าวเท้าเมื่อไหร่ก็ต้องตามใจเมื่อนั้นใช่ไหม
https://www.researchgate.net/publication/256669284_Gait_pattern_analysis_of_an_Asian_elephant