สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 13
...ของผมเป็นบาริสต้าที่เคยอยู่ทั้งร้านอาหาร ร้านกาแฟ ร้านเค้ก ฯลฯ
ผมว่าผมเข้าใจนะว่าทำไมถึงใช้การเปรียบเปรยแบบนี้
เพราะงานมันต้องประสานกันตลอด มีกระทบกระทั่ง คนหนึ่งใจร้อนจะเร่งเร็ว ๆ บางคนเอื่อยเฉื่อยไม่ทันกิน
แล้วต้องมาอยู่ในสถานการณ์แบบเร่งรีบ ลูกค้าหมุนเวียนเข้าออกตลอด คนพลุกพล่าน
มันต้อง"Touch"กันมากกว่าการทำงานแบบออฟฟิศหรืออื่น ๆ ที่แยกโต๊ะ ต่างคนต่างโฟกัสงานของตัวเองน่ะครับ
ถ้าทะเลาะขัดใจกันก็ต้องเคลียร์กันเพราะไม่งั้นมันทำงานไม่ได้ คนหนึ่งขานออเดอร์แต่อีกคนยืนนิ่งไม่รับต่อ งานมันก็รันไม่ได้อ่ะครับ
คนเก่า ๆ ก็ต้องเป็นเหมือนพี่คนโต เรียกมาคุย เป็นคนกลางประสานรอยร้าวให้ได้
บางทีแค่ใช้น้ำเสียงต่างกันกับเพื่อนร่วมงานก็ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนได้แล้ว
อย่างผมเวลาเข้าบาร์ ยืนหน้าเครื่องกาแฟ หันหลังให้เพื่อน
แค่ผมได้ยินเพื่อนที่อยู่แคชเชียร์น้ำเสียงเปลี่ยนหรือพูดจังหวะแปลกไปผมก็รู้สึกได้แล้ว ต้องหันไปดูว่ามีอะไรรึเปล่า มีปัญหา หรือเหนื่อย ไม่ไหว ฯลฯ คือต้องคอยสังเกตกันและกัน
บางทีลูกค้าเยอะจนลืมเวลา ก็ต้องหันมาเตือนกันว่าถึงรอบเบรกของใครแล้ว ต้องไล่ให้ไปพัก คนที่ถึงเวลาเบรกเห็นเพื่อนในบาร์กำลังยุ่งไม่อยากไปเองก็มี รั้นจะอยู่ช่วย จนบางครั้งต้องใช้คำว่า"ตะเพิด"น่ะครับ แบบต่างคนก็ต่างห่วงไม่อยากทิ้ง
คนที่ได้เบรกก่อนก็ซื้อขนมซื้อน้ำมาหย่อนให้คนที่เบรกช้าก็มี กลัวเพื่อนจะหิวก่อนถึงเวลา เพราะยิ่งทีมหลายคน กว่าจะถึงเวลาของตัวเองก็เลยไปหลายชั่วโมง ต้องรอคนก่อนหน้าเบรกให้เสร็จก่อนถึงจะสลับไปพักได้ ต้องนึกถึงใจเขาใจเราให้มาก ๆ เลย
ใครจะกลับก่อนก็เคลียร์งาน แบ่งเบาภาระ ไม่ใช่ปัดตูดกลับบ้านทิ้งทุกอย่างให้คนที่อยู่ต่อรับผิดชอบหมด
ใครปิดร้านก็สต๊อกของเตรียมไว้ให้ เผื่อคนเข้าเช้าจะได้ไม่ต้องตาลีตาเหลือกหาของตอนเปิดร้าน
พอเลิกงานก็ค่อยถามไถ่กัน ใครลาไปไหนก็ติดต่อหาทีมตลอดเพราะเป็นห่วง คนที่อยู่ทำงานก็ต้องไล่ให้คนที่ลาได้"พัก"จริง ๆ ไม่ต้องห่วง
ใครมีปัญหาอะไร หรือวันไหนมาไม่ได้ ป่วยไม่สบาย ประสบอุบัติเหตุ มีปัญหาที่บ้าน ฯลฯ
มันก็รู้กันหมดน่ะครับว่าลาทำไม เป็นอะไร อยู่ที่ไหน ฯลฯ คือห่วงจริงจังประหนึ่งญาติสนิทเหมือนกันนะครับ
บางคนลาออกไปแล้วก็ยังติดตามถามไถ่กันอยู่เลย ใครไปได้งานดี ๆ ที่ไหนก็บอกต่อ ดึงเพื่อนไปด้วย เพื่อนร่วมอาชีพจริง ๆ อ่ะครับ😊
ผมว่าผมเข้าใจนะว่าทำไมถึงใช้การเปรียบเปรยแบบนี้
เพราะงานมันต้องประสานกันตลอด มีกระทบกระทั่ง คนหนึ่งใจร้อนจะเร่งเร็ว ๆ บางคนเอื่อยเฉื่อยไม่ทันกิน
แล้วต้องมาอยู่ในสถานการณ์แบบเร่งรีบ ลูกค้าหมุนเวียนเข้าออกตลอด คนพลุกพล่าน
มันต้อง"Touch"กันมากกว่าการทำงานแบบออฟฟิศหรืออื่น ๆ ที่แยกโต๊ะ ต่างคนต่างโฟกัสงานของตัวเองน่ะครับ
ถ้าทะเลาะขัดใจกันก็ต้องเคลียร์กันเพราะไม่งั้นมันทำงานไม่ได้ คนหนึ่งขานออเดอร์แต่อีกคนยืนนิ่งไม่รับต่อ งานมันก็รันไม่ได้อ่ะครับ
คนเก่า ๆ ก็ต้องเป็นเหมือนพี่คนโต เรียกมาคุย เป็นคนกลางประสานรอยร้าวให้ได้
บางทีแค่ใช้น้ำเสียงต่างกันกับเพื่อนร่วมงานก็ทำให้สถานการณ์เปลี่ยนได้แล้ว
อย่างผมเวลาเข้าบาร์ ยืนหน้าเครื่องกาแฟ หันหลังให้เพื่อน
แค่ผมได้ยินเพื่อนที่อยู่แคชเชียร์น้ำเสียงเปลี่ยนหรือพูดจังหวะแปลกไปผมก็รู้สึกได้แล้ว ต้องหันไปดูว่ามีอะไรรึเปล่า มีปัญหา หรือเหนื่อย ไม่ไหว ฯลฯ คือต้องคอยสังเกตกันและกัน
บางทีลูกค้าเยอะจนลืมเวลา ก็ต้องหันมาเตือนกันว่าถึงรอบเบรกของใครแล้ว ต้องไล่ให้ไปพัก คนที่ถึงเวลาเบรกเห็นเพื่อนในบาร์กำลังยุ่งไม่อยากไปเองก็มี รั้นจะอยู่ช่วย จนบางครั้งต้องใช้คำว่า"ตะเพิด"น่ะครับ แบบต่างคนก็ต่างห่วงไม่อยากทิ้ง
คนที่ได้เบรกก่อนก็ซื้อขนมซื้อน้ำมาหย่อนให้คนที่เบรกช้าก็มี กลัวเพื่อนจะหิวก่อนถึงเวลา เพราะยิ่งทีมหลายคน กว่าจะถึงเวลาของตัวเองก็เลยไปหลายชั่วโมง ต้องรอคนก่อนหน้าเบรกให้เสร็จก่อนถึงจะสลับไปพักได้ ต้องนึกถึงใจเขาใจเราให้มาก ๆ เลย
ใครจะกลับก่อนก็เคลียร์งาน แบ่งเบาภาระ ไม่ใช่ปัดตูดกลับบ้านทิ้งทุกอย่างให้คนที่อยู่ต่อรับผิดชอบหมด
ใครปิดร้านก็สต๊อกของเตรียมไว้ให้ เผื่อคนเข้าเช้าจะได้ไม่ต้องตาลีตาเหลือกหาของตอนเปิดร้าน
พอเลิกงานก็ค่อยถามไถ่กัน ใครลาไปไหนก็ติดต่อหาทีมตลอดเพราะเป็นห่วง คนที่อยู่ทำงานก็ต้องไล่ให้คนที่ลาได้"พัก"จริง ๆ ไม่ต้องห่วง
ใครมีปัญหาอะไร หรือวันไหนมาไม่ได้ ป่วยไม่สบาย ประสบอุบัติเหตุ มีปัญหาที่บ้าน ฯลฯ
มันก็รู้กันหมดน่ะครับว่าลาทำไม เป็นอะไร อยู่ที่ไหน ฯลฯ คือห่วงจริงจังประหนึ่งญาติสนิทเหมือนกันนะครับ
บางคนลาออกไปแล้วก็ยังติดตามถามไถ่กันอยู่เลย ใครไปได้งานดี ๆ ที่ไหนก็บอกต่อ ดึงเพื่อนไปด้วย เพื่อนร่วมอาชีพจริง ๆ อ่ะครับ😊
แสดงความคิดเห็น
ทำไมร้านขนม ร้านกาแฟ ร้านอาหาร ชอบมีวัฒนธรรมองค์กร"อยู่แบบครอบครัวคะ "?