โดนมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน ใครต้องรับผิดชอบ?

ปัญหาประชาชนโดนมิจฉาชีพหลอกโอนเงิน ไม่เว้นแต่ละวัน

ล่าสุด ขอเตือนภัย มิจฉาชีพปลอมใบแจ้งให้ไปรับพัสดุของไปรษณีย์

เวลาที่เราไม่อยู่บ้าน ปกติจะมีใบสีขาวจากบุรุษไปรษณีย์มาแจ้งไว้ให้ไปรับเอกสาร หรือ พัสดุ 
ตอนนี้มิจฉาชีพเอาใบปลอมมาใส่ไว้ในตู้ไปรษณีย์พร้อมQR Code ปลอม มีคนหลงสแกนจนโดนดูดเงินจากบัญชีไปแล้ว ระมัดระวังกันด้วยนะ

อยากให้ธนาคารแห่งประเทศไทย ธนาคารพาณิชย์ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ กรมบัญชีกลาง การสื่อสารแห่งประเทศไทย และหน่วยงานอื่นๆที่เกี่ยวข้อง ร่วมมือกันในการจัดประชุมเพื่อแก้ไขปัญหามิจฉาชีพดูดเงินจากบัญชีประชาชน การโอนเงินผิดบัญชี แบบบูรณาการทั้งระบบเสียที

อ้างอิงคำพิพากษาฎีกาที่ 6233/2564
เครดิต: เพจเฟสบุ๊ค "ทนายคู่ใจ"
คดีนี้ศาลฏีกาตัดสินให้ธนาคารต้องชดใช้ให้ครึ่งหนึ่ง

        ธนาคารซึ่งรับฝากเงิน ตามสัญญาฝากทรัพย์ ตามหลักแล้ว เมื่อใดที่ผู้ฝากเงินมอบ หรือโอนเงินให้ธนาคารไปแล้ว กรรมสิทธิ์ในตัวเงินนั้นเป็นของธนาคาร เจ้าของเงินเพียงมีสิทธิ์ เรียกร้องให้ธนาคารคืนเงินพร้อมดอกเบี้ย ดังนั้นธนาคาร ควรมีหน้าที่ที่ต้องวางกลไกไม่ให้ใครนำเงิน ซึ่งจริงๆเป็นของธนาคารไปโดยไม่มีสิทธิ์

          การที่ธนาคารแจ้งเตือน ให้แก่ลูกค้าผู้ใช้บริการต่าง ๆ ระมัดระวังอีเมลหลอกลวงจากมิจฉาชีพหรือที่เรียกว่า Phishing Email มาตลอด โดยมีข้อความแจ้งเตือนว่า “แจ้งเตือน กรุณาอย่าหลงเชื่อ อีเมลปลอมจากมิจฉาชีพ  xxx  ไม่มีนโยบายในการส่งอีเมลใดๆ เพื่อให้ลูกค้ากรอกข้อมูล ชื่อผู้ใช้งาน Password หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ โดยเด็ดขาด”
และ “แจ้งเตือนโปรดระวังอีเมลแอบอ้าง (Phishing Email)  ว่าเป็นอีเมลจากธนาคารหลอกลวงให้คลิกเพื่อไปยังเว็บไซต์ปลอม เพื่อความปลอดภัย......

ธนาคารควรจะป้องกัน หรือระงับยับยั้งการโอนเงินที่มีความผิดปกติดังกล่าว  เมื่อมีการโอนเงินผ่านไปแล้วกี่ครั้ง และเหตุใดพนักงานของจำเลยเพิ่งจะโทรศัพท์แจ้งเตือนไปยังโจทก์หลังจากที่มีการโอนเงินดังกล่าวครั้งที่ 12 และโอนเงินไปรวมเป็นเงิน 1,099,999 บาท แล้ว ซึ่งมาตรการ ในการป้องกันความเสียหายที่เหมาะสม หรือสมควรดังกล่าว....
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่