ขอร่วมแสดงความเห็นจากกระทู้นี้
https://ppantip.com/topic/41014813
พระนางแมรี่กษัตรีย์แห่งอังกฤษมักจะถูกมองว่าเป็นผู้กระหายเลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนไทยที่สนใจประวัติศาสตร์อังกฤษ จากเหตุการณ์ที่เธอสั่งเผาชาวคริสต์โปรแตสแตนท์ทั้งเป็นเกือบสองร้อยคน ซึ่งนั่นก็ถือว่าโหดเหี้ยมไม่น้อย แต่คุณสมบัติ “กระหายเลือด” (ซึ่งแปลจากคำว่า Bloody นั้นผมส่วนตัวมองว่าจะเป็นการแปลที่ออกจะเกินเลยไปหน่อย หากปราศจากการดูบริบทและเหตุการณ์รอบข้างของพระนางแมรี่)
ต้องเข้าใจว่ายุคก่อนหน้าราชวงศ์ทิวเดอร์รุ่นปู่ของพระนางแมรี่ อังกฤษผ่านการ “นองเลือด” ชนิดทาทั่วแผ่นดินก็ว่าได้จาก “สงครามกุหลาบ” ของสองตระกูลใหญ่ น้องสั่งหารพี่ พระเจ้าอาพระเจ้าน้า พระเจ้าป้า พระบิดา พระมารดาต่างห้ำหั่นกันอีรุงตุงนัง ที่อธิบายตรงนี้ก็เพื่อที่จะสื่อว่าอาการ “กระหายเลือด” ที่รุนแรงและโหดเหี้ยมกว่าพระนางแมรี่ก็มีมาก่อนและหลังพระนางเหมือนกัน ว่าไปทำไมมี?....พระราชบิดดาคือเฮนรี่ที่๘ สั่งฆ่าคนในช่วงครองราชย์มากประมาณถึง 3-4 หมื่นคน!
ต่อจากนี้....เรามาทำความเข้าใจพระนางแมรี่ในเชิงลอง “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ดูนะครับ
พระนาง
แมรี่ที่๑ ถือว่าเป็น ราชนิกุลที่มีเลือดกษัตริย์เข้มข้นกว่าบรรดาประยูรญาติคนอื่นๆ เลือดฝ่ายแม่คือพระนางแคธอลีนน์แห่งอารากอร์นแ่หงราชวงศ์สเปน ซึ่งมีเชื้อสายไปจากเกาะอังกฤษด้วย(และหากจะไล่นับวงศาคณาญาติจริงๆ ตัวพระนางแคธอลีนน์มีสิทธิ์ที่จะขึ้นครองราชย์ที่อังกฤษมากกว่าพระเจ้าเฮนรี่พระสวามีตัวเองด้วยซ้ำไป) เมื่อพระเจ้าเฮนรี่หมดหวังที่จะได้ลูกชายจริงๆ จึงได้ส่งเจ้าหญิงแมรี่ไปศึกษาเรียนรู้การปกครอง การบ้านการเมืองรวมทั้งภาษาลาติน ฝรั่งเศส ซึ่งก็คือการกำลังประแป้งแต่งตัวให้เจ้าหญิงแมรี่ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์นั่นเอง
แต่แล้ว....พระเจ้าเฮนรี่ก็ “สร้างเรื่อง” หย่ากับพระราชมารดาของเจ้าหญิงแมรี่ จนอังกฤษต้องแตกหักกับกรุงวาติกันเลยทีเดียว ซึ่งมี
อาร์บิชอร์อโทมัส เครนเมอร์(ซึ่งต่อมาเป็นหนึ่งในคนที่ถูกพระนางแมรี่เผาทั้งเป็น)เป็นกุนซือในการตัดญาติขาดมิตรกับวาติกัน เพื่อเปิดทางให้พระเจ้าเฮนรี่ได้หย่าถูกต้องตามหลักศาสนา(ที่พระเจ้าเฮนรี่เข้าไปเป็นประมุขคือ Church of Enland) เพราะการลดสถานะของพระมารดา(หลังจากหย่า) ส่งผลให้สถานะของเจ้าหญิงแมรี่เปลี่ยนจาก “เจ้าหญิง” มาเป็น “เลดี้” และหมดสิทธิ์ในการสืบสันตติวงศ์โดยนิตินัย!
พระราชบิดาแต่งงานใหม่กับ
แอน บูลีนน์ (ซึ่งเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของพระพระมารดาของเจ้าหญิงแมรี่) แล้วได้พระธิดาองค์ใหม่คือ
เจ้าหญิงอลิซาเบธ(ต่อมาคือพระนางอลิซาเบธที่๑) ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงอลิซาเบธก็กลายเป็นผู้ที่จะสืบบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าเฮนรี่ นั่นก็คือตำแหน่ง “รัชทายาท” ถูกเปลี่ยนมือจากแมรี่มาสู่อลิซาเบธ ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น....พระเจ้าเฮนรี่รับสั่งให้แมรี่คอยดูแลอลิซาเบธและทำตัวให้ต่ำกว่าอลิซาเบธ(นักประวัติศาสตร์อังกฤษบางคนถึงกับชี้เปรี้ยงไปว่าแมรี่ได้ถูกลดฐานันดรลงมาเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของน้องสาวต่างมารดาของตัวเอง)
ถึงตรงนี้ ก็ให้ลองนึกดูสภาพจิตใจของเจ้าหญิงแมรี่ดูเอาเองครับว่าจะเป็นอย่างไร พระนางไม่ยอมรับการหย่าของพระบิดากับพระมารดา แม้พระบิดาจะบังคับให้เธอเซ็นต์รับทราบการหย่าพระนางก็ไม่ยอม สุดท้ายก็ถูกพระบิดาห้ามพบปะสนทนากับพระมารดา (แคเธอแลีนน์แห่งอารากอร์น) แม้การสิ้นพระชนม์ของพระมารดา เจ้าหญิงแมรี่ก็ไม่ได้ไปดูใจ! เหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจต่อแมรี่อีกเหตุการณ์หนึ่งก็คือพระบิดาสั่งให้ประหารชีวิตครู และพี่เลี้ยงที่ใกล้ชิดที่สุดของแมรี่ และมีรับสั่งให้แมรี่นั่งประทับดูการประหารชีวิตต่อหน้าด้วย! อนึ่ง ก่อนพระนางแคธอลีนน์สิ้นพระชนม์ไม่กี่ชั่วโมง พระนางได้เขียนจดหมายถึงพระเจ้าเฮนรี่(อดีตพระสวามี)เนื้อจดหมายพระนางได้ให้อภัยกับความทุกข์ทรมานที่พระนางเคยได้รับจากพระองค์ทุกอย่าง พร้อมกำชับว่าให้ช่วยดูแลเจ้าหญิงแมรี่ในฐานะความเป็นพ่อด้วยเถิด
ตอนนี้หลังสิ้นพระมารดา แมรี่ต้องกล้ำกลืนกับแม่เลี้ยงคนใหม่(อดีตคนรับใช้ของแม่)ที่ไม่ชอบเธอ และเธอต้องแบกภาระคอยดูแลน้องสาวต่างมารดาที่ตัวเธอเองก็ไม่สู้จะชอบในใจลึกๆ แล้วสุดท้ายแม้เลี้ยงคนใหม่(พระนางแอนน์ บูลีนน์) ก็ถูกพระบิดาสั่งตัดหัว แล้วต่อมาพระบิดาก็ได้ “แม่เลี้ยง” คนใหม่เข้ามาอีกคนคือเจน ซีมอย์ แล้วก็ให้กำเนิดโอรสคือเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด(ต่อมาคือพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดที่๖) ตอนนี้เจ้าหญิงแม่รี่มีอายุครบ ๒๑ เธอใกล้ชิดกับน้องชายต่างมารดามากกว่าน้องสาวต่างมารดา(อลิซาเบธ) ต่อมาเแม่เลี้ยงคนใหม่สิ้นพระชนม์ แมรี่ก็ยอมโอนอ่อนผ่อนตามพระบิดาโดยการสาบานตนยอมรับการหย่าของพระบิดากับพระมารดา พระบิดาก็ได้คืนตำแหน่งเจ้าหญิงและพระตำหนักนอกลอนดอนให้แมรี่
หลังจากได้โอรสสมใจแล้ว พระเจ้าเฮนรี่ก็ริบตำแหน่ง “รัชทายาท” จากอลิซาเบธน้องสาวต่างมารดาของแมรี่ให้กับเจ้าชายเอ็ดเวิร์ด แล้วเมื่อพระเจ้าเฮนรีสวรรคตเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดก็ขึ้นครองราชย์ต่อตั้งแต่ยังเด็กโดยมีดยุคแห่งนอร์ธธัมเบอร์แลนด์เป็นผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ ณ ห้วงเวลานี้เจ้าหญิงแมรี่ได้ถูกรังแกจนแทบจะไม่มีที่ยืนก็ว่าได้ น้องชายต่างมารดาที่เธอเคยชอบและเลี้ยงดูมาเป็นคริสต์โปรแตสแต้นท์ ส่วนเธอเป็นคาธอลิก เธอต้องย้ายไปอยู่ตำหนักทางภาคอีสานของอังกฤษ เธอเคร่งศาสนามาก(ว่ากันว่าเธอจะสวดมนต์วันละ5-6 รอบ) น้องชายต่างมารดาซึ่งตอนนี้เป็นพระเจ้าแผ่นดินก็สั่งห้ามเธอสวดมนต์ในที่สาธารณะ แล้วเธอก็มาแอบสวดในตำหนักของเธอกับคาธอลิกด้วยกัน เมื่อถูกจับได้เธอก็ถูกสั่งห้ามอีก
สุดท้าย พระญาติฝ่ายมารดาของเธอที่สเปนทนเห็นการถูกต้อนและกลั่นแกล้งไม่ได้ จึงติดต่อจะขอรับตัวเธอไปประทับทีสเปน เอกอัคราชทูตอิตาลีประจำอังกฤษก็เขียนรายงานความเป็นไปให้ฝ่ายวาติกันทราบเช่นกัน ในขณะเดียวกันเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดที่๖ ก็ล้มป่วย เจ้าหญิงแมรี่ลังเลที่จะกลับสเปน แต่เมื่อราชวงศ์สเปนได้ส่งเรือมาจอดรอรับที่ท่าแล้ว พระนางก็เตรียมเก็บเสื้อผ้าและบริวารที่จะเสด็จไปประทับที่สเปน
พลันข่าวการสวรรคตของเจ้าชายเอ็ดเวิร์ดน้องชายต่างมารดาของมาถึงไม่กี่วันก่อนที่จะลงเรือไปสเปน และการสถาปนา เลดี้เจน เกรย์ ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระเจ้าเอ็ดเวิร์ดมาถึงหู เจ้าหญิงแมรี่ก็ตัดสินไม่กลับสเปน ขึ้นประทับม้าพร้อมชาวคาธอลิกที่นับถือพระองค์และรวมทั้งชาวโปรแตสแตนท์ที่เห็นว่า เจ้าหญิงแมรี่ควรที่ขึ้นครองราชย์ พระนางประทับม้ารอนแรมข้ามวันข้ามคืนมุ่งหน้าสู่ลอนดอน ทวงสิทธิ์อันชอบธรรมคืน และระหว่างทาง เจ้าหญิงอลิซาเบธน้องสาวต่างมารดาก็ประทับยืนรอเพื่อร่วมทัพช่วยพี่สาวต่างมารดทวงบัลลังก์คืนด้วย และรวมทั้งกองกำลังบางส่วนที่โป๊ปจากกรุงวาติกันส่งมาช่วย
พระนางเจน เกรย์ ได้ขึ้นเป็นราชินีได้เพียงเก้าวัน สุดท้ายก็ถูกเจ้าหญิงแมรี่และเจ้าหญิงอลิซาเบธทวงบัลลังก์ แล้วสถาปนาเป็นพระนางแมรี่ที่๑ เจน เกรย์เป็นญาติห่างๆ ของแมรี่ แต่ถูกพ่อตัวเองและผู้สำเร็จราชการแทนพระองค์ใช้เป็น “เบี้ย” ขึ้นสู่อำนาจ ตอนแรกพระนางแมรี่ไม่ได้ถือโทษโกรธเคืองอะไรไว้ชีวิตเธอ ต่อมาพ่อของเจน เกรย์(ราชินีเก้าวัน)ได้ทำการกบฎ และถูกพระนางแมรี่ปราบลงได้จึงถูกประหาร ส่วนเจน เกรย์ พระนางแมรี่ก็ต้องการที่จะให้อภัยโทษ แต่มีข้อแม้ว่าหากเจน เกรย์หันมาเปลี่ยนนับถือคาธอลิกก็จะไว้ชีวิต เจน เกรย์ยืนกรานที่จะเป็นโปรแตสแตนท์จึงถูกประหารในที่สุด ส่วนน้องสาวต่างมารดาคือเจ้าหญิงอลิซาเบธมีความดีความชอบอยู่ที่ช่วยรบในการปราบดาภิเษก แต่พระนางแมรี่ก็ไม่ได้ไว้ใจ จึงควบคุมอลิซาเบธไว้ที่หอคอยปราการที่ลอน(Tower of London)
ถามว่าพระนางแมรี่โหดไหม? ผมมองว่า “ก็ต้อง” โหดไว้ก่อนในสถานการณ์ทีผ่านและประสบมา พ่อของเธอโหดกว่ามากมาย พระเจ้าเอ็ดเวิร์ดน้องชายต่างมารดาก็โหดไม่แพ้สั่งฆ่าชาวคาธอลิกถึงห้าพันกว่าคนในการปราบกบฏที่ชื่อว่า Prayer Book Rebellion น้องสาวต่างมารดาซึ่งต่อมาสืบบัลลังก์จากเธอคือพระนางอลิซาเบธที่๑ ก็สั่งฆ่าชาวแคธอลิกหลายพันคน
เหตุการณ์นับตั้งแต่ “สงครามกุหลาบ” จนมาถึงยุคสิ้นสุดราชวงศ์ทิวเดอร์นั้น ไม่มีกษัตริย์หรือกษัตริย์องคไหนเลยครับที่มือไม่เปื้อนเลือด กรณีของพระนางแมรี่ก็เป็นเพียงหนึ่งในเหตุการณ์ที่เกิดแทบในทุกๆ แผ่นดินในยุคนั้นซึ่งถือว่าเป็นยุคสร้างปึกแผ่นของอังกฤษ
ส่วนตัวผมมองว่าการแปล Bloody Mary ว่าแมรี่ผู้กระหายเลือดนั้นออกจะเกินเลยและไม่เป็นธรรมต่อพระนางเลย แมรี่ผู้มือเปื้อนเลือด หรือเลือดนองแผ่นดินในยุคแมรี่ก็น่าจะเป็นธรรมขึ้นมาหน่อยครับ
มองอีกมุม: พระนางแมรี่แห่งอังกฤษเธอกระหายเลือดจริงหรือ? ทำไม?
พระนางแมรี่กษัตรีย์แห่งอังกฤษมักจะถูกมองว่าเป็นผู้กระหายเลือดโดยเฉพาะอย่างยิ่งในหมู่คนไทยที่สนใจประวัติศาสตร์อังกฤษ จากเหตุการณ์ที่เธอสั่งเผาชาวคริสต์โปรแตสแตนท์ทั้งเป็นเกือบสองร้อยคน ซึ่งนั่นก็ถือว่าโหดเหี้ยมไม่น้อย แต่คุณสมบัติ “กระหายเลือด” (ซึ่งแปลจากคำว่า Bloody นั้นผมส่วนตัวมองว่าจะเป็นการแปลที่ออกจะเกินเลยไปหน่อย หากปราศจากการดูบริบทและเหตุการณ์รอบข้างของพระนางแมรี่)
ต้องเข้าใจว่ายุคก่อนหน้าราชวงศ์ทิวเดอร์รุ่นปู่ของพระนางแมรี่ อังกฤษผ่านการ “นองเลือด” ชนิดทาทั่วแผ่นดินก็ว่าได้จาก “สงครามกุหลาบ” ของสองตระกูลใหญ่ น้องสั่งหารพี่ พระเจ้าอาพระเจ้าน้า พระเจ้าป้า พระบิดา พระมารดาต่างห้ำหั่นกันอีรุงตุงนัง ที่อธิบายตรงนี้ก็เพื่อที่จะสื่อว่าอาการ “กระหายเลือด” ที่รุนแรงและโหดเหี้ยมกว่าพระนางแมรี่ก็มีมาก่อนและหลังพระนางเหมือนกัน ว่าไปทำไมมี?....พระราชบิดดาคือเฮนรี่ที่๘ สั่งฆ่าคนในช่วงครองราชย์มากประมาณถึง 3-4 หมื่นคน!
ต่อจากนี้....เรามาทำความเข้าใจพระนางแมรี่ในเชิงลอง “เอาใจเขามาใส่ใจเรา” ดูนะครับ
พระนางแมรี่ที่๑ ถือว่าเป็น ราชนิกุลที่มีเลือดกษัตริย์เข้มข้นกว่าบรรดาประยูรญาติคนอื่นๆ เลือดฝ่ายแม่คือพระนางแคธอลีนน์แห่งอารากอร์นแ่หงราชวงศ์สเปน ซึ่งมีเชื้อสายไปจากเกาะอังกฤษด้วย(และหากจะไล่นับวงศาคณาญาติจริงๆ ตัวพระนางแคธอลีนน์มีสิทธิ์ที่จะขึ้นครองราชย์ที่อังกฤษมากกว่าพระเจ้าเฮนรี่พระสวามีตัวเองด้วยซ้ำไป) เมื่อพระเจ้าเฮนรี่หมดหวังที่จะได้ลูกชายจริงๆ จึงได้ส่งเจ้าหญิงแมรี่ไปศึกษาเรียนรู้การปกครอง การบ้านการเมืองรวมทั้งภาษาลาติน ฝรั่งเศส ซึ่งก็คือการกำลังประแป้งแต่งตัวให้เจ้าหญิงแมรี่ได้ขึ้นครองราชย์ต่อจากพระองค์นั่นเอง
แต่แล้ว....พระเจ้าเฮนรี่ก็ “สร้างเรื่อง” หย่ากับพระราชมารดาของเจ้าหญิงแมรี่ จนอังกฤษต้องแตกหักกับกรุงวาติกันเลยทีเดียว ซึ่งมีอาร์บิชอร์อโทมัส เครนเมอร์(ซึ่งต่อมาเป็นหนึ่งในคนที่ถูกพระนางแมรี่เผาทั้งเป็น)เป็นกุนซือในการตัดญาติขาดมิตรกับวาติกัน เพื่อเปิดทางให้พระเจ้าเฮนรี่ได้หย่าถูกต้องตามหลักศาสนา(ที่พระเจ้าเฮนรี่เข้าไปเป็นประมุขคือ Church of Enland) เพราะการลดสถานะของพระมารดา(หลังจากหย่า) ส่งผลให้สถานะของเจ้าหญิงแมรี่เปลี่ยนจาก “เจ้าหญิง” มาเป็น “เลดี้” และหมดสิทธิ์ในการสืบสันตติวงศ์โดยนิตินัย!
พระราชบิดาแต่งงานใหม่กับแอน บูลีนน์ (ซึ่งเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของพระพระมารดาของเจ้าหญิงแมรี่) แล้วได้พระธิดาองค์ใหม่คือเจ้าหญิงอลิซาเบธ(ต่อมาคือพระนางอลิซาเบธที่๑) ซึ่งต่อมาเจ้าหญิงอลิซาเบธก็กลายเป็นผู้ที่จะสืบบัลลังก์ต่อจากพระเจ้าเฮนรี่ นั่นก็คือตำแหน่ง “รัชทายาท” ถูกเปลี่ยนมือจากแมรี่มาสู่อลิซาเบธ ที่ซ้ำร้ายไปกว่านั้น....พระเจ้าเฮนรี่รับสั่งให้แมรี่คอยดูแลอลิซาเบธและทำตัวให้ต่ำกว่าอลิซาเบธ(นักประวัติศาสตร์อังกฤษบางคนถึงกับชี้เปรี้ยงไปว่าแมรี่ได้ถูกลดฐานันดรลงมาเป็นนางสนองพระโอษฐ์ของน้องสาวต่างมารดาของตัวเอง)
ถึงตรงนี้ ก็ให้ลองนึกดูสภาพจิตใจของเจ้าหญิงแมรี่ดูเอาเองครับว่าจะเป็นอย่างไร พระนางไม่ยอมรับการหย่าของพระบิดากับพระมารดา แม้พระบิดาจะบังคับให้เธอเซ็นต์รับทราบการหย่าพระนางก็ไม่ยอม สุดท้ายก็ถูกพระบิดาห้ามพบปะสนทนากับพระมารดา (แคเธอแลีนน์แห่งอารากอร์น) แม้การสิ้นพระชนม์ของพระมารดา เจ้าหญิงแมรี่ก็ไม่ได้ไปดูใจ! เหตุการณ์ที่น่าสะเทือนใจต่อแมรี่อีกเหตุการณ์หนึ่งก็คือพระบิดาสั่งให้ประหารชีวิตครู และพี่เลี้ยงที่ใกล้ชิดที่สุดของแมรี่ และมีรับสั่งให้แมรี่นั่งประทับดูการประหารชีวิตต่อหน้าด้วย! อนึ่ง ก่อนพระนางแคธอลีนน์สิ้นพระชนม์ไม่กี่ชั่วโมง พระนางได้เขียนจดหมายถึงพระเจ้าเฮนรี่(อดีตพระสวามี)เนื้อจดหมายพระนางได้ให้อภัยกับความทุกข์ทรมานที่พระนางเคยได้รับจากพระองค์ทุกอย่าง พร้อมกำชับว่าให้ช่วยดูแลเจ้าหญิงแมรี่ในฐานะความเป็นพ่อด้วยเถิด