จบปวส.เเล้วไปต่อม.ไหนดี

คือว่าผมจะเรียนจบม.6แล้ว มีแพลนจะไปเรียนปวส.สายวิศวะคอมพิวเตอร์ (ผมอยู่สายศิลป์ภาษา)อยากถามเพื่อนๆพี่ๆน้องๆว่า จบแล้วจะไปต่อม.ไหนดี ที่คิดไว้อยากได้ม.เอกชนครับ 2ปีน่าจะพอไหว🥲
แก้ไขข้อความเมื่อ

คำตอบที่ได้รับเลือกจากเจ้าของกระทู้
ความคิดเห็นที่ 3
จบ สายสามัญ ศิลป์ภาษา ไปได้ บาง คณะ สาขา ภาควิชา มหาวิทยาลัย ต้องขยันเพิ่ม

จบ ศิลป์ภาษา ควรสอบ วัดระดับ ภาษา นั้น ๆ

ต่อเนื่อง หรือ เทียบโอน แต่ก่อน ต่อเนื่อง เดี๋ยวนี้ เทียบโอน
จบ สายอาชีพ ประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ปวส ไปได้ บาง คณะ สาขา ภาควิชา มหาวิทยาลัย ยัง ไม่จบ ปริญญาตรี นะ ต่อ มหาวิทยาลัย บางที อาจจะ ไม่จบ 2ปี นะ อาจจะ 3ปี ขึ้นอยู่กับ วิชา ที่ เทียบโอน ได้ จาก โรงเรียน วิทยาลัย วิชา ที่ เทียบโอน ได้ ต้องได้ เกรด 2 หรือ ซี ถ้า ต่อ สาขา เดิม หรือ สาขา ที่เกี่ยวข้อง ก็ อาจจะ เทียบโอน ได้ เยอะ อาจจะจบ เร็ว ถ้า เปลี่ยน สาขา อาจจะ เทียบโอน ได้น้อย อาจจะจบ ช้า

มหาวิทยาลัย รัฐบาล ถ้า คุณสมบัติ ผ่าน สอบติด ก็ สามารถ เรียน ได้ แต่จะ จบ ไหม อีก เรื่อง
มหาวิทยาลัย เอกชน

ลองดู ขอแนะนำเพิ่ม สาขา ภาควิชา คอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT

แต่ละ คณะ สาขา ภาควิชา เน้น คนละด้าน

ถ้า ถนัด เขียนโปรแกรม สาขา ภาควิชา คอมพิวเตอร์
ไม่ว่า เขียนโปรแกรม ต้องมี ออกแบบ Design User Interface UI

คอมพิวเตอร์ แต่ละ มหาวิทยาลัย จะอยู่ใน คณะ ที่แตกต่างกันไป
คอมพิวเตอร์ แต่ละ มหาวิทยาลัย จะใช้ชื่อ สาขา ภาควิชา ที่แตกต่างกันไป

คอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิทยาศาสตร เน้น ซอฟต์แวร์ เขียนโปรแกรม
คอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร เน้น ซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์ เขียนโปรแกรม

สาขา ภาควิชา วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร ฟิสิกส์ คณิตศาสตร์ คำนวณ วิทยาศาสตร์ อิเล็กทรอนิกส์ ไฟฟ้า ภาษา ต้องได้ เน้น ซอฟต์แวร์ และ ฮาร์ดแวร์ เขียนโปรแกรม Internet of Think IOT หุ่นยนต์ ปัญญาประดิษฐ์ AI

ศึกษาพื้นฐานทางวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ และวิทยาการคอมพิวเตอร์ของระบบคอมพิวเตอร์ โดยเน้นการออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ทั้งส่วนอุปกรณ์ (Hardware) และส่วนชุดคำสั่ง (Software) ที่ใช้ในกิจการประมวลข้อมูลสารสนเทศต่างๆ ผู้สำเร็จการศึกษาจากสาขาวิชานี้สามารถทำงานเป็นนักออกแบบระบบคอมพิวเตอร์ เป็นวิศวกรส่วนชุดคำสั่งที่สามารถพัฒนาชุดคำสั่งระบบและชุดคำสั่งประยุกต์ใช้งานและเป็นฝ่ายสนับสนุนเทคนิคแก่องค์กรที่นำคอมพิวเตอร์มาช่วยในการปฏิบัติงาน

อาชีพ
- วิศวกรคอมพิวเตอร์
- วิศวกรระบบเครือข่าย
- วิศวกรระบบความปลอดภัยคอมพิวเตอร์
- วิศวกรระบบฝังตัว
- วิศวกรวางระบบคอมพิวเตอร์
- วิศวกรดูแลเครือข่ายระบบคอมพิวเตอร์
- ผู้ผลิตและพัฒนาอุปกรณ์คอมพิวเตอร์
- นักพัฒนาโปรแกรมคอมพิวเตอร์
- นักจัดการด้านเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรต่างๆ

โอกาสในการทำงาน
ขึ้นกับสาขาที่ได้เลือกศึกษา   ผู้เรียนสามารถเลือกทำงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศได้อย่างกว้างขวาง   หรือเลือกทำงานในส่วนธุรกิจที่เกี่ยวข้องกับเทคโนโลยีสารสนเทศเช่น   นักออกแบบและพัฒนาเว็บไซต์   ผู้ดูแลเว็บไซต์   นักวิเคราะห์และออกแบบระบบ   โปรแกรมเมอร์   นักออกแบบและพัฒนาระบบเครือข่าย   ผู้ดูแลระบบเครือข่ายระบบฐานข้อมูลและระบบปฏิบัติการ   ผู้บริหารเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรผู้ออกแบบฮาร์ดแวร์สมองกลฝังตัว   ผู้ออกแบบระบบ   VLSI   ผู้ออกแบบระบบสมองกลฝังตัว   ฯลฯ   นอกจากนี้ผู้เรียนสามารถสร้างกิจการ   SME   ที่เป็นของตนเอง   รวมทั้งศึกษาต่อทั้งในและต่างประเทศ  

สาขาเทคโนโลยีสารสนเทศ IT
เกี่ยวกับ   การสร้างโปรแกรมบน Windows Platform การออกแบบระบบเครือข่าย การวิเคราะห์และออกแบบฐานข้อมูล และการสร้างเว็บไซต์

โอกาสในอนาคต
    นักจัดการด้าน IT นักติดตั้งและวางระบบคอมพิวเตอร์ โปรแกรมเมอร์ นักวิเคราะห์ระบบเพื่อตัดสินใจ ให้กับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งส่วนราชการ และเอกชน
เพื่อนำระบบคอมพิวเตอร์มาใช้ในหน่วยงาน

เรียนแล้วทำงานอะไร   ประกอบอาชีพ   การออกแบบระบบเครือข่าย โปรแกรมเมอร์ หรือ ผู้ดูแลระบบในด้านต่าง ๆ ผู้สร้าง และ ดูแลเว็บไซต์  
นักเทคโนโลยีสารสนเทศ   นักวิชาการเทคโนโลยีสารสนเทศ   นักวิเคราะห์และออกแบบระบบงานสารสนเทศ  
นักพัฒนาโปรแ​กรมประยุกต์และเว็บไซต์   ผู้ดูแลระบบเครือข่ายและเครื่องแม่ข่าย   ​นักวิชาชีพในสถานประกอบการที่มีการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ

อาชีพ   Web design   การจัดการข้อมูล(Database Management)   เขียนโปรแกรมบนมือถือ   programmer   วิเคราะห์และออกแบบระบบ(System Analysis)  

สาขานวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล
หลักสูตรนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัลจัดทำขึ้นจากการพัฒนาของเศรษฐกิจและสังคมเข้าสู่ยุคเศรษฐกิจดิจิทัล ที่ทุกภาคส่วนมีความจำเป็นต้องประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสารสารเทศ เพื่อสร้างความได้เปรียบในการดำเนินธุรกิจ โดยหลักสูตรมีพัฒนาตามแนวคิดของกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติที่มุ่งเน้นผลการเรียนรู้ (Learning outcomes) และองค์ความรู้ใหม่ เช่น ปัญญาประดิษฐ์ (AI : Artificial Intelligence) อินเทอร์เน็ตของสรรพสิ่ง (IoT : Internet of Things) ระบบคลาวด์ (Cloud) โครงสร้างของหลักสูตรประกอบด้วยวิชาพื้นฐานที่สำคัญทางด้านมนุษยศาสตร์ สังคมศาสตร์ คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ ภาษาศาสตร์และคอมพิวเตอร์ วิชาแกนทางด้านนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัลที่เน้นความเชี่ยวชาญทางด้านนวัตกรรมโดยมุ่งเน้นให้ผู้เรียนมีพื้นฐานความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์และเทคโนโลยีมัลติมีเดียที่ดี พร้อมสำหรับการเป็นผู้ประกอบการ การประกอบอาชีพหรือศึกษาต่อ ทั้งยังสามารถติดตามความก้าวหน้าทางด้านนวัตกรรมธุรกิจดิจิทัลในสังคมปัจจุบันและอนาคตได้ จึงมั่นใจว่าหลักสูตรนี้สามารถเตรียมบัณฑิตให้ออกไปประกอบอาชีพทางด้านนวัตกรรรมธุรกิจดิจิทัลได้เป็นอย่างดี

ทำงาน
           - นักพัฒนานวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล
           - นักวิเคราะห์ระบบงานธุรกิจดิจิทัล
           - นักวิเคราะห์และออกแบบระบบสารสนเทศ
           - ผู้บริหารจัดการระบบฐานข้อมูล
           - ที่ปรึกษาด้านระบบสารสนเทศต่าง ๆ
           - นักพัฒนาเว็บไซต์
           - ผู้ประกอบการธุรกิจหรือนักลงทุนด้านธุรกิจดิจิทัล
           - นักวิชาการคอมพิวเตอร์
           - เจ้าหน้าที่ระบบงานคอมพิวเตอร์ (IT Support)

จบ สาขา ภาควิชา คอมพิวเตอร์แอนิเมชันและวิชวลเอฟเฟกต์ นวัตกรรมธุรกิจดิจิทัล  เทคโนโลยีสารสนเทศ IT เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ICT วิศวกรรมคอมพิวเตอร์ ควรมี วุฒิบัตร ประกาศนียบัตร ใบ Certificate

จบ คณะวิศวกรรมศาสตร์ ควรมี ใบกว ประกอบวิชาชีพ
(ใบประกอบวิชาชีพ กว มี บาง สาขา ภาควิชา)
แสดงความคิดเห็น
โปรดศึกษาและยอมรับนโยบายข้อมูลส่วนบุคคลก่อนเริ่มใช้งาน อ่านเพิ่มเติมได้ที่นี่