สวธ.จัดโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ “ศิลปินแห่งชาติสืบสานศิลป์”
จุดประกายศิลปินรุ่นใหม่ ต่อยอดภูมิปัญญาพัฒนามรดกศิลป์ถิ่นล้านนา
กรมส่งเสริมวัฒนธรรม (สวธ.) ร่วมกับ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง จังหวัดเชียงราย จัดกิจกรรมถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ ๓ สาขา “ศิลปินแห่งชาติสืบสานศิลป์” ถ่ายทอดประสบการณ์ สืบสานองค์ความรู้จากศิลปินแห่งชาติสู่เยาวชน ปั้นศิลปินรุ่นใหม่ต่อยอดศิลปวัฒนธรรมของชาติ ระหว่างวันที่ ๒๗-๒๘ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ โดยมีนายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม เป็นประธาน คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม พร้อมคณะกรรมการกองทุนฯ ศิลปินแห่งชาติ ผู้ทรงคุณวุฒิ หัวหน้าส่วนราชการ โดย รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวงให้การต้อนรับ ทั้งนี้ มีคณาจารย์ เด็กนักเรียนและเยาวชนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายและใกล้เคียง เข้าร่วมกิจกรรมเปิดประสบการณ์เรียนรู้งานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติอย่างอบอุ่น
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า โครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ นี้ มีความสำคัญในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมงานศิลปะและวัฒนธรรมไปสู่เยาวชน และผู้ที่สนใจในส่วนภูมิภาค โดยศิลปินแห่งชาติ ได้ให้ความกรุณาอุทิศตนและเสียสละเวลามาถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ และเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อฝึกฝนและสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาทักษะในงานศิลปะ ทั้งด้านทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ และศิลปะการแสดง ให้แก่ นักเรียน เยาวชน ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ โดยภายในงานยังมีการจัดแสดงผลงานฝีพระหัตถ์ของอัครศิลปิน วิศิษฏศิลปิน และผลงานศิลปะของศิลปินแห่งชาติ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชน และประชาชนในส่วนภูมิภาค ได้สัมผัสกับผลงานศิลปะอันทรงคุณค่าที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะต่อไป
นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม
คุณหญิงปัทมา ลีสวัสดิ์ตระกูล ประธานกรรมการกองทุนส่งเสริมงานวัฒนธรรม
รศ.ดร.ชยาพร วัฒนศิริ อธิการบดีมหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง
กิจกรรมที่จัดขึ้นในครั้งนี้ ได้รับความร่วมมือจากเครือข่ายทางวัฒนธรรม ให้การสนับสนุนการดำเนินงานในด้านต่าง ๆ อาทิ มหาวิทยาลัยแม่ฟ้าหลวง มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงราย วัฒนธรรมจังหวัดเชียงราย สมาคมขัวศิลปะ โรงเรียนและสถาบันการศึกษาในจังหวัดเชียงราย ทั้งยังได้รับเกียรติจากศิลปินแห่งชาติ จำนวน ๑๓ ท่าน นำผลงานมาจัดแสดง และเป็นวิทยากรถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ในการสร้างสรรค์งานศิลป์ ประกอบด้วย ฐานการเรียนรู้ รวม ๙ ฐาน ดังนี้ ฐานที่ ๑ เทคนิคจิตรกรรมและสื่อผสม นายธงชัย รักปทุม ฐานที่ ๒ เทคนิคสร้างสรรค์ภาพพิมพ์ ดร.กมล ทัศนาญชลี ฐานที่ ๓ เทคนิคประติมากรรม นายศราวุธ ดวงจำปา ฐานที่ ๔ เทคนิคสถาปัตยกรรม นางสาววนิดา พึ่งสุนทร ฐานที่ ๕ เทคนิคศิลปะผ่านเลนส์ ได้แก่ นายวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร นางวรรณี ชัชวาลทิพากร ฐานที่ ๖ การสร้างสรรค์งานวรรณศิลป์ โดยศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ คือ นายเจริญ มาลาโรจน์ (มาลา คำจันทร์) นางชมัยภร บางคมบาง (ชมัยภร แสงกระจ่าง) และ นายพิบูลศักดิ์ ลครพล ฐานที่ ๗ การสร้างงานศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย-ละคร) โดยนางรัจนา พวงประยงค์ และว่าที่ร้อยตรีภัทรกฤษณ์ พุ่มพิพัฒน์ ผู้ทรงคุณวุฒิ ฐานที่ ๘ การสร้างงานศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์พื้นถิ่นล้านนา) นางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ พร้อมผู้ช่วยศาสตราจารย์รัตนะ ตาแปง ผู้ทรงคุณวุฒิ และ ฐานที่ ๙ การสร้างงานศิลปะการแสดง (ดนตรี ขับร้อง ประพันธ์เพลง) โดย นายประยงค์ ชื่นเย็น พร้อมด้วย นายธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ร่วมกันถ่ายทอดองค์ความรู้และประสบการณ์
ดร. กมล ทัศนาญชลี ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรมและสื่อผสม) พุทธศักราช ๒๕๔๐
นางสาววนิดา พึ่งสุนทร ศิลปินแห่งชาติ สาขาสถาปัตยกรรม (แบบประเพณี) พุทธศักราช ๒๕๔๖
นายประยงค์ ชื่นเย็น ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง
(ดนตรีไทยลูกทุ่ง-ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน) พุทธศักราช ๒๕๕๒
นายวรนันทน์ ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) พุทธศักราช ๒๕๕๒
นายธงชัย รักปทุม ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (จิตรกรรม) พุทธศักราช ๒๕๕๓
นางรัจนา พวงประยงค์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (นาฏศิลป์ไทย - ละคร) พุทธศักราช ๒๕๕๔
นายเจริญ มาลาโรจน์ (มาลา คำจันทร์) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช ๒๕๕๖
นางชมัยภร บางคมบาง (ชมัยภร แสงกระจ่าง) ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช ๒๕๕๗
นายธนิสร์ ศรีกลิ่นดี ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (ดนตรีไทยสากล) พุทธศักราช ๒๕๕๙
นางบัวเรียว รัตนมณีภรณ์ ศิลปินแห่งชาติ สาขาศิลปะการแสดง (การแสดงพื้นบ้าน-ช่างฟ้อน)
พุทธศักราช ๒๕๕๙
นายศราวุธ ดวงจำปา ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ประติมากรรม) พุทธศักราช ๒๕๖๐
นายพิบูลศักดิ์ ลครพล ศิลปินแห่งชาติ สาขาวรรณศิลป์ พุทธศักราช ๒๕๖๐
นางวรรณี ชัชวาลทิพากร ศิลปินแห่งชาติ สาขาทัศนศิลป์ (ภาพถ่าย) พุทธศักราช ๒๕๖๔
โครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ การแสดงชุด “สุนทรียนาฏกวี” และ “สานสัมพันธ์ศิลป์ กวี คีตา”
พิธีเปิดโครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ “ศิลปินแห่งชาติสืบสานศิลป์”
ภาพบรรยากาศในงานฯ
โครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ “ศิลปินแห่งชาติสืบสานศิลป์”
วันที่ ๒๗ กุมภาพันธ์ ๒๕๖๖ นายโกวิท ผกามาศ อธิบดีกรมส่งเสริมวัฒนธรรม กล่าวว่า โครงการถ่ายทอดงานศิลป์กับศิลปินแห่งชาติ นี้ มีความสำคัญในการส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนเข้ามามีส่วนร่วมในการส่งเสริมงานศิลปะและวัฒนธรรมไปสู่เยาวชน และผู้ที่สนใจในส่วนภูมิภาค โดยศิลปินแห่งชาติ ได้ให้ความกรุณาอุทิศตนและเสียสละเวลามาถ่ายทอดองค์ความรู้ ประสบการณ์ และเทคนิควิธีการต่าง ๆ เพื่อฝึกฝนและสร้างแรงบันดาลใจในการพัฒนาทักษะในงานศิลปะ ทั้งด้านทัศนศิลป์ วรรณศิลป์ และศิลปะการแสดง ให้แก่ นักเรียน เยาวชน ที่จะเป็นกำลังสำคัญในการสืบทอดมรดกทางวัฒนธรรมของชาติ โดยภายในงานยังมีการจัดแสดงผลงานฝีพระหัตถ์ของอัครศิลปิน วิศิษฏศิลปิน และผลงานศิลปะของศิลปินแห่งชาติ ถือเป็นการเปิดโอกาสให้เยาวชน และประชาชนในส่วนภูมิภาค ได้สัมผัสกับผลงานศิลปะอันทรงคุณค่าที่จะช่วยสร้างแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานศิลปะต่อไป
(ดนตรีไทยลูกทุ่ง-ผู้เรียบเรียงเสียงประสาน) พุทธศักราช ๒๕๕๒
พุทธศักราช ๒๕๕๙