ในทางทฤษฎีแล้ว ทักษะ อะไรหรอครับ ที่ทำให้คนเราไม่พลาดใน การกระทำที่เป็นรายละเอียดเล็กๆ ที่ควรทำ (ตัวอย่างข้างใน)

สงสัยครับ ว่าในทางทฤษฎีแล้ว สกิล (ทักษะ) อะไรหรอครับ ที่ทำให้คนเราไม่พลาดในการกระทำที่เป็นรายละเอียดเล็กๆ ที่ควรทำ ในระหว่างการทำอะไรใหญ่ๆ

ตัวอย่างนะครับ เช่น

- ขับรถ และไม่พลาดเลยที่จะเปิดไฟเลี้ยวในทุกๆการเปลี่ยนเลน แบบที่ว่าทำไปเองเลย
*หลังจากที่ตัวเองเป็นมนุษย์ที่พัฒนาแล้วสำหรับในส่วนนี้ ที่รู้ ว่าไฟเลี้ยวมันสำคัญ น่ะนะ
- เห็นทางม้าลายและชะลอรถลง แม้ไม่มีคนข้าม
*เช่นเดิมครับ เราพูดถึงกรณีของมนุษย์ที่พัฒนาแล้ว พูดถึงคนที่ "รู้ว่าต้องทำ" และไม่ลืมทำ
- เมื่อต้องสลับใช้รถ ระหว่าง รถเอเชีย (ทอกเกิลไฟเลี้ยวอยู่ขวา การเลี้ยวซ้ายต้องยกทอกเกิลขึ้น) กับ รถยุโรป (ทอกเกิลไฟเลี้ยวอยู่ซ้าย การเลี้ยวซ้ายต้องกดทอกเกิลลง) และสามารถทำได้ถูกต้องไม่สับสน
*จริงๆหลักการคือ เลี้ยวซ้าย ก็ทำสิ่งที่ทวนเข็มนาฬิกาโดยอ้างอิงพวงมาลัย ในขณะที่เลี้ยวขวาก็ตรงกันข้าม ตามเข็มนาฬิกาแทน
- แต่งประโยคภาษาใดๆที่มันต้องผันกริยา และ/หรือ ผันประธาน อะไรก็ตามที่ alter the structure แล้วตัวเองทำไปเอง รู้เลยว่าต้องเปลี่ยนแบบนี้
*He does, I was, etc. 밥을 먹어, etc. คือเปลี่ยนเป็นแบบถูกไปได้เองเลยอะครับ
- เล่นเปียโน และไม่พลาดที่จะกดตัวดำ ในโน้ตที่ต้องกด
*อธิบายแบบง่ายๆ โน้ตตัวดำ คือเสียงที่มีความเป็น 2 โน้ตผสมกันแบบครึ่งๆครับ อย่างตัวดำที่อยู่ระหว่าง โด กับ เร เราจะเรียกได้ 2 แบบ คือ โด# หรือ เรb ซึ่ง ในแถบ 5 เส้น มันจะบอกไว้ที่หัวแถบครับว่าเพลงนี้มี # หรือ b กี่ตัว ตัวไหนบ้าง ไรงี้ เราเห็นแล้วก็ note in mind ไปเลย เช่น เพลงนี้มี 3# คือตัว ฟา โด ซอล งี้ พอเจอโน้ตนั้นก็จะเปลี่ยนการกดเป็นตัวดำอย่างอัตโนมัติ
บางทีก็เปลี่ยนในบางช่วง เช่นเริ่มต้น ตั้ง default ด้วย 3# ดังกล่าว อยู่ๆมีช่วงนึงในเพลงกลายเป็น 4b เกิดที่ตัว ที มี ลา เร งี้ ก็ปรับตามไป กดตัวดำในจุดที่ต้องกด
- ในการคำนวนทางวิศวกรรมศาสตร์ หรือการคำนวนอะไรก็ตามที่เป็นโจทย์แห่งชีวิตจริง ไม่ลืมที่จะ "ใส่หน่วย"

ที่ยกตัวอย่างมาทั้งหมดข้างบน มันคือผมเองครับ

ก่อนหน้าความสงสัยนี้ ผมเข้าใจมาตลอดว่านี่คือสิ่งที่ "แทบทุกคน" ในสังคมมีสกิลนี้และทำมันโดยถูกต้องมาตลอด
มองมาช้านานว่านี่คือ "เรื่องปกติ" ที่ใครเค้าก็ทำกัน
จนไม่นานมานี้ ผมพึ่งมารู้ครับว่า นี่คือสิ่งที่ค่อนข้างยากและซับซ้อนในสายตาคนบางกลุ่ม

เช่น มีคนบางกลุ่ม สร้างประโยคอังกฤษแบบที่ใส่กริยาไปตรงๆไร้การผัน เราจะพูดถึงแค่การผันนะ เพราะมันพื้นฐานที่สุดแล้ว มันใช้กับทุกอย่าง แต่เค้ายังใช้ผิดๆ เช่น You is hungry ? He eat rice. เป็นต้น เอาแค่การผันนี่แหละ ไม่ลงลึกถึง โครงสร้างการใช้คำที่ก็เหมือนว่าสอบโทอิคได้ไม่ถึง 100 ทั้งๆที่เค้าเป็นคนรู้ภาษาอังกฤษ และอยู่ในสายอาชีพที่จำเป็นต้องรู้ภาษาอังกฤษ

ล่าสุดมีข่าว รถที่ขับบนทางด่วนแล้วอยู่ๆก็พุ่งแฉลบออกซ้าย จากอยู่เลนขวาสุด กลายเป็นไปชนแบรีเออร์ฝั่งซ้าย ซึ่งจนตอนนี้ก็ยังไม่รู้สาเหตุ
และในการสัมภาษณ์ คนขับมีการ mention ถึงพวงมาลัยล็อก มา ไม่รู้นะครับว่าใช่มั้ย แต่ประเด็นคือผมจะเอาพวงมาลัยล็อก มาพูดถึงเฉยๆ
ต้องเกริ่นเรื่องนี้หน่อยหละ เพราะมันคือไฟประกายแห่งความสงสัยจนตั้งกระทู้นี้อันแท้จริงครับ
มันทำให้ผมนึกย้อนไปถึงประสบการณ์ ว่าครั้งนึงผมเคยนั่งรถที่เป็นระบบพวงมาลัยล็อกเลน (อาจจะล็อกคนละแบบกับในข่าว แต่ผมจะพูดถึงการล็อกเลน นะครับ) คือถ้าคุณเปลี่ยนเลนโดยไม่เปิดไฟเลี้ยว รถจะต้านและพยายามกลับเข้าเลนเดิมครับ
แล้วคนคนนั้นก็ตกใจแบบเห้ย เกิดอะไรขึ้น แล้วพอเข้าใจว่าอ๋อทุกการเปลี่ยนเลนต้องเปิดไฟเลี้ยว ก็ใช้เวลานานมากกว่ามันจะซึมซับไปเป็นนิสัยของความเคยชินได้ซะที ทั้งๆที่ผมมองว่านี่คือสิ่งจำเป็น ทำไมไม่ฝึกมาพร้อมๆกับการขับรถให้เป็นนะ

กลับมาที่ประเด็นหลักจริงๆ 
นั่นแหละครับพอผมรู้ ว่าเอ้าจริงๆโดยปกติแล้วสังคมไม่ได้ทำอย่างมีคุณภาพระดับนั้น
งั้นแปลได้ว่า การไม่พลาดในการกระทำเล็กๆน้อยๆดังกล่าว มันคือส่วนหนึ่งของ "ความสามารถพิเศษ" งั้นสิ
ผมยังเชื่อว่าทุกคนสามารถพัฒนาได้
แต่เพราะคิดแบบนั้น จึงทำให้สงสัย
ว่าแล้วการที่ทำแบบนั้นได้ มัน มาจาก สกิล (ทักษะ) ทางด้านไหนครับ

ปล. นี่น่าจะเป็นกระทู้นึงที่เลือกห้องได้ยากที่สุด และ สรรหาชื่อกระทู้อย่างนานที่สุด เลยครับตั้งแต่ผมตั้งกระทู้มา 555
แก้ไขข้อความเมื่อ
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่