สื่อ‘เวียดนาม’วิพากษ์ชาติตนเอง ชี้ปัจจัยทำภาคการท่องเที่ยวแข่งสู้‘ไทย’ไม่ได้
วันเสาร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 18.20 น.
25 ก.พ. 2566 สำนักข่าว VnExpress International ของเวียดนาม เสนอรายงาน
พิเศษ Why Thailand has attracted more foreign tourists than Vietnam โดยเป็นบทวิเคราะห์ว่า เหตุใดประเทศไทยจึงดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ไปเยือน มากกว่าที่จะเดินทางมาเที่ยวในเวียดนาม ซึ่งตัวแปรสำคัญอยู่ที่นโยบายวีซ่าที่เป็นมิตรและบริการด้านความบันเทิงที่หลากหลาย
รายงานเริ่มต้นที่มุมมองจาก แกรนท์ วิลสัน (Grant Wilson) หนุ่มใหญ่วัย 61 ปี ชาวออสเตรเลีย ที่อาศัยอยู่ในเวียดนามมาแล้ว 6 ปี และเดินทางไปประเทศไทยมากกว่า 30 ครั้ง ให้ความเห็นว่า แม้เวียดนามจะมีทัศนียภาพที่สวยงาม อาหารอร่อย และผู้คนที่เป็นมิตร แต่ไทยมีการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวดีกว่า โดยเฉพาะคุณภาพการบริการด้านการท่องเที่ยว ในประเทศไทย ศูนย์การค้าและตลาดกลางคืนมีความหลากหลายและเหมาะสำหรับชาวตะวันตกด้วยคุณภาพของสินค้าที่ดีกว่า
“ในประเทศไทยมีระบบขนส่งมวลชนหลายรูปแบบ ทั้งรถประจำทาง แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก รวมถึงรถสองแถว ซึ่งเป็นรถประจำทางที่ดัดแปลงมาจากรถกระบะหรือรถบรรทุก ทำให้สะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวในการสำรวจดินแดนแห่งเจดีย์ทอง ในขณะที่การเดินทางในเวียดนาม ผมรู้เพียงว่าต้องใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือรถประจำทางเท่านั้น” แกรนท์ กล่าว
ที่ประเทศไทย จากสนามบินสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถไฟในราคา 1 เหรียญสหรัฐ เพื่อไปยังใจกลางเมืองกรุงเทพฯ นอกจากนั้น รถไฟฟ้า (รู้จักกันในชื่อ BTS) และรถไฟใต้ดิน (เรียกว่า MRT) เป็น 2 วิธีที่สะดวกที่สุดในการเดินทางรอบเมืองหลวงของไทย ส่วนในเวียดนาม การเดินทางด้วยรถสาธารณะยังมีข้อจำกัด แม้รถไฟใต้ดินสายแรกของเวียดนาม สาย Cat Linh-Ha Dong ในกรุงฮานอย จะเปิดให้บริการในปี 2564 แต่ก็ล้มเหลวในการเชื่อมต่อสถานที่ท่องเที่ยวหลักหลายแห่งของเมือง รถไฟใต้ดินสายแรกของนครโฮจิมินห์ (HCMC) ยังไม่เริ่มให้บริการเนื่องจากเกิดความล่าช้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า
หนุ่มใหญ่แดนจิงโจ้ กล่าวต่อไปว่า เวียดนามมีสถานบันเทิงยามค่ำคืนที่ย่ำแย่ ในขณะที่ไทยสร้างชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวด้วย “ย่านโคมแดง” ในกรุงเทพฯ หรือที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แม้เวียดนามมีภูมิประเทศที่สวยงามกว่าไทย แต่การอนุรักษ์ยังด้อยกว่า ในประเทศไทย นักท่องเที่ยวสามารถไปที่อุทยานแห่งชาติและพบเห็นสัตว์ป่าอย่างเสือและช้างได้อย่างง่ายดาย แต่ในเวียดนาม เสือโคร่งเกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว และช้างป่าสามารถพบเห็นได้ในบางพื้นที่เท่านั้น
เช่นเดียวกับ ลีโอนี เบ็คเกอร์ (Leoni Becker) บล็อกเกอร์สายท่องเที่ยวชาวเยอรมนี กล่าวว่า ตนเดินทางไปเยือนมาแล้วทั้งไทยและเวียดนาม ซึ่งต้องบอกว่าประเทศไทยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า เนื่องจาก “ประสบการณ์การเดินทางที่หลากหลาย” เช่น “ฟูลมูนปาร์ตี้” ปาร์ตี้ริมชายหาดที่จัดยาวนานตลอดทั้งคืน ซึ่งมีต้นกำเนิดที่หาดริ้น บนเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี มาตั้งแต่ปี 2528
รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า แม้เวียดนามจะเปิดการท่องเที่ยวอีกครั้งก่อนหน้านี้ แต่เวียดนามก็ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 3.5 ล้านคนในปี 2565 คิดเป็นเพียง 1 ใน 4 ของตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไปเยือนประเทศไทยในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งมากถึง 11.5 ล้านคน เช่นเดียวกับในปี 2562 แม้เวียดนาม ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากเป็นประวัติการณ์ถึง 18 ล้านคน และมีรายได้จากส่วนนี้ 1.83 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ก็ยังน้อยกว่าไทยในช่วงเดียวกัน ซึ่งมีชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวมากถึง 39.8 ล้านคน โกยรายได้แตะ 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
Nguyen Tien Dat ซีอีโอของบริษัท AZA Travel Co. ในกรุงฮานอย กล่าวว่า เวียดนามตามหลังเพื่อนบ้านอย่างมากในการพัฒนาบริการและการหารายได้จากการท่องเที่ยว สวรรค์ตากอากาศยอดนิยมของไทยอย่างภูเก็ตและพัทยาเต็มไปด้วยโชว์ทั้งด้านบันเทิงและวัฒนธรรมเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกทุกคืน และแม้กรุงเทพฯ จะไม่มีหาดทรายยาวเหมือนในญาจาง ดานัง หรือฟูก๊วกของเวียดนาม แต่ที่นั่นก็มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนมากมาย เช่น ตลาดกลางคืน และถนนต่างๆ เช่น นานา และซอยคาวบอย ซึ่งมีผู้คนพลุกพล่านตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึงเช้าตรู่ทุกวัน
ในฮานอย ถนนคนเดินจะเปิดเฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์และไม่มีกิจกรรมบันเทิงมากมายสำหรับชาวต่างชาติ ขณะที่บาร์และคลับเต้นรำในถนนสำหรับนักท่องเที่ยวแบ็คแพ็ค เช่น Bui Vien ใน HCMC หรือ Ta Hien ในฮานอย ต้องปิดทำการเวลา 02.00 น. นอกจากนั้น บรรดาคนทำงานในวงการท่องเที่ยวกล่าวว่า นโยบายวีซ่าที่เป็นมิตรทำให้ประเทศไทยเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจำนวนมากที่ต้องการพักผ่อนระยะยาว
ปัจจุบันประเทศไทยยกเว้นวีซ่าให้กว่า 50 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและประเทศในแถบยุโรป สำหรับการพำนักไม่เกิน 45 วัน รวมถึงในปี 2565 ไทยยังเปิดตัววีซ่าพำนักระยะยาว ซึ่งอนุญาตให้ชาวต่างชาติพำนักอยู่ในประเทศได้นานถึง 10 ปีโดยเข้า-ออกได้หลายครั้ง ซึ่ง Pham Hong Long ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวแห่งมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ฮานอย กล่าวว่า ไทยและเวียดนามมีลักษณะทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมกันหลายประการ แต่แนวทางจัดการการท่องเที่ยวได้สร้างความแตกต่าง
ในปี 2564 ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกยังคงต่อสู้กับวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ประเทศไทยเป็นชาติแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่เปิดการท่องเที่ยวอีกครั้งด้วยโครงการ “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์" ซึ่งผ่อนคลายมาตรการการกักตัวและข้อจำกัดเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ จากสถิติที่เปิดเผยในงาน Vietnam Tourism Summit 2018 แม้นักท่องเที่ยวต่างชาติจะใช้เวลาเฉลี่ย 9 วันเท่ากันในการท่องเที่ยวในเวียดนามและไทย แต่การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อหัวต่อวันในประเทศไทยอยู่ที่ 163 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่ตัวเลขในเวียดนามอยู่ที่ 96 เหรียญสหรัฐเท่านั้น
รายงานข่าวทิ้งท้ายว่า ในปี 2566 เวียดนามตั้งเป้าหมายรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8 ล้านคน เนื่องจากรัฐบาลเริ่มหาทางฟื้นฟูเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ไทยตั้งเป้ารับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 30 ล้านคน
ขอบคุณเรื่องจาก
https://e.vnexpress.net/news/travel/why-thailand-has-attracted-more-foreign-tourists-than-vietnam-4574484.html
ใน8ปีที่ผ่านมานี้ เวียตนามยังแซงไทยไม่ได้หรอกค่ะ
ประเทศไทยเรามีผู้นำมีวิสัยทัศน์ก้าวหน้าไปในอนาคต
จึงสร้างผลงานด้านการท่องเที่ยว และเตรียมบ้านเมืองไว้ต้อนรับคนมาเยือนอย่างสะดวกสบาย
บริหารงานด้านนี้จนเป็นที่ประจักษ์ให้ทั่วโลกได้รู้
ใครๆก็อยากมาประเทศไทย
เพราะทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ จากความคิดลุงตู่
จนมีวันนี้ วันแห่งความเจริญของประเทศชาติ
🔮มาลาริน🔮เวียตนามรำพัน..สื่อ‘เวียดนาม’วิพากษ์ชาติตนเอง ชี้ปัจจัยทำภาคการท่องเที่ยวแข่งสู้‘ไทย’ไม่ได้
วันเสาร์ ที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566, 18.20 น.
25 ก.พ. 2566 สำนักข่าว VnExpress International ของเวียดนาม เสนอรายงาน
พิเศษ Why Thailand has attracted more foreign tourists than Vietnam โดยเป็นบทวิเคราะห์ว่า เหตุใดประเทศไทยจึงดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติให้ไปเยือน มากกว่าที่จะเดินทางมาเที่ยวในเวียดนาม ซึ่งตัวแปรสำคัญอยู่ที่นโยบายวีซ่าที่เป็นมิตรและบริการด้านความบันเทิงที่หลากหลาย
รายงานเริ่มต้นที่มุมมองจาก แกรนท์ วิลสัน (Grant Wilson) หนุ่มใหญ่วัย 61 ปี ชาวออสเตรเลีย ที่อาศัยอยู่ในเวียดนามมาแล้ว 6 ปี และเดินทางไปประเทศไทยมากกว่า 30 ครั้ง ให้ความเห็นว่า แม้เวียดนามจะมีทัศนียภาพที่สวยงาม อาหารอร่อย และผู้คนที่เป็นมิตร แต่ไทยมีการพัฒนาด้านการท่องเที่ยวดีกว่า โดยเฉพาะคุณภาพการบริการด้านการท่องเที่ยว ในประเทศไทย ศูนย์การค้าและตลาดกลางคืนมีความหลากหลายและเหมาะสำหรับชาวตะวันตกด้วยคุณภาพของสินค้าที่ดีกว่า
“ในประเทศไทยมีระบบขนส่งมวลชนหลายรูปแบบ ทั้งรถประจำทาง แท็กซี่ ตุ๊กตุ๊ก รวมถึงรถสองแถว ซึ่งเป็นรถประจำทางที่ดัดแปลงมาจากรถกระบะหรือรถบรรทุก ทำให้สะดวกสำหรับนักท่องเที่ยวในการสำรวจดินแดนแห่งเจดีย์ทอง ในขณะที่การเดินทางในเวียดนาม ผมรู้เพียงว่าต้องใช้บริการมอเตอร์ไซค์รับจ้าง หรือรถประจำทางเท่านั้น” แกรนท์ กล่าว
ที่ประเทศไทย จากสนามบินสุวรรณภูมิ จ.สมุทรปราการ นักท่องเที่ยวสามารถใช้บริการรถไฟในราคา 1 เหรียญสหรัฐ เพื่อไปยังใจกลางเมืองกรุงเทพฯ นอกจากนั้น รถไฟฟ้า (รู้จักกันในชื่อ BTS) และรถไฟใต้ดิน (เรียกว่า MRT) เป็น 2 วิธีที่สะดวกที่สุดในการเดินทางรอบเมืองหลวงของไทย ส่วนในเวียดนาม การเดินทางด้วยรถสาธารณะยังมีข้อจำกัด แม้รถไฟใต้ดินสายแรกของเวียดนาม สาย Cat Linh-Ha Dong ในกรุงฮานอย จะเปิดให้บริการในปี 2564 แต่ก็ล้มเหลวในการเชื่อมต่อสถานที่ท่องเที่ยวหลักหลายแห่งของเมือง รถไฟใต้ดินสายแรกของนครโฮจิมินห์ (HCMC) ยังไม่เริ่มให้บริการเนื่องจากเกิดความล่าช้าซ้ำแล้วซ้ำเล่า
หนุ่มใหญ่แดนจิงโจ้ กล่าวต่อไปว่า เวียดนามมีสถานบันเทิงยามค่ำคืนที่ย่ำแย่ ในขณะที่ไทยสร้างชื่อเสียงด้านการท่องเที่ยวด้วย “ย่านโคมแดง” ในกรุงเทพฯ หรือที่เมืองพัทยา จ.ชลบุรี ขณะที่แหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ แม้เวียดนามมีภูมิประเทศที่สวยงามกว่าไทย แต่การอนุรักษ์ยังด้อยกว่า ในประเทศไทย นักท่องเที่ยวสามารถไปที่อุทยานแห่งชาติและพบเห็นสัตว์ป่าอย่างเสือและช้างได้อย่างง่ายดาย แต่ในเวียดนาม เสือโคร่งเกือบจะสูญพันธุ์ไปแล้ว และช้างป่าสามารถพบเห็นได้ในบางพื้นที่เท่านั้น
เช่นเดียวกับ ลีโอนี เบ็คเกอร์ (Leoni Becker) บล็อกเกอร์สายท่องเที่ยวชาวเยอรมนี กล่าวว่า ตนเดินทางไปเยือนมาแล้วทั้งไทยและเวียดนาม ซึ่งต้องบอกว่าประเทศไทยดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติมากกว่า เนื่องจาก “ประสบการณ์การเดินทางที่หลากหลาย” เช่น “ฟูลมูนปาร์ตี้” ปาร์ตี้ริมชายหาดที่จัดยาวนานตลอดทั้งคืน ซึ่งมีต้นกำเนิดที่หาดริ้น บนเกาะพะงัน จ.สุราษฎร์ธานี มาตั้งแต่ปี 2528
รายงานข่าวกล่าวต่อไปว่า แม้เวียดนามจะเปิดการท่องเที่ยวอีกครั้งก่อนหน้านี้ แต่เวียดนามก็ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติเพียง 3.5 ล้านคนในปี 2565 คิดเป็นเพียง 1 ใน 4 ของตัวเลขนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไปเยือนประเทศไทยในช่วงเวลาเดียวกัน ซึ่งมากถึง 11.5 ล้านคน เช่นเดียวกับในปี 2562 แม้เวียดนาม ได้ต้อนรับนักท่องเที่ยวต่างชาติมากเป็นประวัติการณ์ถึง 18 ล้านคน และมีรายได้จากส่วนนี้ 1.83 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ ก็ยังน้อยกว่าไทยในช่วงเดียวกัน ซึ่งมีชาวต่างชาติเดินทางไปท่องเที่ยวมากถึง 39.8 ล้านคน โกยรายได้แตะ 6 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ
Nguyen Tien Dat ซีอีโอของบริษัท AZA Travel Co. ในกรุงฮานอย กล่าวว่า เวียดนามตามหลังเพื่อนบ้านอย่างมากในการพัฒนาบริการและการหารายได้จากการท่องเที่ยว สวรรค์ตากอากาศยอดนิยมของไทยอย่างภูเก็ตและพัทยาเต็มไปด้วยโชว์ทั้งด้านบันเทิงและวัฒนธรรมเพื่อให้บริการนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกทุกคืน และแม้กรุงเทพฯ จะไม่มีหาดทรายยาวเหมือนในญาจาง ดานัง หรือฟูก๊วกของเวียดนาม แต่ที่นั่นก็มีสถานบันเทิงยามค่ำคืนมากมาย เช่น ตลาดกลางคืน และถนนต่างๆ เช่น นานา และซอยคาวบอย ซึ่งมีผู้คนพลุกพล่านตั้งแต่เที่ยงคืนจนถึงเช้าตรู่ทุกวัน
ในฮานอย ถนนคนเดินจะเปิดเฉพาะวันหยุดสุดสัปดาห์และไม่มีกิจกรรมบันเทิงมากมายสำหรับชาวต่างชาติ ขณะที่บาร์และคลับเต้นรำในถนนสำหรับนักท่องเที่ยวแบ็คแพ็ค เช่น Bui Vien ใน HCMC หรือ Ta Hien ในฮานอย ต้องปิดทำการเวลา 02.00 น. นอกจากนั้น บรรดาคนทำงานในวงการท่องเที่ยวกล่าวว่า นโยบายวีซ่าที่เป็นมิตรทำให้ประเทศไทยเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ของนักท่องเที่ยวชาวตะวันตกจำนวนมากที่ต้องการพักผ่อนระยะยาว
ปัจจุบันประเทศไทยยกเว้นวีซ่าให้กว่า 50 ประเทศ รวมทั้งสหรัฐอเมริกาและประเทศในแถบยุโรป สำหรับการพำนักไม่เกิน 45 วัน รวมถึงในปี 2565 ไทยยังเปิดตัววีซ่าพำนักระยะยาว ซึ่งอนุญาตให้ชาวต่างชาติพำนักอยู่ในประเทศได้นานถึง 10 ปีโดยเข้า-ออกได้หลายครั้ง ซึ่ง Pham Hong Long ผู้เชี่ยวชาญด้านการท่องเที่ยวแห่งมหาวิทยาลัยสังคมศาสตร์และมนุษยศาสตร์ฮานอย กล่าวว่า ไทยและเวียดนามมีลักษณะทางภูมิศาสตร์และวัฒนธรรมร่วมกันหลายประการ แต่แนวทางจัดการการท่องเที่ยวได้สร้างความแตกต่าง
ในปี 2564 ขณะที่หลายประเทศทั่วโลกยังคงต่อสู้กับวิกฤติโรคระบาดโควิด-19 ประเทศไทยเป็นชาติแรกในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (อาเซียน) ที่เปิดการท่องเที่ยวอีกครั้งด้วยโครงการ “ภูเก็ตแซนด์บ็อกซ์" ซึ่งผ่อนคลายมาตรการการกักตัวและข้อจำกัดเพื่อควบคุมการระบาดของไวรัสโควิด-19 สำหรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ ทั้งนี้ จากสถิติที่เปิดเผยในงาน Vietnam Tourism Summit 2018 แม้นักท่องเที่ยวต่างชาติจะใช้เวลาเฉลี่ย 9 วันเท่ากันในการท่องเที่ยวในเวียดนามและไทย แต่การใช้จ่ายของนักท่องเที่ยวต่อหัวต่อวันในประเทศไทยอยู่ที่ 163 เหรียญสหรัฐ ในขณะที่ตัวเลขในเวียดนามอยู่ที่ 96 เหรียญสหรัฐเท่านั้น
รายงานข่าวทิ้งท้ายว่า ในปี 2566 เวียดนามตั้งเป้าหมายรับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 8 ล้านคน เนื่องจากรัฐบาลเริ่มหาทางฟื้นฟูเศรษฐกิจภาคการท่องเที่ยว ขณะที่ไทยตั้งเป้ารับนักท่องเที่ยวต่างชาติ 30 ล้านคน
ขอบคุณเรื่องจาก
https://e.vnexpress.net/news/travel/why-thailand-has-attracted-more-foreign-tourists-than-vietnam-4574484.html
ใน8ปีที่ผ่านมานี้ เวียตนามยังแซงไทยไม่ได้หรอกค่ะ
ประเทศไทยเรามีผู้นำมีวิสัยทัศน์ก้าวหน้าไปในอนาคต
จึงสร้างผลงานด้านการท่องเที่ยว และเตรียมบ้านเมืองไว้ต้อนรับคนมาเยือนอย่างสะดวกสบาย
บริหารงานด้านนี้จนเป็นที่ประจักษ์ให้ทั่วโลกได้รู้
ใครๆก็อยากมาประเทศไทย
เพราะทำแล้ว ทำอยู่ ทำต่อ จากความคิดลุงตู่
จนมีวันนี้ วันแห่งความเจริญของประเทศชาติ