สุดยอดความคิดเห็น
ความคิดเห็นที่ 5
ฎีกาที่ 5108/2561
ลูกจ้างทำผิดระเบียบ เกิดความเสียหาย แต่ลูกจ้างไม่ยอมรับนายจ้างต้องไปฟ้องลูกจ้าง จะนำหนี้ค่าเสียหายมาหักจากค่าจ้างไม่ได้
ลูกจ้างทำผิดระเบียบ เกิดความเสียหาย แต่ลูกจ้างไม่ยอมรับนายจ้างต้องไปฟ้องลูกจ้าง จะนำหนี้ค่าเสียหายมาหักจากค่าจ้างไม่ได้
▼ กำลังโหลดข้อมูล... ▼
แสดงความคิดเห็น
คุณสามารถแสดงความคิดเห็นกับกระทู้นี้ได้ด้วยการเข้าสู่ระบบ
กระทู้ที่คุณอาจสนใจ
อ่านกระทู้อื่นที่พูดคุยเกี่ยวกับ
มนุษย์เงินเดือน
กฎหมายแรงงาน
กฎหมายชาวบ้าน
กรมสวัสดิการและคุ้มครองแรงงาน
ร้องทุกข์
ถ้าทำงานผิดพลาดเป็นครั้งแรก จนบริษัทได้รับความเสียหาย ลูกจ้างต้องรับผิดชอบเสียเงินค่าเสียหาย 100% มั้ย
และรู้มาจากคนเคยทำงานว่าคนเก่าที่เคยทำตำแหน่งนี้เค้าทำงานผิดพลาด
เป็นครั้งแรก จนทำให้บริษัทเสียหาย ในทีนี้คือพิมพ์ชื่อบริษัทผิด อักษรเกินไปตัวนึง
ซึ่งส่งเอกสารนั้นให้ลูกค้าแล้วลูกค้าเห็น จึงทำให้ต้องผลิตใหม่ทั้งหมด
บริษัทเลยให้คนนั้นกับคนในทีมที่เหลือแบ่งกันจ่ายค่าเสียหายนั้น 100%
ไม่มีส่วนลดใดใดทั้งสิ้น เราเลยสงสัยว่าบริษัทมีสิทธิ์ทำแบบนั้นใช่มั้ยคะ
พรบ.คุ้มครองแรงงาน 2541
มาตรา 76 ห้ามมิให้นายจ้างหักค่าจ้าง ค่าล่วงเวลา ค่า ทำงานในวันหยุด
และค่าล่วงเวลาในวันหยุด เว้นแต่เป็นการหัก เพื่อ
4) เป็นเงินประกันตาม มาตรา 10 หรือชดใช้ค่าเสียหายให้ แก่นายจ้าง
ซึ่งลูกจ้างได้กระทำโดยจงใจหรือประมาทเลินเล่ออย่าง ร้ายแรง โดยได้รับความยินยอมจากลูกจ้าง
มาตรา 77 ในกรณีที่นายจ้างต้องได้รับความยินยอม จากลูกจ้าง
หรือมีข้อตกลงกับลูกจ้างเกี่ยวกับการจ่ายเงินตาม มาตรา 54 มาตรา 55
หรือการหักเงินตาม มาตรา 76 นายจ้าง ต้องจัดทำเป็นหนังสือและให้ลูกจ้าง
ลงลายมือชื่อในการให้ความ ยินยอมหรือมีข้อตกลงกันไว้ให้ชัดเจนเป็นการเฉพาะ
ตามกฏหมายว่าไว้แบบนี้ แต่หากลูกจ้างไม่ยินยอม บริษัทก็มีสิทธิ์ฟ้อง
แล้วหากเกิดการฟ้องร้องขึ้นมา ใครจะมีสิทธิ์ชนะมากกว่ากันคะ ระหว่างลูกจ้างกับนายจ้าง
ส่วนตัวเราไม่เห็นด้วยกับการปรับเงินลูกจ้าง โดยการให้ชดใช้ค่าเสียหายค่ะ
มันไม่ยุติธรรมมั้ยกับคนทำงานเงินเดือนหลักหมื่นกับการต้องรับผิดชอบยอดค่าใช้จ่ายหลักแสน
เป็นความผิดพลาดครั้งแรกด้วย ตอนได้กำไรบริษัทก้ไม่ได้แบ่งให้ แต่ตอนทำงานผิดพลาดกลับให้ลูกจ้างเสีย100%
ไล่ออกไปเลยซะยังดีกว่า ยังงี้เราควรมองหางานอื่นไว้เผื่อๆด้วยมั้ยคะ