ปอร์เช่ 959 Paris-Dakar ยนตรกรรมสปอร์ตระดับมาสเตอร์พีซที่สามารถเอาชนะผ่านเส้นทางกลางทะเลทรายแห้งแล้ง และทุ่งหญ้าสะวันนาอันรกร้างของแอฟริกา ด้วยระยะทางกว่า 14,000 กิโลเมตร และเป็นรถยนต์ที่สามารถขับขี่ไปได้ทุกแห่งบนโลก อีกทั้งยังเป็นยนตรกรรมที่พิชิตการแข่งขันแรลลี่สุดโหดตั้งแต่ฝรั่งเศสถึงแอฟริกาตะวันตกเมื่อปี 1986 ภายใต้การขับขี่ของ Jacky Ickx และ Claude Brasseur ที่สามารถเอาชนะและจบการแข่งขันในอันดับที่ 2 รองจากทีม แชมเปี้ยนจากประเทศฝรั่งเศส โดย René Metge และ Dominique Lemoyne ซึ่งเป็นสุดยอดนักแข่งทางฝุ่นในอุดมคติ และปัจจุบันพร้อมกลับมาโลดแล่นอีกครั้ง โดยการหวนกลับมาสู่ภารกิจครั้งนี้มีการเตรียมพร้อมด้วยระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน ซึ่งรับหน้าที่โดยทีมงาน Porsche Heritage และทีมงานจากพิพิธภัณฑ์ Porsche Classic ที่พร้อมการสนับสนุนอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมารพร้อมกับสารคดีเรื่องราวของ "959 Paris-Dakar" นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจ เกี่ยวกับขั้นตอนการกลับมารับบทบาทรถแข่งตัวแรงอีกครั้ง โดยจะออกอากาศทาง Porsche YouTube channel
ประวัติความเป็นมาของปอร์เช่ 959 Paris-Dakar
บรรดายานพาหนะที่เข้าร่วมการแข่งขันในรายการ Paris-Dakar Rally ปี 1986 ส่วนใหญ่คือรถบรรทุก และรถยนต์แบบ all-terrain แต่รถแข่งปอร์เช่ 959 ทั้ง 3 คันจากโรงงาน Zuffenhausen แตกต่างออกไป รถ service car คันที่ 3 ขับขี่โดยผู้จัดการโครงการ Roland Kussmaul และ Wolf-Hendrik Unger โดยจบการแข่งขันในอันดับ 6 และปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ Porsche Museum ได้จัดแสดงคอลเลกชั่นรถทั้ง 3 คันเอาไว้ในสภาพสมบูรณ์ “รถแข่งเจ้าของแชมป์ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี ไม่เคยมีใครได้สัมผัส คงสภาพไว้เสมือนได้ว่าว่าหยุดเวลาเอาไว้ อาจกล่าวได้ว่าชิ้นส่วนทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันแรลลี่ทั้งหมดยังคงเหมือนเดิมตราบนานเท่านาน” ข้างต้นคือคำอธิบายจาก Kuno Werner หัวหน้าส่วนงาน Museum Workshop
ในช่วงทศวรรษ 1980 ทีมงานใช้เวลา 2 ปีในการปรับแต่งปอร์เช่ 959 ให้กลายสภาพเป็นรถแข่งแรลลี่ วิศวกรเสริมความแข็งแรงให้แก่ช่วงล่างด้านหน้าด้วยโช๊คอัพคู่ รวมทั้งติดตั้งยางรถยนต์แบบ all-terrain ในกรณีที่ขับขี่บนเส้นทางที่ไม่ต้องพึ่งพาระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ all-wheel drive เฟืองท้ายที่ควบคุมด้วย electro-hydraulically จะรับหน้าที่กระจายกำลังขับเคลื่อนระหว่างเพลาขับหน้า และเพลาขับหลัง ผลลัพธ์คือรถแข่งปอร์เช่คันนี้สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง Peter Falk ผู้อำนวยการแผนก Racing นึกย้อนไปถึงการแข่งขันแรลลี่ครั้งแรก ในปี 1984 ด้วยรถแข่งปอร์เช่ 953 และหลังจากนั้น 2 ปีต่อมาตามด้วยรถแข่งปอร์เช่ 959 Paris-Dakar ด้าน Mr Bott กล่าวว่า “มันช่างยอดเยี่ยมกับการที่รถแข่งของเราวิ่งผ่านเส้นชัย และคว้าแชมป์มาครองได้จากความพยายามในครั้งแรก หลังจากนั้น เราต้องไปกันต่อ แค่ครั้งเดียวไม่เพียงพอ ต่อมาในปี 1985 รถแข่งทั้ง 3 คันของเราต้องถอนตัวออกจากการแข่งขัน สิ่งนั้นเปรียบได้กับหายนะ แต่ถึงอย่างไรเรายังคงตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันอีกครั้ง แม้ว่าเราจะรู้สึกเจ็บปวดนิดหน่อยจากการสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง เราลงแข่งอีกครั้งในปี 1986 และรถแข่งทั้ง 3 คันเข้าเส้นชัย รวมทั้งคว้าอันดับ 1-2 มาครอบครองได้สำเร็จ”
ยกเครื่องชุดใหญ่: เปิดเผยเรื่องราวเชิงลึกของรถแข่งตัวแรง
Werner อธิบายว่า “เราต้องการรักษาสภาพดั้งเดิมเอาไว้ และเพียงแค่ซ่อมในบางจุดของตัวรถ เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดทางเทคนิคต่าง ๆ เนื่องจากรถแข่งเจ้าของอันดับที่ 2 จากการแข่งขันในปี 1986 ยังคงอยู่ในสภาพที่ดีเยี่ยมเอา มาก ๆ จากกระบวนการซ่อมบำรุงเพื่อนำรถคันนี้กลับสู่ภารกิจอีกครั้ง จึงเป็นการเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ให้น้อยชิ้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อรักษาจำนวนชิ้นส่วนเดิมที่ติดมากับตัวรถให้มากที่สุด รถแข่งปอร์เช่ 959 Paris-Dakar ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเป็นระยะทางประมาณ 18,000 กิโลเมตร ตั้งแต่การวิ่งระหว่างแข่งขันแรลลี่ สำหรับรถยนต์ที่ผลิตจากโรงงานทุกคัน รถแข่งแรลลี่ดังกล่าวยังคงติดตั้งเครื่องยนต์ 6 สูบนอน ระบายความร้อนด้วยน้ำ และอากาศ พร้อมระบบอัดอากาศเทอร์โบชาร์จ สาเหตุจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำในขณะนั้น พละกำลังที่ได้จากเครื่องยนต์ 6 สูบจึงลดเหลือเพียง 400 แรงม้า (294 กิโลวัตต์) ด้าน Uwe Makrutzki หัวหน้าส่วนงาน Porsche Classic factory restoration กล่าวว่า “รถแข่งปอร์เช่ 959 Paris-Dakar เป็นรถต้นแบบ prototype นั่นจึงเป็นหนึ่งในเหตุผลของการกลับมารับภารกิจอีกครั้ง และในปี 1986 รถคันนี้ต้อเผชิญหน้ากับความท้าทายอีกครั้ง” ทีมงานของ Makrutzki และ Werner ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด รวมทั้งปรึกษาหารือในทุกเรื่อง และทุกรายละเอียด ทีมงาน Porsche Classic รับบทบาทถอดชิ้นส่วน โอเวอร์ฮอร์น และประกอบเครื่องยนต์ ระบบเกียร์ รวมทั้งระบบส่งกำลัง ในโครงการนี้ อะไหล่ทั้งหมดมีความเสียหายเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลย “ตัวรถอยู่ในสภาพที่ยอดเยี่ยมมาก ไม่มีความเสียหายหนัก หรือสนิมเกิดขึ้น ด้วยการซ่อมบำรุงฟื้นคืนสภาพในลักษณะของพันธะกิจเฉพาะ โดยมีจุดมุ่งหมายในการรักษาตัวรถให้คงเดิมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทีมงานจำเป็นต้องลงมือตรวจสอบชิ้นส่วนทีละชิ้น และจัดการซ่อมแซมแก้ไขในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ เท่านั้น อะไหล่ดั้งเดิมหลายชิ้นมีสถานะใกล้เคียงกับการผลิตรถต้นแบบขึ้นมาเลยทีเดียว” Werner กล่าวสรุป
สำหรับการบุกตะลุยเส้นทางแรลลี่ทุรกันดารระยะยาว บริษัทปอร์เช่ ผู้ผลิตรถสปอร์ตสัญชาติเยอรมันได้ทำการเสริมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่ตัวรถหลายจุด สำหรับในช่วงทศวรรษ 1980 หนึ่งในนั้นคือการติดตั้งกล่องควบคุมเครื่องยนต์ หรือ engine control units (ECUs) ซึ่งต้องวางตำแหน่งเอาไว้ค่อนข้างสูง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อกล่อง ECUs ในกรณีที่ต้องขับรถข้ามแหล่งน้ำ นอกจากนี้ปอร์เช่ยังจัดเตรียมชุดระบายความร้อนน้ำมันเครื่อง oil cooler และท่อทางเดินน้ำมันเครื่องไว้ใต้ปีกหลังสำหรับการแข่งขันแรลลี่โดยเฉพาะ รวมถึงถ่ายทอดเทคโนโลยีมอเตอร์สปอร์ตล้ำยุคลงไปในตัวรถ อาทิ โครงสร้างที่ผลิตจากวัสดุอลูมิเนียม เพื่อลดน้ำหนักให้ต่ำลง การเจาะรูบนจานเบรก และการตัดสินใจนำเอาชิ้นส่วนตัวถัง ประตู และฝากระโปรงหน้าที่ผลิตจากวัสดุ Kevlar มาใช้ และด้วยความเชี่ยวชาญของทีมงานวิศวกรจากสตุ๊ทการ์ท ส่งผลให้น้ำหนักรถเปล่าเหลือเพียง1,260 กิโลกรัมเท่านั้น
ระหว่างขั้นตอนการถอดชิ้นส่วนของปอร์เช่ 959 ทีมงานพบฝุ่น และทรายที่หลงเหลือมาจากทะเลทรายในแอฟริกา ตั้งแต่รถที่กลับมาจากการแข่งขันแรลลี่ ตัวถัง และชิ้นส่วนกลไกไม่เคยถูกแยกออกจากกันมาก่อน Werner กล่าวว่า “สำหรับเราแล้ว นี่ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ทุกวัน มันคือความพิเศษสุด ดินโคลนที่เราพบในวันนี้แสดงให้เห็นว่าปอร์เช่ 959 Paris-Dakar เคยลุยข้ามแหล่งน้ำลึกจนกระทั่งน้ำเข้ามาภายในห้องโดยสาร มีสนิมเกิดขึ้นเล็กน้อยในบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างชิ้นส่วนตัวถัง Kevlar และโครงสร้างโลหะ อันเนื่องมาจากแรงกดที่เกิดขึ้นเมื่อขับขี่ในสนามแรลลี่ด้วยความเร็วสูง แทนที่การซ่อมแซม ร่องรอยดังกล่าวจะถูกเก็บเอาไว้เพื่อรักษาประวัติศาสตร์อันน่าจดจำของรถคันนี้ เราพยายามคงสภาพเดิมแม้กระทั่งสายรัด cable ties ซึ่งจะอยู่ในที่เดิมของมันหลังจากการทดสอบ และโอเวอร์ฮอร์นชิ้นส่วนทั้งหมด ตัวตนที่แท้จริงของรถคือสิ่งที่ไม่อาจสร้างขึ้นมาได้ใหม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเกียร์ Klaus Kariegus คือหนึ่งในบุคคลผู้ชื่นชอบเศษฝุ่นจากแอฟริกาที่หลงเหลืออยู่บนตัวรถ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์จริงในอดีต รถคันนี้ผ่านการพิสูจน์ทั้งในแง่ของคุณภาพ และความคงทนถาวร แม้แต่ทราย และฝุ่นผงจากการลงสนามแข่งอย่างหนักยังไม่สามารถทำลายเทคโนโลยีของมันลงได้ วัสดุคุณภาพสูงทั้งหลายยังคงอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีเช่นเดิม” Kariegus อธิบายไว้ว่า ทีมงานของ Makrutzki ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมบำรุงปอร์เช่ 959 ทั้ง 4 คัน ได้ดำเนินการตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานของระบบต่าง ๆ และตัดสินใจเก็บรักษาร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่ได้จากการแข่งขันแรลลี่เอาไว้ “เพียงแค่การหลงเหลือความเสียหายจากอดีตเอาไว้ สิ่งนี้จะสามารถบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมา และทำให้มันฟื้นคืนชีพอีกครั้ง” Werner กล่าวสรุป
หิมะ และก้อนกรวด: ปรับแต่งเป็นพิเศษเพื่อหวนคืนบัลลังก์
เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตตั้งแต่ปี 1986 ให้สมจริงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทีมงาน Porsche Heritage และทีมงานจากพิพิธภัณฑ์ ได้เชิญ Jacky Ickx มาเยี่ยมชมตัวรถที่กำลังอยู่ในระหว่างการโอเวอร์ฮอร์น อดีตนักขับรถแข่งเจ้าของอันดับ 2 ในรถปอร์เช่ 959 Paris-Dakar จะได้รับเกียรติในการขับรถคันนี้เป็นคนแรกท่ามกลางเหมืองหิน เขากล่าวแสดงความรู้สึกว่า“เมื่อกลับเข้าไปภายในรถ ความทรงจำทั้งหลายของผมหวนกลับมาทันทีทันใด ผมจะไม่ลืมทุกคนที่มีส่วนทำให้มันกลับมาวิ่งได้อีกครั้ง ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการในขณะนี้มีจำนวนเพียง 18 คน ทั้งหมดเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณอันเข้มแข็ง และพร้อมทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงโดยไม่ย่อท้อแม้แต่น้อย ทุกคนต้องการขับรถบนท้องถนน ดังนั้นปอร์เช่จึงตัดสินใจส่ง 959 เข้าร่วมการแข่งขันแรลลี่ในทะเลทราย มันช่างน่าอัศจรรย์กับการที่ผมมีส่วนร่วมในหน้าประวัติศาสตร์ การแข่งแรลลี่คือความท้าทายอย่างไม่น่าเชื่อ และเป็นสนามทดสอบสุดสมบูรณ์แบบสำหรับระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ all-wheel drive ไม่มีใครคาดคิดว่าตัวเขา และทีมงานจะประสบความสำเร็จอย่างล้นเหลือ ทะเลทรายเปรียบเสมือนมหาสมุทร เราจะไม่พบเจอเนินทราย และลูกคลื่นที่เหมือนกัน”
ในส่วนของแชมเปี้ยนรายการ เลอ มังส์ Timo Bernhard ผู้ได้รับโอกาสเข้ามาร่วมงานกับ Jacky Ickx สำหรับการขับขี่รถแข่งที่ผ่านการซ่อมบำรุงแล้ว ประสบการณ์ของรุ่นพี่นักแข่งจากปี 1986 เต็มไปด้วยความน่าสนใจ “ผมมีภาพจำของการแข่งขันแรลลี่ที่ไม่ธรรมดา นั่นคือเฮลิคอปเตอร์ไม่สามารถไล่ตามรถแข่งได้ทัน เพราะว่าเราขับเร็วมาก” Bernhard ย้อนความ หลังจากนั้นเกือบ 40 ปี” Jacky Ickx กล่าวสรุปเรื่องราวการแข่งขันครั้งแรกด้วยคำพูด 3 คำคือ “ความทรงจำ, ความรู้สึก, ความปรารถนา” ทางด้านของ Kuno Werner หัวหน้าส่วนงาน Museum Workshop นิยามถึงการกลับคืนบัลลังก์ของยอดรถแข่งทางฝุ่นว่าคือสิ่งที่พิเศษสุดอย่างยิ่ง “ปอร์เช่ 959 นอนสงบนิ่งมาเนิ่นนานหลายปี ก่อนจะได้รับโอกาสให้กลับมาร่วมงานกับนักแข่งเจ้าของที่นั่งคนเดิม กลางหิมะ และกรวดทราย นี่คือความภาคภูมิใจของทั้งทีมงาน Porsche Heritage และทีมงานพิพิธภัณฑ์”
ย้อนระลึกเกียรติประวัติ Porsche 959 Paris-Dakar ในนิทรรศการ Retro Classics
ปอร์เช่ 959 Paris-Dakar ยนตรกรรมสปอร์ตระดับมาสเตอร์พีซที่สามารถเอาชนะผ่านเส้นทางกลางทะเลทรายแห้งแล้ง และทุ่งหญ้าสะวันนาอันรกร้างของแอฟริกา ด้วยระยะทางกว่า 14,000 กิโลเมตร และเป็นรถยนต์ที่สามารถขับขี่ไปได้ทุกแห่งบนโลก อีกทั้งยังเป็นยนตรกรรมที่พิชิตการแข่งขันแรลลี่สุดโหดตั้งแต่ฝรั่งเศสถึงแอฟริกาตะวันตกเมื่อปี 1986 ภายใต้การขับขี่ของ Jacky Ickx และ Claude Brasseur ที่สามารถเอาชนะและจบการแข่งขันในอันดับที่ 2 รองจากทีม แชมเปี้ยนจากประเทศฝรั่งเศส โดย René Metge และ Dominique Lemoyne ซึ่งเป็นสุดยอดนักแข่งทางฝุ่นในอุดมคติ และปัจจุบันพร้อมกลับมาโลดแล่นอีกครั้ง โดยการหวนกลับมาสู่ภารกิจครั้งนี้มีการเตรียมพร้อมด้วยระยะเวลาเพียงไม่กี่เดือน ซึ่งรับหน้าที่โดยทีมงาน Porsche Heritage และทีมงานจากพิพิธภัณฑ์ Porsche Classic ที่พร้อมการสนับสนุนอย่างใกล้ชิด ซึ่งจะมารพร้อมกับสารคดีเรื่องราวของ "959 Paris-Dakar" นำเสนอข้อมูลเชิงลึกที่น่าสนใจ เกี่ยวกับขั้นตอนการกลับมารับบทบาทรถแข่งตัวแรงอีกครั้ง โดยจะออกอากาศทาง Porsche YouTube channel
ประวัติความเป็นมาของปอร์เช่ 959 Paris-Dakar
บรรดายานพาหนะที่เข้าร่วมการแข่งขันในรายการ Paris-Dakar Rally ปี 1986 ส่วนใหญ่คือรถบรรทุก และรถยนต์แบบ all-terrain แต่รถแข่งปอร์เช่ 959 ทั้ง 3 คันจากโรงงาน Zuffenhausen แตกต่างออกไป รถ service car คันที่ 3 ขับขี่โดยผู้จัดการโครงการ Roland Kussmaul และ Wolf-Hendrik Unger โดยจบการแข่งขันในอันดับ 6 และปัจจุบันพิพิธภัณฑ์ Porsche Museum ได้จัดแสดงคอลเลกชั่นรถทั้ง 3 คันเอาไว้ในสภาพสมบูรณ์ “รถแข่งเจ้าของแชมป์ถูกเก็บรักษาไว้อย่างดี ไม่เคยมีใครได้สัมผัส คงสภาพไว้เสมือนได้ว่าว่าหยุดเวลาเอาไว้ อาจกล่าวได้ว่าชิ้นส่วนทางกายภาพที่เกี่ยวข้องกับการแข่งขันแรลลี่ทั้งหมดยังคงเหมือนเดิมตราบนานเท่านาน” ข้างต้นคือคำอธิบายจาก Kuno Werner หัวหน้าส่วนงาน Museum Workshop
ในช่วงทศวรรษ 1980 ทีมงานใช้เวลา 2 ปีในการปรับแต่งปอร์เช่ 959 ให้กลายสภาพเป็นรถแข่งแรลลี่ วิศวกรเสริมความแข็งแรงให้แก่ช่วงล่างด้านหน้าด้วยโช๊คอัพคู่ รวมทั้งติดตั้งยางรถยนต์แบบ all-terrain ในกรณีที่ขับขี่บนเส้นทางที่ไม่ต้องพึ่งพาระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ all-wheel drive เฟืองท้ายที่ควบคุมด้วย electro-hydraulically จะรับหน้าที่กระจายกำลังขับเคลื่อนระหว่างเพลาขับหน้า และเพลาขับหลัง ผลลัพธ์คือรถแข่งปอร์เช่คันนี้สามารถทำความเร็วสูงสุดได้ถึง 210 กิโลเมตรต่อชั่วโมง Peter Falk ผู้อำนวยการแผนก Racing นึกย้อนไปถึงการแข่งขันแรลลี่ครั้งแรก ในปี 1984 ด้วยรถแข่งปอร์เช่ 953 และหลังจากนั้น 2 ปีต่อมาตามด้วยรถแข่งปอร์เช่ 959 Paris-Dakar ด้าน Mr Bott กล่าวว่า “มันช่างยอดเยี่ยมกับการที่รถแข่งของเราวิ่งผ่านเส้นชัย และคว้าแชมป์มาครองได้จากความพยายามในครั้งแรก หลังจากนั้น เราต้องไปกันต่อ แค่ครั้งเดียวไม่เพียงพอ ต่อมาในปี 1985 รถแข่งทั้ง 3 คันของเราต้องถอนตัวออกจากการแข่งขัน สิ่งนั้นเปรียบได้กับหายนะ แต่ถึงอย่างไรเรายังคงตัดสินใจเข้าร่วมการแข่งขันอีกครั้ง แม้ว่าเราจะรู้สึกเจ็บปวดนิดหน่อยจากการสูญเสียทุกสิ่งทุกอย่าง เราลงแข่งอีกครั้งในปี 1986 และรถแข่งทั้ง 3 คันเข้าเส้นชัย รวมทั้งคว้าอันดับ 1-2 มาครอบครองได้สำเร็จ”
ยกเครื่องชุดใหญ่: เปิดเผยเรื่องราวเชิงลึกของรถแข่งตัวแรง
Werner อธิบายว่า “เราต้องการรักษาสภาพดั้งเดิมเอาไว้ และเพียงแค่ซ่อมในบางจุดของตัวรถ เพื่อหลีกเลี่ยงความผิดพลาดทางเทคนิคต่าง ๆ เนื่องจากรถแข่งเจ้าของอันดับที่ 2 จากการแข่งขันในปี 1986 ยังคงอยู่ในสภาพที่ดีเยี่ยมเอา มาก ๆ จากกระบวนการซ่อมบำรุงเพื่อนำรถคันนี้กลับสู่ภารกิจอีกครั้ง จึงเป็นการเปลี่ยนชิ้นส่วนอะไหล่ให้น้อยชิ้นที่สุดเท่าที่จะทำได้ เพื่อรักษาจำนวนชิ้นส่วนเดิมที่ติดมากับตัวรถให้มากที่สุด รถแข่งปอร์เช่ 959 Paris-Dakar ผ่านร้อนผ่านหนาวมาเป็นระยะทางประมาณ 18,000 กิโลเมตร ตั้งแต่การวิ่งระหว่างแข่งขันแรลลี่ สำหรับรถยนต์ที่ผลิตจากโรงงานทุกคัน รถแข่งแรลลี่ดังกล่าวยังคงติดตั้งเครื่องยนต์ 6 สูบนอน ระบายความร้อนด้วยน้ำ และอากาศ พร้อมระบบอัดอากาศเทอร์โบชาร์จ สาเหตุจากน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพต่ำในขณะนั้น พละกำลังที่ได้จากเครื่องยนต์ 6 สูบจึงลดเหลือเพียง 400 แรงม้า (294 กิโลวัตต์) ด้าน Uwe Makrutzki หัวหน้าส่วนงาน Porsche Classic factory restoration กล่าวว่า “รถแข่งปอร์เช่ 959 Paris-Dakar เป็นรถต้นแบบ prototype นั่นจึงเป็นหนึ่งในเหตุผลของการกลับมารับภารกิจอีกครั้ง และในปี 1986 รถคันนี้ต้อเผชิญหน้ากับความท้าทายอีกครั้ง” ทีมงานของ Makrutzki และ Werner ปฏิบัติหน้าที่ร่วมกันอย่างใกล้ชิด รวมทั้งปรึกษาหารือในทุกเรื่อง และทุกรายละเอียด ทีมงาน Porsche Classic รับบทบาทถอดชิ้นส่วน โอเวอร์ฮอร์น และประกอบเครื่องยนต์ ระบบเกียร์ รวมทั้งระบบส่งกำลัง ในโครงการนี้ อะไหล่ทั้งหมดมีความเสียหายเกิดขึ้นเพียงเล็กน้อย หรือไม่มีเลย “ตัวรถอยู่ในสภาพที่ยอดเยี่ยมมาก ไม่มีความเสียหายหนัก หรือสนิมเกิดขึ้น ด้วยการซ่อมบำรุงฟื้นคืนสภาพในลักษณะของพันธะกิจเฉพาะ โดยมีจุดมุ่งหมายในการรักษาตัวรถให้คงเดิมมากที่สุดเท่าที่จะทำได้ ทีมงานจำเป็นต้องลงมือตรวจสอบชิ้นส่วนทีละชิ้น และจัดการซ่อมแซมแก้ไขในกรณีที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จริง ๆ เท่านั้น อะไหล่ดั้งเดิมหลายชิ้นมีสถานะใกล้เคียงกับการผลิตรถต้นแบบขึ้นมาเลยทีเดียว” Werner กล่าวสรุป
สำหรับการบุกตะลุยเส้นทางแรลลี่ทุรกันดารระยะยาว บริษัทปอร์เช่ ผู้ผลิตรถสปอร์ตสัญชาติเยอรมันได้ทำการเสริมอุปกรณ์ต่าง ๆ ให้แก่ตัวรถหลายจุด สำหรับในช่วงทศวรรษ 1980 หนึ่งในนั้นคือการติดตั้งกล่องควบคุมเครื่องยนต์ หรือ engine control units (ECUs) ซึ่งต้องวางตำแหน่งเอาไว้ค่อนข้างสูง เพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายต่อกล่อง ECUs ในกรณีที่ต้องขับรถข้ามแหล่งน้ำ นอกจากนี้ปอร์เช่ยังจัดเตรียมชุดระบายความร้อนน้ำมันเครื่อง oil cooler และท่อทางเดินน้ำมันเครื่องไว้ใต้ปีกหลังสำหรับการแข่งขันแรลลี่โดยเฉพาะ รวมถึงถ่ายทอดเทคโนโลยีมอเตอร์สปอร์ตล้ำยุคลงไปในตัวรถ อาทิ โครงสร้างที่ผลิตจากวัสดุอลูมิเนียม เพื่อลดน้ำหนักให้ต่ำลง การเจาะรูบนจานเบรก และการตัดสินใจนำเอาชิ้นส่วนตัวถัง ประตู และฝากระโปรงหน้าที่ผลิตจากวัสดุ Kevlar มาใช้ และด้วยความเชี่ยวชาญของทีมงานวิศวกรจากสตุ๊ทการ์ท ส่งผลให้น้ำหนักรถเปล่าเหลือเพียง1,260 กิโลกรัมเท่านั้น
ระหว่างขั้นตอนการถอดชิ้นส่วนของปอร์เช่ 959 ทีมงานพบฝุ่น และทรายที่หลงเหลือมาจากทะเลทรายในแอฟริกา ตั้งแต่รถที่กลับมาจากการแข่งขันแรลลี่ ตัวถัง และชิ้นส่วนกลไกไม่เคยถูกแยกออกจากกันมาก่อน Werner กล่าวว่า “สำหรับเราแล้ว นี่ไม่ใช่สิ่งที่จะเกิดขึ้นได้ทุกวัน มันคือความพิเศษสุด ดินโคลนที่เราพบในวันนี้แสดงให้เห็นว่าปอร์เช่ 959 Paris-Dakar เคยลุยข้ามแหล่งน้ำลึกจนกระทั่งน้ำเข้ามาภายในห้องโดยสาร มีสนิมเกิดขึ้นเล็กน้อยในบริเวณที่เป็นรอยต่อระหว่างชิ้นส่วนตัวถัง Kevlar และโครงสร้างโลหะ อันเนื่องมาจากแรงกดที่เกิดขึ้นเมื่อขับขี่ในสนามแรลลี่ด้วยความเร็วสูง แทนที่การซ่อมแซม ร่องรอยดังกล่าวจะถูกเก็บเอาไว้เพื่อรักษาประวัติศาสตร์อันน่าจดจำของรถคันนี้ เราพยายามคงสภาพเดิมแม้กระทั่งสายรัด cable ties ซึ่งจะอยู่ในที่เดิมของมันหลังจากการทดสอบ และโอเวอร์ฮอร์นชิ้นส่วนทั้งหมด ตัวตนที่แท้จริงของรถคือสิ่งที่ไม่อาจสร้างขึ้นมาได้ใหม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านระบบเกียร์ Klaus Kariegus คือหนึ่งในบุคคลผู้ชื่นชอบเศษฝุ่นจากแอฟริกาที่หลงเหลืออยู่บนตัวรถ ซึ่งแสดงให้เห็นถึงเหตุการณ์จริงในอดีต รถคันนี้ผ่านการพิสูจน์ทั้งในแง่ของคุณภาพ และความคงทนถาวร แม้แต่ทราย และฝุ่นผงจากการลงสนามแข่งอย่างหนักยังไม่สามารถทำลายเทคโนโลยีของมันลงได้ วัสดุคุณภาพสูงทั้งหลายยังคงอยู่ในสภาพที่ใช้งานได้ดีเช่นเดิม” Kariegus อธิบายไว้ว่า ทีมงานของ Makrutzki ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของผู้เชี่ยวชาญในการซ่อมบำรุงปอร์เช่ 959 ทั้ง 4 คัน ได้ดำเนินการตรวจสอบฟังก์ชั่นการทำงานของระบบต่าง ๆ และตัดสินใจเก็บรักษาร่องรอยทางประวัติศาสตร์ที่ได้จากการแข่งขันแรลลี่เอาไว้ “เพียงแค่การหลงเหลือความเสียหายจากอดีตเอาไว้ สิ่งนี้จะสามารถบอกเล่าเรื่องราวความเป็นมา และทำให้มันฟื้นคืนชีพอีกครั้ง” Werner กล่าวสรุป
หิมะ และก้อนกรวด: ปรับแต่งเป็นพิเศษเพื่อหวนคืนบัลลังก์
เพื่อถ่ายทอดเรื่องราวในอดีตตั้งแต่ปี 1986 ให้สมจริงที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้ ทีมงาน Porsche Heritage และทีมงานจากพิพิธภัณฑ์ ได้เชิญ Jacky Ickx มาเยี่ยมชมตัวรถที่กำลังอยู่ในระหว่างการโอเวอร์ฮอร์น อดีตนักขับรถแข่งเจ้าของอันดับ 2 ในรถปอร์เช่ 959 Paris-Dakar จะได้รับเกียรติในการขับรถคันนี้เป็นคนแรกท่ามกลางเหมืองหิน เขากล่าวแสดงความรู้สึกว่า“เมื่อกลับเข้าไปภายในรถ ความทรงจำทั้งหลายของผมหวนกลับมาทันทีทันใด ผมจะไม่ลืมทุกคนที่มีส่วนทำให้มันกลับมาวิ่งได้อีกครั้ง ทีมงานผู้รับผิดชอบโครงการในขณะนี้มีจำนวนเพียง 18 คน ทั้งหมดเต็มเปี่ยมไปด้วยจิตวิญญาณอันเข้มแข็ง และพร้อมทุ่มเทแรงกายแรงใจเพื่อปฏิบัติหน้าที่ให้สำเร็จลุล่วงโดยไม่ย่อท้อแม้แต่น้อย ทุกคนต้องการขับรถบนท้องถนน ดังนั้นปอร์เช่จึงตัดสินใจส่ง 959 เข้าร่วมการแข่งขันแรลลี่ในทะเลทราย มันช่างน่าอัศจรรย์กับการที่ผมมีส่วนร่วมในหน้าประวัติศาสตร์ การแข่งแรลลี่คือความท้าทายอย่างไม่น่าเชื่อ และเป็นสนามทดสอบสุดสมบูรณ์แบบสำหรับระบบขับเคลื่อน 4 ล้อ all-wheel drive ไม่มีใครคาดคิดว่าตัวเขา และทีมงานจะประสบความสำเร็จอย่างล้นเหลือ ทะเลทรายเปรียบเสมือนมหาสมุทร เราจะไม่พบเจอเนินทราย และลูกคลื่นที่เหมือนกัน”
ในส่วนของแชมเปี้ยนรายการ เลอ มังส์ Timo Bernhard ผู้ได้รับโอกาสเข้ามาร่วมงานกับ Jacky Ickx สำหรับการขับขี่รถแข่งที่ผ่านการซ่อมบำรุงแล้ว ประสบการณ์ของรุ่นพี่นักแข่งจากปี 1986 เต็มไปด้วยความน่าสนใจ “ผมมีภาพจำของการแข่งขันแรลลี่ที่ไม่ธรรมดา นั่นคือเฮลิคอปเตอร์ไม่สามารถไล่ตามรถแข่งได้ทัน เพราะว่าเราขับเร็วมาก” Bernhard ย้อนความ หลังจากนั้นเกือบ 40 ปี” Jacky Ickx กล่าวสรุปเรื่องราวการแข่งขันครั้งแรกด้วยคำพูด 3 คำคือ “ความทรงจำ, ความรู้สึก, ความปรารถนา” ทางด้านของ Kuno Werner หัวหน้าส่วนงาน Museum Workshop นิยามถึงการกลับคืนบัลลังก์ของยอดรถแข่งทางฝุ่นว่าคือสิ่งที่พิเศษสุดอย่างยิ่ง “ปอร์เช่ 959 นอนสงบนิ่งมาเนิ่นนานหลายปี ก่อนจะได้รับโอกาสให้กลับมาร่วมงานกับนักแข่งเจ้าของที่นั่งคนเดิม กลางหิมะ และกรวดทราย นี่คือความภาคภูมิใจของทั้งทีมงาน Porsche Heritage และทีมงานพิพิธภัณฑ์”