ความคิดเห็นจาก Expert Account
ความคิดเห็นที่ 1
เป็นกรณีศึกษาที่ทำให้เห็นถึง ความรู้ ความเข้าใจ การตีความข้อกำหนดเกี่ยวกับบันไดตาม กฎกระทรวงฉบับที่ 55 พ.ศ. 2543 ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2544 และข้อหรือบทบัญญัติท้องถิ่น ที่ใช้ควบคุมอาคาร
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
การก่อสร้างและต่อเติมอาคาร
รีโนเวทบ้าน
ออกแบบและสร้างบ้าน
การออกแบบและตกแต่งอาคาร
บ้าน
มาตรฐานราวบันได
บันไดเป็นสิ่งสำคัญที่มีหน้าที่เชื่อมต่อทางเดินระหว่างแต่ละชั้นภายในบ้าน ด้วยความที่เป็นทางเชื่อมที่ใช้เดินขึ้น-ลง ความปลอดภัยในการใช้งานจึงถือว่าเป็นสิ่งสำคัญเป็นอย่างมาก ซึ่งบันไดก็มีมาตรฐานที่เป็นตัววัดความเหมาะสมและสะดวกต่อการใช้งาน โดยบันไดมีกฏหมายบัญญัติไว้ด้วยกฏหมายเรื่องบันได สำหรับบ้านพักอาศัย มีกำหนดไว้ใน กฏกระทรวงฉบับที่ 55 (พ.ศ. 2543) ข้อ 23 ซึ่งกำหนดบันไดสำหรับอาคารอยู่อาศัยไว้ดังนี้
1. ความกว้าง
ความกว้างของตัวบันไดจะต้องมีความกว้างไม่น้อยกว่า 80 ซม. และสามารถเดินสวนกับผู้อื่นได้โดยตรง เพื่อให้การใช้งานเป็นไปได้อย่างปลอดภัย
ลูกตั้ง คือ การวัดระดับความสูงระหว่างขั้นบันได โดยกฏหมายกำหนดไว้ว่า ควรมีความสูงไม่เกิน 20 ซม. เพื่อการใช้งานที่เหมาะสม
ลูกนอน คือ ส่วนขั้นบันไดที่ทุกคนเหยียบขึ้น-ลง ลูกนอน เมื่อหักส่วนจมูกของขั้นบันไดที่เหลื่อมกันกับขั้นถัดไปออกแล้ว ต้องเหลือความกว้างไม่น้อยกว่า 22 ซม.
พื้นหน้าบันไดจะต้องมีความกว้างและความยาวไม่น้อยกว่าความกว้างบันได เพื่อให้ผู้ที่เดินขึ้น-ลงได้มีที่พักปลายทาง
บันไดที่สูงเกิน 3 เมตร ต้องมีชานพักบันไดทุกช่วง 3 เมตร หรือน้อยกว่า และชานพักบันไดต้องมีความกว้างและ ยาวไม่น้อยกว่าความกว้างของบันได ระยะดิ่งจากชานพักบันไดถึงส่วนต่ำสุดของอาคารที่อยู่เหนือขึ้นไปต้องสูงไม่น้อยกว่า 1.90 เมตร
มาตรฐานบันไดบ้าน เป็นเรื่องเกี่ยวกับความปลอดภัยที่ต้องคำนึงถึงเป็นอันดับแรก เมื่อเราสร้างบันไดบ้านเสร็จแล้ว เราสามารถเสริมความปลอดภัยเพิ่มเข้าไปอีกได้ในส่วนของราวบันได ซึ่งราวบันไดที่ปลอดภัยและสวยงามในปัจจุบันมีหลากหลายแบบ อ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ https://www.bydecora.com/บทความน่ารู้/