บันทึก “ลับ” ของพานทองแท้! 29 สิงหาคม 2546 พานทองแท้ ชินวัตร (โอ๊ค) ลูกชายของนายกรัฐมนตรีขณะนั้น

บันทึก“ลับ” ของพานทองแท้!

29 สิงหาคม2546 พานทองแท้ชินวัตร(โอ๊ค) ลูกชายของนายกรัฐมนตรีขณะนั้นจะได้ปรากฏเป็นข่าวในหน้าหนังสือพิมพ์ว่าได้นำโพยกระดาษแอบซุกเข้ามาในห้องสอบวิชาการวิเคราะห์ระบบการเมืองไทยหรือPS 421 ซึ่งเป็นวิชาสำหรับนักศึกษาชั้นปีที่3 คณะรัฐศาสตร์สาขาการปกครองมหาวิทยาลัยรามคำแหง(มร.)

นั่นดูเหมือนจะเป็นข่าวชิ้นแรกๆที่นักข่าวให้ความสนใจกับข่าวในเชิงลบของพานทองแท้ชินวัตรลูกชายคนเดียวของพ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมาน

“ความลับ” ของพานทองแท้ที่ถูกเปิดเผยในเรื่องโพยนำกระดาษเข้าห้องสอบนั้นถือเป็นเรื่องเพียงเสี้ยวเดียวจากความลับอีกหลายเรื่องซึ่งสื่อมวลชนคงไม่อยากที่จะนำมาเปิดเผยก็เพราะมันเป็นเรื่องส่วนตัวและไม่ได้มีประโยชน์ใดๆกับบ้านเมือง

ความเป็นลูกชายมหาเศรษฐีและเป็นลูกนายกรัฐมนตรีในขณะนั้นพานทองแท้ได้ถูกเอาอกเอาใจทั้งจากนักการเมืองพนักงานของรัฐและพ่อค้าเอกชนในระบอบทักษิณจนไม่ว่าจะเปิดกิจการธุรกิจหรือทำกิจกรรมใดๆก็จะมีแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วมงานกันอย่างคับคั่งล้นหลามและยังมีธุรกิจที่ได้ประโยชน์จากเครือข่ายในทางการเมืองอีกมากมายมหาศาลด้วย

ความรุ่งเรืองและทรงอิทธิพลของครอบครัวชินวัตรยังได้ส่งผลกระทบแม้กระทั่งสิทธิเสรีภาพในการแสดงผลงานของตลกที่อาจกระทบต่อพานทองแท้อีกด้วย

ปี2547 เด๋อดอกสะเดานักแสดงตลกได้เขียนบทและกำกับบทภาพยนตร์เรื่อง“ยอดชายนายโอ๊กอ๊าก” โดยมีนายสายันห์ดอกสะเดานักแสดงตลกพิการทางสมองซึ่งรับบทนำเป็น“โอ๊กอ๊าก” ลูกชายของ“เจ้าสัวรักสิน” ซึ่งชื่อและลักษณะตัวละครมีลักษณะล้อเลียนทางการเมืองได้สร้างความไม่พอใจกับพ.ต.ท.ทักษิณชินวัตรอย่างมากจนถูกตำรวจสันติบาลเข้ามาตรวจสอบภาพยนตร์ชุดนี้โดยอ้างว่า“อาจเป็นภัยต่อความมั่นคงต่อรัฐ”

วาทกรรมของพ.ต.ท.ทักษิณต่อภาพยนตร์เรื่องดังกล่าวในขณะนั้นคือ“ต้องระวังถ้าทำให้ผู้นำประเทศเป็นตัวตลกประเทศก็เป็นตัวตลกไปด้วย”

ปี2553 ภายใต้คดีการยึดทรัพย์76,000 ล้านบาทของครอบครัวชินวัตรอาจทำให้ต้องเปลี่ยนวาทกรรมใหม่ว่า“ต้องระวังถ้าผู้นำประเทศเห็นประชาชนโง่ประเทศก็จะเป็นตัวตลกและเสียหายไปด้วย”

6 ปีเศษผ่านไปจากวันกำเนิดภาพยนตร์เรื่อง“ยอดชายนายโอ๊กอ๊าก” (ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็นโว๊กว๊าก) ใครจะเชื่อได้ว่า“ความลับ” จากพานทองแท้ซึ่งได้เก็บงำเอาไว้เป็นเวลาหลายปีจะมาถูกเปิดเผยและกลายเป็นหลักฐานสำคัญในการจับผิดและมัดคดีความการยึดทรัพย์76,000 ล้านบาทอย่างชนิดที่ดิ้นไม่หลุดแต่ครั้งนี้ลำพังสติปัญญาที่วางแผน“พกกระดาษโพย” คงมือไม่ถึงแต่เพราะมีผู้ใหญ่คอยวางแผนบงการอยู่เบื้องหลังจึงมีความสลับซับซ้อนอย่างยิ่ง

เพราะในคดีที่คณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐจะพยายามพิสูจน์ใน2 ประเด็นคือประเด็นแรกพิสูจน์ให้เห็นว่าพ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานยังคงบงการหรือถือหุ้นผ่านหุ่นเชิดในกิจการสัมปทานของรัฐอยู่หรือที่เรียกว่า“ซุกหุ้น” เพื่อพิสูจน์ว่าพ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับอำนาจรัฐในตำแหน่งนายกรัฐมนตรี

ประเด็นที่สองพิสูจน์ให้เห็นว่ามีการใช้นโยบายของรัฐในการเอื้อประโยชน์ให้กับตัวเองคู่สมรสและพวกพ้องหรือไม่และการทำเช่นนั้นได้ทำให้ประเทศชาติเสียหายเท่าไร? ซึ่งประเด็นหลังอาจเรียกได้ว่าเป็นการ“พิสูจน์การทุจริตเชิงนโยบาย” 

สำหรับประเด็นแรกนั้น“พานทองแท้” เป็นตัวอย่างหนึ่งในกุญแจสำคัญอย่างยิ่งที่ทำให้น่าเชื่อว่าได้มีการถือหุ้นที่มีสัมปทานกับรัฐแทนพ่อแม่ก่อนที่พ.ต.ท.ทักษิณชินวัตรจะมาเป็นนายกรัฐมนตรี

ปฏิบัติการผ่องถ่ายหุ้นสัมปทานและยัดหนี้ให้นายพานทองแท้ลูกชายคนเดียวที่บรรลุนิติภาวะจึงเกิดขึ้นอย่างรวดเร็วและใช้เวลาเพียงแค่2 วันติดกันคือวันที่30 สิงหาคม2543 “เป็นวันแม่ยัดหนี้ให้ลูก” และวันที่1 กันยายน2543 เป็นวัน“โอนหุ้นให้ลูกเพื่อรอวันปันผลคืนหนี้แม่” ดังนี้

30 สิงหาคม2543 คุณหญิงพจมานชินวัตรขายหุ้นธนาคารทหารไทยจำนวน150 ล้านหุ้นซึ่งมีราคาตลาดหุ้นละ5.70 บาทมูลค่าตลาดประมาณ855 ล้านบาทให้กับพานทองแท้10 บาทต่อหุ้นหรือขายให้ลูกในราคาพาร์มูลค่า1,500 ล้านบาท

นอกจากนี้“ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่จะซื้อหุ้นบุริมสิทธิ” ของธนาคารทหารไทยซึ่งคุณหญิงพจมานชินวัตรได้สิทธินี้ฟรีๆจากอัตราส่วนหุ้นสามัญของธนาคารทหารไทย1 ส่วนได้ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ฟรี2 ส่วนดังนั้นเมื่อคุณหญิงพจมานชินวัตรมีหุ้นทหารไทย150 ล้านหุ้นคุณหญิงพจมานจึงได้ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ฟรีๆ300 หน่วยแต่กลับไปขายใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์ที่ได้มาฟรีๆนี้ให้กับพานทองแท้ราคาหน่วยละ10 บาทจึงเท่ากับขายให้ลูกมูลค่า3,000 ล้านบาททั้งๆที่ราคาตลาดในวันที่30 สิงหาคม2543 ใบสำคัญแสดงสิทธิอนุพันธ์มีราคาเพียงหน่วยละ1.30 บาทเท่านั้น

แต่“พานทองแท้” ไม่มีเงินในการซื้อจึงได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินเพื่อแสดงความเป็นหนี้คุณหญิงพจมาน4,500 ล้านบาทในการซื้อทรัพย์สินครั้งนี้ซึ่งทรัพย์สินที่ได้มานั้นหากเทียบกับราคาตลาดจะมีเพียงแค่1,245 ล้านบาทแต่เทียบกับต้นทุนที่คุณหญิงพจมานได้ทรัพย์สินนี้มามีมูลค่าเพียงแค่1,500 ล้านบาท

เท่ากับว่า“พานทองแท้” ต้องเป็นหนี้แม่4,500 ล้านบาทแต่เป็นหนี้เกินความเป็นจริงถึง3,000 ล้านบาท!

1 กันยายน2543 พานทองแท้ซื้อหุ้น“ชินคอร์ป” โดยติดหนี้จากพ่อและแม่รวม733 ล้านบาทผลปรากฏว่าเงินทุกบาทที่ได้มาจากการปันผลของ“ชินคอร์ป” ทุกครั้งตั้งแต่วันที่14 มีนาคม2544 ถึงวันที่26 มกราคม2549 ให้กับ“แม่” ทั้งหมด29 ครั้งรวมเป็นเงิน5,056 ล้านบาทโดยอ้างว่าเพื่อเป็นการคืนหนี้ที่ได้มา(เกินความจริง) จากการซื้อหุ้นธนาคารทหารไทยและใบสำคัญแสดงสิทธิของธนาคารทหารไทย

จาก“พานทองแท้” ที่เป็นผู้ถือหุ้นของแอมเพิลริชนั้นแท้ที่จริงแล้วกลต. และกรมสอบสวนคดีพิเศษได้พบหลักฐานชัดเจนแล้วด้วยว่าวินมาร์คและแอมเพิลริช(ซึ่งถือหุ้นในเครือของหุ้นชินคอร์ปหลายตัว) เป็นของพ.ต.ท.ทักษิณและคุณหญิงพจมานโดยพ.ต.ท.ทักษิณชินวัตรในขณะเป็นนายกรัฐมนตรีจนถึงปี2548 หนังสือรับรองของบริษัทแอมเพิลริชระบุว่า“การถอนเงินใดๆจะต้องได้รับมอบอำนาจจากด็อกเตอร์ที. ชินวัตรเท่านั้น”

นี่คือการพิสูจน์การ“ซุกหุ้น” ที่แยบยลระดับโลก!

หันมาพิจารณาเรื่องการทุจริตนเชิงนโยบายศ.ดร.สิทธิชัยโภไคยอุดมอดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร

ในรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์จุลานนท์ได้อธิบายต่อคณะผู้พิพากษาศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองว่ารวมความเสียหายที่เกิดขึ้นกับภาครัฐใน3 รายการดังนี้

ความเสียหายจากการนำพิกัดอัตราภาษีสรรพสามิตที่จัดเก็บได้จากกิจการโทรคมนาคมของเอกชนไปคืนให้กับเอกชนเพื่อนำไปหักลดค่าสัมปทานกิจการโทรคมนาคมที่ให้กับรัฐรวมความเสียหายส่วนนี้ประมาณ60,000 ล้านบาท

ความเสียหายจากการปรับลดอัตราส่วนแบ่งรายได้ให้บริษัททศทคอร์ปอเรชั่นจากการให้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่แบบบัตรเติมเงินหรือPrepaid Card ให้กับบริษัทเอไอเอสจากเดิมที่ต้องจ่ายแบบอัตราก้าวหน้าในอัตราร้อยละ25-30 มาเป็นร้อยละ20 รวมความเสียหายประมาณ70,000 ล้านบาทตลอดอายุสัมปทาน

การยินยอมใช้IP star ซึ่งเป็นดาวเทียมหลักให้มาเป็นดาวเทียมสำรองของไทยคม3 โดยทำให้ไม่ต้องสัมปทานดาวเทียมใหม่และไม่ต้องยิงดาวเทียมสำรองอีกดวงหนึ่งทำให้เกิดความเสียหายและค่าเสียโอกาสไปอีกประมาณ50,000 ล้านบาท

นอกจากนั้นคณะกรรมการตรวจสอบการกระทำที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่รัฐ(คตส.) ยังได้รายงานความเสียหายเพิ่มเติมนอกจากนี้อีก2 รายการคือ

ความเสียหายกรณีมีการแก้ไขสัญญาอนุญาตให้ดำเนินกิจการโทรศัพท์เคลื่อนที่ปรับลดอัตราค่าใช้เครือข่ายร่วม(Roaming) เอื้อประโยชน์ชินคอร์ปและAIS โดยแก้ไขให้AIS เข้าไปใช้เครือข่ายร่วมผู้ให้บริการรายอื่นที่มีผลทำให้AIS ไม่ต้องจ่ายเงินกว่า19,000 ล้านบาท

ความเสียหายจากการอนุมัติให้ธนาคารเพื่อการส่งออกนำเข้าแห่งประเทศไทยหรือเอ็กซิมแบงก์ซึ่งปล่อยกู้ให้ดอกเบี้ยต่ำกว่าทุน4,000 ล้านบาทและขยายเวลาปลอดชำระหนี้จาก2 ปีเป็น5 ปีเพื่อนำไปซื้ออุปกรณ์จากการพัฒนาระบบโทรคมนาคมของพม่าจากบริษัทชินแซทเทลไลท์จำกัด

รวมความเสียหายทั้ง5 รายการประมาณ200,000 ล้านบาทซึ่งมากกว่าจำนวน76,000 ล้านบาทซึ่งกำลังถูกอายัดอยู่ขณะนี้ประมาณ2.67 เท่าตัว! 

เรียกได้ว่ายึดเงิน76,000 ล้านทั้งหมดก็ยังไม่พอความเสียหายที่ว่านี้เลย!

https://mgronline.com/daily/detail/9530000015004
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่